นราฯกลัวโควิดลอยกระทงเหงายอดขายตก50%
https://www.innnews.co.th/news/local/news_236895/
นราธิวาสลอยกระทงแบบNew Normalเงียบเหงา คนกลัวโควิด-19 ยอดขายกระทงลดฮวบกว่า 50%
ที่บริเวณริมเขื่อนท่าพระยาสาย ถนนภูผาภักดี ตำบลบางนาค อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส นาย
ไพโรจน์ จริตงาม รองผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส รักษาราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส เป็นประธานเปิดงานประเพณีลอยกระทง ประจำปี 2564 โดยมีนาย
ไพซอล อาแว นายกเทศมนตรีเมืองนราธิวาส พ.ต.อ.
ศุภกร พึ่งรศ ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรเมืองนราธิวาส น.ท.ไกรวัตน์ สายเบี่ยงผบ.ฉก.นย.ทร.33 หัวหน้าส่วนราชการ ตลอดจนประชาชนเข้าร่วมกิจกรรม
นาย
ไพโรจน์ กล่าวว่า ในการจัดงานลอยกระทงทุกแห่งทั่วประเทศ ต่างร่วมมือร่วมใจที่จะรณรงค์ให้ใช้วัสดุธรรมชาติที่ย่อยสลายได้ง่ายในการประดิษฐ์กระทง เช่นเดียวกับจังหวัดนราธิวาส ซึ่งได้ดำเนินการรณรงค์ให้หลีกเลี่ยงการใช้โฟมทำกระทง หรือการใช้วัสดุอื่นๆที่ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบ และเป็นอันตรายต่อแหล่งน้ำเป็นประจำทุกปีเช่นกัน”
อย่างไรก็ตามสำหรับบรรยากาศงานลอยกระทงประจำปี 2564 ของจังหวัดนราธิวาสซึ่งเป็นพื้นที่สีแดงเข้มจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้การจัดงานประเพณีลอยกระทง ประจำปี 2564 ถูกจัดขึ้นในรูปแบบ New Normal และจัดขึ้นภายใต้มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 อย่างเข้มงวดสวมหน้ากากตลอดเวลา มีจุดคัดกรอง เว้นระยะห่าง และใช้มาตรการ 1 ครอบครัว 1 กระทง เท่านั้น ซึ่งบรรยากาศโดยทั่วไปเป็นไปอย่างเงียบเหงา มีประชาชนมาเที่ยวชมงานบางตา ซึ่งชาวนราธิวาสส่วนใหญ่ยังคงกังวล กลัวการติดเชื้ออยู่ โดยในปีนี้ไม่มีกิจกรรมประกวดกระทงและการประกวดนางนพมาศเหมือนเช่นทุกปีที่ผ่านมา โดยเจ้าของร้านขายกระทงบอกว่า ปีนี้การค้าขายไม่คึกคักมากนัก โดยยอดขายปีนี้ตกลงไปกว่า 50%
ร้านหมูย่างเมืองตรังโอดต้นทุนพุ่ง ถึงกิโลกรัมละ 82 บาท
https://www.nationtv.tv/news/378853244
ราคาหมูที่ปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องตลอดช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา ส่งผลกระทบอย่างมากต่อผู้บริโภคและผู้ประกอบการรายย่อย ล่าสุดราคาหมูเป็นหน้าฟาร์มสูงถึงกิโลกรัมละ 82 บาท จากเดิม 68-72 บาท
ผู้สื่อข่าวเนชั่นทีวีลงพื้นที่จังหวัดตรัง สำรวจร้านหมูย่างซึ่งเป็นสินค้าขึ้นชื่อของจังหวัด และได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ หรือจีไอ พบว่า ผู้ประกอบการที่มีไม่ต่ำกว่า 80 รายต่างได้รับความเดือดร้อนอย่างหนักจากการที่ราคาหมูปรับตัวสูงขึ้น และแนวโน้มยังคงสูงขึ้นต่อเนื่อง ทำให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้นประมาณ 50%
เจ้าของร้านหมูย่างพงศ์โอชา สาขา 1
สมใจ นุ้ยสี บอกว่า ราคาจำหน่ายหมูย่างที่ร้านยังคงเดิมคือกิโลกรัมละ 440 บาท แม้ต้นทุนเพิ่มขึ้นแต่ไม่ได้ปรับราคาเพราะสงสารผู้บริโภค ซึ่งก่อนหน้านี้ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากสถานการณ์โควิด เพราะไม่มีนักท่องเที่ยว แต่หลังจากสถานการณ์แพร่ระบาดดีขึ้น เริ่มมีนักท่องเที่ยวเข้ามา แต่ราคาหมูกลับสูงขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการเดือดร้อนหนัก จึงอยากให้รัฐบาลควบคุมราคาเพื่อช่วยเหลือผู้บริโภค
ด้านเจ้าของร้านหมูย่างบ้านบัวบก
วีณา ลีลาโกสิทธิ์ บอกว่า ราคาหมูปรับตัวสูงขึ้นทุกๆวันพระ ครั้งละประมาณ 2 บาท เดิมสั่งหมูครั้งละ 10 ตัว ราคาประมาณ 4 หมื่นบาท แต่ปัจจุบันเพิ่มเป็น 5-6 หมื่นบาท เพิ่มขึ้น แต่ราคาจำหน่ายคงเดิมแม้ต้นทุนเพิ่มขึ้นมาก อยากให้ชมรมผู้ประกอบการหมูย่างจังหวัดตรังเรียกประชุมเพื่อหาทางแก้ปัญหา หรือพิจารณาปรับราคาจำหน่ายหมูย่างให้สอดรับกับต้นทุน หรือให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควบคุมราคาหมู
ขณะที่เจ้าของร้านหมูย่างโกสุ่ย
ศรีโสภา ยิ้ว ง บอกว่า อยากเรียกร้องให้ผู้เกี่ยวข้องควบคุมราคาหมูไม่เกิน 75 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งเป็นราคาที่ผู้ประกอบการอยู่ได้
พุ่งสูงอีกรอบ! สงขลา วันนี้พบติดเชื้อโควิดใหม่อีก 642 ราย
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_6740847
พุ่งสูงอีกรอบ! สงขลา วันนี้พบติดเชื้อโควิดใหม่อีก 642 ราย ด้านแพทย์ขอความร่วมมือประชาชนป้องกันตัวเอง เชื่อสถานการณ์จะกลับมาดีขึ้น
19 พ.ย. 2564 – สถานการณ์การติดเชื้อโควิด 19 ในจังหวัดสงขลา วันนี้มีผู้ป่วยติดเชื้อจำนวน 642 ราย ซึ่งเป็นจำนวนที่พุ่งสูงขึ้นมาก ขึ้นอีกครั้ง จากเมื่อวานนี้ 592 ราย และตลอดเดือนพฤศจิกายน มีผู้ป่วยรายวันวันละ 400 คนเศษ
โดยจังหวัดสงขลายังครองที่ 1 ของภาคใต้และที่ 2 ของประเทศ โดยพบว่ามีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นทั้ง 16 อำเภอ โดยเฉพาะอำเภอหาดใหญ่ อำเภอเมือง อำเภอจะนะ อำเภอรัตภูมิ อำเภอสิงหนคร ซึ่งเป็นผู้ป่วยติดเชื้อที่กระจายอยู่ในชุมชนและครอบครัว
รองศาสตราจารย์นายแพทย์
เรืองศักดิ์ ลีธนาภรณ์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวว่า ทางคณะแพทย์ฯได้ส่งมอบอุปกรณ์การแพทย์เพื่อนำไปช่วยเหลือประชาชน ในการสู้ภัยโควิด-19 ให้กับหน่วยงานทั้งในจังหวัดสงขลา
และหน่วยงานในภาคใต้ เนื่องในโอกาสที่คณะแพทยศาสตร์ สงขลานครินทร์ ก้าวเข้าสู่ ปีที่ 50 โดยอุปกรณ์การแพทย์ที่ส่งมอบนั้นได้จากการร่วมบริจาคจากประชาชนทั่วประเทศ ทั้งนี้คงต้องขอความร่วมมือประชาชนในการร่วมกันป้องกันการติดเชื้อโควิด19 ต่อไปอีกระยะ
เนื่องจากแม้ขณะนี้จำนวนผู้ป่วยติดเชื้อจะลดลงไปจากก่อนหน้านี้ แต่ก็ยังมีผู้ป่วยติดเชื้อรายวันจำนวนมาก ซึ่งหากประชาชนร่วมกันป้องกันตัวเองจากการติดเชื้อเชื่อว่าสถานการณ์จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติโดยเร็ว ในขณะที่จำนวนผู้ป่วยติดเชื้อรายวันที่เพิ่มสูงขึ้นอีกครั้งสร้างความกังวลให้กับชาวสงขลาอย่างมาก
JJNY : 4in1 นราฯกลัวโควิดลอยกระทงเหงา│หมูย่างตรังโอดต้นทุนพุ่ง│พุ่งสูงอีกรอบ! สงขลาพบติดเชื้อ│ชาวตรังระทมรับลอยกระทง
https://www.innnews.co.th/news/local/news_236895/
นราธิวาสลอยกระทงแบบNew Normalเงียบเหงา คนกลัวโควิด-19 ยอดขายกระทงลดฮวบกว่า 50%
ที่บริเวณริมเขื่อนท่าพระยาสาย ถนนภูผาภักดี ตำบลบางนาค อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส นายไพโรจน์ จริตงาม รองผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส รักษาราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส เป็นประธานเปิดงานประเพณีลอยกระทง ประจำปี 2564 โดยมีนายไพซอล อาแว นายกเทศมนตรีเมืองนราธิวาส พ.ต.อ.ศุภกร พึ่งรศ ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรเมืองนราธิวาส น.ท.ไกรวัตน์ สายเบี่ยงผบ.ฉก.นย.ทร.33 หัวหน้าส่วนราชการ ตลอดจนประชาชนเข้าร่วมกิจกรรม
นายไพโรจน์ กล่าวว่า ในการจัดงานลอยกระทงทุกแห่งทั่วประเทศ ต่างร่วมมือร่วมใจที่จะรณรงค์ให้ใช้วัสดุธรรมชาติที่ย่อยสลายได้ง่ายในการประดิษฐ์กระทง เช่นเดียวกับจังหวัดนราธิวาส ซึ่งได้ดำเนินการรณรงค์ให้หลีกเลี่ยงการใช้โฟมทำกระทง หรือการใช้วัสดุอื่นๆที่ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบ และเป็นอันตรายต่อแหล่งน้ำเป็นประจำทุกปีเช่นกัน”
อย่างไรก็ตามสำหรับบรรยากาศงานลอยกระทงประจำปี 2564 ของจังหวัดนราธิวาสซึ่งเป็นพื้นที่สีแดงเข้มจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้การจัดงานประเพณีลอยกระทง ประจำปี 2564 ถูกจัดขึ้นในรูปแบบ New Normal และจัดขึ้นภายใต้มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 อย่างเข้มงวดสวมหน้ากากตลอดเวลา มีจุดคัดกรอง เว้นระยะห่าง และใช้มาตรการ 1 ครอบครัว 1 กระทง เท่านั้น ซึ่งบรรยากาศโดยทั่วไปเป็นไปอย่างเงียบเหงา มีประชาชนมาเที่ยวชมงานบางตา ซึ่งชาวนราธิวาสส่วนใหญ่ยังคงกังวล กลัวการติดเชื้ออยู่ โดยในปีนี้ไม่มีกิจกรรมประกวดกระทงและการประกวดนางนพมาศเหมือนเช่นทุกปีที่ผ่านมา โดยเจ้าของร้านขายกระทงบอกว่า ปีนี้การค้าขายไม่คึกคักมากนัก โดยยอดขายปีนี้ตกลงไปกว่า 50%
ร้านหมูย่างเมืองตรังโอดต้นทุนพุ่ง ถึงกิโลกรัมละ 82 บาท
https://www.nationtv.tv/news/378853244
ราคาหมูที่ปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องตลอดช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา ส่งผลกระทบอย่างมากต่อผู้บริโภคและผู้ประกอบการรายย่อย ล่าสุดราคาหมูเป็นหน้าฟาร์มสูงถึงกิโลกรัมละ 82 บาท จากเดิม 68-72 บาท
ผู้สื่อข่าวเนชั่นทีวีลงพื้นที่จังหวัดตรัง สำรวจร้านหมูย่างซึ่งเป็นสินค้าขึ้นชื่อของจังหวัด และได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ หรือจีไอ พบว่า ผู้ประกอบการที่มีไม่ต่ำกว่า 80 รายต่างได้รับความเดือดร้อนอย่างหนักจากการที่ราคาหมูปรับตัวสูงขึ้น และแนวโน้มยังคงสูงขึ้นต่อเนื่อง ทำให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้นประมาณ 50%
เจ้าของร้านหมูย่างพงศ์โอชา สาขา 1 สมใจ นุ้ยสี บอกว่า ราคาจำหน่ายหมูย่างที่ร้านยังคงเดิมคือกิโลกรัมละ 440 บาท แม้ต้นทุนเพิ่มขึ้นแต่ไม่ได้ปรับราคาเพราะสงสารผู้บริโภค ซึ่งก่อนหน้านี้ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากสถานการณ์โควิด เพราะไม่มีนักท่องเที่ยว แต่หลังจากสถานการณ์แพร่ระบาดดีขึ้น เริ่มมีนักท่องเที่ยวเข้ามา แต่ราคาหมูกลับสูงขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการเดือดร้อนหนัก จึงอยากให้รัฐบาลควบคุมราคาเพื่อช่วยเหลือผู้บริโภค
ด้านเจ้าของร้านหมูย่างบ้านบัวบก วีณา ลีลาโกสิทธิ์ บอกว่า ราคาหมูปรับตัวสูงขึ้นทุกๆวันพระ ครั้งละประมาณ 2 บาท เดิมสั่งหมูครั้งละ 10 ตัว ราคาประมาณ 4 หมื่นบาท แต่ปัจจุบันเพิ่มเป็น 5-6 หมื่นบาท เพิ่มขึ้น แต่ราคาจำหน่ายคงเดิมแม้ต้นทุนเพิ่มขึ้นมาก อยากให้ชมรมผู้ประกอบการหมูย่างจังหวัดตรังเรียกประชุมเพื่อหาทางแก้ปัญหา หรือพิจารณาปรับราคาจำหน่ายหมูย่างให้สอดรับกับต้นทุน หรือให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควบคุมราคาหมู
ขณะที่เจ้าของร้านหมูย่างโกสุ่ย ศรีโสภา ยิ้ว ง บอกว่า อยากเรียกร้องให้ผู้เกี่ยวข้องควบคุมราคาหมูไม่เกิน 75 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งเป็นราคาที่ผู้ประกอบการอยู่ได้
พุ่งสูงอีกรอบ! สงขลา วันนี้พบติดเชื้อโควิดใหม่อีก 642 ราย
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_6740847
พุ่งสูงอีกรอบ! สงขลา วันนี้พบติดเชื้อโควิดใหม่อีก 642 ราย ด้านแพทย์ขอความร่วมมือประชาชนป้องกันตัวเอง เชื่อสถานการณ์จะกลับมาดีขึ้น
19 พ.ย. 2564 – สถานการณ์การติดเชื้อโควิด 19 ในจังหวัดสงขลา วันนี้มีผู้ป่วยติดเชื้อจำนวน 642 ราย ซึ่งเป็นจำนวนที่พุ่งสูงขึ้นมาก ขึ้นอีกครั้ง จากเมื่อวานนี้ 592 ราย และตลอดเดือนพฤศจิกายน มีผู้ป่วยรายวันวันละ 400 คนเศษ
โดยจังหวัดสงขลายังครองที่ 1 ของภาคใต้และที่ 2 ของประเทศ โดยพบว่ามีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นทั้ง 16 อำเภอ โดยเฉพาะอำเภอหาดใหญ่ อำเภอเมือง อำเภอจะนะ อำเภอรัตภูมิ อำเภอสิงหนคร ซึ่งเป็นผู้ป่วยติดเชื้อที่กระจายอยู่ในชุมชนและครอบครัว
รองศาสตราจารย์นายแพทย์เรืองศักดิ์ ลีธนาภรณ์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวว่า ทางคณะแพทย์ฯได้ส่งมอบอุปกรณ์การแพทย์เพื่อนำไปช่วยเหลือประชาชน ในการสู้ภัยโควิด-19 ให้กับหน่วยงานทั้งในจังหวัดสงขลา
และหน่วยงานในภาคใต้ เนื่องในโอกาสที่คณะแพทยศาสตร์ สงขลานครินทร์ ก้าวเข้าสู่ ปีที่ 50 โดยอุปกรณ์การแพทย์ที่ส่งมอบนั้นได้จากการร่วมบริจาคจากประชาชนทั่วประเทศ ทั้งนี้คงต้องขอความร่วมมือประชาชนในการร่วมกันป้องกันการติดเชื้อโควิด19 ต่อไปอีกระยะ
เนื่องจากแม้ขณะนี้จำนวนผู้ป่วยติดเชื้อจะลดลงไปจากก่อนหน้านี้ แต่ก็ยังมีผู้ป่วยติดเชื้อรายวันจำนวนมาก ซึ่งหากประชาชนร่วมกันป้องกันตัวเองจากการติดเชื้อเชื่อว่าสถานการณ์จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติโดยเร็ว ในขณะที่จำนวนผู้ป่วยติดเชื้อรายวันที่เพิ่มสูงขึ้นอีกครั้งสร้างความกังวลให้กับชาวสงขลาอย่างมาก