ระหว่าง VLSI Design, หุ่นยนต์, AI-IOT, Quantum Computer คนไทยควรจะศึกษาด้านไหนให้มากๆเข้าไว้

โลกอนาคตต้องเข้าสู่ระบบอัตโนมัติอย่างเต็มตัว ทุกอย่างที่เคลื่อนไหวได้จะอัตโนมัติหมด ถ้าไม่นับงานสาย IT จ๋าๆแล้ว งานด้านวิศวกรรม ที่เกี่ยวข้องกับระบบอัตโนมัติต่างๆ ผมคัดมาสี่อย่างนี้พอ ที่ตอนนี้ทั่วโลกกำลังให้ความสำคัญ แล้วเพื่อนๆ คิดว่า คนไทยควรจะศึกษาด้านไหนให้มากๆเข้าไว้ เพื่อที่จะนำกลับเข้ามาพัฒนาประเทศชาติได้ในอนาคต

1) VLSI Design = ด้านชิปทั้งหมด ตั้นน้ำปลายน้ำ (หรืออาจ Fabless ก็ได้) ตั้งแต่ Analog, Digital Design, FPGA, Floorplan ไปจนถึง tap-out ออกมาเป็นชิป ASIC, MEMs

2) Robotics หรือหุ่นยนต์ = Hardware CAD Design, Software เช่น ROS, Gazebo และ Electronics เช่น Arduino, Raspi , Jetson Dev หรือออกแบบ PCB เองก็ Altium Design, Allegro, Eagle อีกหน่อยก็เอา Machine learning เข้ามาอีก เช่น รถยนต์ไร้คนขับ
 
3) AI-IOT เอา Edge Computing ทำ AI inference ไว้ตาม Node ต่างๆมาผสมกับ IOT อีกทีนึง

4) Quantum Computer เช่น Computer + Quantum Mechanics ก็อาจจะต้องออกแบบชิปในข้อแรกมา interface กันอีกทีนึง อันนี้ไม่แน่ใจ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 2
- การตลาดทั้งแบบดั้งเดิม และการตลาดออนไลน์
- การสร้างพันธมิตรทางธุรกิจระหว่างประเทศ
- การนำงานวิจัยมาพัฒนาให้สามารถใช้ในเชิงพาณิชย์ได้จริง (ออกแบบแล้วใช้งานได้จริง  ผลิตในระดับอุตสาหกรรมได้  คุ้มค่าการลงทุน)
- การจดสิทธิบัตร
- การออกแบบผลิตภัณฑ์หรือบริการให้ใช้งานง่ายและสวยงาม โดยคำนึงถึง UX (User Experience) และ UI (User Interface)
- การเขียนแผนธุรกิจเพื่อขอระดมเงินทุนจาก VC (Venture Capital) , Crowdfunding , การขอสินเชื่อจากธนาคาร หรือแหล่งเงินทุนอื่นๆ
- การบริหารธุรกิจ
- การผลิตสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
- การเงิน การลงทุน และการบริหารความเสี่ยง
- การบริหารจัดการองค์ความรู้ภายในองค์กร
- กฏหมายภาษีและกฏหมายที่เกี่ยวกับการทำธุรกิจ

ปล. ถ้าผลิตสินค้าหรือบริการไฮเทคได้  แต่ขายสินค้าหรือบริการนั้นไม่ได้  สร้างกระแสเงินสดเพื่อหล่อเลี้ยงธุรกิจให้อยู่รอดไม่ได้  ก็ไร้ความหมาย  

ลองศึกษาประวัติบริษัทด้านเทคโนโลยีที่ประสบความสำเร็จ ดูซิครับ

ขอแนะนำว่าให้ไปสร้างธุรกิจที่ต่างประเทศ  แล้วค่อยมาบุกตลาดในไทยจะดีกว่า  เพราะสภาพแวดล้อมเอื้อต่อการสร้างธุรกิจใหม่มากกว่า
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่