การประกาศรายชื่อ 23 ขุนพล ทัพอาทิตย์อุทัยแห่งอาเซียน (ฉายาจริงๆ O Sol Nascente แปลว่า The Rising Sun)
ทีมชาติ ติมอร์-เลสเต (หรือ ติมอร์ตะวันออก) อันดับโลก ปัจจุบันอยู่ที่ 194 ของโลก จากทั้งหมด 210 ประเทศ (อัพเดทล่าสุด ของรอบวันที่ 19 พฤศจิกายน 2564)
โดยหัวหน้าผู้ฝึกสอน ชาวบราซิล วัย 44 ปี Fábio Magrão - Fabio Joaquim Maciel da Silva [ ฟาบียู มาเกรา - ฟาบียู ฌูอากิม มาเซียล ดา ซิลวา ] อดีตกองกลางตัวทำเกม ของสโมสรบางกอกกล๊าส และศรีสะเกษ เอฟซี ในช่วงฤดูกาล 2010-2012 ที่อยู่ในสารบบลีกไทย
## การประกาศรายชื่อ 23 ขุนพล อย่างเป็นทางการ ## ** วงเล็บข้างหลังชื่อคือ สโมสรปัจจุบันที่สังกัดอยู่ ถ้าหลังชื่อสโมสร ไม่มีบอกชื่อประเทศ เท่ากับว่ามาจากลีกภายในประเทศ ของ ติมอร์-เลสเต **
(ปล. ผมขอใช้การทับศัพท์ ของภาษาโปรตุเกส นะครับ ตามภาษาหลักของประเทศติมอร์-เลสเต)
ผู้รักษาประตู : อาแดรีตู ราอุล แฟร์นันด์ส อายุ 24 ปี (อัสซาลัม เอฟซี) / แฟร์นันดู ดา คอสตา อายุ 21 ปี (เอสแอ็ลบี เลาลารา เบนฟิกา) / นาตาลีนู นูเนส ซูอารีส อายุ 20 ปี (การ์เกตู ดิลี เอฟซี)
กองหลัง : ดูอาร์เต คีมีเนส อายุ 20 ปี (ลาเลนอก ยูไนเต็ด) / กัสปาร์ ลูคัส ซูอารีส อายุ 25 ปี (ลาเลนอก ยูไนเต็ด) / คันดีดู มอนเตย์รู โอลีเวย์รา อายุ 23 ปี (เอเอ็ส ปอนตา เลสเต) / ฌูเอา ปันฌี ดูส ซันตูส อายุ 21 ปี (อัสซาลัม เอฟซี) / อาดีลีนู ตรินดาดี คูเอลญู มานีก อายุ 26 ปี (การ์เกตู ดิลี เอฟซี) / กูมารียู เอากุสตู แฟร์นันด์ส อายุ 20 ปี (ลาเลนอก ยูไนเต็ด) / #กัปตันทีม ฌอร์จี วิกตอร์ ซาบัส อายุ 25 ปี (การ์เกตู ดิลี เอฟซี) / เนลซอน ซาร์มีนตู วีเยกัส อายุ 21 ปี (เบาวิสตา เอฟซี - ติมอร์-เลสเต)
กองกลาง : เจลวานียู อันจีลู ดา คอสตา อายุ 23 ปี (การ์เกตู ดิลี เอฟซี) / อาร์มินดู คอร์เรย์ยา ดี อัลเมย์ดา อายุ 23 ปี (ลาเลนอก ยูไนเต็ด) / ออสวัลดู ลูคัส บัปติสตา แบลู อายุ 21 ปี (ลาเลนอก ยูไนเต็ด) / รูฟีนู วัลแตร์ กามา อายุ 23 ปี (ลาเลนอก ยูไนเต็ด) / ฟรังซียัตมา อัลเวส อีมา เกฟี อายุ 24 ปี (เบาวิสตา เอฟซี - ติมอร์-เลสเต)
กองหน้า : ฟีโลมีนู ฌูนียอร์ ดา คอสตา อายุ 23 ปี (เอสแอ็ลบี เลาลารา เบนฟิกา) / มูซินญู บาร์รีตู ดี ลิมา อายุ 19 ปี (เอสแอ็ลบี เลาลารา เบนฟิกา) / เอลียัส ฌูเอา ดา คอสตา เมสกีตา อายุ 19 ปี (ลาเลนอก ยูไนเต็ด) / ดานิลซอน คอนเซย์เซา อาราอูฌู อายุ 20 ปี (เบาวิสตา เอฟซี - ติมอร์-เลสเต) / เปาลู โดมิงกูส กาลี อายุ 24 ปี (ลาเลนอก ยูไนเต็ด) / อีดิต โรมานูส คริสตูเวา ซาวียู อายุ 29 ปี (เบาวิสตา เอฟซี - ติมอร์-เลสเต) / ฌูเอา เปดรู ดา ซิลวา เฟรย์ตัส อายุ 23 ปี (ยูไอทีเอ็ม เอฟซี - มาเลเซีย) ** เคยมาค้าแข้งลีกไทย กับสโมสร อุบล ยูไนเต็ด และ ม.นอร์ทกรุงเทพ เอฟซี **
... สโมสร ลาเลนอก ยูไนเต็ด คือแชมป์ลีกของประเทศติมอร์-เลสเต ทีมล่าสุด ในฤดูกาล 2018-2019 ส่วนในฤดูกาล 2019-2020 ยกเลิกทำการแข่งขัน เพราะการระบาดของ โควิด-19 โดยสโมสรนี้มีนักเตะติดทีมชาติมากที่สุดอยู่ที่ 8 คน ส่วนในฤดูกาลล่าสุด 2021 ณ ปัจจุบัน พึ่งจะเริ่มทำการแข่งขันวันที่ 12 พฤศจิกายน 2021 ที่ผ่านมา จะไปจบการแข่งขันกัน ในวันที่ 31 ธันวาคม 2021 โดยหลังผ่านไป 3 นัดแรก สโมสร การ์เกตู ดิลี เอฟซี มีคะแนนนำเป็นจ่าฝูงของตาราง เลยเป็นเหตุให้ มีผู้เล่น 4 คน เข้ามาสู่ทีมชาติ ...
ปล.
ทีมชาติ ติมอร์-เลสเต ชุดนี้ ไม่มีนักเตะโอนสัญชาติแม้แต่รายเดียว เป็นนักเตะที่เกิดที่ประเทศติมอร์ฯ ล้วนๆ ถ้าผมจำไม่ผิด จาก 23 รายชื่อนี้ จะมีอยู่ 2 ราย ที่เกิดที่ประเทศอินโดนีเซีย ส่วนนักเตะเกือบทุกคน ถือสัญชาติและพาสปอร์ตเป็นลูกครึ่งโปรตุเกส (เพราะเคยตกเป็นอาณานิคม ค.ศ.1520 จนถึงปัจจุบัน ก็ยังได้รับการช่วยเหลือในหลายๆ ด้านอยู่ แม้จะได้รับเอกเทศตั้งแต่ปี ค.ศ.1975 แล้วก็ตาม)
ส่วนเรื่องการจะดึงลูกครึ่งบราซิล (ซึ่งมันตลกมาก เพราะว่าคนติมอร์ฯ ใช้ชื่อแบบโปรตุเกสเลย ทำให้คิดว่ามีเชื้อสายบราซิล แต่ ติมอร์ฯ กับ บราซิล เกี่ยวข้องกันน้อยมากๆ นอกจากเรื่องการให้การสนับสนุนผ่าน ซีพีแอ็ลซี ในด้านการเมือง เพราะเป็นภาคีที่ใช้ภาษาโปรตุเกสเหมือนกัน นอกนั้นก็ไม่มีเลย) หรือการโอนสัญชาตินักเตะบราซิล เป็นไปได้ยากมากๆ เพราะใช้เงินในการเดินเรื่องเยอะมาก บวกกับสภาพเศรษฐกิจประเทศนี้ยากจน แทบไม่ต้องคิดเลย แม้จะมีความพยายามในการดึงตัว ผ่านสายสัมพันธไมตรีทางการฑูตที่ดี ระหว่าง ติมอร์-เลสเต กับ บราซิล ก็ได้แค่มาด้วยใจ ไม่ได้รับผลงานใดๆ ตอบแทน แถมการชี้แจงอธิบายที่มาที่ไปของ Ancestor's Origin ยิ่งเป็นเรื่องยากมาก ที่จะผ่านการตรวจสอบของ เอเอ็ฟซี ผมมองว่าตัดทิ้งไปได้เลย เว้นแต่ว่านักข่าวอยากเขียนข่าว เรียกกระแส ขายข่าวก็ว่ากันไป แต่ขอย้ำ ณ ตรงจุดนี้ ว่าไม่มีตัวโอนสัญชาติจากบราซิล อย่างแน่นอน (ไม่ได้แย้งว่าอดีตไม่เคยดึง แค่จะบอกว่าในปัจจุบัน มันเป็นไปไม่ได้แล้ว ค่อนข้างจะปิดความหวังนี้ได้เลยในอีก 5-10 ปีนี้)
... ขอเสริมเพิ่มอีกสักนิดนะครับ ในมุมมองส่วนตัวของผม ชื่อนักเตะที่ผมได้ถอดออกมา จากความพยายามอย่างสูงสุดของผม ในการแปลงทับศัพท์ จากภาษาโปรตุเกส มาเป็นภาษาไทย ด้วยประสบการณ์เกือบ 20 ปี ผมมองว่าถูกต้องประมาณ 55-70% ถ้าเป็นภาษาสเปน หรือเยอรมัน ถูกต้องแน่นอน 90-100% แต่ยอมรับว่า ภาษาโปรตุเกส ยากมากจริงๆ ผมใช้เทียบเคียงจากเว็บ อ่านคำทัพศัพย์ระดับโลก อย่าง Forvo.com หลายคำอยู่เหมือนกัน ปล.2 ผมเรียนจบด้านภาษาศาสตร์ และ โฟเนติก มาโดยตรงนะครับ เคยทำงานด้านสายข่าวกีฬาต่างประเทศมาหลายที่ประมาณนึง ...
[ ยินดีนะครับ ถ้าใครจะส่งต่อ หรือคัดลอกไปวางในสื่อ หรือช่องทางอื่นๆ นอกเหนือจากเว็บไซต์ พันทิป.คอม ไม่ต้องให้เครดิตก็ได้ครับ ไม่ได้ต้องการ แค่อยากนำเสนอข้อมูลที่น้อยคนจะไปสืบค้น หาข้อมูล ที่มา ที่ไป แถมเป็นทีมชาติที่นานๆ จะมีโปรแกรมนานาชาติ อย่างเป็นทางการทั้งทีเสียด้วย ]
เปิดเผย 23 รายชื่อ นักเตะทีมชาติ ติมอร์-เลสเต ก่อนเจอทีมชาติไทย ใน เอเอ็ฟเอ็ฟ ซูซูกิ คัพ 2020 (ถอดทับศัพท์ออกมาให้แล้ว)
ทีมชาติ ติมอร์-เลสเต (หรือ ติมอร์ตะวันออก) อันดับโลก ปัจจุบันอยู่ที่ 194 ของโลก จากทั้งหมด 210 ประเทศ (อัพเดทล่าสุด ของรอบวันที่ 19 พฤศจิกายน 2564)
โดยหัวหน้าผู้ฝึกสอน ชาวบราซิล วัย 44 ปี Fábio Magrão - Fabio Joaquim Maciel da Silva [ ฟาบียู มาเกรา - ฟาบียู ฌูอากิม มาเซียล ดา ซิลวา ] อดีตกองกลางตัวทำเกม ของสโมสรบางกอกกล๊าส และศรีสะเกษ เอฟซี ในช่วงฤดูกาล 2010-2012 ที่อยู่ในสารบบลีกไทย
## การประกาศรายชื่อ 23 ขุนพล อย่างเป็นทางการ ## ** วงเล็บข้างหลังชื่อคือ สโมสรปัจจุบันที่สังกัดอยู่ ถ้าหลังชื่อสโมสร ไม่มีบอกชื่อประเทศ เท่ากับว่ามาจากลีกภายในประเทศ ของ ติมอร์-เลสเต **
(ปล. ผมขอใช้การทับศัพท์ ของภาษาโปรตุเกส นะครับ ตามภาษาหลักของประเทศติมอร์-เลสเต)
ผู้รักษาประตู : อาแดรีตู ราอุล แฟร์นันด์ส อายุ 24 ปี (อัสซาลัม เอฟซี) / แฟร์นันดู ดา คอสตา อายุ 21 ปี (เอสแอ็ลบี เลาลารา เบนฟิกา) / นาตาลีนู นูเนส ซูอารีส อายุ 20 ปี (การ์เกตู ดิลี เอฟซี)
กองหลัง : ดูอาร์เต คีมีเนส อายุ 20 ปี (ลาเลนอก ยูไนเต็ด) / กัสปาร์ ลูคัส ซูอารีส อายุ 25 ปี (ลาเลนอก ยูไนเต็ด) / คันดีดู มอนเตย์รู โอลีเวย์รา อายุ 23 ปี (เอเอ็ส ปอนตา เลสเต) / ฌูเอา ปันฌี ดูส ซันตูส อายุ 21 ปี (อัสซาลัม เอฟซี) / อาดีลีนู ตรินดาดี คูเอลญู มานีก อายุ 26 ปี (การ์เกตู ดิลี เอฟซี) / กูมารียู เอากุสตู แฟร์นันด์ส อายุ 20 ปี (ลาเลนอก ยูไนเต็ด) / #กัปตันทีม ฌอร์จี วิกตอร์ ซาบัส อายุ 25 ปี (การ์เกตู ดิลี เอฟซี) / เนลซอน ซาร์มีนตู วีเยกัส อายุ 21 ปี (เบาวิสตา เอฟซี - ติมอร์-เลสเต)
กองกลาง : เจลวานียู อันจีลู ดา คอสตา อายุ 23 ปี (การ์เกตู ดิลี เอฟซี) / อาร์มินดู คอร์เรย์ยา ดี อัลเมย์ดา อายุ 23 ปี (ลาเลนอก ยูไนเต็ด) / ออสวัลดู ลูคัส บัปติสตา แบลู อายุ 21 ปี (ลาเลนอก ยูไนเต็ด) / รูฟีนู วัลแตร์ กามา อายุ 23 ปี (ลาเลนอก ยูไนเต็ด) / ฟรังซียัตมา อัลเวส อีมา เกฟี อายุ 24 ปี (เบาวิสตา เอฟซี - ติมอร์-เลสเต)
กองหน้า : ฟีโลมีนู ฌูนียอร์ ดา คอสตา อายุ 23 ปี (เอสแอ็ลบี เลาลารา เบนฟิกา) / มูซินญู บาร์รีตู ดี ลิมา อายุ 19 ปี (เอสแอ็ลบี เลาลารา เบนฟิกา) / เอลียัส ฌูเอา ดา คอสตา เมสกีตา อายุ 19 ปี (ลาเลนอก ยูไนเต็ด) / ดานิลซอน คอนเซย์เซา อาราอูฌู อายุ 20 ปี (เบาวิสตา เอฟซี - ติมอร์-เลสเต) / เปาลู โดมิงกูส กาลี อายุ 24 ปี (ลาเลนอก ยูไนเต็ด) / อีดิต โรมานูส คริสตูเวา ซาวียู อายุ 29 ปี (เบาวิสตา เอฟซี - ติมอร์-เลสเต) / ฌูเอา เปดรู ดา ซิลวา เฟรย์ตัส อายุ 23 ปี (ยูไอทีเอ็ม เอฟซี - มาเลเซีย) ** เคยมาค้าแข้งลีกไทย กับสโมสร อุบล ยูไนเต็ด และ ม.นอร์ทกรุงเทพ เอฟซี **
... สโมสร ลาเลนอก ยูไนเต็ด คือแชมป์ลีกของประเทศติมอร์-เลสเต ทีมล่าสุด ในฤดูกาล 2018-2019 ส่วนในฤดูกาล 2019-2020 ยกเลิกทำการแข่งขัน เพราะการระบาดของ โควิด-19 โดยสโมสรนี้มีนักเตะติดทีมชาติมากที่สุดอยู่ที่ 8 คน ส่วนในฤดูกาลล่าสุด 2021 ณ ปัจจุบัน พึ่งจะเริ่มทำการแข่งขันวันที่ 12 พฤศจิกายน 2021 ที่ผ่านมา จะไปจบการแข่งขันกัน ในวันที่ 31 ธันวาคม 2021 โดยหลังผ่านไป 3 นัดแรก สโมสร การ์เกตู ดิลี เอฟซี มีคะแนนนำเป็นจ่าฝูงของตาราง เลยเป็นเหตุให้ มีผู้เล่น 4 คน เข้ามาสู่ทีมชาติ ...
ปล. ทีมชาติ ติมอร์-เลสเต ชุดนี้ ไม่มีนักเตะโอนสัญชาติแม้แต่รายเดียว เป็นนักเตะที่เกิดที่ประเทศติมอร์ฯ ล้วนๆ ถ้าผมจำไม่ผิด จาก 23 รายชื่อนี้ จะมีอยู่ 2 ราย ที่เกิดที่ประเทศอินโดนีเซีย ส่วนนักเตะเกือบทุกคน ถือสัญชาติและพาสปอร์ตเป็นลูกครึ่งโปรตุเกส (เพราะเคยตกเป็นอาณานิคม ค.ศ.1520 จนถึงปัจจุบัน ก็ยังได้รับการช่วยเหลือในหลายๆ ด้านอยู่ แม้จะได้รับเอกเทศตั้งแต่ปี ค.ศ.1975 แล้วก็ตาม)
ส่วนเรื่องการจะดึงลูกครึ่งบราซิล (ซึ่งมันตลกมาก เพราะว่าคนติมอร์ฯ ใช้ชื่อแบบโปรตุเกสเลย ทำให้คิดว่ามีเชื้อสายบราซิล แต่ ติมอร์ฯ กับ บราซิล เกี่ยวข้องกันน้อยมากๆ นอกจากเรื่องการให้การสนับสนุนผ่าน ซีพีแอ็ลซี ในด้านการเมือง เพราะเป็นภาคีที่ใช้ภาษาโปรตุเกสเหมือนกัน นอกนั้นก็ไม่มีเลย) หรือการโอนสัญชาตินักเตะบราซิล เป็นไปได้ยากมากๆ เพราะใช้เงินในการเดินเรื่องเยอะมาก บวกกับสภาพเศรษฐกิจประเทศนี้ยากจน แทบไม่ต้องคิดเลย แม้จะมีความพยายามในการดึงตัว ผ่านสายสัมพันธไมตรีทางการฑูตที่ดี ระหว่าง ติมอร์-เลสเต กับ บราซิล ก็ได้แค่มาด้วยใจ ไม่ได้รับผลงานใดๆ ตอบแทน แถมการชี้แจงอธิบายที่มาที่ไปของ Ancestor's Origin ยิ่งเป็นเรื่องยากมาก ที่จะผ่านการตรวจสอบของ เอเอ็ฟซี ผมมองว่าตัดทิ้งไปได้เลย เว้นแต่ว่านักข่าวอยากเขียนข่าว เรียกกระแส ขายข่าวก็ว่ากันไป แต่ขอย้ำ ณ ตรงจุดนี้ ว่าไม่มีตัวโอนสัญชาติจากบราซิล อย่างแน่นอน (ไม่ได้แย้งว่าอดีตไม่เคยดึง แค่จะบอกว่าในปัจจุบัน มันเป็นไปไม่ได้แล้ว ค่อนข้างจะปิดความหวังนี้ได้เลยในอีก 5-10 ปีนี้)
... ขอเสริมเพิ่มอีกสักนิดนะครับ ในมุมมองส่วนตัวของผม ชื่อนักเตะที่ผมได้ถอดออกมา จากความพยายามอย่างสูงสุดของผม ในการแปลงทับศัพท์ จากภาษาโปรตุเกส มาเป็นภาษาไทย ด้วยประสบการณ์เกือบ 20 ปี ผมมองว่าถูกต้องประมาณ 55-70% ถ้าเป็นภาษาสเปน หรือเยอรมัน ถูกต้องแน่นอน 90-100% แต่ยอมรับว่า ภาษาโปรตุเกส ยากมากจริงๆ ผมใช้เทียบเคียงจากเว็บ อ่านคำทัพศัพย์ระดับโลก อย่าง Forvo.com หลายคำอยู่เหมือนกัน ปล.2 ผมเรียนจบด้านภาษาศาสตร์ และ โฟเนติก มาโดยตรงนะครับ เคยทำงานด้านสายข่าวกีฬาต่างประเทศมาหลายที่ประมาณนึง ...
[ ยินดีนะครับ ถ้าใครจะส่งต่อ หรือคัดลอกไปวางในสื่อ หรือช่องทางอื่นๆ นอกเหนือจากเว็บไซต์ พันทิป.คอม ไม่ต้องให้เครดิตก็ได้ครับ ไม่ได้ต้องการ แค่อยากนำเสนอข้อมูลที่น้อยคนจะไปสืบค้น หาข้อมูล ที่มา ที่ไป แถมเป็นทีมชาติที่นานๆ จะมีโปรแกรมนานาชาติ อย่างเป็นทางการทั้งทีเสียด้วย ]