คำด่ามาจากไหน(ในไทยนะ)ที่เราหาข้อมูลมันเขียนว่า

กระทู้คำถาม
เท่าที่เรียนรู้จากสังคมไทยสมัยเก่า พบว่ามีคำด่าแบบน่ารักน่าเอ็นดูอยู่ไม่น้อย เช่น สันขวาน หอกหัก บ้าบิ่น และก็มีที่นิยมด่าเป็นสำนวนโวหารแบบใช้ฝีมือทางกวี (เพื่อผลักภาระไปให้คนอื่นว่าคนโบราณเขาก็ด่ากันแบบนี้แต่ไหนแต่ไรมา) เช่น “ดีชั่วอยู่ที่ตัวทำ สูงต่ำอยู่ที่ทำตัว” “สำเนียงส่อภาษา กิริยาส่อสกุล” “เห็นช้างขี้ ขี้ตามช้าง” “คางคกขึ้นวอ”
ส่วนคำด่าในวรรณคดีอย่าง “อีกลีกลำส่ำสาม” คำของนางตะเภาแก้วตะเภาทองที่ด่านางวิมาลาเมียชาละวันว่า สัญชาติจระเข้ได้ผัวจระเข้แล้วไม่พอยังจะเอามนุษย์ (ไกรทอง) ทำผัวอีก นัยยะของคำจึงเป็นการด่านางวิมาลาว่า “หญิงกลี (กาลี) มีผัวถึงสามคน”
คำด่าของไทยร่วมสมัยโดยมากจะมีการแบ่งแยกเพศค่อนข้างชัดเจน โดยนิยมยกเอา “สัตว์” ไม่ประเสริฐทั้งหลายขึ้นเทียบเคียงในการด่ากัน ระดับการเจ็บแสบต่างกัน ขึ้นกับเพศเป็นสำคัญ
สำหรับเพศชาย ว่ากันตั้งแต่ “ควาย” สัตว์สี่เท้าช่วยงานมนุษย์ที่ไม่เคยขี้รดหัวใคร นอกจากเติมปุ๋ยข้าวกล้าในนาไร่ รวมทั้งสัตว์เลื้อยคลานที่นักธรรมชาติวิทยาระบุว่าเป็นตัวชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ของสิ่งแวดล้อมที่ “ ยิ้ม” อาศัยอยู่ แค่ชื่นชอบที่จะลากอาหารของคนอื่นไปกินในน้ำเท่านั้น หากเพศชายด้วยกันด่ากันเองก็มักมอบของส่วนตัวที่มีเหมือนๆ กันให้ไปดูต่างหน้า นั่นคือ “กล้วย” แต่ถ้าจะแฝงความหมายถึงความขลาดแล้วก็ต้อง “ไอ้ยิ้ม” ซึ่งคำนี้เองผู้ชายที่ถูกผู้ชายด้วยกันด่าก็จะเจ็บแสบประมาณหนึ่ง แต่ถ้าคนด่าเป็นผู้หญิงแล้วจะถึงกับปวดแสบปวดร้อนเลยทีเดียว ทำนองเดียวกับ “แรด” หากผู้ชายด่าผู้หญิงระดับความแสบร้อนจะสูงกว่าผู้หญิงด่าผู้หญิงหรือผู้หญิงด่าผู้ชายทบเท่าทวีคูณ
 
ในเพศหญิง นิยมด่าคนที่สร้างความขุ่นเคืองเทียบกับดอกไม้ชั้นสูงที่ทำจากเหล่าสุวรรณกาญจนา นั่นคือ “ยิ้ม” หากเป็นสมัยต้นรัตนโกสินทร์มีอยู่คำหนึ่งนั่นคือ “สำเพ็ง” ถึงแม้จะเป็นย่านการค้าขายของคนจีน แต่ก็มีการทำธุรกิจส่วนตัวของผู้หญิงด้วย คนที่โดนด่าจึงเท่ากับถูกเปรียบเปรยว่าเป็นโสเภณี ติดตามมาด้วยคำด่ายุคเปิดรับวัฒนธรรมตะวันตกที่มีความหมายคล้ายกันคือ “ช็อกการี”
 ฉากทะเลาะหนึ่งในละครเรื่องไกรทอง (ภาพจากหนังสือ “ร้องรำทำเพลง : ดนตรีและนาฏสิลป์ชาวสยาม”)
ส่วนคำที่ผู้หญิงนิยมด่าผู้หญิงด้วยกันรวมทั้งด่าผู้ชาย (ชายอกสามศอกทั่วไปคงไม่ใช้ด่าใคร นอกจากผู้ชายสีชมพู) นั่นคือ “หน้า ห. สระอี” ความเจ็บแสบคงอยู่ที่การให้ความหมายแบบสะท้อนกลับ ในเมื่อ ห. สระอี เป็นของที่ผู้ชายโดยมากปรารถนา แต่กลับมีทัศนคติเกี่ยวกับสิ่งนั้น เหมารวมถึง ประจำเดือน ตลอดจนผ้าถุงผู้หญิงเป็นของต่ำ ใครมีของดีของขลังเจอผ้าถุงหรือระดูของผู้หญิงเข้าก็ถึงกับเสื่อมถอย เมื่อผู้ชายเป็นคนตั้งมาตรฐาน ห. สระอี ให้ผู้หญิงเป็นของต่ำ ผู้หญิงก็เอาคำนี้ไว้ด่าผู้ชาย ผมเห็นผู้ชายรายไหนรายนั้น เป็นฟืนเป็นไฟหัวฟัดหัวเหวี่ยง
หากศึกษาคำด่าของเพศทางเลือกด้วยแล้ว อาลักษณ์คงจดบันทึกกันไม่ทันทีเดียว ด้วยเป็นการบัญญัติศัพท์ชนิดรายวัน เน้นแสบสันต์และโปกฮา อาทิ อีปลวกแคระ ชะนีหยอดเหรียญ เสลดเป็ดเทศ เห็บหมาไน ช้างกระพือ ชะนีฟลอร์ๆ พื้นบ้านกระดานไม้ หนังหน้าปลาดุกชนเขื่อน ปลากะโห้ติดเบ็ด จิ๋มติดมิเตอร์ ไปตายให้หนอน- เป็นต้น (ส่วนน้อยเท่าที่พอจะเผยแพร่ได้)
แถวบ้านผมมีอีกคำที่นิยมด่ากัน นั่นคือ “อีเห็ด” ตระกูลพืชชั้นต่ำ แต่จนแล้วจนรอดถึงทุกวันนี้ก็ยังไม่เข้าใจว่า เห็ด มันมีลักษณะพิเศษเฉพาะตัวอันเป็นคุณสมบัติชั่วช้าเลวทรามที่ไม่ควรเอาเป็นเยี่ยงอย่างอย่างไร หรือเพราะเห็ดเมื่อได้ฝนโดนไอชื้นเข้าหน่อยละบานสะพรั่ง (เป็นดอกเห็ด) คนถึงเอามาใช้เป็นคำด่าคนด้วยกัน
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่