อาการหนัก! เอสเอ็มอีจ่อปิดกิจการเพียบ วอนรัฐช่วยด่วน หวั่นคนตกงานเพิ่ม 1-2 ล้านคน
https://www.dailynews.co.th/news/515467/
เอสเอ็มอีไทยโคม่า 40% จ่อปิดกิจการ หลังขาดสภาพคล่องอย่างหนัก เข้าไม่ถึงเงินทุน วอนรัฐช่วยเหลือด่วน หวั่นช้าคนตกงานเพียบ 1-2 ล้านคน
นาง
เสาวณีย์ ไทยรุ่งโรจน์ ที่ปรึกษาสภามหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงผลสำรวจสถานภาพธุรกิจ ขนาดกลางและเล็ก (เอสเอ็มอี) ของไทย จัดทำโดยสถาบันยุทธศาสตร์การค้า มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ที่สำรวจเอสเอ็มอีทั่วประเทศ 625 ราย ในภาคอุตสาหกรรม การค้า และบริการ วันที่ 12-17 พ.ย.64 ว่า ธุรกิจเอสเอ็มอี ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 อย่างหนัก
โดยกลุ่มที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด หรือประมาณ 50-70% ของผู้ตอบแบบสอบถาม อยู่ในภาคการค้า (ค้าส่งค้าปลีก) และบริการ (ภัตตาคาร ร้านอาหาร ท่องเที่ยว ขนส่ง) ส่วนภาคอุตสาหกรรม ได้รับผลกระทบน้อยกว่า โดยผลสำรวจพบว่า เอสเอ็มอี ที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ หรือ 40.1% มีโอกาสปิดกิจการในเร็วๆ นี้ เพราะยอดขายลดลงเฉลี่ย 18.6% ต้นทุนเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 14.9% กำไรลดลงเฉลี่ย 20.6% ยอดคำสั่งซื้อลดลง 15.3% สภาพคล่องลดลง การจ้างงานลดลงเฉลี่ย 9.8%
ส่วนมาตรการผ่อนคลาย และการเปิดประเทศ แม้ทำให้การทำธุรกิจเริ่มกลับมา แต่เอสเอ็มอีจำนวนมาก กลับไม่มีความพร้อมด้านการเงิน เข้าไม่ถึงแหล่งเงินกู้ และไม่สามารถกู้เงินมาเสริมสภาพคล่องได้ แม้รัฐมีมาตรการช่วยเหลือเงินกู้ซอฟต์โลนอยู่แล้ว
ขณะเดียวกัน ยังมีปัญหาอื่นๆ เข้ามาซ้ำอีก ทั้งต้นทุนวัตถุดิบที่สูงขึ้น ราคาสินค้าที่ขายยังอยู่ในระดับต่ำ และยังไม่สามารถปรับขึ้นราคาขายได้ คู่แข่งในปัจจุบันมีจำนวนมาก อีกทั้งยังมีต้นทุนการเปิดกิจการตามมาตรการควบคุมโควิดที่เพิ่มขึ้นอีก สำหรับสิ่งที่ต้องการให้ภาครัฐเร่งช่วยเหลือ คือ สินเชื่อโดยไม่เน้นการค้ำประกัน การลดหย่อนภาษีนำเข้าวัตถุดิบและสินค้าทุนเพื่อลดต้นทุน การกระตุ้นการท่องเที่ยว การฉีดวัคซีนและควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19
”เรื่องสภาพคล่องเป็นปัญหาใหญ่และรุนแรง สถานการณ์ยังมีความเปราะบางมาก หากมีการระบาดระลอกใหม่จนจำเป็นต้องล็อกดาวน์อีก จะทำให้มีความเสี่ยงที่จะปิดกิจการมากขึ้น โดยเอสเอ็มอีมากกว่าครึ่ง ต้องการสินเชื่อเสริมสภาพคล่องอย่างมาก หรือวงเงินสินเชื่อที่ต้องการเฉลี่ยอยู่ที่ 654,924 บาท และคาดว่า ธุรกิจจะกลับมาเป็นปกติภายในไตรมาสที่ 4/65”
นอกจากนี้ ยังสนับสนุนให้รัฐบาลผ่อนคลายให้ธุรกิจกลางคืนสามารถเปิดกิจการได้ เนื่องจากธุรกิจนี้มีสัดส่วนต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ถึง 20% คิดเป็นเม็ดเงิน 2-3 ล้านล้านบาทต่อปี แต่ยังคงต้องเปิดภายใต้มาตรการทางด้านสาธารณสุขที่ให้ทุกคนปฏิบัติร่วมกัน เพื่อสามารถอยู่ร่วมกับโควิด-19 ได้
ด้านนาย
ธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดี และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า ภาครัฐควรดูแลปัญหาสภาพคล่องของเอสเอ็มอีอย่างเร่งด่วน คาดว่าจะใช้เม็ดเงิน 200,000-300,000 ล้านบาท แม้รัฐบาลจัดเตรียมงบประมาณในส่วนนี้ไว้แล้ว แต่เอสเอ็มอียังไม่ถึง หากเกิดการระบาดอย่างมากอีก จนเอสเอ็มอีต้องปิดกิจการราว 5% จะทำให้รายได้ของประเทศหายไปประมาณ 300,000 ล้านบาท และมีคนตกงานเพิ่มอีก 1-2 ล้านคน
สำหรับสถานการณ์โควิด-19 ในประเทศ เชื่อว่า ภาครัฐจะสามารถควบคุมได้ แต่เสนอแนะให้กระทรวงสาธารณสุข ชี้แจงข้อมูลบางอย่างให้ประชาชนรู้ เพื่อสร้างความมั่นใจ เช่น ผู้ติดเชื้อในขณะนี้มีอาการรุนแรงหรือไม่ มีมาตรการป้องกันสายพันธุ์กลายพันธุ์ ที่กำลังระบาดอยู่ในต่างประเทศหรือไม่ อย่างไรก็ตาม หากมีการผ่อนคลายมาตรการ และเปิดประเทศมากขึ้น จะช่วยให้เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวได้เร็วขึ้น แต่ขึ้นอยู่กับมาตรการป้องกัน และควบคุมการแพร่ระบาดที่มีประสิทธิภาพด้วย
มาถึงเอเชียแล้ว! ฮ่องกงพบติดโควิดพันธุ์ใหม่ B.1.1.529 จากแอฟริกาใต้ 2 ราย
https://www.tnnthailand.com/news/covid19/97648/
ฮ่องกงพบนักท่องเที่ยว 2 รายติดโควิดสายพันธุ์ใหม่ B.1.1.529 จากแอฟริกาใต้ 2 ราย 1 ในนั้นคาดติดเชื้อขณะกักตัว
วันนี้(26 พ.ย. 64)ฮ่องกงพบนักท่องเที่ยว 2 รายติดเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ที่พบในแอฟริกาใต้ โดยไวรัสดังกล่าวมีชื่อว่า B.1.1.529 รัฐบาลฮ่องกงเปิดเผยว่า พบนักท่องเที่ยวรายหนึ่งที่เดินทางมาจากแอฟริกาใต้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ B.1.1.529 ส่วนอีกรายเป็นนักท่องเที่ยวที่กักตัวอยู่ในโรงแรม ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่าผู้ติดเชื้อรายนี้พักอยู่ห้องตรงข้ามกับผู้ติดเชื้อรายแรก จึงมีความเป็นไปได้ว่าผู้ติดเชื้อรายที่ 2 อาจติดเชื้อจากผู้ป่วยรายแรกจากอากาศที่หมุนเวียนระหว่างห้องพัก
สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า นาย
โจ พาอาลา รัฐมนตรีสาธารณสุขของแอฟริกาใต้ระบุว่า ไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่เป็นกรณีที่น่าวิตกกังวลอย่างมาก ขณะที่แอนน์ ฟอน ก็อตต์เบิร์ก นักจุลชีววิทยาทางคลินิกและหัวหน้าแผนกโรคระบบทางเดินหายใจของสถาบันโรคติดต่อแห่งชาติของแอฟริกาใต้ระบุว่า นักไวรัสวิทยาตรวจพบผู้ติดเชื้อเกือบ 100 รายที่เชื่อมโยงกับไวรัสสายพันธุ์ดังกล่าวในแอฟริกาใต้
ทางด้านองค์การอนามัยโลก (WHO) เตรียมจัดการประชุมวาระพิเศษในวันนี้ (26 พ.ย.) เพื่อหารือเกี่ยวกับไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ที่พบในแอฟริกาใต้ โดยการประชุมในครั้งนี้มีขึ้นหลังจากที่นายทอม พีค็อก นักไวรัสวิทยาของอิมพีเรียล คอลเลจ ลอนดอนในอังกฤษได้ตรวจพบคลัสเตอร์ขนาดเล็กของผู้ติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ดังกล่าวซึ่งมีชื่อว่า B.1.1.529 ซึ่งไวรัสชนิดนี้สามารถหลบภูมิคุ้มกันได้
เพื่อไทย ซัด รบ.จัดการสาธารณสุขล้มเหลว ทำผู้ป่วยเส้นเลือดในสมองแตกดับ เหตุไร้รพ.รักษา
https://www.matichon.co.th/politics/news_3059500
“เพื่อไทย” ซัด รัฐบาลจัดการสาธารณสุขล้มเหลว หลังพบผู้ป่วยเส้นเลือดในสมองแตกดับ เหตุไร้รพ.รับรักษา ใช้เวลาประสาน-เดินทางนาน ขู่ ให้ญาติฟ้อง “ผู้นำรัฐบาล” ที่บริหารงานได้
เมื่อเวลา 11.05 น. วันที่ 26 พฤศจิกายน ที่รัฐสภา นพ.
สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ ส.ส.ชัยภูมิ นาย
จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ และน.ส.
ทัศนีย์ บูรณุปกรณ์ ส.ส.เชียงใหม่ พรรคเพื่อไทย ร่วมแถลงข่าวกรณีผู้ป่วยวิกฤตเส้นเลือดสมองแตก หลังถูกโรงพยาบาลปฏิเสธการรักษาและต้องส่งตัวไกล 156 กม. จนเสียชีวิต โดยนพ.
สุรวิทย์ กล่าวว่า หลังผู้ป่วยหมดสติที่บ้าน ญาติพาไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลใกล้บ้านแต่ถูกปฏิเสธว่าเตียงเต็มและส่งต่อไปที่โรงพยาบาลใกล้เคียง ซึ่งเป็นโรงพยาบาลที่ใช้สิทธิบัตรทองของผู้ป่วยแต่ก็ได้รับแจ้งว่าเตียงเต็มเช่นกัน ญาติจึงประสานโรงพยาบาลต่างๆ อีก 5-6 แห่งทั้งในเชียงใหม่และลำพูน แต่ก็ได้รับการปฏิเสธว่าเตียงเต็ม สุดท้ายก็ได้โรงพยาบาลที่รับรักษา โดยเป็นโรงพยาบาลที่อยู่ห่างไกลถึง 150 กิโลเมตร ทั้งนี้ ญาติผู้ป่วยเสียเวลาในการติดต่อประสานและเดินทางรวม 6 ชั่วโมง เมื่อไปถึงโรงพยาบาลแพทย์ได้ทำการตรวจและระบุว่าเป็นเส้นเลือดในสมองแตก ทำให้เลือดออกไปกดทับส่วนต่างๆ ของสมอง ทำให้อาการรุนแรงและเสียชีวิตในเวลาต่อมา กรณีนี้แสดงให้เห็นว่าการจัดระบบสาธารณสุขของไทยในปัจจุบันล้มเหลว ทั้งเรื่องโครงการผู้ป่วยฉุกเฉินรักษาใกล้บ้านที่สามารถรักษาที่โรงพยาบาลไหนก็ได้ รวมถึงเรื่องบัตรทองที่โรงพยาบาลที่ใช้สิทธิบัตรทองปฏิเสธผู้ป่วย ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเสียใจ ถ้ารัฐบาลบริหารจัดการตามบริการสาธารณสุขได้ดีกว่านี้ ผู้ป่วยรายนี้อาจจะไม่เสียชีวิต
ด้าน นาย
จุลพันธ์ กล่าวว่า เมื่อ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ตนเคยแถลงข่าวว่าสถานการณ์ด้านสาธารณสุขในเชียงใหม่เริ่มแตกเต็มที ซึ่งในรอบเดือนที่ผ่านมาจำนวนผู้ป่วยโควิดในเชียงใหม่อยู่ที่ลำดับ 2 แม้ขณะนี้ลำดับจะลดลง แต่จำนวนผู้ป่วยไม่ได้ลดลง ซึ่งสถานการณ์ความพร้อมด้านสาธารณสุขก็เริ่มมีปัญหา เราเคยเตือนรัฐบาลแล้วแต่ก็ไม่มีการแก้ไข สัญญาณที่เกิดขึ้นวันนี้เป็นสัญญาณแรกของการล่มสลายของระบบสาธารณสุข และจะมีเคสแบบนี้เกิดขึ้นอีกเรื่อยๆ หากรัฐบาลยังไม่ทำอะไร พวกตนก็ต้องหากลไกทางสภาฯ ในฐานะกรรมาธิการ (กมธ.) เข้าไปแก้ไข โดยจะยื่นเรื่องให้ กมธ.สาธารณสุข เพื่อดำเนินการหาว่าจุดบกพร่องอยู่ที่ไหน ทำไมสิ่งที่เราเคยทำมาดีๆ วันนี้ถึงใกล้ล่มสลาย เราต้องหาคำตอบเพื่อให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
ขณะที่ น.ส.
ทัศนีย์ กล่าวว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหากมีระบบสาธารณสุขที่ดี ผู้ป่วยเส้นเลือดในสมองใช้เวลา 4 ชั่วโมงก็สามารถรักษาได้ หากรัฐบาลยังไม่จัดการใดๆ อีก ส.ส.เชียงใหม่อาจจะรวมตัวกันและขอให้ญาติผู้เสียชีวิตเป็นโจทก์ฟ้อง พล.อ.
ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้นำรัฐบาลที่ไม่สามารถบริหารงานได้
JJNY : SMEs จ่อปิดกิจการเพียบ│ฮ่องกงพบติดโควิดพันธุ์ใหม่2ราย│เพื่อไทยซัดจัดการสธ.ล้มเหลว│หุ้นไทยร่วงกังวลโควิดพันธุ์ใหม่
https://www.dailynews.co.th/news/515467/
เอสเอ็มอีไทยโคม่า 40% จ่อปิดกิจการ หลังขาดสภาพคล่องอย่างหนัก เข้าไม่ถึงเงินทุน วอนรัฐช่วยเหลือด่วน หวั่นช้าคนตกงานเพียบ 1-2 ล้านคน
นางเสาวณีย์ ไทยรุ่งโรจน์ ที่ปรึกษาสภามหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงผลสำรวจสถานภาพธุรกิจ ขนาดกลางและเล็ก (เอสเอ็มอี) ของไทย จัดทำโดยสถาบันยุทธศาสตร์การค้า มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ที่สำรวจเอสเอ็มอีทั่วประเทศ 625 ราย ในภาคอุตสาหกรรม การค้า และบริการ วันที่ 12-17 พ.ย.64 ว่า ธุรกิจเอสเอ็มอี ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 อย่างหนัก
โดยกลุ่มที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด หรือประมาณ 50-70% ของผู้ตอบแบบสอบถาม อยู่ในภาคการค้า (ค้าส่งค้าปลีก) และบริการ (ภัตตาคาร ร้านอาหาร ท่องเที่ยว ขนส่ง) ส่วนภาคอุตสาหกรรม ได้รับผลกระทบน้อยกว่า โดยผลสำรวจพบว่า เอสเอ็มอี ที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ หรือ 40.1% มีโอกาสปิดกิจการในเร็วๆ นี้ เพราะยอดขายลดลงเฉลี่ย 18.6% ต้นทุนเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 14.9% กำไรลดลงเฉลี่ย 20.6% ยอดคำสั่งซื้อลดลง 15.3% สภาพคล่องลดลง การจ้างงานลดลงเฉลี่ย 9.8%
ส่วนมาตรการผ่อนคลาย และการเปิดประเทศ แม้ทำให้การทำธุรกิจเริ่มกลับมา แต่เอสเอ็มอีจำนวนมาก กลับไม่มีความพร้อมด้านการเงิน เข้าไม่ถึงแหล่งเงินกู้ และไม่สามารถกู้เงินมาเสริมสภาพคล่องได้ แม้รัฐมีมาตรการช่วยเหลือเงินกู้ซอฟต์โลนอยู่แล้ว
ขณะเดียวกัน ยังมีปัญหาอื่นๆ เข้ามาซ้ำอีก ทั้งต้นทุนวัตถุดิบที่สูงขึ้น ราคาสินค้าที่ขายยังอยู่ในระดับต่ำ และยังไม่สามารถปรับขึ้นราคาขายได้ คู่แข่งในปัจจุบันมีจำนวนมาก อีกทั้งยังมีต้นทุนการเปิดกิจการตามมาตรการควบคุมโควิดที่เพิ่มขึ้นอีก สำหรับสิ่งที่ต้องการให้ภาครัฐเร่งช่วยเหลือ คือ สินเชื่อโดยไม่เน้นการค้ำประกัน การลดหย่อนภาษีนำเข้าวัตถุดิบและสินค้าทุนเพื่อลดต้นทุน การกระตุ้นการท่องเที่ยว การฉีดวัคซีนและควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19
”เรื่องสภาพคล่องเป็นปัญหาใหญ่และรุนแรง สถานการณ์ยังมีความเปราะบางมาก หากมีการระบาดระลอกใหม่จนจำเป็นต้องล็อกดาวน์อีก จะทำให้มีความเสี่ยงที่จะปิดกิจการมากขึ้น โดยเอสเอ็มอีมากกว่าครึ่ง ต้องการสินเชื่อเสริมสภาพคล่องอย่างมาก หรือวงเงินสินเชื่อที่ต้องการเฉลี่ยอยู่ที่ 654,924 บาท และคาดว่า ธุรกิจจะกลับมาเป็นปกติภายในไตรมาสที่ 4/65”
นอกจากนี้ ยังสนับสนุนให้รัฐบาลผ่อนคลายให้ธุรกิจกลางคืนสามารถเปิดกิจการได้ เนื่องจากธุรกิจนี้มีสัดส่วนต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ถึง 20% คิดเป็นเม็ดเงิน 2-3 ล้านล้านบาทต่อปี แต่ยังคงต้องเปิดภายใต้มาตรการทางด้านสาธารณสุขที่ให้ทุกคนปฏิบัติร่วมกัน เพื่อสามารถอยู่ร่วมกับโควิด-19 ได้
ด้านนายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดี และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า ภาครัฐควรดูแลปัญหาสภาพคล่องของเอสเอ็มอีอย่างเร่งด่วน คาดว่าจะใช้เม็ดเงิน 200,000-300,000 ล้านบาท แม้รัฐบาลจัดเตรียมงบประมาณในส่วนนี้ไว้แล้ว แต่เอสเอ็มอียังไม่ถึง หากเกิดการระบาดอย่างมากอีก จนเอสเอ็มอีต้องปิดกิจการราว 5% จะทำให้รายได้ของประเทศหายไปประมาณ 300,000 ล้านบาท และมีคนตกงานเพิ่มอีก 1-2 ล้านคน
สำหรับสถานการณ์โควิด-19 ในประเทศ เชื่อว่า ภาครัฐจะสามารถควบคุมได้ แต่เสนอแนะให้กระทรวงสาธารณสุข ชี้แจงข้อมูลบางอย่างให้ประชาชนรู้ เพื่อสร้างความมั่นใจ เช่น ผู้ติดเชื้อในขณะนี้มีอาการรุนแรงหรือไม่ มีมาตรการป้องกันสายพันธุ์กลายพันธุ์ ที่กำลังระบาดอยู่ในต่างประเทศหรือไม่ อย่างไรก็ตาม หากมีการผ่อนคลายมาตรการ และเปิดประเทศมากขึ้น จะช่วยให้เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวได้เร็วขึ้น แต่ขึ้นอยู่กับมาตรการป้องกัน และควบคุมการแพร่ระบาดที่มีประสิทธิภาพด้วย
มาถึงเอเชียแล้ว! ฮ่องกงพบติดโควิดพันธุ์ใหม่ B.1.1.529 จากแอฟริกาใต้ 2 ราย
https://www.tnnthailand.com/news/covid19/97648/
ฮ่องกงพบนักท่องเที่ยว 2 รายติดโควิดสายพันธุ์ใหม่ B.1.1.529 จากแอฟริกาใต้ 2 ราย 1 ในนั้นคาดติดเชื้อขณะกักตัว
วันนี้(26 พ.ย. 64)ฮ่องกงพบนักท่องเที่ยว 2 รายติดเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ที่พบในแอฟริกาใต้ โดยไวรัสดังกล่าวมีชื่อว่า B.1.1.529 รัฐบาลฮ่องกงเปิดเผยว่า พบนักท่องเที่ยวรายหนึ่งที่เดินทางมาจากแอฟริกาใต้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ B.1.1.529 ส่วนอีกรายเป็นนักท่องเที่ยวที่กักตัวอยู่ในโรงแรม ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่าผู้ติดเชื้อรายนี้พักอยู่ห้องตรงข้ามกับผู้ติดเชื้อรายแรก จึงมีความเป็นไปได้ว่าผู้ติดเชื้อรายที่ 2 อาจติดเชื้อจากผู้ป่วยรายแรกจากอากาศที่หมุนเวียนระหว่างห้องพัก
สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า นายโจ พาอาลา รัฐมนตรีสาธารณสุขของแอฟริกาใต้ระบุว่า ไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่เป็นกรณีที่น่าวิตกกังวลอย่างมาก ขณะที่แอนน์ ฟอน ก็อตต์เบิร์ก นักจุลชีววิทยาทางคลินิกและหัวหน้าแผนกโรคระบบทางเดินหายใจของสถาบันโรคติดต่อแห่งชาติของแอฟริกาใต้ระบุว่า นักไวรัสวิทยาตรวจพบผู้ติดเชื้อเกือบ 100 รายที่เชื่อมโยงกับไวรัสสายพันธุ์ดังกล่าวในแอฟริกาใต้
ทางด้านองค์การอนามัยโลก (WHO) เตรียมจัดการประชุมวาระพิเศษในวันนี้ (26 พ.ย.) เพื่อหารือเกี่ยวกับไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ที่พบในแอฟริกาใต้ โดยการประชุมในครั้งนี้มีขึ้นหลังจากที่นายทอม พีค็อก นักไวรัสวิทยาของอิมพีเรียล คอลเลจ ลอนดอนในอังกฤษได้ตรวจพบคลัสเตอร์ขนาดเล็กของผู้ติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ดังกล่าวซึ่งมีชื่อว่า B.1.1.529 ซึ่งไวรัสชนิดนี้สามารถหลบภูมิคุ้มกันได้
เพื่อไทย ซัด รบ.จัดการสาธารณสุขล้มเหลว ทำผู้ป่วยเส้นเลือดในสมองแตกดับ เหตุไร้รพ.รักษา
https://www.matichon.co.th/politics/news_3059500
“เพื่อไทย” ซัด รัฐบาลจัดการสาธารณสุขล้มเหลว หลังพบผู้ป่วยเส้นเลือดในสมองแตกดับ เหตุไร้รพ.รับรักษา ใช้เวลาประสาน-เดินทางนาน ขู่ ให้ญาติฟ้อง “ผู้นำรัฐบาล” ที่บริหารงานได้
เมื่อเวลา 11.05 น. วันที่ 26 พฤศจิกายน ที่รัฐสภา นพ.สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ ส.ส.ชัยภูมิ นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ และน.ส.ทัศนีย์ บูรณุปกรณ์ ส.ส.เชียงใหม่ พรรคเพื่อไทย ร่วมแถลงข่าวกรณีผู้ป่วยวิกฤตเส้นเลือดสมองแตก หลังถูกโรงพยาบาลปฏิเสธการรักษาและต้องส่งตัวไกล 156 กม. จนเสียชีวิต โดยนพ.สุรวิทย์ กล่าวว่า หลังผู้ป่วยหมดสติที่บ้าน ญาติพาไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลใกล้บ้านแต่ถูกปฏิเสธว่าเตียงเต็มและส่งต่อไปที่โรงพยาบาลใกล้เคียง ซึ่งเป็นโรงพยาบาลที่ใช้สิทธิบัตรทองของผู้ป่วยแต่ก็ได้รับแจ้งว่าเตียงเต็มเช่นกัน ญาติจึงประสานโรงพยาบาลต่างๆ อีก 5-6 แห่งทั้งในเชียงใหม่และลำพูน แต่ก็ได้รับการปฏิเสธว่าเตียงเต็ม สุดท้ายก็ได้โรงพยาบาลที่รับรักษา โดยเป็นโรงพยาบาลที่อยู่ห่างไกลถึง 150 กิโลเมตร ทั้งนี้ ญาติผู้ป่วยเสียเวลาในการติดต่อประสานและเดินทางรวม 6 ชั่วโมง เมื่อไปถึงโรงพยาบาลแพทย์ได้ทำการตรวจและระบุว่าเป็นเส้นเลือดในสมองแตก ทำให้เลือดออกไปกดทับส่วนต่างๆ ของสมอง ทำให้อาการรุนแรงและเสียชีวิตในเวลาต่อมา กรณีนี้แสดงให้เห็นว่าการจัดระบบสาธารณสุขของไทยในปัจจุบันล้มเหลว ทั้งเรื่องโครงการผู้ป่วยฉุกเฉินรักษาใกล้บ้านที่สามารถรักษาที่โรงพยาบาลไหนก็ได้ รวมถึงเรื่องบัตรทองที่โรงพยาบาลที่ใช้สิทธิบัตรทองปฏิเสธผู้ป่วย ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเสียใจ ถ้ารัฐบาลบริหารจัดการตามบริการสาธารณสุขได้ดีกว่านี้ ผู้ป่วยรายนี้อาจจะไม่เสียชีวิต
ด้าน นายจุลพันธ์ กล่าวว่า เมื่อ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ตนเคยแถลงข่าวว่าสถานการณ์ด้านสาธารณสุขในเชียงใหม่เริ่มแตกเต็มที ซึ่งในรอบเดือนที่ผ่านมาจำนวนผู้ป่วยโควิดในเชียงใหม่อยู่ที่ลำดับ 2 แม้ขณะนี้ลำดับจะลดลง แต่จำนวนผู้ป่วยไม่ได้ลดลง ซึ่งสถานการณ์ความพร้อมด้านสาธารณสุขก็เริ่มมีปัญหา เราเคยเตือนรัฐบาลแล้วแต่ก็ไม่มีการแก้ไข สัญญาณที่เกิดขึ้นวันนี้เป็นสัญญาณแรกของการล่มสลายของระบบสาธารณสุข และจะมีเคสแบบนี้เกิดขึ้นอีกเรื่อยๆ หากรัฐบาลยังไม่ทำอะไร พวกตนก็ต้องหากลไกทางสภาฯ ในฐานะกรรมาธิการ (กมธ.) เข้าไปแก้ไข โดยจะยื่นเรื่องให้ กมธ.สาธารณสุข เพื่อดำเนินการหาว่าจุดบกพร่องอยู่ที่ไหน ทำไมสิ่งที่เราเคยทำมาดีๆ วันนี้ถึงใกล้ล่มสลาย เราต้องหาคำตอบเพื่อให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
ขณะที่ น.ส.ทัศนีย์ กล่าวว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหากมีระบบสาธารณสุขที่ดี ผู้ป่วยเส้นเลือดในสมองใช้เวลา 4 ชั่วโมงก็สามารถรักษาได้ หากรัฐบาลยังไม่จัดการใดๆ อีก ส.ส.เชียงใหม่อาจจะรวมตัวกันและขอให้ญาติผู้เสียชีวิตเป็นโจทก์ฟ้อง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้นำรัฐบาลที่ไม่สามารถบริหารงานได้