หลักฐานอ้างอิงภาษาคน ภาษาธรรม บุคลาธิษฐาน ธรรมาธิษฐาน

คำสอน หลักธรรม ในศาสนาพุทธ  ซึ่งมีการสอนกันว่า  เรื่องอิทธิปาฏิหาริย์ ฯลฯ  เช่น  พระพุทธเจ้าตอนประสูติทรงพระดำเนินได้  7  ก้าว   มีผู้แปลตามอักษรซึ่งเป็นบุคลาธิษฐาน  ว่าทรงมีอิทธิฤทธิ์อัศจรรย์จริงตามนั้น

     แต่ผู้ที่อ้างว่า  ภาษาธรรม  บอกว่า หมายถึงว่า  ตลอดพระชนม์ชีพของพระพุทธองค์  ทรงประกาศธรรมไป  7  แคว้น

ผู้ที่ประทุษร้ายพระพุทธเจ้า   ได้รับผลกรรม  คือถูกธรณีสูบ    ทางภาษาธรรม หมายถึง  คนพวกนั้นถูกประชาชนรุมทำร้าย  ส่วนผู้ที่ว่าตามบุคคลอธิษฐาน  กล่าวว่า  ถูกธรณีสูบจริงตามอักษร    เป็นต้น

จึงสงสัยว่า   เริ่มมีการสอนตีความเป็นบุคลาธิษฐาน  ธรรมาธิษฐาน   ภาษาคน  ภาษาธรรม   กันตั้งแต่เมื่อไร

ถ้าภาษาคน ว่าอย่าง    แต่ภาษาธรรมตีความได้หลายอย่าง   จะถือภาษาธรรมที่ตีความอันไหนว่าถูกต้อง  มีหลักฐานอ้างอิงใดเป็นหลักว่า  ตีความถูกต้อง  ควรเชื่อการตีความใดเป็นหลัก

พุทธศาสนาเถรวาทในประเทศอื่น ๆ  มีเรื่องภาษาคน  ภาษาธรรม  เหมือนไทยไหม    ถ้าไม่มีหลักตายตัวที่ยึดถือได้  ก็อาจเป็นการตีความของผู้สอนแต่ละคน  แต่ละยุค  ที่แตกต่างกัน   และอาจแต่งต่างกันในคนละประเทศ

ทางมหายาน  มีเรื่องบุคคลอธิษฐาน  ธรรมาธิษฐาน  ไหมครับ

บางท่านกล่าวว่า   ควรยึดภาษาคนเป็นหลัก    แปลตามตัวอักษร   เพราะภาษาธรรมเกิดทีหลัง  ตีความกันเอง  อาจผิดจากต้นฉบับแรก ๆ ของคำสอนทางศาสนาพุทธ    เพราะปาฏิหาริย์   สวรรค์  นรก  เป็นเรื่องจริง   ไม่ควรตีความแคบไป  โดย ด้อยค่าว่า เป็นเพียง  สวรรค์ในอก นรกในใจ  เป็นต้น

ขอ ขอบพระคุณล่วงหน้า สำหรับทุก ๆ  คำตอบครับ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่