ยอดยังทรงตัว โควิดวันนี้ ไทยพบผู้ติดเชื้อเพิ่ม 5,126 ราย เสียชีวิตอีก 53 ราย
https://www.matichon.co.th/covid19/thai-covid19/news_3053988
ยอดยังทรงตัว โควิดวันนี้ ไทยพบผู้ติดเชื้อเพิ่ม 5,126 ราย เสียชีวิตอีก 53 ราย
เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน สถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 ประจำวัน ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ ศบค. รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 รวม 5,126 ราย จำแนกเป็น ผู้ป่วยจากระบบเฝ้าระวังฯ 4,891 ราย ผู้ป่วยจากการค้นหาเชิงรุก 123 ราย ผู้ป่วยภายในเรือนจำ/ที่ต้องขัง 104 ราย ผู้ป่วยมาจากต่างประเทศ 8 ราย ผู้ป่วยสะสม 2,047,272 ราย (ตั้งแต่ 1 เมษายน) หายป่วยกลับบ้าน 7,748 ราย หายป่วยสะสม 1,945,127 ราย (ตั้งแต่ 1 เมษายน) ผู้ป่วยกำลังรักษา 83,093 ราย เสียชีวิต 53 ราย
ผลกระทบจากโควิด-19 ระลอกล่าสุด ทำให้หลายฝ่ายกังวลต่อภาวะหนี้ของครัวเรือนไทยที่ยังขาดรายได้ โดยสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) มองว่าปัญหาหนี้ครัวเรือนเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญในการบริหารประเทศในปี 2565 ซึ่งจะต้องเข้าไปเร่งแก้ปัญหาด้วยการปรับโครงสร้างหนี้
คลอดเกณฑ์รวมหนี้ข้ามแบงก์
ทั้งนี้ มาตรการรวมหนี้ (debt consolidation) ถือเป็นมาตรการสำคัญที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ต้องเร่งปรับปรุงให้สามารถรวมหนี้ข้ามสถาบันการเงินได้ จากที่มาตรการเดิมจะเน้นรวมหนี้เฉพาะหนี้ที่เกิดจากสถาบันการเงินเดียวกัน
ทำให้ยังมีลูกหนี้มาใช้ช่องทางนี้กันค่อนข้างน้อย ล่าสุดเมื่อวันที่16 พ.ย. 2564 ธปท.ได้ออกแนวทางการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19
โดยปรับปรุงมาตรการรวมหนี้เดิม มีการกำหนดเกณฑ์เพิ่มเติม ดังนี้
1. ให้สถาบันการเงินและผู้ประกอบธุรกิจต้องไม่เรียกเก็บค่าปรับจากการไถ่ถอนสินเชื่อก่อนครบกำหนด (prepayment fee) เช่น ดอกเบี้ย เบี้ยปรับ ค่าปรับ ค่าบริการ หรือค่าธรรมเนียมใด ๆ สำหรับสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ และสินเชื่อรายย่อยเพื่อประกอบอาชีพภายใต้การกำกับ ทั้งจำนวนหรือบางส่วน เป็นการชั่วคราว เพื่อลดข้อจำกัดในการ refinance และสนับสนุนการรวมหนี้ ทั้งนี้ ให้มีผลจนถึงวันที่ 31 ธ.ค. 2566
และ 2. ปรับปรุงแนวทางการรวมหนี้ ระหว่างสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่อรายย่อยประเภทอื่น โดยขยายขอบเขตให้สามารถรวมหนี้ระหว่างสถาบันการเงินและผู้ประกอบธุรกิจได้
ตีกรอบคิด ดอกเบี้ยบวกเพิ่มได้ 2%
ทั้งนี้ สถาบันการเงินที่บรรเทาภาระดอกเบี้ยและการชำระค่างวดให้แก่ลูกหนี้ตามมาตรการ ทั้งที่เป็นสินเชื่อที่มีอยู่กับสถาบันการเงินเดียวกัน หรือสถาบันการเงินแห่งอื่น
หรือผู้ประกอบธุรกิจแห่งอื่น ต้องคิดอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อรายย่อยประเภทอื่นที่นำมารวมหนี้ได้ไม่เกินอัตราดอกเบี้ยของสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยบวก 2% ต่อปี (กรณีสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยอยู่ในช่วงจัดรายการส่งเสริมการขาย (teaser rate) จะต้องไม่เกินอัตราดอกเบี้ยภายหลังสิ้นสุดช่วงส่งเสริมการขายดังกล่าวบวก 2% ต่อปี)
โดย ธปท.ได้ผ่อนปรนหลักเกณฑ์การกำกับดูแลสถาบันการเงินเพิ่มเติม ได้แก่ การจัดชั้นและการกันเงินสำรอง และการคำนวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิต โดยสินเชื่อรายย่อยประเภทอื่นที่นำมารวมหนี้ตั้งแต่วันนี้-31 ธ.ค. 2566 สามารถใช้น้ำหนักความเสี่ยงที่ 35% ได้ตลอดอายุสัญญาหากมีลักษณะตามเงื่อนไข ประกอบด้วย
1. มีหลักฐานรวมหนี้ภายในสถาบันการเงินเดียวกัน หรือหลักฐานการชำระหนี้สินเชื่อที่นำมารวมแก่สถาบันการเงินอื่นหรือผู้ประกอบธุรกิจอื่น
2. เมื่อนำสินเชื่อดังกล่าวมารวมกับสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยแล้ว LTV ratio ไม่เกิน100%
และ 3.สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยที่เป็นสัญญาหลักมีคุณสมบัติได้รับน้ำหนักความเสี่ยงที่ 35%
เพิ่มแรงจูงใจรวมหนี้ข้ามแบงก์
นางสาว
สุวรรณี เจษฎาศักดิ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ธปท. กล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ที่ผ่านมามาตรการรวมหนี้ทำภายในแบงก์เดียวกัน จึงไม่เกิดการแข่งขัน และไม่มีแรงจูงใจ
ตอนนี้ ธปท.พยายามสร้างการแข่งขันให้ทำข้ามแบงก์ได้ เพื่อก่อให้เกิดการแข่งขันกันมากขึ้น โดย ธปท.จะผลักดันผ่านการให้แรงจูงใจ (incentive) เพิ่มเติม เช่น เกณฑ์น้ำหนักความเสี่ยง การจัดชั้นหนี้ตามมาตรการฟ้า-ส้ม หรือการยกเว้นค่าธรรมเนียมการปิดสินเชื่อก่อนกำหนดเป็นเวลา 2 ปี
“จะเห็นว่ามี 2-3 แบงก์ที่มีโฆษณามาตรการรวมหนี้แล้ว เราจะเข้าไปผลักดัน โดยให้ incentive เพิ่ม เพื่อให้เกิดกลไกการแข่งขันข้ามแบงก์
เราคิดว่าลูกหนี้มีหลักประกันใช้ส่วนหลักประกันลดดอกเบี้ยได้ ซึ่งที่ผ่านมาเราคุยฝั่งลูกหนี้จะกลัวโดนยึดบ้าน เราก็พยายามให้ความรู้ ส่วนแบงก์ก็จะไม่กังวลมาก เพราะจะมีหลักประกันเพิ่มเข้ามา”
แบงก์ชี้อุปสรรคเพียบ
แหล่งข่าวจากสถาบันการเงินกล่าวว่า มาตรการรวมหนี้เป็นการนำลูกหนี้ที่มีความเสี่ยงสูงจากแบงก์หนึ่งไปไว้อีกแบงก์หนึ่ง ทำให้ความเสี่ยงสูงขึ้น แต่ ธปท.ให้ธนาคารกำหนดดอกเบี้ย (ceiling rate) ต่ำลง
ดังนั้น แบงก์อาจจะไม่สนใจทำมากนัก แม้ว่าจะช่วยเรื่องเกณฑ์การจัดชั้นหนี้ หรือน้ำหนักความเสี่ยงก็ตาม เนื่องจากภาระหนี้เพิ่มขึ้น และหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) มีความเป็นไปได้ที่จะปรับขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบาง
“เรื่องนี้ภายในชมรมกฎหมายของสมาคมธนาคารไทย ได้มีการพูดคุยเรื่องปัญหาการจดจำนองลำดับที่ 2 ซึ่งขั้นตอนการรวมหนี้อาจจะขัดต่อกฎหมายดังกล่าว เนื่องจากความเป็นเจ้าของจะอยู่กับธนาคาร A ทำให้ธนาคาร B ไม่อยากรวมหนี้
รวมถึงอาจจะต้องมีการแชร์มูลหนี้ร่วมกัน เช่น ลูกหนี้ จดจำนองที่อยู่อาศัยอยู่กับแบงก์ A มูลค่า 5 ล้านบาท และมีสินเชื่อส่วนบุคคลกับแบงก์ B วงเงิน 5 หมื่นบาท แล้วลูกหนี้เอาบ้านค้ำประกันสินเชื่อหนี้ส่วนบุคคล
ละรวมหนี้เป็น 5.5 ล้านบาท หากลูกหนี้ผ่อนไม่ไหว และมีการขายบ้านทอดตลาดได้ 4 ล้านบาท เงินที่ได้มาจะต้องถูกแบ่ง 95% ให้แบงก์ A และอีก 5% ให้แบงก์ B” แหล่งข่าวกล่าว
สุดท้ายแล้ว การรวมหนี้ข้ามแบงก์จะประสบความสำเร็จได้แค่ไหน คงต้องติดตามกันต่อไป
พรรคฝ่ายค้านเดินหน้าชง 2 ร่าง กม.เลือกตั้งสัปดาห์นี้
https://www.matichon.co.th/politics/news_3054037
พรรคฝ่ายค้านเดินหน้าชง 2 ร่าง กม.เลือกตั้งสัปดาห์นี้
เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน มีการประชุมแกนนำพรรคร่วมฝ่ายค้าน เพื่อกำหนดท่าทีการทำงานร่วมกันภายหลังพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2560 โดย นพ.
ชลน่าน ศรีแก้ว ในฐานะหัวหน้าพรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวภายหลังการประชุม ว่าหลังจากที่ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมีผลบังคับใช้แล้ว ฝ่ายค้านจะได้เร่งทำกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญทั้งสองฉบับ คือร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. และร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง เพื่อนำเข้าสู่ที่ประชุมรัฐสภาโดยเร็วที่สุดภายในสัปดาห์นี้ ทั้งนี้ ในส่วนของพรรค พท.ยกร่างกฎหมายทั้ง 2 ฉบับเสร็จแล้ว หากพรรคร่วมฝ่ายค้านพรรคอื่นจะร่วมลงชื่อกับร่างของพรรค พท.ก็ยินดี ส่วนการยื่นญัตติอภิปรายทั่วไปแบบไม่ลงมติตามมาตรา 152 พรรคร่วมฝ่ายค้านมีมติที่จะยื่นญัตติหลังเทศกาลปีใหม่เป็นต้นไป หากยื่นในช่วงเวลานี้อาจไม่เหมาะสม เพราะจำเป็นต้องยื่นร่าง พ.ร.ป.ทั้งสองฉบับ ได้รับการพิจารณาโดยเร่งด่วนก่อน คาดว่าจะต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่า 4 เดือน
ด้านนาย
ชัยธวัช ตุลาธน เลขาธิการพรรคก้าวไกล (ก.ก.) กล่าวว่า ในส่วนของพรรค ก.ก.ได้ร่าง พ.ร.ป.ไว้แล้ว ทั้งระบบเลือกตั้งและพรรคการเมือง จะนำเข้าสู่พิจารณาที่ประชุม ส.ส.ของพรรคในวันที่ 23 พฤศจิกายน แต่คงบอกไม่ได้ว่าต่างจากพรรคอื่นอย่างไร เพราะยังไม่เห็นร่างของพรรค พท. แต่แนวทางที่พรรคได้เคยหารือกันไว้จะมีการเสนอแก้ไขนอกจากระบบการเลือกตั้ง ไม่ใช่แค่ระบบการเลือกตั้ง หรือวิธีการนับเพียงอย่างเดียว ในส่วนระบบเลือกตั้งจะทำอย่างไรให้การเลือกตั้งมีความเสรี โปร่งใส เป็นธรรมมากขึ้น ส่วน พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมืองจะเสนอแก้ไขในหลักการ เพื่อส่งเสริมให้พรรคการเมืองเป็นสถาบันทางการเมืองของประชาชนที่เข้มแข็งขึ้น โดยหลักอยากให้พรรคการเมืองตั้งง่ายขึ้น ดำเนินการง่าย แต่ถูกยุบยาก
JJNY : ติดเชื้อ5,126 เสียชีวิต53│ธปท.ปรับเกณฑ์ “รวมหนี้”│ฝ่ายค้านเดินหน้าชง2ร่างกม.ลต.│7วัน เยอรมนีโควิดพุ่งกว่าเท่าตัว
https://www.matichon.co.th/covid19/thai-covid19/news_3053988
ยอดยังทรงตัว โควิดวันนี้ ไทยพบผู้ติดเชื้อเพิ่ม 5,126 ราย เสียชีวิตอีก 53 ราย
เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน สถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 ประจำวัน ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ ศบค. รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 รวม 5,126 ราย จำแนกเป็น ผู้ป่วยจากระบบเฝ้าระวังฯ 4,891 ราย ผู้ป่วยจากการค้นหาเชิงรุก 123 ราย ผู้ป่วยภายในเรือนจำ/ที่ต้องขัง 104 ราย ผู้ป่วยมาจากต่างประเทศ 8 ราย ผู้ป่วยสะสม 2,047,272 ราย (ตั้งแต่ 1 เมษายน) หายป่วยกลับบ้าน 7,748 ราย หายป่วยสะสม 1,945,127 ราย (ตั้งแต่ 1 เมษายน) ผู้ป่วยกำลังรักษา 83,093 ราย เสียชีวิต 53 ราย
https://www.prachachat.net/finance/news-805639
คลอดเกณฑ์รวมหนี้ข้ามแบงก์
ทั้งนี้ มาตรการรวมหนี้ (debt consolidation) ถือเป็นมาตรการสำคัญที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ต้องเร่งปรับปรุงให้สามารถรวมหนี้ข้ามสถาบันการเงินได้ จากที่มาตรการเดิมจะเน้นรวมหนี้เฉพาะหนี้ที่เกิดจากสถาบันการเงินเดียวกัน
ทำให้ยังมีลูกหนี้มาใช้ช่องทางนี้กันค่อนข้างน้อย ล่าสุดเมื่อวันที่16 พ.ย. 2564 ธปท.ได้ออกแนวทางการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19
โดยปรับปรุงมาตรการรวมหนี้เดิม มีการกำหนดเกณฑ์เพิ่มเติม ดังนี้
1. ให้สถาบันการเงินและผู้ประกอบธุรกิจต้องไม่เรียกเก็บค่าปรับจากการไถ่ถอนสินเชื่อก่อนครบกำหนด (prepayment fee) เช่น ดอกเบี้ย เบี้ยปรับ ค่าปรับ ค่าบริการ หรือค่าธรรมเนียมใด ๆ สำหรับสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ และสินเชื่อรายย่อยเพื่อประกอบอาชีพภายใต้การกำกับ ทั้งจำนวนหรือบางส่วน เป็นการชั่วคราว เพื่อลดข้อจำกัดในการ refinance และสนับสนุนการรวมหนี้ ทั้งนี้ ให้มีผลจนถึงวันที่ 31 ธ.ค. 2566
และ 2. ปรับปรุงแนวทางการรวมหนี้ ระหว่างสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่อรายย่อยประเภทอื่น โดยขยายขอบเขตให้สามารถรวมหนี้ระหว่างสถาบันการเงินและผู้ประกอบธุรกิจได้
ตีกรอบคิด ดอกเบี้ยบวกเพิ่มได้ 2%
ทั้งนี้ สถาบันการเงินที่บรรเทาภาระดอกเบี้ยและการชำระค่างวดให้แก่ลูกหนี้ตามมาตรการ ทั้งที่เป็นสินเชื่อที่มีอยู่กับสถาบันการเงินเดียวกัน หรือสถาบันการเงินแห่งอื่น
หรือผู้ประกอบธุรกิจแห่งอื่น ต้องคิดอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อรายย่อยประเภทอื่นที่นำมารวมหนี้ได้ไม่เกินอัตราดอกเบี้ยของสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยบวก 2% ต่อปี (กรณีสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยอยู่ในช่วงจัดรายการส่งเสริมการขาย (teaser rate) จะต้องไม่เกินอัตราดอกเบี้ยภายหลังสิ้นสุดช่วงส่งเสริมการขายดังกล่าวบวก 2% ต่อปี)
โดย ธปท.ได้ผ่อนปรนหลักเกณฑ์การกำกับดูแลสถาบันการเงินเพิ่มเติม ได้แก่ การจัดชั้นและการกันเงินสำรอง และการคำนวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิต โดยสินเชื่อรายย่อยประเภทอื่นที่นำมารวมหนี้ตั้งแต่วันนี้-31 ธ.ค. 2566 สามารถใช้น้ำหนักความเสี่ยงที่ 35% ได้ตลอดอายุสัญญาหากมีลักษณะตามเงื่อนไข ประกอบด้วย
1. มีหลักฐานรวมหนี้ภายในสถาบันการเงินเดียวกัน หรือหลักฐานการชำระหนี้สินเชื่อที่นำมารวมแก่สถาบันการเงินอื่นหรือผู้ประกอบธุรกิจอื่น
2. เมื่อนำสินเชื่อดังกล่าวมารวมกับสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยแล้ว LTV ratio ไม่เกิน100%
และ 3.สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยที่เป็นสัญญาหลักมีคุณสมบัติได้รับน้ำหนักความเสี่ยงที่ 35%
เพิ่มแรงจูงใจรวมหนี้ข้ามแบงก์
นางสาวสุวรรณี เจษฎาศักดิ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ธปท. กล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ที่ผ่านมามาตรการรวมหนี้ทำภายในแบงก์เดียวกัน จึงไม่เกิดการแข่งขัน และไม่มีแรงจูงใจ
ตอนนี้ ธปท.พยายามสร้างการแข่งขันให้ทำข้ามแบงก์ได้ เพื่อก่อให้เกิดการแข่งขันกันมากขึ้น โดย ธปท.จะผลักดันผ่านการให้แรงจูงใจ (incentive) เพิ่มเติม เช่น เกณฑ์น้ำหนักความเสี่ยง การจัดชั้นหนี้ตามมาตรการฟ้า-ส้ม หรือการยกเว้นค่าธรรมเนียมการปิดสินเชื่อก่อนกำหนดเป็นเวลา 2 ปี
“จะเห็นว่ามี 2-3 แบงก์ที่มีโฆษณามาตรการรวมหนี้แล้ว เราจะเข้าไปผลักดัน โดยให้ incentive เพิ่ม เพื่อให้เกิดกลไกการแข่งขันข้ามแบงก์
เราคิดว่าลูกหนี้มีหลักประกันใช้ส่วนหลักประกันลดดอกเบี้ยได้ ซึ่งที่ผ่านมาเราคุยฝั่งลูกหนี้จะกลัวโดนยึดบ้าน เราก็พยายามให้ความรู้ ส่วนแบงก์ก็จะไม่กังวลมาก เพราะจะมีหลักประกันเพิ่มเข้ามา”
แบงก์ชี้อุปสรรคเพียบ
แหล่งข่าวจากสถาบันการเงินกล่าวว่า มาตรการรวมหนี้เป็นการนำลูกหนี้ที่มีความเสี่ยงสูงจากแบงก์หนึ่งไปไว้อีกแบงก์หนึ่ง ทำให้ความเสี่ยงสูงขึ้น แต่ ธปท.ให้ธนาคารกำหนดดอกเบี้ย (ceiling rate) ต่ำลง
ดังนั้น แบงก์อาจจะไม่สนใจทำมากนัก แม้ว่าจะช่วยเรื่องเกณฑ์การจัดชั้นหนี้ หรือน้ำหนักความเสี่ยงก็ตาม เนื่องจากภาระหนี้เพิ่มขึ้น และหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) มีความเป็นไปได้ที่จะปรับขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบาง
“เรื่องนี้ภายในชมรมกฎหมายของสมาคมธนาคารไทย ได้มีการพูดคุยเรื่องปัญหาการจดจำนองลำดับที่ 2 ซึ่งขั้นตอนการรวมหนี้อาจจะขัดต่อกฎหมายดังกล่าว เนื่องจากความเป็นเจ้าของจะอยู่กับธนาคาร A ทำให้ธนาคาร B ไม่อยากรวมหนี้
รวมถึงอาจจะต้องมีการแชร์มูลหนี้ร่วมกัน เช่น ลูกหนี้ จดจำนองที่อยู่อาศัยอยู่กับแบงก์ A มูลค่า 5 ล้านบาท และมีสินเชื่อส่วนบุคคลกับแบงก์ B วงเงิน 5 หมื่นบาท แล้วลูกหนี้เอาบ้านค้ำประกันสินเชื่อหนี้ส่วนบุคคล
ละรวมหนี้เป็น 5.5 ล้านบาท หากลูกหนี้ผ่อนไม่ไหว และมีการขายบ้านทอดตลาดได้ 4 ล้านบาท เงินที่ได้มาจะต้องถูกแบ่ง 95% ให้แบงก์ A และอีก 5% ให้แบงก์ B” แหล่งข่าวกล่าว
สุดท้ายแล้ว การรวมหนี้ข้ามแบงก์จะประสบความสำเร็จได้แค่ไหน คงต้องติดตามกันต่อไป
พรรคฝ่ายค้านเดินหน้าชง 2 ร่าง กม.เลือกตั้งสัปดาห์นี้
https://www.matichon.co.th/politics/news_3054037
พรรคฝ่ายค้านเดินหน้าชง 2 ร่าง กม.เลือกตั้งสัปดาห์นี้
เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน มีการประชุมแกนนำพรรคร่วมฝ่ายค้าน เพื่อกำหนดท่าทีการทำงานร่วมกันภายหลังพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2560 โดย นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ในฐานะหัวหน้าพรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวภายหลังการประชุม ว่าหลังจากที่ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมีผลบังคับใช้แล้ว ฝ่ายค้านจะได้เร่งทำกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญทั้งสองฉบับ คือร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. และร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง เพื่อนำเข้าสู่ที่ประชุมรัฐสภาโดยเร็วที่สุดภายในสัปดาห์นี้ ทั้งนี้ ในส่วนของพรรค พท.ยกร่างกฎหมายทั้ง 2 ฉบับเสร็จแล้ว หากพรรคร่วมฝ่ายค้านพรรคอื่นจะร่วมลงชื่อกับร่างของพรรค พท.ก็ยินดี ส่วนการยื่นญัตติอภิปรายทั่วไปแบบไม่ลงมติตามมาตรา 152 พรรคร่วมฝ่ายค้านมีมติที่จะยื่นญัตติหลังเทศกาลปีใหม่เป็นต้นไป หากยื่นในช่วงเวลานี้อาจไม่เหมาะสม เพราะจำเป็นต้องยื่นร่าง พ.ร.ป.ทั้งสองฉบับ ได้รับการพิจารณาโดยเร่งด่วนก่อน คาดว่าจะต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่า 4 เดือน
ด้านนายชัยธวัช ตุลาธน เลขาธิการพรรคก้าวไกล (ก.ก.) กล่าวว่า ในส่วนของพรรค ก.ก.ได้ร่าง พ.ร.ป.ไว้แล้ว ทั้งระบบเลือกตั้งและพรรคการเมือง จะนำเข้าสู่พิจารณาที่ประชุม ส.ส.ของพรรคในวันที่ 23 พฤศจิกายน แต่คงบอกไม่ได้ว่าต่างจากพรรคอื่นอย่างไร เพราะยังไม่เห็นร่างของพรรค พท. แต่แนวทางที่พรรคได้เคยหารือกันไว้จะมีการเสนอแก้ไขนอกจากระบบการเลือกตั้ง ไม่ใช่แค่ระบบการเลือกตั้ง หรือวิธีการนับเพียงอย่างเดียว ในส่วนระบบเลือกตั้งจะทำอย่างไรให้การเลือกตั้งมีความเสรี โปร่งใส เป็นธรรมมากขึ้น ส่วน พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมืองจะเสนอแก้ไขในหลักการ เพื่อส่งเสริมให้พรรคการเมืองเป็นสถาบันทางการเมืองของประชาชนที่เข้มแข็งขึ้น โดยหลักอยากให้พรรคการเมืองตั้งง่ายขึ้น ดำเนินการง่าย แต่ถูกยุบยาก