ได้มีโอกาสไปฟัง ไปอ่าน บทความเรื่อง ตัวชี้ขาดคือกรรมใหม่ ของหลวงพ่อปราโมทย์มาค่ะ
ตอนแรกที่อ่านก็เข้าใจความหมายได้ว่ากรรมมีทั้งกรรมเก่าและกรรมใหม่
กรรมเก่าแค่ส่งผลให้เราไปเจอเหตุการณ์ ส่วนการตัดสินใจ การเลือกทำคือตัวกรรมใหม่ ซึ่งผลลัพธ์จะออกมาเป็นเช่นไร ตัวกรรมใหม่จะเป็นตัวชี้ขาด
ทีนี้มีอยู่ท่อนหนึ่งที่หลวงพ่อปราโมทย์พูดว่า
" ฉะนั้นตัวชี้ขาดคือกรรมใหม่นะ กรรมเก่ามันแค่ส่งผลให้เกิดปรากฎการณ์ที่เราไปเจอเข้า
อย่างเราต้องเจอคนนี้ เราต้องพลัดพรากคนนี้ นี่เป็นผลของกรรมเก่า แล้วก็มีกรรมใหม่ด้วย "
คือ ท่อนนี้อ่านแล้วไม่ค่อยเข้าใจความหมายค่ะ
ตรงส่วนที่บอกว่า อย่างเราต้องเจอคนนี้ เราต้องพลัดพรากคนนี้ นี่เป็นผลของกรรมเก่า แล้วก็มีกรรมใหม่ด้วย
มันแปลว่าอะไรหรอคะ เท่าที่อ่านตอนนี้ คิดได้ 2 ความหมายค่ะ
1. การที่เราที่เราต้องเจอคนๆหนึ่ง หรือต้องพลัดพรากจากคนๆหนึ่ง เป็นผลมาจากกรรมเก่าที่ทำมาอย่างเดียวเลย (เช่น กรรมเก่าบอกว่าต้องพลัดพรากจากคนนี้ พอถึงเวลาก็ได้ไปเจอเหตุ แล้วก็พลัดพรากจากกันไปด้วยกรรมเก่า)
2. การที่เราที่เราต้องเจอคนๆหนึ่ง หรือต้องพลัดพรากจากคนๆหนึ่ง เป็นผลมาจากกรรมเก่า และกรรมใหม่ ที่ไปในทางเดียวกัน (เช่น กรรมเก่าบอกว่าต้องพลัดพรากจากคนนี้ พอถึงเวลาก็ได้ไปเจอเหตุ และเมื่อไปเจอเหตุแล้ว ก็ยังกรรมใหม่ที่ทำก็เป็นไปในทางที่ไม่ดี ทำให้ไปส่งเสริมกำลังของกรรมเก่า จึงต้องพลัดพรากจากกัน ด้วยกรรมเก่า + กรรมใหม่)
แต่จากบทความของหลวงพ่อปราโมทย์ที่พูดถึงกรรมใหม่ เลยเอนเอียงไปทางแนวคิดที่ 2 มากกว่าค่ะ แต่ก็ไม่แน่ใจค่ะว่าเข้าใจถูกหรือไม่ เลยต้องมาสอบถามผู้ที่พอจะแปลความหมายได้
และถ้าเป็นไปตามแนวคิดที่ 2 สมมติกรรมเก่าบอกว่า เราต้องเจอคนนี้ ต้องพลัดพรากจากคนนี้ พอถึงเวลาก็ได้ไปเจอเหตุ แต่กรรมใหม่เราไม่ส่งเสริม (เราทำกรรมใหม่ที่ดี และเข้มแข็ง สวนทางกับกรรมเก่ามาตลอด) จากการที่หลวงพ่อปราโมทย์บอกว่า ตัวชี้ขาดคือกรรมใหม่ แปลว่า พอถึงเวลา เราอาจจะไปเจอเหตุนั่นแหล่ะ แต่ด้วยกรรมใหม่ที่ดี และเข้มแข็ง ก็ไปเจือจางอิทธิพลของกรรมเก่า ทำให้ยังสามารถประคองกันต่อไปได้ จนพ้นเหตุวิบากตรงนั้นใช่ไหมคะ
ขอบคุณทุกคนล่วงหน้าที่มาตอบนะคะ ด้านล่างจะแนบบทความเรื่อง ตัวชี้ขาดคือกรรมใหม่ ของหลวงพ่อปราโมทย์ไว้ค่ะ
ปล. ขอคนที่เข้ามาแปลความหมายตามบทความเท่านั้นนะคะ
ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ
ช่วยแปลความหมายท่อนหนึ่ง ของบทความเรื่องตัวชี้ขาดคือกรรมใหม่ ของหลวงพ่อปราโมทย์ หน่อยค่ะ
ตอนแรกที่อ่านก็เข้าใจความหมายได้ว่ากรรมมีทั้งกรรมเก่าและกรรมใหม่
กรรมเก่าแค่ส่งผลให้เราไปเจอเหตุการณ์ ส่วนการตัดสินใจ การเลือกทำคือตัวกรรมใหม่ ซึ่งผลลัพธ์จะออกมาเป็นเช่นไร ตัวกรรมใหม่จะเป็นตัวชี้ขาด
ทีนี้มีอยู่ท่อนหนึ่งที่หลวงพ่อปราโมทย์พูดว่า
" ฉะนั้นตัวชี้ขาดคือกรรมใหม่นะ กรรมเก่ามันแค่ส่งผลให้เกิดปรากฎการณ์ที่เราไปเจอเข้า
อย่างเราต้องเจอคนนี้ เราต้องพลัดพรากคนนี้ นี่เป็นผลของกรรมเก่า แล้วก็มีกรรมใหม่ด้วย "
คือ ท่อนนี้อ่านแล้วไม่ค่อยเข้าใจความหมายค่ะ
ตรงส่วนที่บอกว่า อย่างเราต้องเจอคนนี้ เราต้องพลัดพรากคนนี้ นี่เป็นผลของกรรมเก่า แล้วก็มีกรรมใหม่ด้วย
มันแปลว่าอะไรหรอคะ เท่าที่อ่านตอนนี้ คิดได้ 2 ความหมายค่ะ
1. การที่เราที่เราต้องเจอคนๆหนึ่ง หรือต้องพลัดพรากจากคนๆหนึ่ง เป็นผลมาจากกรรมเก่าที่ทำมาอย่างเดียวเลย (เช่น กรรมเก่าบอกว่าต้องพลัดพรากจากคนนี้ พอถึงเวลาก็ได้ไปเจอเหตุ แล้วก็พลัดพรากจากกันไปด้วยกรรมเก่า)
2. การที่เราที่เราต้องเจอคนๆหนึ่ง หรือต้องพลัดพรากจากคนๆหนึ่ง เป็นผลมาจากกรรมเก่า และกรรมใหม่ ที่ไปในทางเดียวกัน (เช่น กรรมเก่าบอกว่าต้องพลัดพรากจากคนนี้ พอถึงเวลาก็ได้ไปเจอเหตุ และเมื่อไปเจอเหตุแล้ว ก็ยังกรรมใหม่ที่ทำก็เป็นไปในทางที่ไม่ดี ทำให้ไปส่งเสริมกำลังของกรรมเก่า จึงต้องพลัดพรากจากกัน ด้วยกรรมเก่า + กรรมใหม่)
แต่จากบทความของหลวงพ่อปราโมทย์ที่พูดถึงกรรมใหม่ เลยเอนเอียงไปทางแนวคิดที่ 2 มากกว่าค่ะ แต่ก็ไม่แน่ใจค่ะว่าเข้าใจถูกหรือไม่ เลยต้องมาสอบถามผู้ที่พอจะแปลความหมายได้
และถ้าเป็นไปตามแนวคิดที่ 2 สมมติกรรมเก่าบอกว่า เราต้องเจอคนนี้ ต้องพลัดพรากจากคนนี้ พอถึงเวลาก็ได้ไปเจอเหตุ แต่กรรมใหม่เราไม่ส่งเสริม (เราทำกรรมใหม่ที่ดี และเข้มแข็ง สวนทางกับกรรมเก่ามาตลอด) จากการที่หลวงพ่อปราโมทย์บอกว่า ตัวชี้ขาดคือกรรมใหม่ แปลว่า พอถึงเวลา เราอาจจะไปเจอเหตุนั่นแหล่ะ แต่ด้วยกรรมใหม่ที่ดี และเข้มแข็ง ก็ไปเจือจางอิทธิพลของกรรมเก่า ทำให้ยังสามารถประคองกันต่อไปได้ จนพ้นเหตุวิบากตรงนั้นใช่ไหมคะ
ขอบคุณทุกคนล่วงหน้าที่มาตอบนะคะ ด้านล่างจะแนบบทความเรื่อง ตัวชี้ขาดคือกรรมใหม่ ของหลวงพ่อปราโมทย์ไว้ค่ะ
ปล. ขอคนที่เข้ามาแปลความหมายตามบทความเท่านั้นนะคะ
ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ