เมื่อก่อนผมไม่มีเครื่องเชื่อมเวลาจะซ่อมแซมอะไรเล็กๆ น้อยๆ ในบ้านก็จะยืมของญาติมาใช้ ญาติผมหลายคนมีเครื่องเชื่อมหลากรุ่นต่างยี่ห้อกันไปทำให้ผมได้ใช้งานเครื่องเชื่อมหลากหลายรุ่นหลายยี่ห้อ พบว่าบางยี่ห้อเชื่อมยากมากยากจนงานเละหมด บางยี่ห้อใช้งานง่ายมือสมัครเล่นอย่างผมก็ใช้ได้ง่ายได้งานน่าพอใจ การไปยืมมาใช้บ่อยๆ ก็เกรงใจผมก็เลยตัดสินใจซื้อเครื่องเชื่อมเป็นของตัวเองเป็นยี่ห้อ Wel-D พิกัดกระแส 120 แอมป์ รุ่นนี้รุ่นเล็กสุดของเขาในราคา 3,490 บาท เครื่องรุ่นนี้มีระบบช่วยเหลือต่างๆ ครบครันทั้ง Hot Strat, Arc-force, Anti-Stick น่าจะใช้งานง่ายเหมาะกับมือสมัครเล่น เมื่อนำมาใช้ก็ไม่ผิดหวังใช้งานง่ายจริงแต่เจอปัญหาเมื่อใช้ลวดเชื่อมขนาดใหญ่ ลวดเชื่อมพิเศษต่างๆ เช่น เมื่อเชื่อมลวดแรงดึงสูง AWS 7016 ขนาด 3.2 mm พบว่าแม้เครื่องจะมีระบบ Arc-force แต่มือสมัครเล่นอย่างผมก็ยังเชื่อมยากจึงเป็นที่มาของการ Upgrade (โมดิฟายด์) นี้
ต้องบอกไว้ก่อนว่าผมมีพื้นฐานด้านไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์เป็นอย่างดี อาชีพเก่าเป็นช่างซ่อมทีวีเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ หากใครจะทำตามต้องพอมีพื้นฐานตามสมควรเพราะว่าเป็นการไปยุ่งกับไฟฟ้าแรงดันสูงมีอันตรายถึงชีวิต
ผมซื้อรุ่นนี้ หน้าเครื่องมีโวลุ่มปรับกระแส ไฟแสดงผลและปุ่มกดเลือกโหมดการเชื่อม
สเป็คของเครื่องค่อนข้างต่ำเครื่องนี้จึงเหมาะกับมือสมัครเล่นทำงานเล็กๆ น้อยๆ
แนวทางการ Upgrade ของผมจะไม่เหมือนกับคลิปต่างๆ ที่เขาเผยแพร่ใน Youtube ซึ่งผมดูแล้วบางคนก็มั่วใส่ๆ อุปกรณ์เข้าไปโดยไม่เข้าใจหลักการ เช่นไปเพิ่ม Mosfet IGBT เข้าไปโดยไม่มีการคำนวณว่าสัมพันกับหม้อแปลงเอาท์พุทหรือไม่ การใส่อุปกรณ์มั่วๆ ยังไม่ปลอดภัยอีกด้วย แต่การ Upgrade ของผมจะไม่ไปยุ่งกับส่วนนี้ไม้ไดเทำให้เครื่องแรงขึ้นโดยตรงแต่ทำให้ไฟนิ่งขึ้นจึงรู้สึกเหมือนเครื่องแรงขึ้นการใช้งานยังคงความปลอดภัยเหมือนเดืม ที่เห็นผลชัดเจนที่สุดคือเชื่อมได้ง่ายขึ้นจริงๆ ถ้าเจอเหล็กหนาๆ จี้ลวดไปที่จุดเชื่อมได้เลยไม่มีอาการลวดติด
แนวทางการ Upgrade ดังนี้
1. เพิ่มวงจร Line filter ป้องกันสัญญาณรบกวนเพิ่มเสถียรภาพทางไฟฟ้า
2. เพิ่มเบรกเกอร์ป้องกันกระแสเกิน
3. เพิ่มตัวเก็บประจุ filter เพื่อสำรองพลังงานให้มากขึ้น กระแสไฟนิ่งขึ้น
4. เพิ่ม Choke output เพื่อให้กระแสไฟที่ปลายลวดเชื่อมนิ่งขึ้น อาร์กง่ายขึ้น เท่าที่ผมดูการทดสอบของฝรั่งหลายคลิปพบว่าหาก Choke output มีขนาดใหญ่และมีค่าความเหนี่ยวนำมากพอการเชื่อมจะใช้กระแสไฟในการเชื่อมลดลงเพราะการอาร์กดีขึ้น เมื่อปรับลดกระแสไฟลงได้ทำให้การเชื่อมประหยัดไฟมากขึ้น
วงจร Line fillter กระแสสูงไม่มีขายต้องสร้างเอาเอง ผมใช้สายไฟอ่อนขนาดหน้าตัด 2.5 mm พันรอบแกนเฟอร์ไรท์ที่ได้มาจากสวิชชิ่งจ่ายไฟเครื่องเสียงเก่า ผมพัน 8 รอบ และใช้ตัวเก็บประจุชนิดฟิล์ม แบบ X2 ตัวเก็บประจุแบบนี้ถายในมีตัวเก็บประจุ 2 ตัวต่ออนุกรมกันเมื่อแรงดันเกินจะระเบิดตัวเองขาดจากกันจึงทำให้ปลอดภัยจากไฟรั่วไฟดูด ตัวเก็บประจุใช้ทั้งหมด 2 ตัว ต่อก่อนขดลวดและหลังขดลวดอย่างละตัว
ภาพนี้แสดงตำแหน่งติดตั้งมินิเบรกเกอร์ 20 แอมป์ ซึ่งติดอยู่ใต้สายไฟเข้าเครื่อง การเก็บสายไฟที่ต่อไปยังวงจร Line fillter จะต้องคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นหลัก
ภาพถ่ายด้านหลังเมื่อติดตั้งเบรกเกอร์ ขนาด 20 แอมป์ แล้ว ปัญหาที่ผมเจอตอนนี้คือเมื่อใช้ลวดเชื่อมแรงดึงสูง AWS 7016 ขนาด 3.2 มิลปรับกระแสหน้าตู้จนสุดเมื่อเชื่อมได้ 3/4 ของลวดเบรกเกอร์จะตัดก่อนระบบป้องกันของเครื่องจะทำงาน สามารถแก้ไขได้ง่ายๆ โดยการเปลี่ยนเบรกเกอร์ตัวใหม่ให้พิกัดกระแสมากขึ้น แต่ผมจะไม่เปลี่ยนเพราะว่าไม่ได้ใช้ลวดเชื่อมขนาด 3.2 มิลเป็นประจำ นานๆ จะได้ใช้ทียิ่งลวดเชื่อมแรงดึงสูง AWS 7016 แล้วแทบไม่ได้ใช้จึงไม่จำเป็นต้องเปลี่ยน
ตำแหน่งติดตั้งตัวเก็บประจุฟิลเตอร์ที่เสริมเข้าไป ตัวเก็บประจุนี้ผมถอดจากทีวีจอแก้วรุ่นเก่าที่ไม่ได้ใช้แล้ว ผมใช้แผ่นไม้รองติดด้วยกาวยางสายไฟรัดด้วยท่อหดแล้วใช้กาวซิลิโคนปิดทับรัดด้วยสายเคเบิ้ลไทร์ป้องกันไม่ให้ไปโดนโครงฝาปิดตอนเครื่องล้มจะได้ปลอดภัย
ตำแหน่งติดตั้ง Choke output เพื่อให้กระแสไฟนิ่งขึ้น อาร์กง่ายขึ้น จริงๆแล้วรุ่นนี้มี Choke output มาให้อยู่แล้วแต่ตัวเล็กและให้มาตัวเดียวส่วนเครื่องราคาแพงเขาจะให้มา 2 ตัว Choke output ผมสร้างจากแกนวงในตลับลูกปืนล้อรถ 6 ล้อ พันด้วยเทปกระดาษ สายไฟผมปอกจากสายไฟบ้านเก่าที่รื้อออกขนาดหน้าตัด 1 มิลยาวเมตรครึ่ง ผมใช้จำนวน 12 เส้นพันเข้าด้วยกันแล้วหุ้มด้วยท่อหดจากนั้นพันบนแกนเหล็กตลับลูกปืนจำนวน 11 รอบ ติดตั้งเช้าไปแทนบัสบาร์เดิม ผมใช้แผ่นไม้รองด้านล่างทากาวยางป้องกันการช็อตกับโครงยึดด้วยสายเคเบิ้ลไทร์กับตะแกรงหน้าเครื่อง ภายหลังติดตั้ง Choke output เมื่อใช้ลวดเชื่อม 2.6 มิลปรับไฟ 35 แอมป์ก็ยังเชื่อมได้นิ่มๆ เลย
ภาพสุดท้ายแสดงผลงานการเชื่อมและอวดผลงานตีมีดใช้เองไปในตัว แนวเชื่อมจะอยู่ที่จุดลูกศรชี้ 2 เล่มด้านล่างเป็นมีดใช้เหล็ก 2 ชนิดประกบกัน มีดด้ามบ้องใช้การตีผสานเหล็กตลับลูกปืนกับเหล็กแหนบ เล่มล่างสุดใช้เหล็กแผ่นก่อสร้างตีขึ้นรูปแล้วใช้เหล็กตลับลูกปืนเชื่อมเป็นคมตลอดแนว ลวดเชื่อมที่ใช้เป็นลวดเชื่อมพอกแข็งพิเศษขนาด 4 มิลเครื่องเชื่อมเล็กๆ ของผมก็เชื่อมได้ดีเมื่อเจียรออกไม่เห็นรอยตามดเลยงานเนี๊ยบยอดเยี่ยมกว่าใช้เครื่องเชื่อมราคาแพงกว่าหลายเท่าตัวเสียอีก
มา Upgrade (โมดิฟายด์) เครื่องเชื่อมอินเวอร์เตอร์กันครับ
ต้องบอกไว้ก่อนว่าผมมีพื้นฐานด้านไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์เป็นอย่างดี อาชีพเก่าเป็นช่างซ่อมทีวีเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ หากใครจะทำตามต้องพอมีพื้นฐานตามสมควรเพราะว่าเป็นการไปยุ่งกับไฟฟ้าแรงดันสูงมีอันตรายถึงชีวิต
ผมซื้อรุ่นนี้ หน้าเครื่องมีโวลุ่มปรับกระแส ไฟแสดงผลและปุ่มกดเลือกโหมดการเชื่อม
สเป็คของเครื่องค่อนข้างต่ำเครื่องนี้จึงเหมาะกับมือสมัครเล่นทำงานเล็กๆ น้อยๆ
แนวทางการ Upgrade ของผมจะไม่เหมือนกับคลิปต่างๆ ที่เขาเผยแพร่ใน Youtube ซึ่งผมดูแล้วบางคนก็มั่วใส่ๆ อุปกรณ์เข้าไปโดยไม่เข้าใจหลักการ เช่นไปเพิ่ม Mosfet IGBT เข้าไปโดยไม่มีการคำนวณว่าสัมพันกับหม้อแปลงเอาท์พุทหรือไม่ การใส่อุปกรณ์มั่วๆ ยังไม่ปลอดภัยอีกด้วย แต่การ Upgrade ของผมจะไม่ไปยุ่งกับส่วนนี้ไม้ไดเทำให้เครื่องแรงขึ้นโดยตรงแต่ทำให้ไฟนิ่งขึ้นจึงรู้สึกเหมือนเครื่องแรงขึ้นการใช้งานยังคงความปลอดภัยเหมือนเดืม ที่เห็นผลชัดเจนที่สุดคือเชื่อมได้ง่ายขึ้นจริงๆ ถ้าเจอเหล็กหนาๆ จี้ลวดไปที่จุดเชื่อมได้เลยไม่มีอาการลวดติด
แนวทางการ Upgrade ดังนี้
1. เพิ่มวงจร Line filter ป้องกันสัญญาณรบกวนเพิ่มเสถียรภาพทางไฟฟ้า
2. เพิ่มเบรกเกอร์ป้องกันกระแสเกิน
3. เพิ่มตัวเก็บประจุ filter เพื่อสำรองพลังงานให้มากขึ้น กระแสไฟนิ่งขึ้น
4. เพิ่ม Choke output เพื่อให้กระแสไฟที่ปลายลวดเชื่อมนิ่งขึ้น อาร์กง่ายขึ้น เท่าที่ผมดูการทดสอบของฝรั่งหลายคลิปพบว่าหาก Choke output มีขนาดใหญ่และมีค่าความเหนี่ยวนำมากพอการเชื่อมจะใช้กระแสไฟในการเชื่อมลดลงเพราะการอาร์กดีขึ้น เมื่อปรับลดกระแสไฟลงได้ทำให้การเชื่อมประหยัดไฟมากขึ้น
วงจร Line fillter กระแสสูงไม่มีขายต้องสร้างเอาเอง ผมใช้สายไฟอ่อนขนาดหน้าตัด 2.5 mm พันรอบแกนเฟอร์ไรท์ที่ได้มาจากสวิชชิ่งจ่ายไฟเครื่องเสียงเก่า ผมพัน 8 รอบ และใช้ตัวเก็บประจุชนิดฟิล์ม แบบ X2 ตัวเก็บประจุแบบนี้ถายในมีตัวเก็บประจุ 2 ตัวต่ออนุกรมกันเมื่อแรงดันเกินจะระเบิดตัวเองขาดจากกันจึงทำให้ปลอดภัยจากไฟรั่วไฟดูด ตัวเก็บประจุใช้ทั้งหมด 2 ตัว ต่อก่อนขดลวดและหลังขดลวดอย่างละตัว
ภาพนี้แสดงตำแหน่งติดตั้งมินิเบรกเกอร์ 20 แอมป์ ซึ่งติดอยู่ใต้สายไฟเข้าเครื่อง การเก็บสายไฟที่ต่อไปยังวงจร Line fillter จะต้องคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นหลัก
ภาพถ่ายด้านหลังเมื่อติดตั้งเบรกเกอร์ ขนาด 20 แอมป์ แล้ว ปัญหาที่ผมเจอตอนนี้คือเมื่อใช้ลวดเชื่อมแรงดึงสูง AWS 7016 ขนาด 3.2 มิลปรับกระแสหน้าตู้จนสุดเมื่อเชื่อมได้ 3/4 ของลวดเบรกเกอร์จะตัดก่อนระบบป้องกันของเครื่องจะทำงาน สามารถแก้ไขได้ง่ายๆ โดยการเปลี่ยนเบรกเกอร์ตัวใหม่ให้พิกัดกระแสมากขึ้น แต่ผมจะไม่เปลี่ยนเพราะว่าไม่ได้ใช้ลวดเชื่อมขนาด 3.2 มิลเป็นประจำ นานๆ จะได้ใช้ทียิ่งลวดเชื่อมแรงดึงสูง AWS 7016 แล้วแทบไม่ได้ใช้จึงไม่จำเป็นต้องเปลี่ยน
ตำแหน่งติดตั้งตัวเก็บประจุฟิลเตอร์ที่เสริมเข้าไป ตัวเก็บประจุนี้ผมถอดจากทีวีจอแก้วรุ่นเก่าที่ไม่ได้ใช้แล้ว ผมใช้แผ่นไม้รองติดด้วยกาวยางสายไฟรัดด้วยท่อหดแล้วใช้กาวซิลิโคนปิดทับรัดด้วยสายเคเบิ้ลไทร์ป้องกันไม่ให้ไปโดนโครงฝาปิดตอนเครื่องล้มจะได้ปลอดภัย
ตำแหน่งติดตั้ง Choke output เพื่อให้กระแสไฟนิ่งขึ้น อาร์กง่ายขึ้น จริงๆแล้วรุ่นนี้มี Choke output มาให้อยู่แล้วแต่ตัวเล็กและให้มาตัวเดียวส่วนเครื่องราคาแพงเขาจะให้มา 2 ตัว Choke output ผมสร้างจากแกนวงในตลับลูกปืนล้อรถ 6 ล้อ พันด้วยเทปกระดาษ สายไฟผมปอกจากสายไฟบ้านเก่าที่รื้อออกขนาดหน้าตัด 1 มิลยาวเมตรครึ่ง ผมใช้จำนวน 12 เส้นพันเข้าด้วยกันแล้วหุ้มด้วยท่อหดจากนั้นพันบนแกนเหล็กตลับลูกปืนจำนวน 11 รอบ ติดตั้งเช้าไปแทนบัสบาร์เดิม ผมใช้แผ่นไม้รองด้านล่างทากาวยางป้องกันการช็อตกับโครงยึดด้วยสายเคเบิ้ลไทร์กับตะแกรงหน้าเครื่อง ภายหลังติดตั้ง Choke output เมื่อใช้ลวดเชื่อม 2.6 มิลปรับไฟ 35 แอมป์ก็ยังเชื่อมได้นิ่มๆ เลย
ภาพสุดท้ายแสดงผลงานการเชื่อมและอวดผลงานตีมีดใช้เองไปในตัว แนวเชื่อมจะอยู่ที่จุดลูกศรชี้ 2 เล่มด้านล่างเป็นมีดใช้เหล็ก 2 ชนิดประกบกัน มีดด้ามบ้องใช้การตีผสานเหล็กตลับลูกปืนกับเหล็กแหนบ เล่มล่างสุดใช้เหล็กแผ่นก่อสร้างตีขึ้นรูปแล้วใช้เหล็กตลับลูกปืนเชื่อมเป็นคมตลอดแนว ลวดเชื่อมที่ใช้เป็นลวดเชื่อมพอกแข็งพิเศษขนาด 4 มิลเครื่องเชื่อมเล็กๆ ของผมก็เชื่อมได้ดีเมื่อเจียรออกไม่เห็นรอยตามดเลยงานเนี๊ยบยอดเยี่ยมกว่าใช้เครื่องเชื่อมราคาแพงกว่าหลายเท่าตัวเสียอีก