ถ้าการไปร่วมม็อบ 3 นิ้วมันเป็นทางที่ผิด งั้นทางที่ถูกมันคืออะไรครับ?

ผมรู้ดี ว่าทุกคนล้วนเป็นห่วงความเป็นอยู่ของประเทศ เพียงแค่มีจุดยืนคนละแบบ

ขอเกริ่นก่อนว่า ผมเพิ่งเป็นช่างภาพข่าวสารคดี (ฝึกหัด)
ในทุกการชุมนุมที่ผ่านมาตั้งแต่ครั้งแรก ๆ จะมีผมอยู่ในนั้นเสมอ
และด้วยความลำเอียง ผมมักจะบอกตัวเองว่าผมไม่ได้ไปในฐานะคนทำข่าว
แต่ผมนั้นเป็นส่วนหนึ่งของการประท้วงด้วย
เพราะผมเป็นคนรุ่นใหม่ ผมเบื่อกับระบบหลายอย่างที่กัดกินประเทศ
และผมต้องการเห็นการแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างที่เป็นรูปธรรมจริง ๆ สักที
หลาย ๆ ครั้ง ผมละเลยหน้าที่ ผมกระทำในสิ่งที่ผู้สังเกตการณ์ไม่ควรทำ
เพราะผมเชื่อในคำกล่าวที่ว่า

"คนที่ไม่เลือกข้างในตอนนี้ นั่นหมายความว่า คุณได้เลือกข้างไปแล้ว" :
"จุดจบของผู้ที่ไม่สนใจเรื่องการเมือง คือการโดนนักการเมืองกัดกินเอาเสียเอง"

ตอนนั้น กระแสม็อบกำลังมาแรงมาก มีคนหลักหมื่นถึงแสนเข้าร่วมชุมนุม
เกิดการปะทะขึ้นเป็นว่าเล่น และยิ่งตำรวจรุนแรง ผู้ชุมนุมก็เริ่มออกมาอีก
ส่วนใครที่ไม่ออกมาแสดงจุดยืนทางการเมืองว่าอยู่ฝ่ายม็อบ
จะโดนเรียกด้วยสรรพนามว่า "สลิ่ม" ทันที
เกิดการ cancel culture คนมีชื่อเสียงที่นิ่งเฉยกับเหตุการณ์มากมาย
จนมันกลายเป็น norm ที่ว่า วัยรุ่นสมัยใหม่ ต้องไม่เป็น ignorance
มันเป็นการกระทำที่ผมรู้สึกตะหงิดเล็กน้อย แต่คนรอบตัวผมบอกว่า

"คนที่ทนเฉยต่อความไม่ชอบธรรมที่เกิดขึ้น ก็คือบ่อเกิดของปัญหาความไม่ชอบธรรม"

ซึ่งผมก็เออ จริงว่ะ ทุกคนควรจะออกมาเรียกร้องต่อความไม่ยุติธรรมสิ
ผมเป็นอย่างนั้นอยู่นาน ผมเห็นการชุมนุมที่ลามเป็นจราจลครั้งแล้วครั้งเล่า
เมื่อมีคนพ่นสี เผาสิ่งของ หรือปิดถนนชุมนุม คนรอบตัวผมบอกว่า

"นี่คืออารยะขัดขืนแบบสากล สาดสีไม่ทำให้ใครเจ็บตัวเหมือนกระสุนยางที่พวกมันยิง" 
"ประชาชนตัวเปล่า หรืออย่างมากสุดก็ยิงพลุใส่ แต่ฝั่งนู้นล่าสุดมีกระสุนจริงแล้วนะ"

ก็คงจริง ผมรับได้ ผมยังคงเชื่อในม็อบอยู่ พวกเรากำลังทำในสิ่งที่ยากและยิ่งใหญ่
บางครั้งการจะเปลี่ยนแปลงประเทศ มันคงต้องมี "ความรุนแรงที่พอรับได้"
จนกระทั่งในการปราศรัย เริ่มมีการพูดถึงโครงสร้างอำนาจระดับสูง
สิ่งที่อยู่เหนืออำนาจของนายก และฝ่ายบริหารขึ้นไป
มีการพูดถึงแนวคิดที่ว่า ต่อให้เปลี่ยนนายก เราไม่สามารถแก้การเมืองที่เน่าเฟะได้
เพราะเมื่อมีคนถามถึงงบประมาณภาษีที่ถูกใช้ไปอย่างฟุ่มเฟือย และตรวจสอบไม่ได้
ก็จะโดนยัดข้อหายุยงปลุกปั่น และยัดมาตรา 112 ใส่แทน
พวกเราต้องยกเลิกมาตรา 112 ซึ่งถูกนำมาใช้เป็นอาวุธรังแกคนที่เห็นต่าง
หลังจากนั้น เกิดเหตุการณ์ต่าง ๆ ขึ้นมากมาย..., etc

จนปัจจุบันนี้ 
จากผู้ชุมนุมหลักแสน เหลือหลักหมื่น จนเหลือแค่หลักร้อย
ผมเริ่มสงสัย ว่าทำไม ทำไมทุกคนถึงไม่ออกมา ทำไมคนถึงลดน้อย
ซึ่งกราฟจำนวนคนตั้งแต่เริ่ม มันสวนทางกับเวลา
และผิดรูปแบบของการปฎิวัติที่ผ่านมาในประวัติศาสตร์

ผมขอโทษคนรอบตัวผม และเพื่อน ๆ ทุกคนด้วย ที่พูดแบบนี้
แต่ทุกวันนี้ เวลาผมลงพื้นที่ชุมนุม บอกตรง ๆ ว่าผมไม่เห็นสาระอะไรเลย
ทุกคนผลัดกันขึ้นมาพูดถ้อยคำปลุกใจ ตะโกนด่าสาปแช่งรัฐบาล
และพูดถึงการต่อสู้ครั้งสุดท้าย เพื่อลูกหลานในอนาคตข้างหน้า
ซึ่งผมไม่เห็นว่ากิจกรรมเหล่านี้ มันจะสร้างการเปลี่ยนแปลงระดับมหภาคได้
ทั้งที่ผมก็รู้ ว่าคนเหล่านี้ ก็แค่อยากให้ประเทศดำเนินไปในทิศทางที่ดี
งั้นถ้ามันผิด ทิศทางการเปลี่ยนแปลงประเทศที่ดี มันควรจะไปทางไหน
พูดตามตรงว่า ตอนนี้ผมไม่รู้แล้วว่าอะไรคือความจริง
ผมจะทำหน้าที่สื่อได้ยังไง ถ้าผมไม่รู้ว่าต้องยึดอะไรเป็นเกณฑ์

ซึ่งนี่คือสิ่งที่ผมไม่เข้าใจ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 6
ทิศทางการเปลี่ยนแปลงประเทศที่ดี มันควรจะไปทางไหน
สมาชิกหมายเลข 6805002

... ไปทางความดี

ตอนนี้ผมไม่รู้แล้วว่าอะไรคือความจริงผมจะทำหน้าที่สื่อได้ยังไง ถ้าผมไม่รู้ว่าต้องยึดอะไรเป็นเกณฑ์
สมาชิกหมายเลข 6805002
...ยึดความดีเป็นเกณฑ์  หน้าที่สื่อคือฉายภาพของความดีและความชั่วให้สังคมรับรู้ สอดแทรกคติธรรมความดีเข้าไปนิดนึง


ซึ่งนี่คือสิ่งที่ผมไม่เข้าใจ
สมาชิกหมายเลข 6805002

... เป็นธรรมชาติของวัยรุ่นมักใจร้อน อยากเปลี่ยนแปลงอะไรปุ๊บปั๊บ..   แต่กฏความเป็นจริงของสรรพสิ่งด้านสร้างสรรค์มักต้องใช้เวลาในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง    ส่วนการเปลี่ยนแปลงแบบปุ๊บปั๊บเป็นความจริงของด้ายทำลาย..

  ตัวอย่างเช่นการจะสร้างบ้านหลังหลัง ต้องใช้เวลาหลายวัน วางแผนวางแปลนไปจนถึงการตบแต่ง..  แต่การทำลายแค่บอมส์เดียวรวมเวลาที่เก็บกวาดซากแค่วันเดียวก็เสร็จละ  ...   ดังนี้เป็นตัวอย่างให้เห็นความต่างของการสร้างสรรและทำลาย  ซึ่งก่อเกิดการเปลี่ยนแปลงเหมือนกันแต่เป็นการเปลี่ยนแปลงเชิงบวก  กับการเปลี่ยนแปลงเชิงลบ..

   ทัศนคติของคุณเจ้าของกระทู้ คือต้องการเปลี่ยนแปลงไปเชิงลบ ซึ่งไม่เหมาะสมกับเหตุการณ์-สถานที่-และเวลา...นั่นเอง.

ปัจเจกคือต้นไม้  แสงสว่างคือปัญญา..
ต้นไม้จะมีแสงสว่างเป็นที่ยึดเหนี่ยวเสมอๆ..ฉันใด
ปัจเจกก็ควรจะใช้ปัญญาเป็นที่ยึดเหนี่ยว ..ฉันนั้นแล
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 24
ผมเป็นประชาชนครับ อยู่ข้างประชาชน ไม่จำเป็นต้องเลือกข้าง เพราะคำว่า ประชาธิปไตย หมายถึงการปกครอง โดยประชาชน ชัดเจนไม่ต้องตีความ และบ้านเราตอนนี้ก็เป็นประชาธิปไตยอยู่ครับ มีเลือกตั้ง มีสภา มีฝ่ายค้านที่อภิปรายโจมตีรัฐบาลได้ มีระบบเผด็จการที่ไหนในโลกนี้ที่ปล่อยให้มีการออกมาโจมตีสถาบัน โจมตีรัฐบาล ออกมาสร้างความไม่สะดวกให้ผู้คนได้แทบทุกเทศกาลอย่างในบ้านเราบ้างครับ และถามหน่อย ว่าบรรดาประเทศที่มีชื่อว่า สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนฯ ทั้งหลายน่ะ ประชาชนออกมาทำอะไรได้บ้างครับ มีสิทธิเสรีภาพแค่ไหนครับ ขอตัวอย่างสักสามประเทศก็พอ การที่คนหนุ่มสาวมีความคิดที่จะสร้างสังคมให้ดีขึ้น ประเสริฐครับ เห็นด้วยเต็มร้อย  แต่สิ่งที่เห็นกับตาจริงๆ คือการทำลาย อะไรก็ได้ที่เป็นของเดิม มีหลายคนที่ผมคิดว่าน่าจะมีแววเป็นนักสู้ของประชาชน ให้พอได้ชื่นชมบ้าง แต่พอตามดูสักพัก กลายเป็นว่า ที่ทำไปเพราะแรงริษยา เอาอุดมการบังหน้าเพื่อไม่ให้เสียฟอร์ม สุดท้ายกลายเป็นนักเคลื่อนไหวรับจ้าง รวยกันไปหลายคนแล้ว ผมเคยเป็นวัยรุ่นครับ และอยู่ในประเภท ซ้ายจัด แต่ผ่านโลกมาพอสมควร ไม่เห็นว่าจะมีที่ไหนเจริญจากการเปลี่ยนแปลงแบบล้างผลาญทำลายได้สักที่ สุดท้ายกลายเป็นได้เผด็จการกลุ่มใหม่ เลวร้ายกว่ากลุ่มเดิม มีหน้าปกชื่อประชาธิปไตย แต่เนื้อในเผด็จการล้วนๆ  ความจริงที่ผมเห็นมา เป็นแบบนี้ครับ
ความคิดเห็นที่ 3
สังคม ไม่ได้มีแตพวกคุณ
ประกอบไปด้วยคนหลากหลาย ทุกระดับชั้น
ความคิดไม่ได้เหมือนพวกคุณ  อย่าเหมาว่า เขาจะคิดเหมือนคุณ

การเลือกตั้งเป็นการวัดอย่างหนึ่ง
ถึงแม้ว่าจะไม่ค่อยจะสมบูลย์นัก
แต่ได้แค่นี้

เพราะสังคมไทยประกอบไปด้วยคนหลากหลาย หลายระดับชั้น

ใจเย็นๆ เพราะเราก็กำลังเดินไปข้างหน้า ไม่ได้ถอยหลังตามที่นักการเมืองชั่วบางคนใช้หลอกคน
ความคิดเห็นที่ 1
เดี๋ยวโตขึ้นก็รู้เองแหละครับ ของบางอย่างสอนเด็ก เด็กมันก็ไม่รู้เรื่องหรอก ค่อย ๆ เรียนรู้ไป หรือเชื่อศาสดาทำตามศาสดาบอกแล้วเข้าไปติดคุกดูก็จะได้รู้อะไรบ้าง

อ้อ จขกท ลืมแปะเลขที่บัญชีนะครับ ปกติ 3 กีบ ต้องลงท้ายด้วยการแปะเลขที่บัญชี อิอิ ^^

ผู้ชาย
ความคิดเห็นที่ 29
แค่เห็นภาพคนในม็อบถือปืน   คามชอบธรรมของม็อบก็หายหมดเกลี้ยงแล้วครับ

ก่อนจะเรียกร้องอะไรตามที่ว่าเป็นสิทธิตามระบบประชาธิปไตย   ต้องเริ่มต้นจากการเรียนรู้พื้นฐานของประชาธิปไตยก่อนครับ   ว่าในระบบประชาธิปไตยประชาชนมีทั้งสิทธิและหน้าที่   ประชาชนมีสิทธิทำอะไรก็ได้แต่ขณะเดียวกันก็มีหน้าที่ที่จะต้องไม่กระทำผิดกฎหมาย
ความคิดเห็นที่ 27
ทำไมคุณถึงคิดว่าสิ่งที่คุณคิดและทำมันเป็นสิ่งที่ถูก แต่คนที่เขาคิดไม่เหมือนคุณและไม่ออกมาทำอะไรแบบคุณและพวกเป็นสิ่งที่ผิดล่ะ

คุณคิดที่จะเปลี่ยนแปลงในสิ่งที่คนอีกมากมายเขาไม่ต้องการเปลี่ยน โดยใช้วิธีบีบบังคับกดดัน พอไม่ได้อย่างใจคุณก็ทุบทำลาย สร้างความเสียหายให้กับบ้านเมืองที่คุณบอกว่ามันไม่ดี ต้องเปลี่ยนแปลง ต้องโน่น ต้องนี่... โดยไม่ได้สนใจเลยว่าคนอื่นเขาคิดเขาเห็นอย่างไร ไม่สนใจว่าคนอื่นเขาจะเดือดร้อน รำคาญใจ แค่คุณคิดเข้าข้างตัวเองว่าสิ่งที่ทำมันถูก หาข้ออ้างมารองรับว่ามันทำได้ และคนอื่นๆจะต้องเสียสละให้กับความต้องการของคุณ

จะเป็นคนรุ่นใหม่หรือรุ่นเก่ามันก็ไม่ได้ชี้วัดถึงระดับของสมองนะครับ อย่านำมากล่าวอ้างเลย มันไม่ใช่หรอก
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่