เมื่อปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องของทุกคน ชาวโลกและประเทศต่างๆ จึงจ้องร่วมมือร่วมใจในการรักษาสิ่งแวดล้อมและเลือกใช้สิ่งของและพลังงานที่เป็นมิตรกับธรรมชาติมากขึ้น และหนึ่งในเมืองต้นแบบที่มีชื่อเสียงเป็นอย่างมากคือประเทศโมร็อกโกที่มีฟาร์มเซลล์สุริยะ (Solar cell) ในระดับแนวหน้าของโลก เรามาดูกันครับว่าโมร๊อกโกเขาทำอย่างไรและเราสามารถนำความรู้มาประยุกต์ใช้ได้มากน้อยแค่ไหน
ประเทศจากแอฟริกาที่อยู่ท่ามกลางวิกฤติสิ่งแวดล้อม
ประเทศโมร็อกโกเป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในแอฟริกาทางเหนือ มีภูมิประเทศเป็นทะเลทรายขนาดใหญ่รายล้อมด้วยไปด้วยเทือกเขาหินมากมาย หลายท่านอาจรู้จักโมร็อกโกในฐานะของประเทศที่มีสถานที่ท่องเที่ยวสวยงาม เช่น เมืองเชฟชาอูน (Chefchaouen) ที่ทั้งเมืองถูกย้อมไปด้วยสีน้ำเงินและสีฟ้าอย่างวิจิตร หรือเป็นสถานที่ถ่ายทำภายนต์ชื่อก้องมากมาย เช่น Gradius เป็นต้น แต่ท่ามกลางความสวยงานระคนความร้อนระอุของโมร็อกโก การพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมได้เพิ่มความต้องการพลังงานเป็นอย่างมาก นักวิเคราะห์ได้ประเมินในปี 2008 ว่า 56% ของพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตในโมร็อกโกผลิตจากถ่านหินเป็นหลักและมีแนวโน้มความต้องการพลังงานสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องถึงปีละ 6% ไปจนถึงปี 2050
นอจากนี้ด้วยภูมิศาสตร์ของโมร็อกโกถือเป็นหนึ่งในบริเวณที่ได้รับผลกระทบจากโลกร้อนมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก โดยนักวิทยาศาสตร์จากศูนย์วิจัยสภาพภูมิอากาศและบรรยากาศแห่งวถาบัน Cyprus และ สถาบัน Max Planck ได้มีการวิเคราะห์พบว่าบริเวณทางตอนเหนือและทางตะวันออกกลางของแอฟริกาจะโอกาสเกิดคลื่นความร้อน (Heat Wave) ทำให้อุณหภูมิร้อนจัดจนส่งผลอันตรายต่อชีวิต สิ่งนี้เป็นความท้าทายครั้งใหญ่ที่ทางโมร็อกโกต้องรีบหาทางแก้ไข ไม่เช่นนั้นประเทศก็จะอยู่อาศัยไม่ได้เพราะคลื่นความร้อนที่แผดเผาผืนดินจนประชากรต้องอพยพ
เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวอย่างยั่งยืนทางการของโมร็อกโกได้เดิมพันชะตากรรมของประเทศไว้กับพลังงานทดแทน โดยได้ออกกฎหมายสนับสนุนการใช้พลังงานสะอาด และหาทางใช้พลังงานอื่นๆ เพื่อทดแทนถ่านหินที่เป็นหัวใจของการผลิตพลังงานไฟฟ้าของโมร็อกโก
อนาคตอันรุ่งโรจของโมร็อกโก
หลังจากที่ผู้นำประเทศได้ตั้งเป้าหมายสุดท้าทายว่าภายในปี 2020 42% ของพลังงานไฟฟ้าในประเทศต้องมาจากพลังงานสะอาด ทำให้ช่วงที่ผ่านมามีการลงทุนสร้างฟาร์ม Solar cell และกังหันลมปั่นไฟขึ้นเป็นจำนวนมาก โดยพลังงานแสงอาทิตย์ที่มีการเติบโตมากถึง16 เท่า (พลังงานลมเติบโตขึ้น 6 เท่า) โดยพระเอกของงานนี้คือโรงไฟฟ้า Noor Complex Solar Power Plant (Noor Complex) ซึ่งเป็นโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก
Noor Complex เริ่มดำเนินการในปี 2016 และสามารถผลิตไฟฟ้าได้เต็มประสิทธิภาพที่ 580 megawatt โดยเพียงพอที่จะจ่ายไฟฟ้ารองรับความต้องการของประชากรได้ถึง 1 ล้านคน จุดเด่นของ Noor Complex คือการใช้เทคโนโลยี Concentrating Solar Power (CSP) ซึ่งมีประสิทธิภาพมากกว่าแผง Solar Cell ทั่วไปมาก โดยหลักการของ CSP จะมีหัวใจสำคัญ 2 ส่วนคือ
1. แผ่นกระจกจะสะท้อนแสงอาทิตย์ไปให้ความร้อนกับสารละลายซึ่งสามารถทำความร้อนได้ถึง 400 องศาเซลเซียส เมื่อนำสารละลายดังกล่าวไปผสมกับน้ำจะส่งผลให้นำเดือดกลายเป็นไอเพื่อใช้ปั่นไฟฟ้าในที่สุด
2. การใช้ท่อบรรจุเกลือเพื่อดูซับความร้อนในเวลากลางวันจะทำให้เกลือหลอมละลายและเก็บความร้อนได้นาน เมื่อตกเวลากลางคืนหรือช่วงที่ไม่มีแดด เกลือเหลวก็จะให้ความร้อนในการอุ่นน้ำเพื่อปี่นไฟฟ้าได้นานถึง 3 – 4 ชั่วโมง ทำให้สามารถปั่นไฟฟ้าได้แม้ในเวลากลางคืน
โรงไฟฟ้า Noor Complex กลายเป็นโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ต้นแบบให้กับประเทศอื่นๆ ได้ทำตาม โดยเฉพาะในการประชุม COP 26 ที่ผ่านมา ประเทศโมร็อกโกเป็นหนึ่งใน 20 ประเทศที่ลงนามแสดงจุดยืนว่าจะไม่สร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเพิ่มเติม เป็นการสะท้อนถึงนวัตกรรมพลังงานทางเลือกที่สามารถลดการใช้พลังงานจากถ่านหินและน้ำมันได้อย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรม
โอกาสที่นอกเหนือจากสิ่งแวดล้อม
แม้เป้าหมายสำคัญของโมร็อกโกคือการรักษาสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปกับการเสริมสร้างความมั่งคงทางพลังงานภายในประเทศ แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่านอกจากเป้าหมายของการลดการปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศแล้ว แนวทางของประเทศโมร็อกโกสามารถต่อยอดไปได้ไกลกว่านั้น
ด้วยสภาพทางภูมิประเทศที่เอื้อต่อการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากแสดงอาทิตย์และลม หากมีการพัฒนาต่อยอดโครงการโดยใช้นวัตกรรมที่ล้ำสมัยและประสิทธิภาพสูง เช่น การใช้ CSP แทนที่ Solar Cell ธรรมดา เช่น ในโรงไฟฟ้า Noor Complex ก็จะทำให้โมร็อกโกสามารถผลิตไฟฟ้าได้มากเกินความต้องการและส่งออกไฟฟ้าส่วนเกินไปยังประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะในยุโรปที่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมได้ในที่สุด
นอกจากนี้การที่โมร็อกโกทุ่มเทให้กับการพัฒนาไฟฟ้าพลังงานสะอาดเป็นเวลากว่าสิบปี จะก่อให้เกิดองค์ความรู้และนวัตกรรมใหม่ๆ ขึ้นมากมาย ซึ่งทรัพย์สินทางปัญญาดังกล่าวน่าจะสามารถสร้างรายได้ให้กับโมร็อกโกได้อย่างมหาศาล
ท้ายที่สุดคงต้องย้อนกลับมาดูที่ประเทศของเราครับว่าเรามีนโยบายทางพลังงานอย่างไร และเราจะดำเนินการที่เป็นรูปธรรมและสอดคล้องกับภูมิประเทศของเราได้มากน้อยแค่ไหน แต่เราสามารถเชื่อได้ว่านวัตกรรมที่พัฒนาต่อยอดเรื่อยๆ นี้จะทำให้ความเป็นไปได้ในการใช้พลังงานทดแทนผลิตไฟฟ้าเป็นไปได้อย่างแน่นอนครับ
ขอฝากติดตาม กด like กด share ข้อมูลดีๆ ได้ทาง
https://www.facebook.com/Unboxthinking
หรือ
https://www.blockdit.com/pages/5f4b6519e807060cb777cdbf ด้วยนะครับ ขอบคุณมากครับ
Ref:
https://www.mpic.de/4904342/extreme-temperaturen-hitzestress-und-unfreiwillige-migration
Ref:
https://edition.cnn.com/2016/02/08/africa/ouarzazate-morocco-solar-plant/index.html
Ref:
https://www.bbc.com/future/article/20211115-how-morocco-led-the-world-on-clean-solar-energy
Ref:
https://finance.yahoo.com/news/solar-powered-plane-lands-morocco-223555031.html
Ref:
https://en.wikipedia.org/wiki/Morocco
เมืองต้นแบบแห่งอนาคต!!! โมร็อกโกกับฟาร์มแสงอาทิตย์ที่ใหญ่อันโชตช่วง
เมื่อปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องของทุกคน ชาวโลกและประเทศต่างๆ จึงจ้องร่วมมือร่วมใจในการรักษาสิ่งแวดล้อมและเลือกใช้สิ่งของและพลังงานที่เป็นมิตรกับธรรมชาติมากขึ้น และหนึ่งในเมืองต้นแบบที่มีชื่อเสียงเป็นอย่างมากคือประเทศโมร็อกโกที่มีฟาร์มเซลล์สุริยะ (Solar cell) ในระดับแนวหน้าของโลก เรามาดูกันครับว่าโมร๊อกโกเขาทำอย่างไรและเราสามารถนำความรู้มาประยุกต์ใช้ได้มากน้อยแค่ไหน
ประเทศจากแอฟริกาที่อยู่ท่ามกลางวิกฤติสิ่งแวดล้อม
ประเทศโมร็อกโกเป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในแอฟริกาทางเหนือ มีภูมิประเทศเป็นทะเลทรายขนาดใหญ่รายล้อมด้วยไปด้วยเทือกเขาหินมากมาย หลายท่านอาจรู้จักโมร็อกโกในฐานะของประเทศที่มีสถานที่ท่องเที่ยวสวยงาม เช่น เมืองเชฟชาอูน (Chefchaouen) ที่ทั้งเมืองถูกย้อมไปด้วยสีน้ำเงินและสีฟ้าอย่างวิจิตร หรือเป็นสถานที่ถ่ายทำภายนต์ชื่อก้องมากมาย เช่น Gradius เป็นต้น แต่ท่ามกลางความสวยงานระคนความร้อนระอุของโมร็อกโก การพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมได้เพิ่มความต้องการพลังงานเป็นอย่างมาก นักวิเคราะห์ได้ประเมินในปี 2008 ว่า 56% ของพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตในโมร็อกโกผลิตจากถ่านหินเป็นหลักและมีแนวโน้มความต้องการพลังงานสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องถึงปีละ 6% ไปจนถึงปี 2050
นอจากนี้ด้วยภูมิศาสตร์ของโมร็อกโกถือเป็นหนึ่งในบริเวณที่ได้รับผลกระทบจากโลกร้อนมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก โดยนักวิทยาศาสตร์จากศูนย์วิจัยสภาพภูมิอากาศและบรรยากาศแห่งวถาบัน Cyprus และ สถาบัน Max Planck ได้มีการวิเคราะห์พบว่าบริเวณทางตอนเหนือและทางตะวันออกกลางของแอฟริกาจะโอกาสเกิดคลื่นความร้อน (Heat Wave) ทำให้อุณหภูมิร้อนจัดจนส่งผลอันตรายต่อชีวิต สิ่งนี้เป็นความท้าทายครั้งใหญ่ที่ทางโมร็อกโกต้องรีบหาทางแก้ไข ไม่เช่นนั้นประเทศก็จะอยู่อาศัยไม่ได้เพราะคลื่นความร้อนที่แผดเผาผืนดินจนประชากรต้องอพยพ
เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวอย่างยั่งยืนทางการของโมร็อกโกได้เดิมพันชะตากรรมของประเทศไว้กับพลังงานทดแทน โดยได้ออกกฎหมายสนับสนุนการใช้พลังงานสะอาด และหาทางใช้พลังงานอื่นๆ เพื่อทดแทนถ่านหินที่เป็นหัวใจของการผลิตพลังงานไฟฟ้าของโมร็อกโก
อนาคตอันรุ่งโรจของโมร็อกโก
หลังจากที่ผู้นำประเทศได้ตั้งเป้าหมายสุดท้าทายว่าภายในปี 2020 42% ของพลังงานไฟฟ้าในประเทศต้องมาจากพลังงานสะอาด ทำให้ช่วงที่ผ่านมามีการลงทุนสร้างฟาร์ม Solar cell และกังหันลมปั่นไฟขึ้นเป็นจำนวนมาก โดยพลังงานแสงอาทิตย์ที่มีการเติบโตมากถึง16 เท่า (พลังงานลมเติบโตขึ้น 6 เท่า) โดยพระเอกของงานนี้คือโรงไฟฟ้า Noor Complex Solar Power Plant (Noor Complex) ซึ่งเป็นโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก
Noor Complex เริ่มดำเนินการในปี 2016 และสามารถผลิตไฟฟ้าได้เต็มประสิทธิภาพที่ 580 megawatt โดยเพียงพอที่จะจ่ายไฟฟ้ารองรับความต้องการของประชากรได้ถึง 1 ล้านคน จุดเด่นของ Noor Complex คือการใช้เทคโนโลยี Concentrating Solar Power (CSP) ซึ่งมีประสิทธิภาพมากกว่าแผง Solar Cell ทั่วไปมาก โดยหลักการของ CSP จะมีหัวใจสำคัญ 2 ส่วนคือ
1. แผ่นกระจกจะสะท้อนแสงอาทิตย์ไปให้ความร้อนกับสารละลายซึ่งสามารถทำความร้อนได้ถึง 400 องศาเซลเซียส เมื่อนำสารละลายดังกล่าวไปผสมกับน้ำจะส่งผลให้นำเดือดกลายเป็นไอเพื่อใช้ปั่นไฟฟ้าในที่สุด
2. การใช้ท่อบรรจุเกลือเพื่อดูซับความร้อนในเวลากลางวันจะทำให้เกลือหลอมละลายและเก็บความร้อนได้นาน เมื่อตกเวลากลางคืนหรือช่วงที่ไม่มีแดด เกลือเหลวก็จะให้ความร้อนในการอุ่นน้ำเพื่อปี่นไฟฟ้าได้นานถึง 3 – 4 ชั่วโมง ทำให้สามารถปั่นไฟฟ้าได้แม้ในเวลากลางคืน
โรงไฟฟ้า Noor Complex กลายเป็นโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ต้นแบบให้กับประเทศอื่นๆ ได้ทำตาม โดยเฉพาะในการประชุม COP 26 ที่ผ่านมา ประเทศโมร็อกโกเป็นหนึ่งใน 20 ประเทศที่ลงนามแสดงจุดยืนว่าจะไม่สร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเพิ่มเติม เป็นการสะท้อนถึงนวัตกรรมพลังงานทางเลือกที่สามารถลดการใช้พลังงานจากถ่านหินและน้ำมันได้อย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรม
โอกาสที่นอกเหนือจากสิ่งแวดล้อม
แม้เป้าหมายสำคัญของโมร็อกโกคือการรักษาสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปกับการเสริมสร้างความมั่งคงทางพลังงานภายในประเทศ แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่านอกจากเป้าหมายของการลดการปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศแล้ว แนวทางของประเทศโมร็อกโกสามารถต่อยอดไปได้ไกลกว่านั้น
ด้วยสภาพทางภูมิประเทศที่เอื้อต่อการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากแสดงอาทิตย์และลม หากมีการพัฒนาต่อยอดโครงการโดยใช้นวัตกรรมที่ล้ำสมัยและประสิทธิภาพสูง เช่น การใช้ CSP แทนที่ Solar Cell ธรรมดา เช่น ในโรงไฟฟ้า Noor Complex ก็จะทำให้โมร็อกโกสามารถผลิตไฟฟ้าได้มากเกินความต้องการและส่งออกไฟฟ้าส่วนเกินไปยังประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะในยุโรปที่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมได้ในที่สุด
นอกจากนี้การที่โมร็อกโกทุ่มเทให้กับการพัฒนาไฟฟ้าพลังงานสะอาดเป็นเวลากว่าสิบปี จะก่อให้เกิดองค์ความรู้และนวัตกรรมใหม่ๆ ขึ้นมากมาย ซึ่งทรัพย์สินทางปัญญาดังกล่าวน่าจะสามารถสร้างรายได้ให้กับโมร็อกโกได้อย่างมหาศาล
ท้ายที่สุดคงต้องย้อนกลับมาดูที่ประเทศของเราครับว่าเรามีนโยบายทางพลังงานอย่างไร และเราจะดำเนินการที่เป็นรูปธรรมและสอดคล้องกับภูมิประเทศของเราได้มากน้อยแค่ไหน แต่เราสามารถเชื่อได้ว่านวัตกรรมที่พัฒนาต่อยอดเรื่อยๆ นี้จะทำให้ความเป็นไปได้ในการใช้พลังงานทดแทนผลิตไฟฟ้าเป็นไปได้อย่างแน่นอนครับ
ขอฝากติดตาม กด like กด share ข้อมูลดีๆ ได้ทาง https://www.facebook.com/Unboxthinking
หรือ https://www.blockdit.com/pages/5f4b6519e807060cb777cdbf ด้วยนะครับ ขอบคุณมากครับ
Ref: https://www.mpic.de/4904342/extreme-temperaturen-hitzestress-und-unfreiwillige-migration
Ref: https://edition.cnn.com/2016/02/08/africa/ouarzazate-morocco-solar-plant/index.html
Ref: https://www.bbc.com/future/article/20211115-how-morocco-led-the-world-on-clean-solar-energy
Ref: https://finance.yahoo.com/news/solar-powered-plane-lands-morocco-223555031.html
Ref: https://en.wikipedia.org/wiki/Morocco