คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 23
คนไทยเข้าใจการออกรถกับไฟแนนซ์/ลีสซิ่งแบบผิดๆ กันทั้งประเทศ โดยเข้าใจว่าเป็นการกู้เงินไฟแนนซ์มาซื้อ
ที่จริงแล้วการออกรถกับไฟแนนซ์ไม่ใช่การกู้เงินเขามาซื้อรถ ย้ำว่าไม่ใช่การกู้ยืมเงิน
แต่เป็นการเช่าซื้อ (เช่า+คำมั่นว่าจะขาย) ซึ่งเราไม่ได้ซื้อรถจากบริษัทผู้ผลิต (Honda, Toyota, Benz ฯลฯ) โดยตรง
แต่ไฟแนนซ์/ลีสซิ่งต่างหากที่ไปซื้อรถมาให้เรา "เช่าขับ" โดยมีเงื่อนไขว่าถ้าผ่อนชำระครบ เขาจะโอนกรรมสิทธิ์รถให้
เราเป็นแค่ "ผู้เช่า" เท่านั้น มีหน้าที่จ่ายค่าเช่าตามงวดที่ตกลงกัน ส่วนรถทุกชิ้นส่วนเป็นกรรมสิทธิ์ของไฟแนนซ์ 100% (เขาถึงยึดคืนได้ไง)
เอาจริงๆ เราจะเปลี่ยนล้อแม็กซ์ ใส่กันโครง ถอดนั่นเปลี่ยนนี่ไม่ได้ด้วยซ้ำ เพราะไฟแนนซ์คือเจ้าของ
เมื่อการออกรถกับไฟแนนซ์เป็นการเช่าซื้อแล้ว ก็ต้องยึดถือตามกฎหมายว่าด้วยการเช่าซื้อ
โดยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 573 ให้สิทธิผู้เช่าซื้อบอกเลิกสัญญาด้วยการส่งมอบทรัพย์คืนได้
ดังนั้น หากผ่อนไม่ไหวควรคืนรถให้ไฟแนนซ์ไปก่อนจะผิดสัญญา แต่ต้องเข้าใจก่อนว่าไฟแนนซ์จะฟ้องผู้เช่าซื้อเรียกค่าส่วนต่างอย่างแน่นอน
เป็นหน้าที่ของผู้เช่าซื้อต้องไปสู้คดีในชั้นศาลว่าเป็นการสมัครใจเลิกสัญญากัน ซึ่งศาลจะพิพากษายกฟ้อง (ไม่ต้องเสียค่าส่วนต่าง)
แต่จำเลย (ผู้เช่าซื้อ) จำนวนมากไม่สู้คดี ไปถึงศาลก็กลัวว่าจะถูกยึดทรัพย์บ้าง ถูกโจทก์ตะล่อมให้ความหวัง (ลมๆ แล้ง) บ้าง
จนยอมเซ็นต์สัญญาประนีประนอมยอมความให้ไฟแนนซ์ไปง่ายๆ กลายเป็นภาพจำว่าคืนรถต้องเสียค่าส่วนต่าง
ในกรณีของ จขกท. เป็นการถูกยึดรถคืนเนื่องจากผิดสัญญา ถ้าต้องการสู้คดีให้ศาลยกฟ้องหรือจ่ายน้อยลง
ก็ต้องดูในรายละเอียดว่ามีการส่งคำบอกกล่าวถูกต้องหรือไม่ เลิกสัญญากันแบบใด (ส่งมอบรถให้เอง, ถูกตามยึด)
ยึดรถคืนก่อนครบกำหนดตามคำบอกกกล่าวหรือไม่ การขายทอดตลาดมีการส่งหนังสือแจ้ง หรือทำการขายถูกต้องหรือไม่ ฯลฯ
หรือจะยอมจ่ายให้ไฟแนนซ์ก็ได้ ติดต่อไฟแนนซ์โดยตรงได้เลย หรือเก็บเงินก้อนไว้รอเขาฟ้องแล้วไปคุยในศาลก็ได้
แต่การชำระหนี้ทุกบาทต้องมีใบเสร็จรับเงิน อย่าเชื่อลมปากพนักงานหรือใครเด็ดขาด
ที่จริงแล้วการออกรถกับไฟแนนซ์ไม่ใช่การกู้เงินเขามาซื้อรถ ย้ำว่าไม่ใช่การกู้ยืมเงิน
แต่เป็นการเช่าซื้อ (เช่า+คำมั่นว่าจะขาย) ซึ่งเราไม่ได้ซื้อรถจากบริษัทผู้ผลิต (Honda, Toyota, Benz ฯลฯ) โดยตรง
แต่ไฟแนนซ์/ลีสซิ่งต่างหากที่ไปซื้อรถมาให้เรา "เช่าขับ" โดยมีเงื่อนไขว่าถ้าผ่อนชำระครบ เขาจะโอนกรรมสิทธิ์รถให้
เราเป็นแค่ "ผู้เช่า" เท่านั้น มีหน้าที่จ่ายค่าเช่าตามงวดที่ตกลงกัน ส่วนรถทุกชิ้นส่วนเป็นกรรมสิทธิ์ของไฟแนนซ์ 100% (เขาถึงยึดคืนได้ไง)
เอาจริงๆ เราจะเปลี่ยนล้อแม็กซ์ ใส่กันโครง ถอดนั่นเปลี่ยนนี่ไม่ได้ด้วยซ้ำ เพราะไฟแนนซ์คือเจ้าของ
เมื่อการออกรถกับไฟแนนซ์เป็นการเช่าซื้อแล้ว ก็ต้องยึดถือตามกฎหมายว่าด้วยการเช่าซื้อ
โดยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 573 ให้สิทธิผู้เช่าซื้อบอกเลิกสัญญาด้วยการส่งมอบทรัพย์คืนได้
ดังนั้น หากผ่อนไม่ไหวควรคืนรถให้ไฟแนนซ์ไปก่อนจะผิดสัญญา แต่ต้องเข้าใจก่อนว่าไฟแนนซ์จะฟ้องผู้เช่าซื้อเรียกค่าส่วนต่างอย่างแน่นอน
เป็นหน้าที่ของผู้เช่าซื้อต้องไปสู้คดีในชั้นศาลว่าเป็นการสมัครใจเลิกสัญญากัน ซึ่งศาลจะพิพากษายกฟ้อง (ไม่ต้องเสียค่าส่วนต่าง)
แต่จำเลย (ผู้เช่าซื้อ) จำนวนมากไม่สู้คดี ไปถึงศาลก็กลัวว่าจะถูกยึดทรัพย์บ้าง ถูกโจทก์ตะล่อมให้ความหวัง (ลมๆ แล้ง) บ้าง
จนยอมเซ็นต์สัญญาประนีประนอมยอมความให้ไฟแนนซ์ไปง่ายๆ กลายเป็นภาพจำว่าคืนรถต้องเสียค่าส่วนต่าง
ในกรณีของ จขกท. เป็นการถูกยึดรถคืนเนื่องจากผิดสัญญา ถ้าต้องการสู้คดีให้ศาลยกฟ้องหรือจ่ายน้อยลง
ก็ต้องดูในรายละเอียดว่ามีการส่งคำบอกกล่าวถูกต้องหรือไม่ เลิกสัญญากันแบบใด (ส่งมอบรถให้เอง, ถูกตามยึด)
ยึดรถคืนก่อนครบกำหนดตามคำบอกกกล่าวหรือไม่ การขายทอดตลาดมีการส่งหนังสือแจ้ง หรือทำการขายถูกต้องหรือไม่ ฯลฯ
หรือจะยอมจ่ายให้ไฟแนนซ์ก็ได้ ติดต่อไฟแนนซ์โดยตรงได้เลย หรือเก็บเงินก้อนไว้รอเขาฟ้องแล้วไปคุยในศาลก็ได้
แต่การชำระหนี้ทุกบาทต้องมีใบเสร็จรับเงิน อย่าเชื่อลมปากพนักงานหรือใครเด็ดขาด
ความคิดเห็นที่ 2
ก่อนจะเจรจาต่อรอง สำรวจดูก่อนว่าเรามีทรัพย์อะไรให้เค้ายึดหรือไม่
บ้าน ที่ดิน บัญชีเงินฝาก
ถ้ามีก็ระวังโดนสืบทรัพย์และฟ้องร้อง
การซื้อรถ คุณกู้เงินเค้า ติดหนี้เค้าอยู่เท่าไหร่
เค้ายึดเอาไปขาย หักลบแล้วยังขาดอยู่เท่าไหร่ เค้าก็มาทวงถามจากคุณต่อ นี่คือความรู้ทางการเงินทั่วไปที่ทุกคนควรมี
ดังนั้นก่อนจะกู้เงิน ก็ต้องสำรวจความพร้อมทางการเงินตัวเองก่อน
อุบัติเหตุทางการเงินเกิดได้ทุกเมื่อ ดังนั้นก็ต้องมีเงินสำรองเพียงพอ
ในเมื่อคุณไม่สามารถชำระหนี้ได้ ก็ไปเจรจาต่อรอง ขอผ่อนผัน จ่ายได้เท่าไหร่ อย่างไรก็ต่อรองไป
ถ้ามีหมายศาลมา ก็ต้องไปขึ้นศาล ห้ามเบี้ยวนัด เพราะจทำให้ปัญหาใหญ่ขึ้น
บ้าน ที่ดิน บัญชีเงินฝาก
ถ้ามีก็ระวังโดนสืบทรัพย์และฟ้องร้อง
การซื้อรถ คุณกู้เงินเค้า ติดหนี้เค้าอยู่เท่าไหร่
เค้ายึดเอาไปขาย หักลบแล้วยังขาดอยู่เท่าไหร่ เค้าก็มาทวงถามจากคุณต่อ นี่คือความรู้ทางการเงินทั่วไปที่ทุกคนควรมี
ดังนั้นก่อนจะกู้เงิน ก็ต้องสำรวจความพร้อมทางการเงินตัวเองก่อน
อุบัติเหตุทางการเงินเกิดได้ทุกเมื่อ ดังนั้นก็ต้องมีเงินสำรองเพียงพอ
ในเมื่อคุณไม่สามารถชำระหนี้ได้ ก็ไปเจรจาต่อรอง ขอผ่อนผัน จ่ายได้เท่าไหร่ อย่างไรก็ต่อรองไป
ถ้ามีหมายศาลมา ก็ต้องไปขึ้นศาล ห้ามเบี้ยวนัด เพราะจทำให้ปัญหาใหญ่ขึ้น
แสดงความคิดเห็น
ทำไงดีคะคือรถโดนยึดแล้วฝ่ายที่ยึดรถเราไปเค้ามาเรียกเก็บเงินกับเราอะค่ะ