นักสู้แห่งแหล่งน้ำธรรมชาติ 😊✌✌🐋

กระทู้สนทนา
เส้นทางที่เต็มไปด้วยความลำบาก  กว่าจะผ่านในแต่ละช่วงเวลา ...บาดเจ็บ พิการ ตาย  มันคือกฎแห่งการอยู่รอดตามธรรมชาติ ...🤕


 ... ปลากัด...นักสู้จากแหล่งน้ำธรรมชาติ ที่ทุกท่านรู้จักกันดี  ที่นิยมเลี้ยงกันมาก...

สมัยก่อน เด็กๆมักชอบไปตามแหล่งน้ำตื้นๆ ตามกอต้นกก หรือต้นธูป  ไม่ก็ตามแหล่งน้ำที่มีหญ้าขึ้นสูงๆ ...พร้อมบุ้งกี๋ ( อุปกรณ์สำหรับตักหินของงานก่อสร้าง)  พร้อมขวดน้ำ  ขันน้ำ กระชอน แล้วแต่ใครจะเตรียมอะไรไป😊

ไม่รอช้า เมื่อเจอแหล่งน้ำนิ่งๆ  ก็จะค่อยๆ ย่ำเท้าลงไป  แต่ก็ต้องระมัดระวังเศษของมีคม เช่น กระเบื้อง ขวดแก้วที่แตกหัก  เศษไม้แหลมคม เพราะหากเผลอเหยียบไปเข้า มีบาดเจ็บแน่นอน

...เมื่อเห็นหวอด ก็จะเอาบุ้งกี๋จ้วงไปใต้หวอด พอยกขึ้นมา มักจะได้ ปลากริม  ซึ่งคล้ายปลากัด ไม่เป็นนิยมนำมาเลี้ยง  จึงปล่อยทิ้งตามธรรมชาติต่อไป ...

¥¥¥ ส่วนคนที่ได้ปลากัดก็ดีใจ นำมาใส่ขวดรวมกันก่อน  พอเลิกกลับบ้านก็นำมาแยกขวด แล้วหมักด้วยใบหูกวาง หรือ ใบกล้วยที่แห้งๆ เพื่อให้ตัวปลากัดมีสีสวยงาม ¥¥¥

จุดไคลแมก อยู่ตรงการนำปลามากัดกัน  หลังจากหมักได้ที่ประมาณ 10 -15 วัน ก็นำมาเลี้ยงน้ำสะอาด ใส่ใบหูกวาง หรือ ใบกล้วยแห้ง นิดหน่อย ให้น้ำเลี้ยงออกสีน้ำชาสวยงาม ...

จากนั้นหาปลาตัวเมียมาให้เป็นลูกไล่ คือให้ปลาตัวผู้ว่ายไล่เพื่อออกกำลังกาย ประมาณ 7 วัน ก็จะนำปลาเข้าสู่สนามการประลองกำลัง  ...
ตามธรรมชาติ ปลากัดก็ต่อสู้กันเองอยู่แล้ว ตัวที่แพ้ก็ว่ายน้ำหนี  ....

 จะมีเพียงบางตัวที่ยอมสู้จนตัวตายคาสนาม ขึ้นกับสายพันธุ์ของปลากัดชนิดนั้น

ปัจจุบันปลากัด ได้พัฒนาไปไกลมาก  ที่นิยมเลี้ยงกัดคือ สายมาเลย์  เวียดนาม  และไทย

ส่วนสายปลากัดสวยงาม คงไม่พ้นปลากัดจีน ที่มีหางและครีบยาวสวยงาม 
และปลากัดสีแปลกต่างๆ ตามการผสมข้ามสีกันในหมู่นักเล่นปลากัด  😊

 ไว้ครั้งหน้ามีโอกาสจะมาเล่าเรื่องปลากัดให้อีกนะ  😊🤗
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่