ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้ประชาชนผู้บริโภคอย่างเรา ๆ ต้องใช้ชีวิตอย่างตื่นตัวและระมัดระวัง แต่ละคนพยายามหาแนวทางป้องกันตัวเองทุกวิถีทางเท่าที่จะทำได้ ทั้งจากการเว้นระยะห่างทางสังคม การใส่หน้ากากอนามัยให้ถูกต้องและแน่นอนที่สุดคือการรักษาความสะอาดทั้งการล้างมือด้วยสบู่หรือแอลกอฮอล์ รวมถึงการหาผลิตภัณฑ์และอุปกรณ์ต่าง ๆ ในการตรวจประเมินตนเอง
หลาย ๆ คนหันมาเลือกซื้อชุดตรวจโควิด-19 (Antigen Test Kit) ซึ่งสามารถทดสอบตรวจหาเชื้อโรคโควิดด้วยตนเองได้อย่างง่าย ๆ ในเบื้องต้น ควรเลือกซื้อจากสถานพยาบาล หน่วยงานของรัฐ หรือร้านขายยาทั่วไปที่มีเภสัชกรควบคุม เพื่อให้คำแนะนำเกี่ยวกับวิธีการใช้ วิธีการเก็บสิ่งตรวจ วิธีการแปลผล การปฏิบัติตัวหลังทราบผลการตรวจ และการทิ้งชุดตรวจอย่างถูกต้อง เนื่องจากชุดตรวจโควิดเป็นเครื่องมือแพทย์ไม่แนะนำให้ซื้อผ่านช่องทางออนไลน์ เพราะอาจจะได้ชุดตรวจที่ไม่มีคุณภาพไม่ผ่าน อย. และอาจจะได้ผลการตรวจที่ผิดพลาดได้กรณีที่มีประเด็นการขายชุดตรวจโควิด-19 ทางสื่อออนไลน์และมีการโฆษณาลดแลกแจกแถม ทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ตรวจสอบพบว่าเป็นการกระทำผิดตามกฎหมายเป็นจำนวนมาก หากผู้ประกอบธุรกิจจะทำการขายและโฆษณา ต้องขออนุญาตขึ้นทะเบียนกับ อย. ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์ที่จะอนุญาตให้โฆษณานั้นต้องเป็นผลิตภัณฑ์ที่ถูกต้องตามกฎหมายทั้งนี้ หากมีการจำหน่ายและการโฆษณาผ่านทางช่องทางออนไลน์โดยไม่ขออนุญาตอย่างถูกต้อง มีความผิดฐานโฆษณาเครื่องมือแพทย์โดยไม่ได้รับอนุญาต มีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตาม พ.ร.บ. เครื่องมือแพทย์ พ.ศ. 2551 ส่วนของผู้ที่ขายชุดตรวจหาเชื้อโควิด-19 ที่ทำเลียนแบบหรือลวงให้เข้าใจผิดเรื่องชื่อคุณภาพ หรือแสดงว่าเป็นเครื่องมือแพทย์ที่ได้รับอนุญาต ซึ่งมิใช่ความจริง เป็นความผิดฐานขายเครื่องมือแพทย์ปลอม มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกินห้าแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตาม พ.ร.บ. เครื่องมือแพทย์ พ.ศ. 2551 หรือกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
สคบ. จึงขอแนะนำผู้บริโภคหากคิดจะเลือกซื้อชุดตรวจโควิด ควรเลือกซื้อจากสถานที่ที่มีการแนะนำข้างต้น อย่าเห็นแต่ของราคาถูกเพราะอาจจะได้สินค้าไม่มีคุณภาพมาตรฐาน เสี่ยงต่อการแปลผลผิดพลาด ผู้บริโภคควรสังเกตฉลากของชุดตรวจจะมีข้อความภาษาไทยระบุว่า “บุคคลทั่วไปสามารถใช้ได้” และเลขที่ประเมินเทคโนโลยีที่ได้รับอนุมัติจาก อย. ปรากฏบนฉลากหรือเอกสารกำกับเครื่องมือแพทย์ด้วยและควรศึกษาคู่มือวิธีการใช้และวิธีการแปลผลฉบับภาษาไทย เพื่อให้ผู้บริโภคเข้าใจและนำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง หากพบการขายและโฆษณา โดยไม่ได้รับอนุญาตกับ อย. สามารถร้องเรียนได้ที่สายด่วน อย. 1556 หากไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการซื้อสินค้าและบริการ หรือสินค้าไม่มีฉลากและโฆษณาเกินจริง สามารถร้องเรียนได้ที่ สคบ. 1166 หรือ www.ocpb.go.th และทางแอปพลิเคชัน OCPB Connect
ซื้อชุดตรวจโควิดออนไลน์ เสี่ยงได้ของไม่มีคุณภาพ
หลาย ๆ คนหันมาเลือกซื้อชุดตรวจโควิด-19 (Antigen Test Kit) ซึ่งสามารถทดสอบตรวจหาเชื้อโรคโควิดด้วยตนเองได้อย่างง่าย ๆ ในเบื้องต้น ควรเลือกซื้อจากสถานพยาบาล หน่วยงานของรัฐ หรือร้านขายยาทั่วไปที่มีเภสัชกรควบคุม เพื่อให้คำแนะนำเกี่ยวกับวิธีการใช้ วิธีการเก็บสิ่งตรวจ วิธีการแปลผล การปฏิบัติตัวหลังทราบผลการตรวจ และการทิ้งชุดตรวจอย่างถูกต้อง เนื่องจากชุดตรวจโควิดเป็นเครื่องมือแพทย์ไม่แนะนำให้ซื้อผ่านช่องทางออนไลน์ เพราะอาจจะได้ชุดตรวจที่ไม่มีคุณภาพไม่ผ่าน อย. และอาจจะได้ผลการตรวจที่ผิดพลาดได้กรณีที่มีประเด็นการขายชุดตรวจโควิด-19 ทางสื่อออนไลน์และมีการโฆษณาลดแลกแจกแถม ทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ตรวจสอบพบว่าเป็นการกระทำผิดตามกฎหมายเป็นจำนวนมาก หากผู้ประกอบธุรกิจจะทำการขายและโฆษณา ต้องขออนุญาตขึ้นทะเบียนกับ อย. ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์ที่จะอนุญาตให้โฆษณานั้นต้องเป็นผลิตภัณฑ์ที่ถูกต้องตามกฎหมายทั้งนี้ หากมีการจำหน่ายและการโฆษณาผ่านทางช่องทางออนไลน์โดยไม่ขออนุญาตอย่างถูกต้อง มีความผิดฐานโฆษณาเครื่องมือแพทย์โดยไม่ได้รับอนุญาต มีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตาม พ.ร.บ. เครื่องมือแพทย์ พ.ศ. 2551 ส่วนของผู้ที่ขายชุดตรวจหาเชื้อโควิด-19 ที่ทำเลียนแบบหรือลวงให้เข้าใจผิดเรื่องชื่อคุณภาพ หรือแสดงว่าเป็นเครื่องมือแพทย์ที่ได้รับอนุญาต ซึ่งมิใช่ความจริง เป็นความผิดฐานขายเครื่องมือแพทย์ปลอม มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกินห้าแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตาม พ.ร.บ. เครื่องมือแพทย์ พ.ศ. 2551 หรือกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
สคบ. จึงขอแนะนำผู้บริโภคหากคิดจะเลือกซื้อชุดตรวจโควิด ควรเลือกซื้อจากสถานที่ที่มีการแนะนำข้างต้น อย่าเห็นแต่ของราคาถูกเพราะอาจจะได้สินค้าไม่มีคุณภาพมาตรฐาน เสี่ยงต่อการแปลผลผิดพลาด ผู้บริโภคควรสังเกตฉลากของชุดตรวจจะมีข้อความภาษาไทยระบุว่า “บุคคลทั่วไปสามารถใช้ได้” และเลขที่ประเมินเทคโนโลยีที่ได้รับอนุมัติจาก อย. ปรากฏบนฉลากหรือเอกสารกำกับเครื่องมือแพทย์ด้วยและควรศึกษาคู่มือวิธีการใช้และวิธีการแปลผลฉบับภาษาไทย เพื่อให้ผู้บริโภคเข้าใจและนำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง หากพบการขายและโฆษณา โดยไม่ได้รับอนุญาตกับ อย. สามารถร้องเรียนได้ที่สายด่วน อย. 1556 หากไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการซื้อสินค้าและบริการ หรือสินค้าไม่มีฉลากและโฆษณาเกินจริง สามารถร้องเรียนได้ที่ สคบ. 1166 หรือ www.ocpb.go.th และทางแอปพลิเคชัน OCPB Connect