JJNY : ติดเชื้อ4,912 เสียชีวิต33│มาแทนที่‘เดลต้า’แน่! ‘หมอมนูญ’เชื่อ│หวั่น“หวัดนก” ทุบส่งออกไก่│รุดให้กำลังใจ ‘ไครียะห์’

ไทยติดเชื้อโควิดใหม่ 4,912 ราย เสียชีวิต 33 ราย หายป่วยกลับบ้าน 5,844 ราย
https://www.matichon.co.th/covid19/news_3069727

 
เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม ศูนย์ข้อมูลโควิด 19 เผยแพร่ ยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 ประจำวันศุกร์ที่ 3 ธันวาคม 2564 รวม 4,912 ราย จำแนกเป็น
 
ผู้ป่วยจากระบบเฝ้าระวังฯ 4,606 ราย
ผู้ป่วยจากการค้นหาเชิงรุก 136 ราย
ผู้ป่วยภายในเรือนจำ/ที่ต้องขัง 157 ราย
ผู้ป่วยมาจากต่างประเทศ 13 ราย
ผู้ป่วยสะสม 2,101,778 ราย (ตั้งแต่ 1 เมษายน)
หายป่วยกลับบ้าน 5,844 ราย
หายป่วยสะสม 2,009,574 ราย (ตั้งแต่ 1 เมษายน)
ผู้ป่วยกำลังรักษา 72,761 ราย
เสียชีวิต 33 ราย


 
มาแทนที่ ‘เดลต้า’ แน่! ‘หมอมนูญ’ เชื่อ ‘โอไมครอน’ จะเล่นงานคนทุกผิวสีเสมอภาคกัน
https://www.dailynews.co.th/news/536761/

"หมอมนูญ" เชื่อโควิดสายพันธุ์ "โอไมครอน" จะแพร่ระบาดวงกว้างในคนผิวดำในทวีปแอฟริกา ก่อนกระจายต่อไปทั่วโลก เล่นงานทั้งคนผิวขาว คนเอเชีย คนผิวดำ เสมอภาคกัน จนอาจจะแทนที่สายพันธุ์ "เดลต้า" ในไม่ช้า

เมื่อวันที่ 3 ธ.ค. นพ.มนูญ ลีเชวงวงศ์ แพทย์เฉพาะทางด้านโรคระบบการหายใจ โรงพยาบาลวิชัยยุทธ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก หมอมนูญ ลีเชวงวงศ์ FC ระบุว่า 
 
เมื่อ 3 เดือนที่แล้วก่อนหน้าที่จะมีการค้นพบเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอน (Omicron)ในประเทศแอฟริกาใต้ นักวิทยาศาสตร์ยังแปลกใจ ทำไมคนผิวดำ 1,300 ล้านคนในทวีปแอฟริกามีอะไรดีหรือ ถึงได้ติดเชื้อไวรัสโควิดน้อย ไม่ติดกันในวงกว้างเหมือนกับคนในทวีปอเมริกา ยุโรป และเอเชีย ถึงแม้จะได้รับการฉีดวัคซีนน้อยมาก และมีการแพร่ระบาดของสายพันธุ์เดลต้าในทวีปแอฟริกาแล้วก็ตาม เหตุผลสำคัญผมสันนิษฐานว่า เนื่องจากคนผิวดำมีลักษณะทางพันธุกรรมต่างจากคนผิวขาวและคนเอเซีย ทำให้เชื้อไวรัสโควิด-19 แต่ละสายพันธุ์เล่นงานคนต่างเผ่าพันธุ์ไม่เหมือนกัน

ถ้ามองย้อนหลังเมื่อปีที่แล้ว เมื่อมีการแพร่ระบาดของไวรัสสายพันธุ์ D614G และสายพันธุ์อื่นๆ เช่นสายพันธุ์แอลฟาที่เกิดขึ้นในคนผิวขาวในทวีปยุโรป คนไทยและคนในประเทศอาเซียน ติดเชื้อไวรัสน้อย เชื้อนี้ไม่สามารถจะแพร่ระบาดเป็นวงกว้างในคนเอเซียได้ มีคนตั้งคำถามเหมือนกันว่า อาจเป็นเพราะคนเอเชียฉีดวัคซีนบี.ซี.จี.ป้องกันวัณโรคหรือเปล่า ขณะที่คนอเมริกันและคนในยุโรปตะวันตกไม่ฉีด ต้องรอให้สายพันธุ์เดลต้าเกิดขึ้นในคนอินเดีย เชื้อสายพันธุ์เดลต้าจึงสามารถระบาดได้ทั้งคนผิวขาวและคนเอเซีย แต่คนผิวดำในทวีปแอฟริกาก็ยังพบไม่มาก

เมื่อเดือน พ.ย.ที่ผ่านมาสายพันธุ์ใหม่ที่มีการกลายพันธุ์หลายตำแหน่งของยีนมากที่สุดทำให้เกิดการได้เปรียบกว่าสายพันธุ์เดิม ตั้งชื่อว่าสายพันธุ์โอไมครอน เกิดขึ้นในคนผิวดำประเทศบอตสวานา แล้วแพร่กระจายมาประเทศแอฟริกาใต้ ขณะนี้จำนวนผู้ติดเชื้อสายพันธุ์โอมิครอนเพิ่มขึ้นแซงหน้าสายพันธ์เดลต้าในประเทศแอฟริกาใต้แล้ว ผมเชื่อว่าสายพันธุ์โอมิครอนจากนี้ไป จะสามารถแพร่ระบาดเป็นวงกว้างในคนผิวดำในทวีปแอฟริกา และจะกระจายต่อไปทั่วโลก เล่นงานครั้งนี้ทุกคน ทั้งคนผิวขาว คนเอเซีย คนผิวดำ เสมอภาคกัน และอาจจะแทนที่สายพันธุ์เดลต้าในไม่ช้า.

https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=2096131383886948&id=604030819763686
 


หวั่นวิกฤต “หวัดนก” ลามโลก ทุบซ้ำส่งออกไก่ปี’64 วืดเป้า
https://www.prachachat.net/economy/news-812514

เฝ้าระวังไข้หวัดนกลามโลก ถล่มส่งออก ส.ไก่มั่นใจไทยมีมาตรการคุมเข้ม เอาอยู่ แต่ส่งออกไทยวืดเป้าหมาย 9.4 แสนตัน เหตุหลักขาดแรงงาน 2 หมื่นตันผลิตไม่ทัน ต้นทุนอาหารสัตว์พุ่งค่าระวางเรือแพง

นายคึกฤทธิ์ อารีปกรณ์ ผู้จัดการสมาคมผู้ผลิตไก่เพื่อส่งออกไทย กล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ได้ติดตามสถานการณ์การรายงานของกระทรวงเกษตรญี่ปุ่นที่ยืนยันผ่านเว็บไซต์พบไข้หวัดนกชนิดก่อโรครุนแรง เป็นครั้งแรกในฤดูหนาวปีนี้
 
ในฟาร์มสัตว์ปีกในเมืองโยโกเตะ จังหวัดอากิตะ และได้ทำลายไก่ไข่ไปแล้วกว่า 143,000 ตัว พร้อมทั้งองค์การสุขภาพสัตว์โลก (OIE) รายงานพบการระบาดของโรคไข้หวัดนกชนิดความรุนแรงสูง (HPAI) ในต่างประเทศทั่วโลกต่อเนื่อง ตั้งแต่เดือนมกราคม 2564 ถึงปัจจุบัน รวมถึงพบการระบาดของโรคไข้หวัดนกในประเทศเพื่อนบ้าน ยุโรป อย่างใกล้ชิด
 
ซึ่งแม้ว่ายังไม่พบการระบาดในไทย แต่ผู้ประกอบการทุกรายได้เฝ้าระวัง ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันสำหรับการเลี้ยงอย่างเข้มงวด ทั้งนี้เชื่อว่าในหลาย ๆ ประเทศ เช่น ญี่ปุ่นเองก็มีมาตรการเข้มข้นซึ่งน่าจะสามารถควบคุมได้แล้ว
 
“สำหรับการส่งออกไก่ในปีนี้คาดว่าจะมีปริมาณ 913,000 ตัน เป็นตัวเลขที่ลดลง และไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ที่ 950,000 ตัน จากทั้งค่าระวางเรือยังคงทรงตัวในระดับสูงต่อเนื่อง โดยเฉพาะเส้นทางสหภาพยุโรป (EU) ประมาณ 13,000 เหรียญสหรัฐต่อตู้ 20 ฟุต ตามระยะทาง ซึ่งเป็นอัตราต้นทุนที่สูงมาก และต้นทุนการเลี้ยงจากราคาอาหารสัตว์สูงสุดในรอบ 13 ปี”
 
“ประกอบกับเริ่มเปิดประเทศแม้มีออร์เดอร์เข้ามามาก แต่ยังประสบปัญหาขาดแคลนแรงงานอย่างหนักมากกว่า 20,000 คน ล่าสุดต้องขอขอบคุณ คณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่มีมติเห็นชอบแนวทางการนำแรงงานต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ แต่ต้องยอมรับว่าต้องใช้เวลาเกี่ยวกับเอกสารและการดำเนินการ และกักตัวซึ่งยังคงเป็นไปอย่างล่าช้า หลังจากนี้สมาคมจะประเมินยอดส่งออกทั้งปีอีกครั้งหากแรงงานกลับมามากขึ้นตามแผนจะสามารถผลิตได้มากขึ้น”
 
อย่างไรก็ตาม ตลาดส่งออกขณะนี้ประเทศผู้นำเข้าสามารถควบคุมการแพร่ระบาดโควิดได้ การจับจ่ายในประเทศเริ่มฟื้น อีกทั้งจะเข้าสู่ช่วงเทศกาลคริสต์มาส ปีใหม่ เช่นเดียวกับตลาดในประเทศที่จากการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ ประชาชนเริ่มได้รับวัคซีน ร้านอาหาร ภัตตาคาร การท่องเที่ยวในประเทศ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่