🇹🇭มาลาริน🎀16พ.ย.ไทยไม่ติดTop10โลก ป่วย5,947คน หายป่วย7,943คน ตาย62คน สะสม85,412,126โดส/โควิด77จว./นาทีละ 2.1 ล้านบาท



https://www.sanook.com/news/8474058/



https://www.sanook.com/news/8474058/



https://www.bangkokbiznews.com/news/972100

ซึ้งมากผลศึกษาชี้! ‘ไฟเซอร์-ไบโอเอ็นเทค-โมเดอร์นา’ ฟันกำไรจากวัคซีนโควิด ‘นาทีละ 2.1 ล้านบาท’



กลุ่มพันธมิตรวัคซีนเพื่อประชาชน (People Vaccine Alliance - PVA) เผยผลการวิเคราะห์ซึ่งพบว่า ไฟเซอร์, ไบโอเอ็นเทค และโมเดอร์นา ซึ่งเป็น 3 ผู้ผลิตวัคซีนป้องกันโควิด-19 ที่ใช้เทคโนโลยี mRNA ทำกำไรจากการขายวัคซีนรวมกันประมาณ 65,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อนาที หรือประมาณ 2.1 ล้านบาท ขณะที่พลเมืองในกลุ่มประเทศยากจนส่วนใหญ่ยังไม่มีโอกาสเข้าถึงวัคซีน

PVA ซึ่งเป็นเครือข่ายองค์กรที่สนับสนุนการเข้าถึงวัคซีนอย่างเท่าเทียมได้ศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลรายได้ของทั้ง 3 บริษัท และพบว่าผู้ผลิตวัคซีนตัวท็อปทั้ง 3 รายมีผลกำไรก่อนหักภาษีรวมกัน 34,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปีนี้ หรือคิดเป็น 1,000 ดอลลาร์ต่อวินาที, 65,000 ดอลลาร์ต่อนาที และ 93.5 ล้านดอลลาร์ต่อวัน

“เป็นเรื่องน่าละอายที่บริษัท 2-3 แห่งทำกำไรได้เป็นล้านๆ ดอลลาร์ทุกชั่วโมง ขณะที่ประเทศยากจนยังมีพลเมืองฉีดวัคซีนครบโดสแค่ 2%” มาซา เซยูม เจ้าหน้าที่ PVA ประจำภูมิภาคแอฟริกา ระบุ
“ไฟเซอร์, ไบโอเอ็นเทค และโมเดอร์นา ใช้กลยุทธ์ผูกขาดเพื่อทำสัญญาขายวัคซีนที่ได้กำไรสูงสุดกับรัฐบาลที่ร่ำรวยที่สุด ในขณะที่ประเทศรายได้น้อยถูกทอดทิ้ง”

PVA เผยด้วยว่า ไฟเซอร์และไบโอเอ็นเทคจัดส่งวัคซีนไปยังกลุ่มประเทศรายได้น้อยไม่ถึง 1% ของวัคซีนที่ผลิตได้ ขณะที่โมเดอร์นาจัดส่งเพียง 0.2% ซึ่งแตกต่างจาก “แอสตร้าเซนเนก้า” และ “จอห์นสันแอนด์จอห์นสัน” ที่กระจายวัคซีนในรูปแบบไม่แสวงผลกำไร แม้ทั้ง 2 บริษัทจะประกาศแล้วว่าเตรียมปรับนโยบายเร็วๆ นี้ เนื่องจากการระบาดของโควิด-19 ทั่วโลกเริ่มชะลอตัวลง

PVA ยังตำหนิไฟเซอร์, ไบโอเอ็นเทค และโมเดอร์นา ที่รับเงินอุดหนุนจากภาครัฐกว่า 8,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่กลับปฏิเสธที่จะถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับผู้ผลิตยาในกลุ่มประเทศรายได้น้อย-ปานกลางผ่านทางองค์การอนามัยโลก (WHO) 

“หากพวกเขายอมทำเช่นนั้นก็จะช่วยให้อุปทานเพิ่มสูงขึ้น ราคาวัคซีนถูกลง และสามารถปกป้องชีวิตผู้คนไว้ได้อีกนับล้านๆ”
“ในกรณีของโมเดอร์นา บริษัทยังคงเพิกเฉยต่อแรงกดดันของทำเนียบขาว และข้อเรียกร้องจาก WHO ที่ขอให้ร่วมมือและเร่งรัดแผนเพิ่มกำลังการผลิตวัคซีน mRNA ในแอฟริกาใต้”

PVA ยังอ้างคำพูดของ อัลเบิร์ต เบอร์ลา ซีอีโอไฟเซอร์ ซึ่งเคยกล่าวในทำนองว่าการถ่ายทอดเทคโนโลยีเป็น “เรื่องไร้สาระที่อันตราย” (dangereous nonsense) และแย้งว่าการที่ WHO อนุมัติการใช้งานฉุกเฉินสำหรับวัคซีนโควาซิน (Covaxin) ของอินเดียเมื่อต้นเดือนนี้เป็นข้อพิสูจน์แล้วว่า ประเทศกำลังพัฒนาก็มีศักยภาพและความเชี่ยวชาญมากพอ

PVA ซึ่งมีสมาชิกรวม 80 องค์กร เช่น African Alliance, Global Justice Now, Offam และ UNAIDS เรียกร้องให้ผู้ผลิตยาทั่วโลกยกเว้นการคุ้มครองสิทธิบัตรวัคซีนโควิด-19 ตามความตกลง TRIPS Waiver ขององค์การการค้าโลก (WTO) ซึ่งในขณะนี้มีกว่า 100 ประเทศที่สนับสนุนข้อเสนอดังกล่าว แต่ก็ยังมีบางประเทศที่คัดค้าน เช่น สหราชอาณาจักร และเยอรมนี

ที่มา: เอเอฟพี

https://mgronline.com/around/detail/9640000113575

ปูเสื่อ ติดตามข่าวโควด-19กันนะคะ


คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 14

[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
รวมสไลด์แถลงสถานการณ์โควิด-19 จาก ศบค.
วันอังคารที่ 16 พฤศจิกายน 2564
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/447622286856101


จำนวนการได้รับวัคซีนสะสม (28 ก.พ. - 15 พ.ย. 2564)
รวม 85,412,126 โดส ใน 77 จังหวัด

ภาพรวมยอดฉีดวัคซีน วันที่ 15 พฤศจิกายน 2564
ยอดฉีดทั่วประเทศ 399,221 โดส

เข็มที่ 1 : 114,573 ราย
เข็มที่ 2 : 258,814 ราย
เข็มที่ 3 : 25,834 ราย

จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 1 สะสม : 45,488,767 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 2 สะสม : 37,114,546 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 3 สะสม : 2,808,813 ราย

แหล่งข้อมูล : MOPH-IC
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/447577403527256


ข้อแนะนำผู้ปกครองเพื่อบุตรหลานปลอดภัย ควรติดตามสถานการณ์โควิด อย่างสม่ำเสมอ ประเมินความเสี่ยงนักเรียนและครอบครัว

#เมื่อนักเรียนไปโรงเรียน
- ผู้ปกครองช่วยนักเรียนเตรียมของใช้ส่วนตัวให้พร้อม ให้นักเรียนพกสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อท่านปล่อยบุตรหลานออกนอกบ้าน ต้องกำชับให้หลีกเลี่ยงสถานที่ติดเชื้อ เข้มงวดกับการเดินทางด้วยรถโดยสาร

#เมื่อนักเรียนอยู่บ้าน
- ผู้ปกครองจัดเตรียมอาหารปรุงสุกถูกหลักอนามัยเสมอ และให้ความร่วมมือกับครูเมื่อต้องเรียนออนไลน์
เพื่อป้องกันโควิดให้ห่างไกลจากสถานศึกษา พ่อแม่ผู้ปกครองสามารถช่วยดูแลให้บุตรหลานปลอดภัยและมั่นใจในการกลับสู่ห้องเรียน

ที่มา กระทรวงศึกษาธิการ
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/447531716865158


ลอยกระทงให้ปลอดภัย
  
• ห้าม
จุดและปล่อยบั้งไฟ พลุ ตะไล ดอกไม้ไฟ โคมลอย หรือวัตถุอื่นใดคล้ายคลึงกันขึ้นไปสู่อากาศ
■ ฝ่าฝืน
จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

• ห้าม
จำหน่ายและห้ามเล่นทัดจีนทุกชนิด ประทัดทรงกลม ประทัดรูปไข่ ประทัดสามเหลี่ยม และไดนาไมท์ เด็ดขาด‼️
■ ฝ่าฝืน
จำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

• ผู้ผลิตและจำหน่ายดอกไม้ไฟ
ต้องได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่ และต้องปฏิบัติตามประกาศของกรมอนามัย“อย่างเคร่งครัด”
■ ฝ่าฝืน
ถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย

ที่มา กรุงเทพมหานคร
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/447540616864268


มติ คปภ. ห้ามเปลี่ยน-ยกเลิกประกันโควิด ‘เจอ จ่าย จบ’ ให้ผู้เอาประกันเลือกเอง ตามความสมัครใจ

ดร. สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.) เผยว่า มติที่ประชุมคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เกี่ยวกับการขายประกันภัย โควิด-19 แบบเจอจ่ายจบ ยังคงคำสั่งนายทะเบียนที่ 38/2564 เรื่อง ให้ยกเลิกเงื่อนไขการใช้สิทธิบอกเลิกกรมธรรม์ประกันภัยโดยบริษัท ในกรมธรรม์ประกันภัย COVID-19 สำหรับบริษัทประกันวินาศภัย ลงวันที่ 16 ก.ค. 2564 ยังมีผลบังคับตามกฎหมายอยู่ บริษัทต้องปฏิบัติตามคำสั่งนายทะเบียนดังกล่าว

หากบริษัทประกันวินาศภัยใดที่ประสบปัญหา การเสนอแนวทางปรับปรุงเงื่อนไขของกรมธรรม์ประกันภัย COVID-19 โดยเสนอทางเลือกที่น่าสนใจในการปรับเปลี่ยนเงื่อนไขความคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัยประเภทเดิม หรือปรับเปลี่ยนไปให้ความคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัยประเภทอื่นที่อาจเป็นประโยชน์แก่ผู้เอาประกันภัยมากขึ้น สามารถกระทำได้เฉพาะกรณีที่เป็นเรื่อง ความสมัครใจของผู้เอาประกันภัยเท่านั้น บริษัทไม่สามารถไปบังคับผู้เอาประกันภัยให้ยอมรับการบอกเลิกกรมธรรม์ประกันภัย หรือยอมรับเงื่อนไขความคุ้มครองใหม่ของบริษัท

ดังนั้น การเปลี่ยนสิทธิหน้าที่หรือความคุ้มครองตามสัญญาประกันภัยจะสามารถกระทำได้เฉพาะในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยได้มีการแสดงเจตนา หรือให้ความยินยอมโดยชัดแจ้งในการตอบรับข้อเสนอของบริษัทเท่านั้น

ที่มา สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/447563953528601


สถานการณ์โควิดต่างประเทศ

• ลาวขยายมาตรการป้องกันโควิด ออกไปอย่างไม่มีกำหนด  แต่อนุญาตสถานศึกษาเปิดการเรียนการสอนตามปกติ

รัฐบาลลาวตัดสินใจขยายมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของ COVID ในนครหลวงเวียงจันทน์และทุกแขวงออกไปอย่างไม่มีกำหนด
โดยคงการปิดด่านสากล ด่านท้องถิ่น และด่านประเพณีทั่วประเทศ ห้ามจัดงานหรือกิจกรรมที่มีประชาชนเข้าร่วมมากกว่า 50 คน
ปิดสถานบันเทิง โรงภาพยนตร์ คาสิโน และร้านอินเทอร์เน็ตคาเฟ่ อย่างไรก็ตาม รัฐบาลลาวได้ประกาศผ่อนคลายให้สถานศึกษาเปิดการเรียนการสอนในห้องเรียนตามปกติ
ภายใต้มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของ COVID ทั้งนี้ ประชาชนลาวและชาวต่างชาติในลาวจะต้องติดตั้งแอปพลิเคชัน LaoKYC ในโทรศัพท์มือถือ
เพื่อลงทะเบียนเข้าใช้งาน Lao Susu ซึ่งสามารถขอหลักฐานยืนยันการฉีดวัคซีนป้องกัน COVID และสแกน QR code สำหรับการเดินทางไปสถานที่ต่าง ๆ เพื่อสะดวกต่อการติดตามหากพบว่ามีความเสี่ยงติดเชื้อ

• สิงคโปร์เปิดรับนักท่องเที่ยวที่ฉีดวัคซีนกลุ่ม VTL 21 ประเทศ

สธ. สิงคโปร์แถลงจะขยายการเปิดรับนักท่องเที่ยวที่ฉีดวัคซีนในกลุ่ม Vaccinated Travel Lane (VTL) ซึ่งสามารถเดินทางเข้าสิงคโปร์โดยยกเว้นการกักตัว เป็น 21 ประเทศ
โดยประเทศที่เพิ่มขึ้นใหม่ ได้แก่ ฟินแลนด์ สวีเดน อินเดีย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย (ตั้งแต่ 29 พ.ย.64) กาตาร์ ซาอุดีอาระเบีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ตั้งแต่ 6 ธ.ค.64)
กรณีอินโดนีเซีย เป็นการที่สิงคโปร์เปิดประเทศแต่ฝ่ายเดียว ซึ่งสิงคโปร์คาดหวังจะให้อินโดนีเซียเปิดพรมแดนตอบกลับเช่นกัน

ที่มา สำนักข่าวกรองแห่งชาติ
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/447568463528150


ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Yong Poovorawan โดยระบุว่า

การใส่ถุงมือของสถานบริการ ร้านอาหาร ต้องหมั่นเปลี่ยน ไม่ควรใส่นานล้างมือบ่อยๆ จะเกิดประโยชน์มากกว่า การใส่ถุงมือแล้วไม่ได้ล้างมือในทางปฏิบัติจะเน้นมากเพราะการใส่ถุงมือจะอยู่ในช่วงของการปฏิบัติการ และจะต้องมีการถอดออก และเปลี่ยนคู่ใหม่เมื่อไหร่จะกลับเข้าไปทำอีก การใส่ถุงมือห้ามจับต้องลูกบิดประตูหน้าต่าง

ผมเคยอยู่ทางห้องปฏิบัติการ การที่จะต้องไปเก็บตัวอย่างผู้ป่วย   หรือการกระทำบางอย่างจะไม่ให้ใส่ถุงมือ เพราะคนที่ใส่ถุงมือคิดว่าตัวเองปลอดภัย และจะไม่คำนึงถึงผู้อื่น เอามือที่ใส่ถุงมือไปจับต้องสิ่งอื่น และจะทำให้ผู้อื่นไม่ปลอดภัย ถ้าไม่ใส่ถุงมือ จะมีการล้างมือบ่อยมาก เพื่อปกป้องตัวเอง และก็จะมีโอกาสปกป้องผู้อื่นไปด้วยในตัว

ใส่ถุงมือแล้วปฏิบัติงานตามร้านอาหาร บางคนใส่เป็นเวลานานมาก และเมื่อใส่ถุงมือแล้ว ความอยากที่จะไปล้างมือพร้อมถุงมือ เกิดขึ้นน้อยมาก ถุงมือที่ใช้ตลอดระยะเวลาไปจับต้องอะไรมาบ้างก็ไม่รู้ จากโต๊ะหนึ่งไปสู่อีกโต๊ะหนึ่ง มีการสัมผัสทั้งวัน โดยโอกาสที่ จะไปล้างพร้อมถุงมือ น้อยมากๆ

การใส่ถุงมือในห้างสรรพสินค้า ที่ให้ผู้รับบริการใส่ ใส่เสร็จแล้วทิ้งเลย หรือ ห้องอาหารตามโรงแรมที่ให้ผู้เข้าไปใช้บริการ ใส่ถุงมือเพื่อตักอาหาร และเมื่อเสร็จแล้วทิ้งเลย จะเป็นประโยชน์ในการป้องกันมากกว่า ดังนั้นการใส่ถุงมือร้านสถานบริการ ร้านอาหาร สำหรับผู้บริการ จะต้องมีการเปลี่ยน และล้างมือให้สะอาด การล้างมือมีความสำคัญมาก การใส่อยู่ตลอดเป็นเวลานานๆ อาจไม่เกิดประโยชน์ จะเป็นการแพร่กระจายเชื้อจากโต๊ะหนึ่งไปสู่โต๊ะหนึ่งด้วย การล้างมือบ่อยๆ จะเกิดประโยชน์มากกว่า การใส่ถุงมือแล้วไม่ได้ล้างมือ         
      
ที่มา : ศ.นพ. ยง ภู่วรวรรณ
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/447597906858539


รายละเอียดผู้เสียชีวิตของประเทศไทย
วันอังคารที่ 16 พฤศจิกายน 2564 จำนวน 62 ราย
แหล่งข้อมูล : กระทรวงสาธารณสุข
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/447637496854580
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่