🇹🇭มาลาริน💙24ธ.ค.ไม่ติดTop10 ป่วย2,671คน หายป่วย2,766คน ตาย27คนวัคซีน102โดส/โควิด75จว./หมอ ยงแนะ/AZเข็ม3 สะกัดโอมิครอน


https://www.sanook.com/news/8493366/


https://travel.trueid.net/detail/EpwDxDy0Jd17

https://news.trueid.net/detail/d3wjWoaXkEpn

https://siamrath.co.th/n/308386

https://siamrath.co.th/n/308387

เม่าแพนด้า ติดตามข่าวโควิดกันต่อไปค่ะ
วันนี้ลดลงและหายป่วยมากกว่าป่วยใหม่ /ดีใจนะคะ..นานาเชียร์อัพ

วัคซีนฉีดได้ 102 ล้านโดสแล้ว  /ไชโย! ...ฟิน

หมอ ยง แนะนำการฉีดกระตุ้นเข็ม3 /เยี่ยมค่ะ...เพี้ยนแข็งแรง

ส่วนAZ แจ้งผลวิจัยว่าเข็ม 3 สะกัดโอมิครอนได้/ข่าวดีค่ะ..oppa

แคทตัสยังสดใสอยู่นะคะ ...flower


เอากำลังใจมาฝากค่ะ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 15
แถลงความคืบหน้า สถานการณ์ โรคไวรัสโควิด-19 ประจำวันที่ 24 ธันวาคม 2564 เวลา 12.30 น.
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
แถลงความคืบหน้า สถานการณ์ โรคไวรัสโควิด-19
ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล
ประจำวันที่ 24 ธันวาคม 2564

กระทรวงสาธารณสุข แถลงสถานการณ์โควิด-19 ประจำวันที่ 24 ธันวาคม 2564 เวลา 13.00 น.
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
แถลงความคืบหน้าสถานการณ์ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
ณ กระทรวงสาธารณสุข
วันที่ 24 ธันวาคม 2564


[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
รวมสไลด์แถลงสถานการณ์โควิด-19 จาก ศบค.
วันศุกร์ที่ 24 ธันวาคม 2564
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/471617454456584


จำนวนการได้รับวัคซีนสะสม (28 ก.พ. - 23 ธ.ค. 2564)
รวม 101,609,859 โดส ใน 77 จังหวัด

ภาพรวมยอดฉีดวัคซีน วันที่ 23 ธันวาคม 2564
ยอดฉีดทั่วประเทศ 530,244 โดส

เข็มที่ 1 : 82,409 ราย
เข็มที่ 2 : 196,779 ราย
เข็มที่ 3 : 240,042 ราย

จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 1 สะสม : 50,861,722 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 2 สะสม : 45,016,506 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 3 สะสม : 5,731,631 ราย

แหล่งข้อมูล : MOPH-IC
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/471537301131266


[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ช่วงนี้ผู้ติดเชื้อสายพันธุ์ Omicron เริ่มมากขึ้น หากยังไม่ได้รับวัคซีน ให้รีบไปรับจะดีที่สุด วัคซีนช่วยกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกัน ทำงานเป็นคู่ซ้อมให้ร่างกายได้สร้างภูมิคุ้มกัน หากร่างกายเจอเชื้อโควิด ในอนาคตก็จะได้มีภูมิคุ้มกันมาต่อสู้กับเชื้อโรคได้อย่างทันท่วงที

ที่มา : UNICEF Thailand ยูนิเซฟ ประเทศไทย
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/471496284468701


สถานการณ์โควิดต่างประเทศ

• สหราชอาณาจักร ตรวจพบผู้ติดเชื้อ COVID-19 รายใหม่ 106,122 ราย สูงที่สุดตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาด
โดยสหราชอาณาจักรมีผู้ติดเชื้อ COVID-19 สายพันธุ์ Omicron สะสม 195 ราย และเสียชีวิตสะสม 18 ราย

• สิงคโปร์ พบผู้ติดเชื้อสายพันธุ์ Omicron ส่วนใหญ่เดินทางด้วยช่องทางพิเศษชนิด VTL
สิงคโปร์พบผู้ติดเชื้อ COVID-19 สายพันธุ์ Omicron  ที่ยืนยันแล้ว 71 ราย เป็นผู้ติดเชื้อที่เดินทางจากต่างประเทศ 65 ราย ในจำนวนนี้ เป็นผู้เดินทางเข้าประเทศด้วยช่องทางพิเศษชนิด Vaccinated Travel Lane (VTL) 53 ราย เป็นการตรวจพบเชื้อจากการตรวจเชื้อวิธี RT - PCR หลังจากเดินทางเข้าประเทศ 41 ราย และจากการตรวจเชื้อด้วยชุดตรวจ ATK ระหว่างพำนักในสิงคโปร์อีก 12 ราย อย่างไรก็ดี ร้อยละ 90 ของผู้ติดเชื้อ Omicron ที่เดินทางเข้าสิงคโปร์ด้วยช่องทาง VTL ส่วนใหญ่เป็นพลเมืองสิงคโปร์

ที่มา : สำนักข่าวกรองแห่งชาติ
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/471548751130121


รายละเอียดผู้เสียชีวิตของประเทศไทย
วันศุกร์ที่ 24 ธันวาคม 2564 จำนวน 27 ราย
แหล่งข้อมูล : กระทรวงสาธารณสุข
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/471618507789812


กรมพระศรีสวางควัฒนฯ พระราชทานเทคโนโลยีการสังเคราะห์ยาโมลนูพิราเวียร์
ที่ทรงประสบความสำเร็จ 2 วิธี แก่คนไทย

เมื่อเวลา 14.00 น. วันที่ 23 ธันวาคม 2564 ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี องค์ประธานสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ เสด็จออก ณ ห้องประชุม ชั้น 5 หอศิลป์พิมานทิพย์ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา พระราชทานพระวโรกาสให้พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และคณะ เข้าเฝ้า เพื่อทรงหารือถึงแนวทางการนำเทคโนโลยีการสังเคราะห์ยาโมลนูพิราเวียร์ (Molnupiravir) ที่ทรงประสบความสำเร็จ ไปใช้ประโยชน์ต่อการพัฒนายาเพื่อการรักษา เนื่องจากขณะนี้เชื้อไวรัสมีการกลายพันธุ์ได้รวดเร็วอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจทำให้ประสิทธิภาพของวัคซีนลดน้อยลงได้ การเร่งพัฒนายาเพื่อรักษาโรคติดเชื้อโควิด-19 จึงเป็นความจำเป็นเร่งด่วน

ในฐานะที่ทรงเป็นนักวิทยาศาสตร์ทั้งด้านเคมีและด้านวิทยาศาสตร์ชีวการแพทย์ จึงได้พยายามหาวิถีทางเพื่อแบ่งเบาภาระของรัฐบาล โดยทรงเริ่มโครงการวิจัยเพื่อเร่งพัฒนายาในรูปแบบต่าง ๆ สำหรับรักษาโรคโควิด-19 โดยเร็วที่สุด และได้ทรงเลือกยาโมลนูพิราเวียร์ (Molnupiravir) ที่จะมีประสิทธิภาพในการรักษาได้มากขึ้น ซึ่งได้ประสบความสำเร็จโดยอาศัยวิธีการ 2 วิธี

วิธีที่ 1 เป็นการสังเคราะห์โดยการใช้สารเคมีในกระบวนการทางอินทรีย์เคมีสังเคราะห์เพียง 3 ขั้นตอน ในเวลา 3 วัน จากสารตั้งต้นที่หาซื้อได้ในราคาไม่แพง โดยคำนวณค่าใช้จ่ายในการผลิตประมาณ 750 บาท ต่อ 1 คอร์ส ของการรักษา คือ 5 วัน ในขณะที่ยาที่ประกาศขายในต่างประเทศขณะนี้ มีราคาประมาณ 700 เหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 23,000 บาทต่อ 1 คอร์ส

วิธีการแบบที่ 2 เป็นการใช้เอนไซม์เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาโดยใช้ขั้นตอนเพียง 2 ขั้น เพื่อเติมหรือปรับเปลี่ยนโครงสร้างที่จำเป็นเท่านั้น และใช้เอนไซม์เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา สามารถลดค่าใช้จ่ายได้ ซึ่งขั้นตอนนี้ลดความซับซ้อนในการจัดการกับปฏิกิริยาอีกด้วย ดังนั้น ความสำเร็จนี้จะทำให้ประเทศไทยมีศักยภาพและเพิ่มขีดความสามารถในการผลิตตัวยาได้ภายในประเทศ

จากนั้นพระราชทานเทคโนโลยีการสังเคราะห์ยาโมลนูพิราเวียร์ (Molnupiravir) ที่ทรงประสบความสำเร็จทั้ง 2 วิธี แก่นายกรัฐมนตรี โดยขอมอบให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นำไปต่อยอดการผลิตในระดับอุตสาหกรรมให้แก่ประชาชนคนไทยทุกคน

ที่มา : กระทรวงสาธารณสุข
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/471600704458259


EU ยอมรับ Thailand Digital Health Pass บน “หมอพร้อม”
เพื่อใช้ในการเดินทางเข้าสหภาพยุโรปกว่า 60 ประเทศ/ดินแดน
เริ่ม มกราคม 2565

ที่มา : หมอพร้อม
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/471634664454863
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่