คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 5
- อังกฤษมีกบฏจาโคไบท์ซึ่งพยายามนำราชวงศ์สจ๊วตสายพระเจ้าเจมส์ที่ 2 กลับมาครองราชย์ต่อนะครับ อีกอย่างจาโคไบท์ก็พยายามป่วนสกอตแลนด์บ่อยๆ จนถึงขั้นยึดได้แล้วสมัยจอร์ชที่ 2
.
- เกาะบริเตนใหญ่เคยเปลี่ยนแปลงการปกครองครั้งนึงสมัยพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 ฮ่ะ ปัญหาหลักๆ เลยคือเพราะพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 ขัดแย้งกับรัฐสภากับพระองค์พยายามบังคับให้คริสตจักรสกอตแลนด์อิงรูปแบบของอังกฤษ คนสก็อตเลยไม่พอใจเข้า
.
- จนกระทั่งพอฟื้นฟูราชวงศ์ขึ้นมา อังกฤษก็กลับเข้าสู่ “ระบบระเบียบเดิมอันศักดิ์สิทธิ์” พระราชอำนาจก็คืนสู่กษัตริย์อีกครั้ง โดยสมัยชาร์ลส์ที่ 2 (ลูกชาร์ลส์ที่ 1) มีแนวคิดเช่นเดียวกับพ่อคือเชื่อเรื่องเทวสิทธิ์ (คือกษัตริย์ได้รับการแต่งตั้งจากพระเจ้า ผู้ใดจะล่วงละเมิดกษัตริย์เท่ากับละเมิดบัญชาสวรรค์) แต่ชาร์ลส์ที่ 2 ไม่ต้องการเอาแนวคิดนี้มาขัดแย้งกับรัฐสภา ทำให้สมัยพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 ซึ่งเป็นยุค “เจ้าสำราญ” เป็นไปได้อย่างสงบสุขแต่การเมืองค่อนข้างวุ่นวายพอสมควร
.
- พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 สวรรคต พระเจ้าเจมส์ที่ 2 ผู้เป็นน้องครองราชย์ต่อ เจมส์เชื่อเรื่องเทวสิทธิ์คืออำนาจกษัตริย์ศักดิ์สิทธิ์ดุจอำนาจของพระเจ้า ประกอบกับเจมส์เป็นนิกายโรมันคาทอลิกซึ่งเป็นเรื่องที่ยอมรับกันไม่ได้ อีกอย่างคือเจมส์ที่ 2 พยายามให้อังกฤษเป็นรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์อันสมบูรณ์แบบเช่นเดียวกับฝรั่งเศสของหลุยส์ที่ 14 รัฐสภาอังกฤษซึ่งในเวลานั้นเป็นฝ่ายขวาก็อยู่ฝั่งเดียวกับพระเจ้าเจมส์นะครับ แต่พอเจมส์มีทายาทขึ้นมาแน่นอนว่ารัฐสภาก็กลัวว่าเดี๋ยวลูกจะเป็นเหมือนพ่อ รัฐสภาก็กลัวว่าอังกฤษจะกลายเป็นรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์กับเป็นรัฐคาทอลิกตลอดกาล ทำให้ขุนนางทั้ง 7 เลยไปเข้าเฝ้าวิลเลียมที่ 3 แห่งออรานเย - นัสเซาว์ เจ้าผู้ครองสถานแห่งเนเธอร์แลนด์ เพื่อเชิญไปครองราชย์แทนที่ พระเจ้าเจมส์
.
- พระเจ้าเจมส์ทรงไม่พอพระทัยเลยบัญชาให้ทหารไปรบ แต่ไม่ทันได้รบพระเจ้าเจมส์เกิดมีเลือดกำเดาไหล เลยประสาทเสียคิดว่าพระเจ้าไม่เข้าข้างแล้วเลยหนีไป ทำให้พระเจ้าวิลเลียมที่ 3 ขึ้นครองราชย์โดยไม่เสียเลือดเนื้อแต่อย่างใด แต่ถึงอย่างนั้นทางราชสำนักฝรั่งเศสยังสนับสนุนพระเจ้าเจมส์ว่าเป็นกษัตริย์อยู่ ทำให้เกิดกบฏจาโคไบท์ซึ่งต้องการนำราชวงศ์สายพระเจ้าเจมส์มาเป็นกษัตริย์อังกฤษอีกครั้ง
.
- พอถึงสมัยพระนางแอนน์อำนาจกษัตริย์น้อยลงเต็มทีแล้ว จนไม่สามารถตั้งข้าราชการชั้นสูงได้อีก เรียกง่ายๆ ว่าพอประชุมสภาแต่ละทีกษัตริย์ก็ไม่ต่างอะไรจากตัวประกอบ
.
- พอพระนางแอนน์สวรรคตทางสภาอังกฤษก็ไปเชิญเจ้าชายเยอรมันมาปกครอง (พระเจ้าจอร์ชที่ 1) และด้วยความที่เป็นคนเยอรมันเองพูดภาษาอังกฤษก็ไม่ได้ ทำให้พระองค์เลยไม่ปกครองเองแต่แต่งตั้งให้ผู้มีอำนาจแทนเป็นหัวหน้าคณะรัฐมนตรีทั้งปวง เรียกตำแหน่งนี้ว่านายกรัฐมนตรี ซึ่งภายหลังรัฐสภาคิดว่าตำแหน่งนี้มีความจำเป็นและกษัตริย์จะแต่งตั้งเองไม่ได้ ในที่สุดก็นำไปสู่การเลือกตั้ง ซึ่งในเวลานั่นมีแต่พวกผู้ดีเท่านั้นที่ทำได้ หลายคนเลยเรียกประชาธิปไตยของอังกฤษในเวลานั้นว่าประชาธิปไตยแบบผู้ดี
.
- - ถ้าเทียบดูไทม์ไลน์ที่ว่ามาจะเห็นว่าช่วงของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 จนถึงพระเจ้าจอร์ชที่ 2 ไทม์ไลน์เกิดก่อนการปฏิวัติฝรั่งเศสเป็นร้อยปี ทำให้เกิดความเป็นประชาธิปไตยในอังกฤษมาก่อนที่ไหนๆ และของอังกฤษนั้นทุกฝ่ายล้วนประนีประนอมกันแม้มีความรุนแรงบ้างแต่ก็บางช่วงเวลา ไม่ได้ระเบิดปะทุทีเดียวแบบฝรั่งเศส
- ส่วนสาเหตุที่อังกฤษรอดพ้นจากภัยคอมมี่อันนี้ต้องเข้าใจนะครับ วินสตัน เชอร์ชิลก็มีความสัมพันธ์ที่ดีกับโจเซฟ สตาลินพอสมควร ในเวลานั้นรูสเวลต์พอเจอสตาลินนี่แทบไม่คุยกันเลย ได้เชอร์ชิลนี่แหละเล่นมุกตลกให้ถึงมองหน้ากันติด ในบรรดาประธานาธิบดีสหรัฐทั้งหมดรูสเวลต์เป็นประธานาธิบดีคนนึงที่ดีมากคนนึง พอรูสเวลต์ตายก็น่าเสียดายที่ผู้นำอเมริกาในเวลาต่อไม่ได้มีไหวพริบพอแบบคนนี้ ลูกน้องเป่าหูว่าคอมมิวนิสต์ไม่ดีก็เชื่อทันทีทำให้อเมริกาเป็นคู่ขัดแย้งกับโซเวียต และในเวลาต่อมาพอสหราชอาณาจักรเสื่อมอำนาจเนื่องจากลัทธิจักรวรรดินิยมเสื่อมหลังจากจบ WWII ทำให้อังกฤษกลายเป็นลูกน้องอเมริกาแทน แต่ด้วยปัจจัยทางรัฐศาสตร์ ภูมิศาสตร์ที่ไม่ได้อยู่ติดกับฝั่งขั้วอำนาจของคอมมิวนิสต์ทำให้อังกฤษรอดพ้นได้ ดินแดนต่างๆ ที่อยู่รอบโซเวียตล้วนเป็นรัฐบริวารทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นโปแลนด์ เชคโกสโลวาเกีย ยูโกสลาเวีย โรมาเนีย ฮังการี.... แม้แต่ไทยเองซึ่งมีดินแดนติดกับคอมมี่ในสมัยช่วงกลางรัชกาลที่ 9 ก็ยังเอาตัวเองไม่รอด แต่ดีที่จีนช่วยไว้ ถ้าไม่ได้จีนช่วยไม่แน่ไทยอาจจะไม่พ้น
.
- เกาะบริเตนใหญ่เคยเปลี่ยนแปลงการปกครองครั้งนึงสมัยพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 ฮ่ะ ปัญหาหลักๆ เลยคือเพราะพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 ขัดแย้งกับรัฐสภากับพระองค์พยายามบังคับให้คริสตจักรสกอตแลนด์อิงรูปแบบของอังกฤษ คนสก็อตเลยไม่พอใจเข้า
.
- จนกระทั่งพอฟื้นฟูราชวงศ์ขึ้นมา อังกฤษก็กลับเข้าสู่ “ระบบระเบียบเดิมอันศักดิ์สิทธิ์” พระราชอำนาจก็คืนสู่กษัตริย์อีกครั้ง โดยสมัยชาร์ลส์ที่ 2 (ลูกชาร์ลส์ที่ 1) มีแนวคิดเช่นเดียวกับพ่อคือเชื่อเรื่องเทวสิทธิ์ (คือกษัตริย์ได้รับการแต่งตั้งจากพระเจ้า ผู้ใดจะล่วงละเมิดกษัตริย์เท่ากับละเมิดบัญชาสวรรค์) แต่ชาร์ลส์ที่ 2 ไม่ต้องการเอาแนวคิดนี้มาขัดแย้งกับรัฐสภา ทำให้สมัยพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 ซึ่งเป็นยุค “เจ้าสำราญ” เป็นไปได้อย่างสงบสุขแต่การเมืองค่อนข้างวุ่นวายพอสมควร
.
- พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 สวรรคต พระเจ้าเจมส์ที่ 2 ผู้เป็นน้องครองราชย์ต่อ เจมส์เชื่อเรื่องเทวสิทธิ์คืออำนาจกษัตริย์ศักดิ์สิทธิ์ดุจอำนาจของพระเจ้า ประกอบกับเจมส์เป็นนิกายโรมันคาทอลิกซึ่งเป็นเรื่องที่ยอมรับกันไม่ได้ อีกอย่างคือเจมส์ที่ 2 พยายามให้อังกฤษเป็นรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์อันสมบูรณ์แบบเช่นเดียวกับฝรั่งเศสของหลุยส์ที่ 14 รัฐสภาอังกฤษซึ่งในเวลานั้นเป็นฝ่ายขวาก็อยู่ฝั่งเดียวกับพระเจ้าเจมส์นะครับ แต่พอเจมส์มีทายาทขึ้นมาแน่นอนว่ารัฐสภาก็กลัวว่าเดี๋ยวลูกจะเป็นเหมือนพ่อ รัฐสภาก็กลัวว่าอังกฤษจะกลายเป็นรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์กับเป็นรัฐคาทอลิกตลอดกาล ทำให้ขุนนางทั้ง 7 เลยไปเข้าเฝ้าวิลเลียมที่ 3 แห่งออรานเย - นัสเซาว์ เจ้าผู้ครองสถานแห่งเนเธอร์แลนด์ เพื่อเชิญไปครองราชย์แทนที่ พระเจ้าเจมส์
.
- พระเจ้าเจมส์ทรงไม่พอพระทัยเลยบัญชาให้ทหารไปรบ แต่ไม่ทันได้รบพระเจ้าเจมส์เกิดมีเลือดกำเดาไหล เลยประสาทเสียคิดว่าพระเจ้าไม่เข้าข้างแล้วเลยหนีไป ทำให้พระเจ้าวิลเลียมที่ 3 ขึ้นครองราชย์โดยไม่เสียเลือดเนื้อแต่อย่างใด แต่ถึงอย่างนั้นทางราชสำนักฝรั่งเศสยังสนับสนุนพระเจ้าเจมส์ว่าเป็นกษัตริย์อยู่ ทำให้เกิดกบฏจาโคไบท์ซึ่งต้องการนำราชวงศ์สายพระเจ้าเจมส์มาเป็นกษัตริย์อังกฤษอีกครั้ง
.
- พอถึงสมัยพระนางแอนน์อำนาจกษัตริย์น้อยลงเต็มทีแล้ว จนไม่สามารถตั้งข้าราชการชั้นสูงได้อีก เรียกง่ายๆ ว่าพอประชุมสภาแต่ละทีกษัตริย์ก็ไม่ต่างอะไรจากตัวประกอบ
.
- พอพระนางแอนน์สวรรคตทางสภาอังกฤษก็ไปเชิญเจ้าชายเยอรมันมาปกครอง (พระเจ้าจอร์ชที่ 1) และด้วยความที่เป็นคนเยอรมันเองพูดภาษาอังกฤษก็ไม่ได้ ทำให้พระองค์เลยไม่ปกครองเองแต่แต่งตั้งให้ผู้มีอำนาจแทนเป็นหัวหน้าคณะรัฐมนตรีทั้งปวง เรียกตำแหน่งนี้ว่านายกรัฐมนตรี ซึ่งภายหลังรัฐสภาคิดว่าตำแหน่งนี้มีความจำเป็นและกษัตริย์จะแต่งตั้งเองไม่ได้ ในที่สุดก็นำไปสู่การเลือกตั้ง ซึ่งในเวลานั่นมีแต่พวกผู้ดีเท่านั้นที่ทำได้ หลายคนเลยเรียกประชาธิปไตยของอังกฤษในเวลานั้นว่าประชาธิปไตยแบบผู้ดี
.
- - ถ้าเทียบดูไทม์ไลน์ที่ว่ามาจะเห็นว่าช่วงของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 จนถึงพระเจ้าจอร์ชที่ 2 ไทม์ไลน์เกิดก่อนการปฏิวัติฝรั่งเศสเป็นร้อยปี ทำให้เกิดความเป็นประชาธิปไตยในอังกฤษมาก่อนที่ไหนๆ และของอังกฤษนั้นทุกฝ่ายล้วนประนีประนอมกันแม้มีความรุนแรงบ้างแต่ก็บางช่วงเวลา ไม่ได้ระเบิดปะทุทีเดียวแบบฝรั่งเศส
- ส่วนสาเหตุที่อังกฤษรอดพ้นจากภัยคอมมี่อันนี้ต้องเข้าใจนะครับ วินสตัน เชอร์ชิลก็มีความสัมพันธ์ที่ดีกับโจเซฟ สตาลินพอสมควร ในเวลานั้นรูสเวลต์พอเจอสตาลินนี่แทบไม่คุยกันเลย ได้เชอร์ชิลนี่แหละเล่นมุกตลกให้ถึงมองหน้ากันติด ในบรรดาประธานาธิบดีสหรัฐทั้งหมดรูสเวลต์เป็นประธานาธิบดีคนนึงที่ดีมากคนนึง พอรูสเวลต์ตายก็น่าเสียดายที่ผู้นำอเมริกาในเวลาต่อไม่ได้มีไหวพริบพอแบบคนนี้ ลูกน้องเป่าหูว่าคอมมิวนิสต์ไม่ดีก็เชื่อทันทีทำให้อเมริกาเป็นคู่ขัดแย้งกับโซเวียต และในเวลาต่อมาพอสหราชอาณาจักรเสื่อมอำนาจเนื่องจากลัทธิจักรวรรดินิยมเสื่อมหลังจากจบ WWII ทำให้อังกฤษกลายเป็นลูกน้องอเมริกาแทน แต่ด้วยปัจจัยทางรัฐศาสตร์ ภูมิศาสตร์ที่ไม่ได้อยู่ติดกับฝั่งขั้วอำนาจของคอมมิวนิสต์ทำให้อังกฤษรอดพ้นได้ ดินแดนต่างๆ ที่อยู่รอบโซเวียตล้วนเป็นรัฐบริวารทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นโปแลนด์ เชคโกสโลวาเกีย ยูโกสลาเวีย โรมาเนีย ฮังการี.... แม้แต่ไทยเองซึ่งมีดินแดนติดกับคอมมี่ในสมัยช่วงกลางรัชกาลที่ 9 ก็ยังเอาตัวเองไม่รอด แต่ดีที่จีนช่วยไว้ ถ้าไม่ได้จีนช่วยไม่แน่ไทยอาจจะไม่พ้น
แสดงความคิดเห็น
สาเหตุ หรือปัจจัยอะไรที่สหราชอาณาจักร (อังกฤษ) รอดพ้นจากการปฏิวัติฝรั่งเศส และช่วงคอมมิวนิสต์ครับ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้