พ่อแม่คนดังเลือกสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ให้ลูกอย่างไร?

           คณะผู้บริหารโรงเรียนนานาชาติเวลลิงตัน คอลเลจ กรุงเทพฯ จากซ้าย มร.เอียน เฮนเดอร์สัน รองผู้อำนวยการ เวลลิงตัน คอลเลจ สหราชอาณาจักร, นายกูรดิสถ์ จันทร์ศรีชวาลา สมาชิกวุฒิสภาและประธานกรรมการโรงเรียน, ดร.ดาริกา ลัทธพิพัฒน์ ประธานกรรมการโรงเรียนนานาชาติเวลลิงตัน คอลเลจ กรุงเทพฯ, มร.คริสโตเฟอร์ นิโคลส์ ครูใหญ่ และ ดร.จิม แพนตัน หัวหน้าฝ่ายซีเนียร์สคูล


พ่อแม่ยุคใหม่ตระหนักดีว่า การศึกษาที่มีคุณภาพอย่างแท้จริงนั้นไม่ได้หมายถึงการมุ่งสร้างทักษะทางวิชาการเพียงอย่างเดียว แต่ยังรวมถึงการปลูกฝังทักษะชีวิตที่จำเป็นผ่านประสบการณ์ที่หล่อหลอมให้เด็กๆ ใช้ชีวิตอย่างมีความสุข มีอิสระ และมีความมั่นใจในแบบของตัวเอง 

ช่วงเวลาแห่งการเรียนรู้ที่โรงเรียนนั้นมีบทบาทสําคัญในชีวิตของเด็ก   พ่อแม่ทุกคนจึงอยากมีส่วนร่วมในประสบการณ์อันมีค่านี้ เพื่อให้มั่นใจว่าบุตรหลานอันเป็นที่รักได้รับการเติมเต็มประสบการณ์อย่างดีที่สุดและมีความสุขอย่างแท้จริง ดังนั้นสิ่งที่ผู้ปกครองคาดหวังจึงมีมากกว่า “สิ่งอํานวยความสะดวกระดับเวิลด์คลาส”  ผู้ปกครองของเด็กเล็กส่วนใหญ่อาจมองหาสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและส่งเสริมพัฒนาการด้านการเรียนรู้ของลูกน้อยผ่านการเล่นอย่างสนุกสนาน ในขณะที่ผู้ปกครองของบุตรหลานวัยมัธยม มองหาแนวทางที่สนับสนุน “การคิดนอกกรอบ” ที่เอื้อต่อการศึกษาที่ครอบคลุม ทันสมัย มีความหลากหลาย ให้เด็กๆ ได้ค้นพบตัวตน เรียนรู้ความชอบ สร้างจุดแข็ง และสามารถกําหนดเส้นทางอนาคตของตนเองได้ในวันหน้า
            
พ่อแม่และผู้ปกครองย่อมคาดหวังให้ช่วงเวลาแห่งการเรียนรู้ที่โรงเรียน เป็นช่วงเวลาที่บุตรหลานได้รับประสบการณ์อันหลากหลายทั้งในและนอกห้องเรียน แล้วสภาพแวดล้อมแบบไหนที่จะให้พ่อแม่คนดังจะสามารถไว้วางใจ อุ่นใจสบายใจ ว่าจะทำให้ลูกๆ เรียนรู้ได้อย่างมีความสุข และการเฝ้ามองบุตรหลานที่ต้องเรียนออนไลน์ในช่วงที่ผ่านมานั้น ทำให้มุมมองเปลี่ยนไปหรือไม่ ลองมาฟังความคิดเห็นของพ่อแม่คนดัง ที่ตบเท้ากันมาร่วมกิจกรรม “Senior School Special Private Viewing” ซึ่งโรงเรียนนานาชาติเวลลิงตัน คอลเลจ กรุงเทพฯ เปิดบ้านต้อนรับผู้ปกครองของนักเรียนระดับซีเนียร์แบบเอ็กซคลูซีฟ เข้าเยี่ยมชมและแนะนำอาคารเรียนใหม่สำหรับนักเรียนระดับเยียร์ 7 ขึ้นไป ที่ผสมผสานระหว่างพื้นที่การเรียนรู้และการใช้ชีวิต (Learning & Living Space) ไว้ในพื้นที่เดียวกันอย่างลงตัว ซึ่งมีเหล่าพ่อแม่คนดังตบเท้าเข้าร่วมงานอย่างอบอุ่น 

นท-นทชาติ จินตกานนท์ ผู้อำนวยการสำนักการต่างประเทศ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) คุณพ่อของน้องน็อบบี้ นักเรียนระดับชั้นซีเนียร์ บอกว่า “ถ้าเราพูดในมุมทั่วไป สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่ดีคือที่ที่ทำให้เด็กรู้สึก “สบาย” ได้ใช้ชีวิตสนุกๆ ควบคู่ไปกับการเรียนรู้ ทำให้เขาเกิดความอยากรู้อยากเรียนไปโดยธรรมชาติ ซึ่งจะทำให้ความรู้ที่ได้มานั้นดีที่สุด อย่างอาคารเรียนระดับชั้นซีเนียร์ (Senior School) ของที่เวลลิงตัน คอลเลจ กรุงเทพฯ ก็จะเต็มไปด้วยพื้นที่ที่เดินเข้ามาแล้วรู้สึกสบายและมีการเรียนรู้แฝงอยู่ในทุกซอกมุม ซึ่งผมเชื่อว่าสภาพแวดล้อมที่ดีจะช่วยดึงสิ่งที่ดีที่สุดในตัวเด็กแต่ละคน ถ้าคุณมีศักยภาพเด่นตรงไหน โรงเรียนจะสามารถดึงสิ่งนั้นออกมาได้  ยิ่งวิกฤต COVID-19 ที่ทำให้ต้องเรียนออนไลน์ในช่วงที่ผ่านมา ก็ยิ่งทำให้ตระหนักว่าสังคมเป็นสิ่งที่ยังสำคัญมาก ถึงแม้เทคโนโลยีจะทำให้เรามีทางเลือกในการเรียนรู้เพิ่มขึ้น แต่การที่ลูกเราได้มาเรียน มาเจอเพื่อนๆ มาอยู่สภาพแวดล้อมที่ดีในโรงเรียนนั้นยังคงสำคัญมาก” 

           นทชาติ จินตกานนท์ ผู้อำนวยการสำนักการต่างประเทศ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) และสริตา จินตกานนท์ ผู้ชำนาญการ สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ หรือ ทีเส็บ และบุตรชาย

++++

              นัท- ชินทัต ศิริชนะชัย, ออม-นวดี โมกขะเวส  และน้องมังกร 


เช่นเดียวกับ นัท-ชิณทัต ศิริชนะชัย และออม-นวดี โมกขะเวส คุณพ่อคุณแม่น้องมังกร วัย 11 ปี ต่างก็ให้ความเห็นไปในทิศทางเดียวกันว่า รู้สึกดีที่โรงเรียนที่เลือกให้ลูกนั้นมีการทุ่มเทให้กับสภาพแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ ให้ความรู้สึกที่ไม่ใช่แค่โรงเรียน หากแต่เป็น “เมืองๆ หนึ่ง” ที่เด็กๆ สามารถเรียนรู้ได้อย่างไร้ขอบเขต ไปอยู่มุมไหนก็เกิดไอเดียได้ มากกว่าสมัยก่อนที่ครูต้องเป็นศูนย์กลางในการเรียนการสอน  

“พอได้เรียนในที่ที่ให้ความอิสระ คล่องตัวมากขึ้น ความคิดสร้างสรรค์ของเด็กก็จะตามมาด้วย เป็นโลกที่พวกเขาจะได้คิดได้ใช้พื้นที่อย่างเต็มที่ อย่างเมื่อก่อนลูกผมจะไม่ได้ชอบวิทยาศาสตร์ แต่พอมาอยู่ในสถานที่ที่มันเอื้อ บรรยากาศมันได้ มองไปนอกหน้าต่างก็มีต้นไม้  ในห้องก็มีครู มีเพื่อนๆ มีอุปกรณ์ครบถ้วน ก็เห็นความเปลี่ยนแปลงกลายเป็นกลับบ้านทุกวันมาเขาพูดถึงวิชาวิทย์ฯ ว่าสนุกขึ้น ตอนนี้อยากไปห้องแล็บที่สุด” คุณนัทเล่าพร้อมรอยยิ้มแห่งความภูมิใจที่ส่งผ่านแมสก์ออกมา

                 ดร.ดาริกา ลัทธพิพัฒน์ ประธานกรรมการโรงเรียนนานาชาติเวลลิงตัน คอลเลจ กรุงเทพฯ - รวิชญ์ เทิดวงส์ และบุตรสาว

+++++++

               มร.คริสโตเฟอร์ นิโคลส์ ครูใหญ่

+++++++

               ซินดี้ - สิรินยา บิชอพ รองประธานและหัวหน้าฝ่าย CSR สมาคมผู้ปกครองโรงเรียนนานาชาติ เวลลิงตัน คอลเลจ กรุงเทพฯ และไบรอน บิชอพ และบุตรสาว

++++++

               เบคกี้ – รมิดา รัสเซลล์ มณีเสถียร, ต้น – ปวัฑฒ์ มณีเสถียร และบุตรสาว 

++++++

            พิทักษ์พงศ์- สวัญชลัย พรพิบูลย์ และลูกๆ ทั้งสองคน 

++++++

ด้าน ดร.แพรว- ดาริกา ลัทธพิพัฒน์ ประธานกรรมการโรงเรียนนานาชาติเวลลิงตัน คอลเลจ กรุงเทพ เปิดใจถึงการออกแบบอาคารเรียนแห่งใหม่ Senior School ให้สามารถจุดประกายการเรียนรู้ได้ดีที่สุดว่า

“ผู้ปกครองในปัจจุบันมองหาแนวทางการศึกษาใหม่ๆ ดังนั้น การนำเสนอเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมของโรงเรียน จึงไม่ใช่แค่การให้ความสำคัญกับอาคารสถานที่และสิ่งอํานวยความสะดวกเท่านั้น แต่ทุกพื้นที่ต้องได้รับการออกแบบมาเป็นพิเศษ ด้วยเป้าหมายเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียนอย่างแท้จริง ยิ่งในฐานะที่เราเองก็เป็นแม่ของลูกๆ ที่อยู่ในวัยเรียนรู้ด้วยเช่นกัน ยิ่งต้องพิถีพิถันในการออกแบบ เพื่อให้มั่นใจว่าดีที่สุด โดยอาคารนี้ถูกสร้างมาเพื่อพวกเขาโดยเฉพาะ มีการเนรมิตรทุกตารางนิ้วให้เป็นพื้นที่แห่งการเรียนรู้และใช้ชีวิตไปพร้อมกัน ในบรรยากาศที่รายล้อมไปด้วยต้นไม้ใบหญ้า สายลม แสงแดดธรรมชาติ พร้อมสื่อการเรียนรู้และสิ่งอำนวยความสะดวกที่ทันสมัย ครบครัน พร้อมที่จะอ้าแขนรับเด็กจากโลกออนไลน์ กลับมาเรียนออนไซต์ผ่านมาตรการรับมือ COVID-19 อย่างเคร่งครัด”

++++++


   บรรยากาศกิจกรรม “Senior School Special Private Viewing” ซึ่งโรงเรียนนานาชาติเวลลิงตัน คอลเลจ 
กรุงเทพฯ



พาพันขยันพาพันเคลิ้มพาพันไฟท์ติ้ง
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่