สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 15
นี่คือตัวอย่างของการไม่ประสานงาน และบูรณาการของหน่วยงานรัฐ ครับ
จากรูปเราจะเห็นได้เลยครับว่า งานก่อสร้าง มีงานสะพานลอย กับงานขยายถนน ซึ่งส่วนที่มันเป็นปัญหาก็คืองานขยายถนนนี่แหละ
ปัญหาลักษณะนี้ มีมาให้เห็นเรื่อยๆ ครับ ไม่ใช่เฉพาะพื้นที่นี้อย่างเดียว ตัวละคร จะมี 3 ส่วน คือ (1)เจ้าของถนนอย่างกรมทางหลวง หรือกรมทางหลวงชนบท ขึ้นอยู่กับว่าเป็นถนนของใคร (2) ผู้รับเหมาของเจ้าของถนน และ (3) เจ้าของเสาไฟ อย่างการไฟฟ้า
1. เมื่อเจ้าของถนนนอย่างกรมทางหลวง หรือทางหลวงชนบท จะขยายถนน ก็จะขอตั้งงบประมาณล่วงหน้าตามระเบียบราชการทั่วๆ ไป 1-2 ปี ซึ่งเมื่อได้งบมาปุ๊บ ก็จะเริ่มสำรวจ ออกแบบ เคลียร์เรื่องพื้นที่ ควบคู่ไปกับการหาผู้รับเหมาตามขั้นตอนราชการ ซึ่งใช้เวลาประมาณซักครึ่งปี จะได้ผู้รับจ้างมา
2. ระหว่างนี้ เจ้าของถนน ก็จะเริ่มบอกการไฟฟ้า ว่า ให้มาย้ายเสาไฟออกไปชิดตามเขตทางใหม่ซะ งบประมาณในการย้ายตรงนี้ การไฟฟ้าต้องออกเงินเอง ซึ่งเรื่องเงินก็ไม่ใช่ปัญหาซักเท่าไหร่ เพราะหลังๆ มา การไฟฟ้า ก็กันงบประมาณไว้ใช้สำหรับงานแบบนี้เหมือนกัน และการไฟฟ้าก็จะขอแบบ หรือแนวถนนที่ชัดเจน จากกรมทาง เพื่อเอาไปออกแบบก่อสร้างไปตามขั้นตอน ในขณะที่ผู้รับเหมาที่ได้งานจากกรมทาง ก็จะเริ่มมาคุยกัน วางแผนงานร่วมกันว่าจะทำอะไร ตรงไหนก่อน
3. ถ้างานตามข้อ 2 มันราบรื่น ก็จะไม่มีปัญหาอะไร แต่ส่วนมาก เมื่อมีการขยายถนนเมื่อไหร่ กรมทางหลวงมักจะมีปัญหาพิพาท เรื่องที่ดิน กับชาวบ้าน และผู้ที่บุกรุกเสมอ ครับ เช่น บางจุดจะต้องเวนคืนที่ดินเพิ่มเพื่อสร้างสะพานกลับรถ เจ้าของที่ดินไม่ยอม ก็จะเกิดข้อพิพาทยืดเยื้อ หรือหลายๆ กรณี แนวเขตที่ดินชัดเจนแล้วว่าเป็นของกรมทางหลวงนั่นแหละ แต่ชาวบ้านตรงนั้นมาสร้างอะไรลุกล้ำ ก็จะเกิดการยื้อกันไปกันมา ทำให้เขตที่ดินในจุดที่มีปัญหา งานก็จะช้าไปหมดออกแบบยังไม่ได้ ก่อสร้างยังไม่ได้ ทั้งฝั่งของคนทำถนน และเสาไฟฟ้า
4. (เพิ่มเติม) ปัญหาทางฝั่งการไฟฟ้าเอง ก็จะมีอยู่ 2 ส่วนก็คือ ถ้าเขตพื้นที่ของกรมทางยังเคลียร์ไม่ได้ ก็จะยังออกแบบ ก่อสร้างไม่ได้เพราะไม่รู้จะเอาเสาไปไว้ตรงไหน หากพื้นที่ยังไม่เคลียร์ ส่วนอีกปัญหาหนึ่งก็คือเรื่องการดับไฟ ย้ายเสาที ต้องดับไฟแถบนั้นทั้งแถบ ถ้ามีพวกโรงงานใหญ่ๆ ก็ต้องมานัดกันล่วงหน้าว่าจะดับได้วันไหนบ้าง ถ้ามีหลายๆ โรงงาน กว่านัดวันตรงกันได้หมด ก็ค่อนข้างใช้เวลา ไม่สามารถดับไฟทำงานได้ทันที
5. งานมีปัญหา ล่าช้า แต่สัญญาของกรมทาง ที่ทำไว้กับผู้รับเหมา ยังกำหนดเสร็จตามเดิมครับ ไม่ได้มีการขยายสัญญาให้ผู้รับเหมา เมื่อเสาไฟฟ้ายังย้ายออกไม่ได้ ไม่ว่าจะมาจากปัญหาการเคลียร์พื้นที่ของกรมทางเอง หรือว่ามาจากปัญหาล่าช้าของการไฟฟ้าเอง ก็ตาม แต่คนรับเคราะห์ค่าปรับงานล่าช้า คือ ผู้รับเหมา เขาก็ไม่มีทางเลือกครับ ต้องทู่ซี้สร้างมันไปทั้งอย่างนั้นนั่นแหละ เพื่อให้ทำงานครบตามสัญญาจ้าง และไม่โดนค่าปรับ ถ้าเสาไฟฟ้าย้ายออกไปได้เมื่อไหร่ ค่อยมาตามเก็บความเรียบร้อยทีหลัง
พวกกรณีอย่างสะพานลอยนี้
หรือกรณีเสาไฟไปปักอยู่บนถนน
https://www.sanook.com/news/8418414/
ก็มาจากปัญหาข้างบนนั่นแหละครับ
จากรูปเราจะเห็นได้เลยครับว่า งานก่อสร้าง มีงานสะพานลอย กับงานขยายถนน ซึ่งส่วนที่มันเป็นปัญหาก็คืองานขยายถนนนี่แหละ
ปัญหาลักษณะนี้ มีมาให้เห็นเรื่อยๆ ครับ ไม่ใช่เฉพาะพื้นที่นี้อย่างเดียว ตัวละคร จะมี 3 ส่วน คือ (1)เจ้าของถนนอย่างกรมทางหลวง หรือกรมทางหลวงชนบท ขึ้นอยู่กับว่าเป็นถนนของใคร (2) ผู้รับเหมาของเจ้าของถนน และ (3) เจ้าของเสาไฟ อย่างการไฟฟ้า
1. เมื่อเจ้าของถนนนอย่างกรมทางหลวง หรือทางหลวงชนบท จะขยายถนน ก็จะขอตั้งงบประมาณล่วงหน้าตามระเบียบราชการทั่วๆ ไป 1-2 ปี ซึ่งเมื่อได้งบมาปุ๊บ ก็จะเริ่มสำรวจ ออกแบบ เคลียร์เรื่องพื้นที่ ควบคู่ไปกับการหาผู้รับเหมาตามขั้นตอนราชการ ซึ่งใช้เวลาประมาณซักครึ่งปี จะได้ผู้รับจ้างมา
2. ระหว่างนี้ เจ้าของถนน ก็จะเริ่มบอกการไฟฟ้า ว่า ให้มาย้ายเสาไฟออกไปชิดตามเขตทางใหม่ซะ งบประมาณในการย้ายตรงนี้ การไฟฟ้าต้องออกเงินเอง ซึ่งเรื่องเงินก็ไม่ใช่ปัญหาซักเท่าไหร่ เพราะหลังๆ มา การไฟฟ้า ก็กันงบประมาณไว้ใช้สำหรับงานแบบนี้เหมือนกัน และการไฟฟ้าก็จะขอแบบ หรือแนวถนนที่ชัดเจน จากกรมทาง เพื่อเอาไปออกแบบก่อสร้างไปตามขั้นตอน ในขณะที่ผู้รับเหมาที่ได้งานจากกรมทาง ก็จะเริ่มมาคุยกัน วางแผนงานร่วมกันว่าจะทำอะไร ตรงไหนก่อน
3. ถ้างานตามข้อ 2 มันราบรื่น ก็จะไม่มีปัญหาอะไร แต่ส่วนมาก เมื่อมีการขยายถนนเมื่อไหร่ กรมทางหลวงมักจะมีปัญหาพิพาท เรื่องที่ดิน กับชาวบ้าน และผู้ที่บุกรุกเสมอ ครับ เช่น บางจุดจะต้องเวนคืนที่ดินเพิ่มเพื่อสร้างสะพานกลับรถ เจ้าของที่ดินไม่ยอม ก็จะเกิดข้อพิพาทยืดเยื้อ หรือหลายๆ กรณี แนวเขตที่ดินชัดเจนแล้วว่าเป็นของกรมทางหลวงนั่นแหละ แต่ชาวบ้านตรงนั้นมาสร้างอะไรลุกล้ำ ก็จะเกิดการยื้อกันไปกันมา ทำให้เขตที่ดินในจุดที่มีปัญหา งานก็จะช้าไปหมดออกแบบยังไม่ได้ ก่อสร้างยังไม่ได้ ทั้งฝั่งของคนทำถนน และเสาไฟฟ้า
4. (เพิ่มเติม) ปัญหาทางฝั่งการไฟฟ้าเอง ก็จะมีอยู่ 2 ส่วนก็คือ ถ้าเขตพื้นที่ของกรมทางยังเคลียร์ไม่ได้ ก็จะยังออกแบบ ก่อสร้างไม่ได้เพราะไม่รู้จะเอาเสาไปไว้ตรงไหน หากพื้นที่ยังไม่เคลียร์ ส่วนอีกปัญหาหนึ่งก็คือเรื่องการดับไฟ ย้ายเสาที ต้องดับไฟแถบนั้นทั้งแถบ ถ้ามีพวกโรงงานใหญ่ๆ ก็ต้องมานัดกันล่วงหน้าว่าจะดับได้วันไหนบ้าง ถ้ามีหลายๆ โรงงาน กว่านัดวันตรงกันได้หมด ก็ค่อนข้างใช้เวลา ไม่สามารถดับไฟทำงานได้ทันที
5. งานมีปัญหา ล่าช้า แต่สัญญาของกรมทาง ที่ทำไว้กับผู้รับเหมา ยังกำหนดเสร็จตามเดิมครับ ไม่ได้มีการขยายสัญญาให้ผู้รับเหมา เมื่อเสาไฟฟ้ายังย้ายออกไม่ได้ ไม่ว่าจะมาจากปัญหาการเคลียร์พื้นที่ของกรมทางเอง หรือว่ามาจากปัญหาล่าช้าของการไฟฟ้าเอง ก็ตาม แต่คนรับเคราะห์ค่าปรับงานล่าช้า คือ ผู้รับเหมา เขาก็ไม่มีทางเลือกครับ ต้องทู่ซี้สร้างมันไปทั้งอย่างนั้นนั่นแหละ เพื่อให้ทำงานครบตามสัญญาจ้าง และไม่โดนค่าปรับ ถ้าเสาไฟฟ้าย้ายออกไปได้เมื่อไหร่ ค่อยมาตามเก็บความเรียบร้อยทีหลัง
พวกกรณีอย่างสะพานลอยนี้
หรือกรณีเสาไฟไปปักอยู่บนถนน
https://www.sanook.com/news/8418414/
ก็มาจากปัญหาข้างบนนั่นแหละครับ
แสดงความคิดเห็น
การสร้างสะพานลอยคร่อมเสาไฟ มันเกิดขึ้นจากอะไรครับ
ซึ่งในแวดวงนักการเมืองท้องถิ่นหรือในแวดวงราชการก็ต้องมีซิกแซ็กบ้างอยู่แล้ว
ทำแบบนี้มันดูตงฉินแบบผิดคาดไปหน่อยน่ะครับ
https://mgronline.com/onlinesection/detail/9640000125767