ทำไมเหงือกปลาแยกออกซิเจนได้โดยไม่ต้องใช้ไฟฟ้า

น้ำ คือ H2O เคยเรียนมาว่าต้องใช้ไฟฟ้ากระแสตรงแยก คือใช้พลังงานไฟฟ้าไปสลายพันธะโควาเลนต์
- ไฮโดนเจนเป็นปจะจุบวก ไปเกาะกับไฟขั้วลบ
- ออกซิเจนเป็นเป็นประจุลบ ไป้กาะกับไฟขั้วบวก

อยู่เฉยๆแยกไม่ได้ ต้องใส่พลังงานเข้าไป ถึงแยกได้

จึงสงสัยว่า
1. เหงือกปลาแยกออกซิเจนได้ยังไง ใช้พลังงานอะไรไปสลายพันธะ
2. ปลาได้ออกซิเจนไปใช้ แล้วไฮโดรเจหายไปไหน?

ปล.ถ้าหาไฮโดนเจนเจอนี่เท่ากับว่าปลาเป็นแหล่งผลิตไฮโดรเจนเลยรึเปล่า 555 renewable energy ฟรีๆ จากปลา
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 1
ในน้ำสะอาดตามแหล่งน้ำธรรมชาติ แก๊สออกซิเจนมันสามารถละลายในน้ำได้ในปริมาณหนึ่ง   
       เหงือกปลาแค่ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนแก๊สออกซิเจนในน้ำกับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ภายในหลอดเลือดฝอย
  ส่วนการวัดปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำ  เช่น  การวัดค่า DO เป็นต้น
ความคิดเห็นที่ 3
ก่อนอื่นดูภาพนี้ก่อนนะครับ
เป็นภาพจำลองโมเลกุลของ Oxygen ที่ละลาย (Dissolved) ในน้ำ
โมเลกุล O2 จะแยกกับโมเลกุล H2O


ส่วนเหงือกของปลา (Gill) จะมีโครงสร้างและการทำงานคล้ายปอดของคนเรา
คือจะมีหลอดเลือดฝอยจำนวนมากทำหน้าที่แลกเปลี่ยนแก้ส Oxygen
กับ Carbon dioxide โดยตรงผ่านทางผนังหลอดเลือด  โดยมิได้
เกี่ยวกับหลักการแยกด้วยไฟฟ้าเลยครับ  ดังนั้น O2 เท่านั้น
ที่จะแลกเปลี่ยนทางผนังหลอดเลือด  ส่วนโมเลกุล H2O จะไม่ได้ถูกแยกออกจากกัน
แสดงความคิดเห็น
อ่านกระทู้อื่นที่พูดคุยเกี่ยวกับ  วิทยาศาสตร์ เคมี พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ (Aquarium) ชีววิทยา
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่