ลาวเปิดเดินรถไฟความเร็วสูง แซงหน้าไทย เชื่อมระบบรางเส้นทางสายไหมกับจีน
https://www.thairath.co.th/scoop/theissue/2255510
ก้าวสำคัญของสปป.ลาว ในการทำพิธีเปิดรถไฟความเร็วสูงจีน-ลาว หรือเส้นทางรถไฟ "ล้านช้าง" ในวันที่ 2 ธ.ค. 2564 ตรงกับวันชาติลาว ปีที่ 46 เชื่อมต่อเมืองคุนหมิง มณฑลยูนนาน ทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีน มาสิ้นสุดที่นครเวียงจันทน์ ใช้เวลา 8 ชั่วโมง รวมระยะทาง 922.5 กิโลเมตร ก่อนจะเปิดเดินขบวนรถอย่างเป็นทางการในวันที่ 3 ธ.ค.นี้ เฉพาะขนส่งสินค้าเท่านั้น เนื่องจากสถานการณ์โควิดยังระบาดรุนแรง
รถไฟความเร็วสูงจีน-ลาว งบลงทุนประมาณ 1.9 แสนกว่าล้านบาท ซึ่งการลงทุนเกือบทั้งหมดเป็นของฝั่งจีน เป็นส่วนหนึ่งของนโยบาย "
หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง" หรือ BRI (Belt and Road Initiative) ของจีน หรือโครงการเส้นทางสายไหม ในการเชื่อมโครงข่ายขนส่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กับเอเชียใต้ เอเชียกลาง ไปถึงยุโรป แต่ก่อนจะไปถึงจุดนั้นในอนาคตต้องเชื่อมผ่านไทย ไปถึงสิงคโปร์
ส่วนความพร้อมของไทยอยู่ในช่วงเริ่มต้น กำลังก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง ระยะที่ 1 กรุงเทพฯ-นครราชสีมา และระยะที่ 2 นครราชสีมา-หนองคาย ก่อนเชื่อมต่อเส้นทางข้ามแดนช่วงจ.หนองคาย ในการก่อสร้างสะพานรถไฟข้ามแม่น้ำโขง รองรับการขนส่งเส้นทางประวัติศาสตร์ และเพิ่มโอกาสให้กับไทยในการส่งออกสินค้าไปจีนจากต้นทุนที่ถูกลง รวมถึงอานิสงส์จากการท่องเที่ยว หากการก่อสร้างประสบความสำเร็จ หลังล่าช้ามานาน
หากสมมติเส้นทางรถไฟสายนี้ เชื่อมต่อไปถึงไทย แม้ในความเป็นจริงอาจใช้ระยะเวลายาวนาน แต่ในแง่ประโยชน์ที่ไทยจะได้รับมีอย่างแน่นอน เช่นเดียวกับจีนและลาว "
รศ.ดร.ปิติ ศรีแสงนาม" ผู้อำนวยการศูนย์อาเซียนศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มองว่า จีนจะได้ประโยชน์จากการมีเส้นทางสำคัญในการขนส่งสินค้า และลดความเสี่ยงหากเกิดปัญหาในทะเลจีนใต้ เพราะขณะนี้มีเหตุการณ์สุ่มเสี่ยงจะเกิดการปะทะระหว่างจีนกับไต้หวัน จากการยั่วยุของสหรัฐฯ
นอกจากนี้จะเป็นเส้นทางไปสู่ตลาดอาเซียน ซึ่งมีประชากรกว่า 600 ล้านคน และการเข้าถึงแหล่งทรัพยากรทั้งคน และทรัพยากรทางธรรมชาติ รวมถึงได้ใช้ศักยภาพในการระบายกำลังผลิตส่วนเกิน
ขณะเดียวกันจีน ยังได้ใจจากประเทศกำลังพัฒนา ทั้งไทย ลาว เมียนมา และกัมพูชา ในการสร้างระบบโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะลาว รอคอยรถไฟมานาน 100 ปี ตั้งแต่สมัยฝรั่งเศสยึดครอง มีการปฏิรูปเศรษฐกิจในช่วงปี 1984-1986 เปลี่ยนจากลาวแลนด์ลอร์ด มาเป็นลาวแลนดิ้ง จึงฝากความหวังจากการมีรถไฟ และรถไฟสายนี้แพงมาก เพราะด้วยศักยภาพที่จะไปกู้เงินสถาบันการเงินระหว่างประเทศก็ยาก
“เมื่อลาวมีรถไฟ จึงเป็นความหวังในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่ไม่ใช่การค้าขาย แต่เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจในประเทศ เกิดการเดินทางไปมาหาสู่ระหว่างกันมากขึ้น จากเดิมต้องนั่งรถตู้ ใช้เวลานาน 10-15 ชั่วโมง และค่าโดยสารรถไฟก็ไม่แพงเท่าไร ทำให้คนเมืองและรอบนอกเชื่อมต่อกันมากขึ้น”
สำหรับระบบรถไฟรูปแบบนี้ ไม่หวังที่จะมีกำไร เหมือนกับจีน มีเพียงเส้นทางปักกิ่งเชื่อมกับเซี่ยงไฮ้ เท่านั้นที่มีกำไร ส่วนเส้นทางอื่นขาดทุน แต่ก่อให้เกิดการจ้างงาน ซึ่งกรณีของลาว มีวิธีคิดแบบเดียวกับจีน ไม่มีความคาดหวังเรื่องกำไร แต่ต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ และแม้ค่าโดยสารรถไฟจะแพงกว่าระบบขนส่งอื่น 10% แต่ประหยัดเวลามากกว่า
ในส่วนไทยหากเชื่อมต่อเส้นทางรถไฟสายนี้ จะได้ประโยชน์อย่างแน่นอน เพราะหากเจอเหตุการณ์ในทะเลจีนใต้ จะได้รับผลกระทบมากสุด ดังนั้นจะต้องมีเส้นทางขนส่งที่กระจายความเสี่ยง และจะเป็นแรงกระตุ้นสำคัญว่าไทยถึงเวลาแล้วต้องลงมือทำในเรื่องนี้อย่างจริงจัง เพื่อเชื่อมเส้นทางรถไฟกับประเทศอื่น เพราะการระบาดของโควิดทำให้ค่าระวางขนส่งแพงมากขึ้น และด้านการเดินเรือก็มีการยกเลิกหรือเลื่อน
“หากไทยเชื่อมทางรถไฟได้ ก็น่าทำให้ไทยมีทางเลือกในการขนส่ง และทำให้รัฐบาลต้องปรับตัว เร่งรัดมากยิ่งขึ้นในการพัฒนาระบบราง สร้างรถไฟทางคู่ไปภาคใต้ ไปภาคอีสาน เป็นช่วงเวลาที่ต้องเร่งรัดให้รวดเร็วมากขึ้น ให้ถูกที่ถูกเวลา ลดผลประโยชน์ส่วนตัวและเห็นประโยชน์แก่ประเทศชาติให้มากขึ้น อาจเป็นเวลาที่เหมาะสมในการปฏิรูปรัฐวิสาหกิจ เช่น การรถไฟ และอาจเป็นเครื่องมือในการก้าวกระโดด หรือแม้รางรถไฟเป็นทางคู่ แต่สามารถทำได้ให้เชื่อมโยงกันระหว่างระบบรางกับรถและถนน ขึ้นอยู่กับว่าจะพยายามเร่งรัดหรือไม่ ทั้งแรงผลักแรงถีบในการตั้งเป้าหมายให้ชัดเจน”
การเชื่อมต่อทางรถไฟในภูมิภาคของไทย อาจทำในรูปแบบของคณะกรรมการ โดยต้องผ่อนปรนกฎระเบียบ และคนนั่งหัวโต๊ะต้องมีธรรมาภิบาล เพื่อให้ไทยเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ในภูมิภาค และใช้ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์นำมาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด ในการเป็นเส้นทางขนส่งผ่านไปมา จนกลายเป็นฮับระบบขนส่งระบบรางในพื้นที่ทวีปนี้ด้วย
เมื่อเส้นทางรถไฟสายนี้เกิดขึ้น จะมีการพัฒนาในสองฝั่งข้างทางรถไฟและพื้นที่รอบข้างให้เกิดประโยชน์ จากการพัฒนาพื้นที่ค้าส่งและค้าปลีก รวมถึงความเจริญต่างๆ ตามมา จึงอยู่ที่วิธีคิดของคน อย่ามองว่าไทยจะตกเป็นเมืองขึ้นของจีน ซึ่งเป็นมายด์เซต (Mindset) ไม่แสวงโอกาส แม้ที่ผ่านมายอมรับว่าไทยก่อสร้างเส้นทางรถไฟความเร็วสูงล่าช้ามานาน ทั้งๆ ที่น่าจะทำได้ดีกว่านี้ จึงเป็นเรื่องที่น่าเสียดาย.
โอไมครอน ลามหนัก! พบผู้ติดเชื้อไวรัสกลายพันธุ์แล้ว 23 ประเทศ
https://www.tnnthailand.com/news/covid19/98189/
องค์การอนามัยโลก (WHO) เผยเชื้อไวรัส "โอไมครอน" ไปยัง 23 ประเทศทั่วโลกแล้ว คาดตัวเลขผู้ติดเชื้อจะเพิ่มสูงขึ้น
วันนี้( 2 ธ.ค.64) นายแพทย์
ทีโดรส อัดฮานอม กีบรีเยซุส ผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้กล่าวกับผู้สื่อข่าวระหว่างรายงานความคืบหน้าเกี่ยวกับสถานการณ์ไวรัสสายพันธุ์โอไมครอน ณ กรุงเจนีวาว่า ขณะนี้มีอย่างน้อย 23 ประเทศใน 5 จาก 6 ภูมิภาคที่เป็นสมาชิกของ WHO รายงานการพบผู้ติดเชื้อไวรัสโอไมครอน และคาดว่าตัวเลขผู้ติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ดังกล่าวจะเพิ่มสูงขึ้น
WHO ให้ความสำคัญกับสถานการณ์นี้อย่างจริงจัง และทุกประเทศทั่วโลกควรจะดำเนินการเช่นเดียวกัน แต่เราก็ไม่ควรแปลกใจ เพราะนี่คือพฤติการณ์ปกติของไวรัสอยู่แล้ว และยังจะดำเนินเช่นนี้ต่อไปตราบใดที่เรายังปล่อยให้เชื้อแพร่กระจายไปอย่างไม่หยุดยั้ง
นอกจากนี้ นายแพทย์
ทีโดรส กล่าวด้วยว่า ยังคงมีสิ่งที่ต้องเรียนรู้เกี่ยวกับไวรัสสายพันธุ์ใหม่ดังกล่าวอีกมากทั้งในด้านผลกระทบของไวรัสที่มีต่อการแพร่เชื้อ ความรุนแรงของโรคและประสิทธิภาพของการทดสอบ การรักษาและวัคซีน
หากประเทศและประชาชนไม่กระทำในสิ่งที่พวกเขาจำเป็นต้องกระทำเพื่อสกัดการแพร่เชื้อไวรัสสายพันธุ์เดลตา พวกเขาก็มิอาจหยุดยั้งไวรัสสายพันธุ์โอไมครอนได้เช่นเดียวกัน" และเรียกร้องให้นานาประเทศเพิ่มความพยายามในการฉีดวัคซีนและบังคับใช้มาตรการป้องกันอื่น ๆ เพื่อรับมือกับโรคระบาด
หุ้นไทยเปิดลบ7.43จุดตื่นข่าวสหรัฐพบโอไมครอน
https://www.innnews.co.th/finance/stock-market/news_245596/
ตลาดหุ้นไทยเปิดลบ 7.43 จุด แตะ 1,583.38 จุด ขณะสหรัฐประกาศพบโอไมครอนรายแรกอย่างเป็นทางการ ห่วงยุโรปอาจเป็นศูนย์กลางระบาด
บรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นไทยเช้าวันนี้ (2 ธ.ค.) เปิดทำการเมื่อเวลา 10.00 น. ดัชนีปรับตัวลดลง 7.43 จุด แตะ 1,583.38 จุด มูลค่าการซื้อขาย 2,046.27 ล้านบาท
นักวิเคราะห์ บล.ฟินันเซีย ไซรัส คาด SET Index ยังมีแนวโน้มผันผวนในระยะสั้นกรอบ 1,575-1,600 จุดและยังมีโอกาสพักตัวลง หลังสหรัฐฯประกาศพบผู้ติดเชื้อโควิดสายพันธุ์โอไมครอนรายแรกอย่างเป็นทางการ ขณะที่ยุโรปพบผู้ติดเชื้อหลายประเทศมากขึ้นและมีแนวโน้มอาจเป็นศูนย์กลางระบาดระลอกใหม่ ประเมินดัชนีมีโอกาสเกิด Panic และปรับตัวลงอีกครั้งหากไทยรายงานว่าพบผู้ติดเชื้อโอไมครอนเช่นกัน ซึ่งจะทำให้เกิดความกังวลแพร่กระจายเป็นวงกว้างและกลับมามีมาตรการคุมเข้มอีกครั้ง ซึ่งหากเกิดการระบาดทั่วโลกจะยิ่งตอกน้ำให้ธนาคารกลางต่างๆโดยเฉพาะ FED ดำเนินนโยบายการเงินยากขึ้นเนื่องจากเงินเฟ้อที่สูงและลากยาวกดดัน
JJNY : ลาวแซงหน้าไทย│โอไมครอนลามหนัก! พบผู้ติดเชื้อ 23 ปท.│หุ้นไทยเปิดลบ7.43จุด│กว่า 200,000 ลงชื่อหนุนสมรสเท่าเทียม
https://www.thairath.co.th/scoop/theissue/2255510
ก้าวสำคัญของสปป.ลาว ในการทำพิธีเปิดรถไฟความเร็วสูงจีน-ลาว หรือเส้นทางรถไฟ "ล้านช้าง" ในวันที่ 2 ธ.ค. 2564 ตรงกับวันชาติลาว ปีที่ 46 เชื่อมต่อเมืองคุนหมิง มณฑลยูนนาน ทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีน มาสิ้นสุดที่นครเวียงจันทน์ ใช้เวลา 8 ชั่วโมง รวมระยะทาง 922.5 กิโลเมตร ก่อนจะเปิดเดินขบวนรถอย่างเป็นทางการในวันที่ 3 ธ.ค.นี้ เฉพาะขนส่งสินค้าเท่านั้น เนื่องจากสถานการณ์โควิดยังระบาดรุนแรง
รถไฟความเร็วสูงจีน-ลาว งบลงทุนประมาณ 1.9 แสนกว่าล้านบาท ซึ่งการลงทุนเกือบทั้งหมดเป็นของฝั่งจีน เป็นส่วนหนึ่งของนโยบาย "หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง" หรือ BRI (Belt and Road Initiative) ของจีน หรือโครงการเส้นทางสายไหม ในการเชื่อมโครงข่ายขนส่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กับเอเชียใต้ เอเชียกลาง ไปถึงยุโรป แต่ก่อนจะไปถึงจุดนั้นในอนาคตต้องเชื่อมผ่านไทย ไปถึงสิงคโปร์
ส่วนความพร้อมของไทยอยู่ในช่วงเริ่มต้น กำลังก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง ระยะที่ 1 กรุงเทพฯ-นครราชสีมา และระยะที่ 2 นครราชสีมา-หนองคาย ก่อนเชื่อมต่อเส้นทางข้ามแดนช่วงจ.หนองคาย ในการก่อสร้างสะพานรถไฟข้ามแม่น้ำโขง รองรับการขนส่งเส้นทางประวัติศาสตร์ และเพิ่มโอกาสให้กับไทยในการส่งออกสินค้าไปจีนจากต้นทุนที่ถูกลง รวมถึงอานิสงส์จากการท่องเที่ยว หากการก่อสร้างประสบความสำเร็จ หลังล่าช้ามานาน
หากสมมติเส้นทางรถไฟสายนี้ เชื่อมต่อไปถึงไทย แม้ในความเป็นจริงอาจใช้ระยะเวลายาวนาน แต่ในแง่ประโยชน์ที่ไทยจะได้รับมีอย่างแน่นอน เช่นเดียวกับจีนและลาว "รศ.ดร.ปิติ ศรีแสงนาม" ผู้อำนวยการศูนย์อาเซียนศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มองว่า จีนจะได้ประโยชน์จากการมีเส้นทางสำคัญในการขนส่งสินค้า และลดความเสี่ยงหากเกิดปัญหาในทะเลจีนใต้ เพราะขณะนี้มีเหตุการณ์สุ่มเสี่ยงจะเกิดการปะทะระหว่างจีนกับไต้หวัน จากการยั่วยุของสหรัฐฯ
นอกจากนี้จะเป็นเส้นทางไปสู่ตลาดอาเซียน ซึ่งมีประชากรกว่า 600 ล้านคน และการเข้าถึงแหล่งทรัพยากรทั้งคน และทรัพยากรทางธรรมชาติ รวมถึงได้ใช้ศักยภาพในการระบายกำลังผลิตส่วนเกิน
ขณะเดียวกันจีน ยังได้ใจจากประเทศกำลังพัฒนา ทั้งไทย ลาว เมียนมา และกัมพูชา ในการสร้างระบบโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะลาว รอคอยรถไฟมานาน 100 ปี ตั้งแต่สมัยฝรั่งเศสยึดครอง มีการปฏิรูปเศรษฐกิจในช่วงปี 1984-1986 เปลี่ยนจากลาวแลนด์ลอร์ด มาเป็นลาวแลนดิ้ง จึงฝากความหวังจากการมีรถไฟ และรถไฟสายนี้แพงมาก เพราะด้วยศักยภาพที่จะไปกู้เงินสถาบันการเงินระหว่างประเทศก็ยาก
“เมื่อลาวมีรถไฟ จึงเป็นความหวังในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่ไม่ใช่การค้าขาย แต่เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจในประเทศ เกิดการเดินทางไปมาหาสู่ระหว่างกันมากขึ้น จากเดิมต้องนั่งรถตู้ ใช้เวลานาน 10-15 ชั่วโมง และค่าโดยสารรถไฟก็ไม่แพงเท่าไร ทำให้คนเมืองและรอบนอกเชื่อมต่อกันมากขึ้น”
สำหรับระบบรถไฟรูปแบบนี้ ไม่หวังที่จะมีกำไร เหมือนกับจีน มีเพียงเส้นทางปักกิ่งเชื่อมกับเซี่ยงไฮ้ เท่านั้นที่มีกำไร ส่วนเส้นทางอื่นขาดทุน แต่ก่อให้เกิดการจ้างงาน ซึ่งกรณีของลาว มีวิธีคิดแบบเดียวกับจีน ไม่มีความคาดหวังเรื่องกำไร แต่ต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ และแม้ค่าโดยสารรถไฟจะแพงกว่าระบบขนส่งอื่น 10% แต่ประหยัดเวลามากกว่า
ในส่วนไทยหากเชื่อมต่อเส้นทางรถไฟสายนี้ จะได้ประโยชน์อย่างแน่นอน เพราะหากเจอเหตุการณ์ในทะเลจีนใต้ จะได้รับผลกระทบมากสุด ดังนั้นจะต้องมีเส้นทางขนส่งที่กระจายความเสี่ยง และจะเป็นแรงกระตุ้นสำคัญว่าไทยถึงเวลาแล้วต้องลงมือทำในเรื่องนี้อย่างจริงจัง เพื่อเชื่อมเส้นทางรถไฟกับประเทศอื่น เพราะการระบาดของโควิดทำให้ค่าระวางขนส่งแพงมากขึ้น และด้านการเดินเรือก็มีการยกเลิกหรือเลื่อน
“หากไทยเชื่อมทางรถไฟได้ ก็น่าทำให้ไทยมีทางเลือกในการขนส่ง และทำให้รัฐบาลต้องปรับตัว เร่งรัดมากยิ่งขึ้นในการพัฒนาระบบราง สร้างรถไฟทางคู่ไปภาคใต้ ไปภาคอีสาน เป็นช่วงเวลาที่ต้องเร่งรัดให้รวดเร็วมากขึ้น ให้ถูกที่ถูกเวลา ลดผลประโยชน์ส่วนตัวและเห็นประโยชน์แก่ประเทศชาติให้มากขึ้น อาจเป็นเวลาที่เหมาะสมในการปฏิรูปรัฐวิสาหกิจ เช่น การรถไฟ และอาจเป็นเครื่องมือในการก้าวกระโดด หรือแม้รางรถไฟเป็นทางคู่ แต่สามารถทำได้ให้เชื่อมโยงกันระหว่างระบบรางกับรถและถนน ขึ้นอยู่กับว่าจะพยายามเร่งรัดหรือไม่ ทั้งแรงผลักแรงถีบในการตั้งเป้าหมายให้ชัดเจน”
การเชื่อมต่อทางรถไฟในภูมิภาคของไทย อาจทำในรูปแบบของคณะกรรมการ โดยต้องผ่อนปรนกฎระเบียบ และคนนั่งหัวโต๊ะต้องมีธรรมาภิบาล เพื่อให้ไทยเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ในภูมิภาค และใช้ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์นำมาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด ในการเป็นเส้นทางขนส่งผ่านไปมา จนกลายเป็นฮับระบบขนส่งระบบรางในพื้นที่ทวีปนี้ด้วย
เมื่อเส้นทางรถไฟสายนี้เกิดขึ้น จะมีการพัฒนาในสองฝั่งข้างทางรถไฟและพื้นที่รอบข้างให้เกิดประโยชน์ จากการพัฒนาพื้นที่ค้าส่งและค้าปลีก รวมถึงความเจริญต่างๆ ตามมา จึงอยู่ที่วิธีคิดของคน อย่ามองว่าไทยจะตกเป็นเมืองขึ้นของจีน ซึ่งเป็นมายด์เซต (Mindset) ไม่แสวงโอกาส แม้ที่ผ่านมายอมรับว่าไทยก่อสร้างเส้นทางรถไฟความเร็วสูงล่าช้ามานาน ทั้งๆ ที่น่าจะทำได้ดีกว่านี้ จึงเป็นเรื่องที่น่าเสียดาย.
โอไมครอน ลามหนัก! พบผู้ติดเชื้อไวรัสกลายพันธุ์แล้ว 23 ประเทศ
https://www.tnnthailand.com/news/covid19/98189/
องค์การอนามัยโลก (WHO) เผยเชื้อไวรัส "โอไมครอน" ไปยัง 23 ประเทศทั่วโลกแล้ว คาดตัวเลขผู้ติดเชื้อจะเพิ่มสูงขึ้น
วันนี้( 2 ธ.ค.64) นายแพทย์ทีโดรส อัดฮานอม กีบรีเยซุส ผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้กล่าวกับผู้สื่อข่าวระหว่างรายงานความคืบหน้าเกี่ยวกับสถานการณ์ไวรัสสายพันธุ์โอไมครอน ณ กรุงเจนีวาว่า ขณะนี้มีอย่างน้อย 23 ประเทศใน 5 จาก 6 ภูมิภาคที่เป็นสมาชิกของ WHO รายงานการพบผู้ติดเชื้อไวรัสโอไมครอน และคาดว่าตัวเลขผู้ติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ดังกล่าวจะเพิ่มสูงขึ้น
WHO ให้ความสำคัญกับสถานการณ์นี้อย่างจริงจัง และทุกประเทศทั่วโลกควรจะดำเนินการเช่นเดียวกัน แต่เราก็ไม่ควรแปลกใจ เพราะนี่คือพฤติการณ์ปกติของไวรัสอยู่แล้ว และยังจะดำเนินเช่นนี้ต่อไปตราบใดที่เรายังปล่อยให้เชื้อแพร่กระจายไปอย่างไม่หยุดยั้ง
นอกจากนี้ นายแพทย์ทีโดรส กล่าวด้วยว่า ยังคงมีสิ่งที่ต้องเรียนรู้เกี่ยวกับไวรัสสายพันธุ์ใหม่ดังกล่าวอีกมากทั้งในด้านผลกระทบของไวรัสที่มีต่อการแพร่เชื้อ ความรุนแรงของโรคและประสิทธิภาพของการทดสอบ การรักษาและวัคซีน
หากประเทศและประชาชนไม่กระทำในสิ่งที่พวกเขาจำเป็นต้องกระทำเพื่อสกัดการแพร่เชื้อไวรัสสายพันธุ์เดลตา พวกเขาก็มิอาจหยุดยั้งไวรัสสายพันธุ์โอไมครอนได้เช่นเดียวกัน" และเรียกร้องให้นานาประเทศเพิ่มความพยายามในการฉีดวัคซีนและบังคับใช้มาตรการป้องกันอื่น ๆ เพื่อรับมือกับโรคระบาด
หุ้นไทยเปิดลบ7.43จุดตื่นข่าวสหรัฐพบโอไมครอน
https://www.innnews.co.th/finance/stock-market/news_245596/
ตลาดหุ้นไทยเปิดลบ 7.43 จุด แตะ 1,583.38 จุด ขณะสหรัฐประกาศพบโอไมครอนรายแรกอย่างเป็นทางการ ห่วงยุโรปอาจเป็นศูนย์กลางระบาด
บรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นไทยเช้าวันนี้ (2 ธ.ค.) เปิดทำการเมื่อเวลา 10.00 น. ดัชนีปรับตัวลดลง 7.43 จุด แตะ 1,583.38 จุด มูลค่าการซื้อขาย 2,046.27 ล้านบาท
นักวิเคราะห์ บล.ฟินันเซีย ไซรัส คาด SET Index ยังมีแนวโน้มผันผวนในระยะสั้นกรอบ 1,575-1,600 จุดและยังมีโอกาสพักตัวลง หลังสหรัฐฯประกาศพบผู้ติดเชื้อโควิดสายพันธุ์โอไมครอนรายแรกอย่างเป็นทางการ ขณะที่ยุโรปพบผู้ติดเชื้อหลายประเทศมากขึ้นและมีแนวโน้มอาจเป็นศูนย์กลางระบาดระลอกใหม่ ประเมินดัชนีมีโอกาสเกิด Panic และปรับตัวลงอีกครั้งหากไทยรายงานว่าพบผู้ติดเชื้อโอไมครอนเช่นกัน ซึ่งจะทำให้เกิดความกังวลแพร่กระจายเป็นวงกว้างและกลับมามีมาตรการคุมเข้มอีกครั้ง ซึ่งหากเกิดการระบาดทั่วโลกจะยิ่งตอกน้ำให้ธนาคารกลางต่างๆโดยเฉพาะ FED ดำเนินนโยบายการเงินยากขึ้นเนื่องจากเงินเฟ้อที่สูงและลากยาวกดดัน