หอศิลป์ สล่าเลาเลือง ตั้งอยู่บริเวณวิทยาลัยสงฆ์ลำพูน ตำบลต้นธง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน
ซึ่งเป็นสถานที่นำเสนอผลงานของ สล่า หรือช่างล้านนา
โดยมีการจัดแสดงผลงานศิลปะ จิตรกรรม สถาปัตยกรรม วรรณกรรม ดนตรีของล้านนา ฯลฯ
อีกทั้งเป็นการสานต่อความฝันของจรัล มโนเพ็ชร ศิลปินล้านนา
ที่ต้องการสร้างหอศิลป์สล่าเลาเลืองในเมืองลำพูน เพื่อส่งเสริมศิลปินล้านนาในจังหวัดต่างๆ
เป็นการยกระดับดนตรีและเพลงล้านนา ตลอดจนผลงานศิลปะ วัฒนธรรม อัตลักษณ์ล้านนาที่ทรงคุณค่าสู่สากล
การเดินทางมาที่หอศิลป์ สล่าเลาเลืองนี้ ไม่ยากลำบาก เพราะมีรถบริการ (ฟรี) จากหน้าวัดพระธาตุหริภุญชัย
ซึ่งเป็นเส้นทางที่นำไปชมวัดรมณียาราม (กู่ละมัก) ตำบลต้นธง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน เช่นกัน
เมื่อเดินทางมาถึง ณ จุดจอดรถซึ่งเป็นลานกว้าง จะเห็นสิ่งที่เป็นประเพณีวัฒนธรรมของ สล่า ซึ่งจะมีพิธีกรรมบริเวณที่ตั้งนี้
เดินถัดมาก็จะเข้ามาสู่ลานกว้าง ดูโปร่ง โล่ง สบายตา สังเกตจากเงาต้นไม้ในเวลาบ่ายแล้ว
ประเมินได้ว่า ทิศทางของหอศิลป์ หากมองในแง่การใช้สอยของอาคารชั้นล่างซึ่งเป็นห้องประชุม
น่าจะตั้งหรือจัดตำแหน่งผิดทิศไปหน่อย แต่ก็สามารถแก้ไขได้ เพราะผนังอาคารห้องประชุมรับแดดบ่ายเต็มๆ เลยครับ
มองตรงไปจะเห็นอาคารหอศิลป์ เป็นเรือนไม้ลูกผสมสองชั้น ชั้นล่างเป็นหอประชุมอยู่ด้านซ้ายมือของภาพ
ส่วนด้านขวามือจะเป็นร้านอาหารและกาแฟ
บริเวณร้านอาหารและร้านกาแฟ ถือว่าจัดอยู่ในตำแหน่งที่ตั้งที่ดี เพราะไม่ถูกรบกวนจากแสงแดดในเวลาบ่าย ซึ่งเป็นเวลาที่ร้อนมากนั่นเอง
(ในการจัดร้าน เรานิยมรับแดดอ่อน เช่น เวลาเช้า ถือว่าเป็นบริเวณที่มีตำแหน่งเหมาะสมครับ)
นั่งทานอาหาร และทานกาแฟ มองออกมาโปร่งตามากๆ จนทำให้รู้สึกแสบตาจากแสงแดดในเวลาบ่ายครับ
ทางขึ้นหอศิลป์ เป็นบันไดไม้ เคลือบเงา พร้อมชานพัก เป็นแบบเรือนไทยลูกผสม
กระจกสีบริเวณเหนือบานประตูทางเข้า บ่งบอกยุคสมัยของเรือนได้อย่างชัดเจน
ลวดลายไม้ฉลุ เป็นการผสมผสานศิลปะ เข้ากับ งานก่อสร้างได้อย่างลงตัวและสวยงาม
ช่องทางลมนี้ เป็นช่องทางลมที่เหมาะมากๆ ในเรือนหลังนี้ เพราะส่งลมเข้าสู่บริเวณนอกชานได้อย่างเหมาะสม
ภาพต่างๆ ทราบเพียงแต่ว่า เป็นผลงานจำลองขึ้นเท่านั้น
โดยได้รับการสนับสนุนจากคุณเจ้าดารารัตน์ ณ ลําพูน ทายาทเจ้าผู้ครอง นครลําพูนองค์สุดท้าย
บริจาคที่ดิน จํานวน 7 ไร่ เพื่อเป็นที่ตั้งหอศิลป์ สล่าเลาเลือง
และได้มอบที่ดินให้เป็นกรรมสิทธิ์ของวัดพระธาตุหริภุญชัย งบประมาณการสร้างอาคารได้รับจากจังหวัดลําพูน
และได้รับการปรับปรุง พัฒนา เพื่อให้มีความพร้อมในการดําเนินงาน
โดยได้รับการสนับสนุน งบประมาณจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดลําพูนส่วนหนึ่ง
แต่ภายหลังมี ข้อจํากัดด้านการใช้งบประมาณ
ทางวัดพระธาตุหริภุญชัยจึงขออนุญาต จากองค์การบริหารส่วนจังหวัดลําพูน เพื่อเข้ามาดูแล
และใช้งบประมาณ เพิ่มเติมจากวัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร ทั้งสิ้นประมาณ 5 ล้านบาท
ภายในอาคารประกอบด้วยห้องเค้าผญา ซึ่งเป็นที่รวบรวมข้อมูลประวัติของเจ้าผู้ครองนครในจังหวัดลําพูน
และผู้ที่เป็นต้นแบบ ของงาน ศิลปะ งานวรรณกรรม ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม งานวิชาการทาง พระพุทธศาสนา
และงานเอกลักษณ์ของลําพูน และล้านนา จนแผ่กระจายกลายเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่น ประจักษ์ต่อสายตา บุคคลทั่วไป.
ลำพูน-เที่ยวชมงานศิลป์ ณ หอศิลป์ สล่าเลาเลือง ตำบลต้นธง อำเภอเมือง
หอศิลป์ สล่าเลาเลือง ตั้งอยู่บริเวณวิทยาลัยสงฆ์ลำพูน ตำบลต้นธง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน
ซึ่งเป็นสถานที่นำเสนอผลงานของ สล่า หรือช่างล้านนา
โดยมีการจัดแสดงผลงานศิลปะ จิตรกรรม สถาปัตยกรรม วรรณกรรม ดนตรีของล้านนา ฯลฯ
อีกทั้งเป็นการสานต่อความฝันของจรัล มโนเพ็ชร ศิลปินล้านนา
ที่ต้องการสร้างหอศิลป์สล่าเลาเลืองในเมืองลำพูน เพื่อส่งเสริมศิลปินล้านนาในจังหวัดต่างๆ
เป็นการยกระดับดนตรีและเพลงล้านนา ตลอดจนผลงานศิลปะ วัฒนธรรม อัตลักษณ์ล้านนาที่ทรงคุณค่าสู่สากล
การเดินทางมาที่หอศิลป์ สล่าเลาเลืองนี้ ไม่ยากลำบาก เพราะมีรถบริการ (ฟรี) จากหน้าวัดพระธาตุหริภุญชัย
ซึ่งเป็นเส้นทางที่นำไปชมวัดรมณียาราม (กู่ละมัก) ตำบลต้นธง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน เช่นกัน
เมื่อเดินทางมาถึง ณ จุดจอดรถซึ่งเป็นลานกว้าง จะเห็นสิ่งที่เป็นประเพณีวัฒนธรรมของ สล่า ซึ่งจะมีพิธีกรรมบริเวณที่ตั้งนี้
เดินถัดมาก็จะเข้ามาสู่ลานกว้าง ดูโปร่ง โล่ง สบายตา สังเกตจากเงาต้นไม้ในเวลาบ่ายแล้ว
ประเมินได้ว่า ทิศทางของหอศิลป์ หากมองในแง่การใช้สอยของอาคารชั้นล่างซึ่งเป็นห้องประชุม
น่าจะตั้งหรือจัดตำแหน่งผิดทิศไปหน่อย แต่ก็สามารถแก้ไขได้ เพราะผนังอาคารห้องประชุมรับแดดบ่ายเต็มๆ เลยครับ
มองตรงไปจะเห็นอาคารหอศิลป์ เป็นเรือนไม้ลูกผสมสองชั้น ชั้นล่างเป็นหอประชุมอยู่ด้านซ้ายมือของภาพ
ส่วนด้านขวามือจะเป็นร้านอาหารและกาแฟ
บริเวณร้านอาหารและร้านกาแฟ ถือว่าจัดอยู่ในตำแหน่งที่ตั้งที่ดี เพราะไม่ถูกรบกวนจากแสงแดดในเวลาบ่าย ซึ่งเป็นเวลาที่ร้อนมากนั่นเอง
(ในการจัดร้าน เรานิยมรับแดดอ่อน เช่น เวลาเช้า ถือว่าเป็นบริเวณที่มีตำแหน่งเหมาะสมครับ)
นั่งทานอาหาร และทานกาแฟ มองออกมาโปร่งตามากๆ จนทำให้รู้สึกแสบตาจากแสงแดดในเวลาบ่ายครับ
ทางขึ้นหอศิลป์ เป็นบันไดไม้ เคลือบเงา พร้อมชานพัก เป็นแบบเรือนไทยลูกผสม
กระจกสีบริเวณเหนือบานประตูทางเข้า บ่งบอกยุคสมัยของเรือนได้อย่างชัดเจน
ลวดลายไม้ฉลุ เป็นการผสมผสานศิลปะ เข้ากับ งานก่อสร้างได้อย่างลงตัวและสวยงาม
ช่องทางลมนี้ เป็นช่องทางลมที่เหมาะมากๆ ในเรือนหลังนี้ เพราะส่งลมเข้าสู่บริเวณนอกชานได้อย่างเหมาะสม
ภาพต่างๆ ทราบเพียงแต่ว่า เป็นผลงานจำลองขึ้นเท่านั้น
โดยได้รับการสนับสนุนจากคุณเจ้าดารารัตน์ ณ ลําพูน ทายาทเจ้าผู้ครอง นครลําพูนองค์สุดท้าย
บริจาคที่ดิน จํานวน 7 ไร่ เพื่อเป็นที่ตั้งหอศิลป์ สล่าเลาเลือง
และได้มอบที่ดินให้เป็นกรรมสิทธิ์ของวัดพระธาตุหริภุญชัย งบประมาณการสร้างอาคารได้รับจากจังหวัดลําพูน
และได้รับการปรับปรุง พัฒนา เพื่อให้มีความพร้อมในการดําเนินงาน
โดยได้รับการสนับสนุน งบประมาณจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดลําพูนส่วนหนึ่ง
แต่ภายหลังมี ข้อจํากัดด้านการใช้งบประมาณ
ทางวัดพระธาตุหริภุญชัยจึงขออนุญาต จากองค์การบริหารส่วนจังหวัดลําพูน เพื่อเข้ามาดูแล
และใช้งบประมาณ เพิ่มเติมจากวัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร ทั้งสิ้นประมาณ 5 ล้านบาท
ภายในอาคารประกอบด้วยห้องเค้าผญา ซึ่งเป็นที่รวบรวมข้อมูลประวัติของเจ้าผู้ครองนครในจังหวัดลําพูน
และผู้ที่เป็นต้นแบบ ของงาน ศิลปะ งานวรรณกรรม ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม งานวิชาการทาง พระพุทธศาสนา
และงานเอกลักษณ์ของลําพูน และล้านนา จนแผ่กระจายกลายเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่น ประจักษ์ต่อสายตา บุคคลทั่วไป.