ผู้ค้าหวยรายย่อย จ.เลย บ่นยับ หวยรับมาแพงขึ้นทุกงวด เศรษฐกิจไม่ดี ขายออกยาก
https://www.matichon.co.th/region/news_3039870
ผู้ค้าหวยรายย่อย จ.เลย บ่นยับ หวยแพงขึ้นทุกงวด ขายออกยาก
เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่หน้าธนาคารกรุงไทย สาขาเลย แหล่งแผงขายลอตเตอรี่ใหญ่สุดในจังหวัดเลย แต่ละร้านต่างเงียบเหงา โดยปกติจะมีความคึกคักตลอดทั้งวัน จากผู้เสี่ยงโชคจะเข้ามาซื้อหวยตัวเลขที่ตนชอบ ยิ่งช่วงหน้ากฐินจะขายดีกว่าปกติ แต่งวดนี้กลับเงียบเหงา เหตุลอตเตอรี่มีราคาแพง
นาย
ณรงค์ฤทธิ์ ศรีวรพงษ์เดช พ่อค้าลอตเตอรี่รายย่อย เจ้าของร้านเงินงาม เผยว่า ความจริงเป็นที่รู้ๆ กันว่า ทำไมช่วงนี้หวยมีราคาแพงมากขึ้น ทั้งๆ กองสลากมีมาตรการออกมาให้หวยมีราคาถูก ยิ่งแก้กลับยิ่งแพง ที่รู้ๆ กันในวงการคนขายลอตเตอรี่ ทราบกันว่ามีนายทุนใหญ่ประมาณ 3 กลุ่ม ได้ระดมซื้อลอตเตอรี่จากตลาดขายส่ง ทั้งตลาดสนามบินน้ำ ตลาดส่งอำเภอวังสะพุง รวมถึงหวยเสรีหรือหวยไปรษณีย์ และหวยโควต้าจากศาลากลาง โดยกลุ่มนายทุนจะระดมกว้านซื้อลอตเตอรี่ให้มากสุดในตลาด หลังจากนั้นนำมารวมเป็นหวยชุด ชุด 2 ใบ จนถึง 5 ใบ และหวยเดียว แล้วนำกลับมาขายสู่ตลาดอีกครั้ง ส่วนใหญ่จะขายส่งตามออนไลน์ หรือกลับมาขายในตลาดขายส่งอีกครั้ง
ทั้งนี้เมื่อหวยหายจากตลาดไปอยู่กับนายทุน จากนั้นกลุ่มทุนก็ปั้นราคาตามใจชอบ แม้จะกำไรแค่ใบละ 2 บาท แต่มีเป็นล้านใบงวดหนึ่งจะได้กำไรเท่าไรคิดดู เมื่อความต้องการขายโดยเฉพาะกลุ่มผู้มีอาชีพขายหวยรายย่อย มีจำนวนมากในประเทศ จำต้องซื้อมาในราคาแพงจากลุ่มนายทุนพวกนี้ เมื่อซื้อแพงก็ต้องขายแพง บางคนต้องขาดทุนก็ต้องยอมเพราะมันเป็นอาชีพ จากในงวดนี้หน้าร้านตนขายชุด 3 ใบ ต้นทุนมาชุดหนึ่ง 320 บาท ซื้อจากตลาดขายส่งวังสะพุง ขายชุดละ 350 บาท ได้กำไร 30 บาท ยังขายยาก ยิ่งเดินขายจะไปขายยังไง เดือดร้อนไปหมด ปกติร้านผมขายงวดหนึ่ง 900 ใบ วันนี้รับมาแค่ 600 ใบยังขายไม่หมด เหลือมา 2-3 งวดแล้ว เพราะหวยมาราคาแพงมาก ใบเดียวมา 95-96 บาท หากเดินขายไม่คุ้มขายใบละ 100 บาทขาดทุนอยู่แล้ว จะขายใบละ 120 บาท มีน้อยมากที่คนจะซื้อ ใบละ 100 บาทยังพอมีคนซื้อบ้างแต่ก็น้อยลง เศรษฐกิจไม่ดีเลยของแพงทุกอย่าง
ชาวนาโอดข้าวราคาตก ทุกข์ซ้ำน้ำมันแพง รถเกี่ยวข้าวพุ่งไร่ละพัน เล็งเลิกทำนาหาขุดปูขาย
https://www.matichon.co.th/region/news_3039497
กาฬสินธุ์ชาวนา-ผู้ประกอบการรถเกี่ยวข้าวโอด น้ำมันแพงราคารถเกี่ยวพุ่งไร่ละ 1 พัน
ชาวนาที่จังหวัดกาฬสินธุ์โอดครวญขายข้าวเปลือกนาปีราคาแสนต่ำกิโลกรัมละ 5 บาท ขณะที่ค่าจ้างรถเกี่ยวข้าวขับสูงขึ้นไร่ละ 1,000 บาท ด้านผู้ประกอบการรถเกี่ยวข้าวระบุเป็นผลพวงจากราคาน้ำมันแพงขึ้นลิตรละ 30 กว่าบาท ขณะที่ผู้จัดกลางตลาดกลางข้าวและพืชไร่เผย ราคารับซื้อข้าวเปลือกเริ่มรับขยับขึ้น แนะชาวนาตากข้าวแห้งก่อนนำมาขาย
เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการติดตามบรรยากาศการเก็บเกี่ยวข้าวนาปี ของชาวนาใน จ.กาฬสินธุ์ ที่เริ่มเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวนาปีกันมากแล้ว ทั้งนี้เป็นผลมาจากราคาค่าจ้างรถเกี่ยวข้าวเริ่มสูงขึ้น จากเดิมไร่ละ 600 บาท และเริ่มสูงขึ้นเป็นไร่ละ 800 -1,000 บาท โดยผู้ประกอบการรถเกี่ยวระบุว่า เนื่องจากน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นลิตรละ 30 กว่าบาท และขึ้นอยู่กับระยะทางและความยากง่ายในการลงแปลงนาเกี่ยวข้าว ทำให้ค่าจ้างรถเกี่ยวข้าวขับสูงขึ้นไร่ละ 800- 1,000 บาท
นาง
คำเพา หนูแก้ว อายุ 53 ปี ชาว หมู่ 2 ชาวนาบ้านนาสัมพันธ์ ต.บึงวิชัย อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์ กล่าวว่า ผลจากราคาขายข้าวเปลือกที่ตกต่ำในปีนี้ ทำให้ตนแทบหมดกำลังกาย กำลังใจ ไม่อยากจะทำนาต่อไป เพราะข้าวเปลือกที่ลงทุนลงแรงทำมานานกว่า 7-8 เดือน พ่อค้าตามลานข้าวทั่วไปให้ ให้ราคารับซื้อเพียงกิโลกรัมละ 5 บาทเท่านั้น หากเทียบกับราคาปุ๋ยเคมี กระสอบละ 1,000 บาท และค่ารถเกี่ยวข้าวที่สูงขึ้น คือข้าวยืนต้นไร่ละ 800 บาท หรือข้าวล้มไร่ละ 1,000 บาท ก็ไม่เหลืออะไร ไม่มีแม้เงินจะใช้หนี้ปุ๋ยเคมีและหนี้ ธ.ก.ส. อนาคตไม่รู้จะทำยังไง เพราะมืดมนเหลือเกิน ซึ่งหลังจากจ้างรถเกี่ยวข้าวเสร็จ ก็คงจะหาขุดปูนาขาย เพราะปูนาราคากิโลกรัมละ 30-40 บาท และในฤดูกาลทำนาปรังที่จะถึง ก็คงจะไม่ทำแน่นอน เพราะราคาข้าวตกต่ำอย่างนี้ คงไม่มีทุนทำนาต่อหรือทำไปก็ขาดทุน
ด้านนาย
จรัล น้อยสารบรรณ อายุ 36 ปี บ้านท่าไคร้ ต.ลำพาน อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์ ผู้ประกอบการรถเกี่ยวข้าว กล่าวว่า สาเหตุที่ราคารับจ้างเกี่ยวข้าวปีนี้สูงไร่ละ 800-1,000 บาทดังกล่าว และขึ้นอยู่กับระยะทาง รวมทั้งความยากง่ายในการลงแปลงนาเกี่ยวข้าว ที่สำคัญราคาน้ำมันสูงถึงลิตรละ 30 กว่าบาท โดยปีที่ผ่านมาน้ำมันลิตรละ 25-26 บาทเท่านั้น ราคาเกี่ยวข้าวไร่ละ600-800 บาท ส่วนราคาขายข้าวเปลือกเริ่มต้น 7-8 บาท แต่มาปีนี้ ทำให้ราคาเกี่ยวข้าวสูงขึ้นด้วย ส่วนราคาขายข้าวกิโลกรัมละ 5 บาท ทำให้ชาวนาต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายและเดือดร้อนไปตามๆกัน ส่วนตนก็พอได้ค่าจ้างไปซ่อมแซมค่าสึกหรอ และได้เกี่ยวข้าวของตนและญาติพี่น้อง ธุรกิจรับจ้างเกี่ยวข้องปีนี้ ก็เป็นไปแบบประคับประคองตัว ไม่มีกำไรอะไรเลย
ขณะที่นายธนาพล ธรรมโนขจิต ผู้จัดกลางตลาดกลางข้าวและพืชไร่ อ.ยางตลาด จ.กาฬสินธุ์ กล่าวว่า แนวโน้มราคารับซื้อข้าวเปลือกนาปี หรือข้าวเหนียว กข.6 ในปลายสัปดาห์นี้ เริ่มปรับตัวขึ้น โดยข้าวเหนียว กข.6 เกี่ยวสด รับซื้อ ราคากิโลกรัมละ 5.80-6 บาท แห้ง 7.50-8 บาท ขณะที่ข้าวเจ้ามะลิ 105 เกี่ยวสด รับซื้อกิโลกรัมละ 8-8.50 บาท แห้ง 10.50-11 บาท อย่างไรก็ตาม ขอประชาสัมพันธ์ถึงชาวนาที่จะนำข้าวเปลือกมาขาย ควรตากแดดให้แห้ง และคัดแยกสิ่งเจือปน ก่อนนำมาขาย เพื่อคุณภาพของเมล็ดข้าว และไม่ถูกกพ่อค้าคนกลางหักค่าความชื้นและสิ่งเจือปน ซึ่งจะทำให้ขายข้าวได้ราคาสูงขึ้น
บาททิศทางอ่อนค่า สินค้าทุน-วัตถุดิบอ่วม ราคาพุ่งเบรกนำเข้า
https://www.thansettakij.com/economy/503074
บาทอ่อนดันสินค้าทุน-วัตถุดิบราคาพุ่ง ผู้ประกอบการชะลอนำเข้า รอดูทางลมหลังสหรัฐฯลดคิวอีลงเดือนละ 1 หมื่นล้านดอลล์ คาดดันดอลลาร์แข็ง กดบาทอ่อนลงอีกระลอก พาณิชย์เผยตัวเลข 9 เดือนไทยนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศกว่า 6.22 ล้านล้านบาท วิ่งแซงส่งออก ทำขาดดุลการค้า
จากต้นปี 2564 จนถึง ณ ปัจจุบัน เงินบาทอ่อนค่าลงประมาณ 10% มากสุดในภูมิภาค ส่งผลดีต่อความสามารถในการส่งออกสินค้าไทย ทำให้สินค้าถูกลงแข่งขันด้านราคาได้ดีขึ้น สะท้อนได้จากส่งออกไทยช่วง 9 เดือนแรกปี 2564 ส่งออกได้ 6.20 ล้านล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้น 14.99% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่อีกด้านหนึ่ง บาทอ่อนค่าส่งผลกระทบกับการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศมีราคาที่สูงขึ้นตามเงินบาทที่อ่อนค่าลง เป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ทำให้ไทยขาดดุลการค้า
จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากรระบุว่า ช่วง 9 เดือนแรกปีนี้ ไทยมีการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ ทั้งสิ้น 6.22 ล้านล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 30.52% จากตัวเลขการนำเข้าที่สูงกว่าการส่งออก ทำให้ช่วง 9 เดือนแรกไทยขาดดุลการค้า 2.46 หมื่นล้านบาท โดยสินค้าที่ไทยมีการนำเข้าในอันดับต้นๆ ได้แก่ สินค้าทุน (เช่น เครื่องจักรกลที่ใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ ผลิตภัณฑ์โลหะและอื่น ๆ) มูลค่ากว่า 1.51 ล้านล้านบาท, สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป มูลค่า 2.73 ล้านล้านบาท และสินค้าเชื้อเพลิง 9.01 แสนล้านบาท เป็นต้น
นาย
เกรียงไกร เธียรนุกุล รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า แม้บาทอ่อนจะส่งผลดีต่อการส่งออกแข่งขันด้านราคาได้ดีขึ้น และส่งออกได้มากขึ้น แต่อีกด้านบาทยิ่งอ่อนค่ายิ่งส่งผลกระทบการนำเข้ามีราคาหรือต้นทุนที่สูงขึ้น โดยเฉพาะสินค้าทุน พวกเครื่องจักรเทคโนโลยีและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่มีความจำเป็นต้องนำเข้ามาเพื่อปรับเปลี่ยนเครื่องจักรเดิม หรือในการขยายโรงงาน/ไลน์ผลิตเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต ก่อนหน้านี้ในรายที่สั่งซื้อแล้วและมีความจำเป็นที่ต้องนำเข้าก็คงเดินหน้าต่อ แต่หากจากนี้เงินบาทมีแนวโน้มอ่อนค่าลงไปอีก ประกอบกับค่าระวางเรือยังสูง การนำเข้าสินค้าทุน พวกเครื่องจักร เทคโนโลยีและอุปกรณ์ต่าง ๆ คงมีการชะลอตัวลงเพื่อรอดูทิศทางค่าเงินบาท
ล่าสุดรัฐบาลสหรัฐฯมีนโยบาย QE Tapering (ธนาคารกลางสหรัฐฯจะลดการอัดฉีดเงินเข้าระบบ (คิวอี) จากเดิมทำอยู่เดือนละ 8.5 หมื่นล้านดอลลาร์ ลดเหลือเดือนละ 7.5 หมื่นล้านดอลลาร์) ลดอัดฉีดเงินเข้าระบบลงเดือนละ 1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่อส่งสัญญาณว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯที่มีขนาดใหญ่สุดของโลกฟื้นตัวแล้ว จะมีผลทำให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯแข็งค่าขึ้นและแนวโน้มค่าเงินบาทจะอ่อนค่าลงอีก(จากปัจจุบันเฉลี่ยที่ระดับ 33 บาทต่อดอลลาร์)
“บาทอ่อนส่งผลดีต่อการส่งออก และภาคการท่องเที่ยวที่ไทยเพิ่งเปิดประเทศ เพราะจะมีผลให้ค่าใช้จ่ายด้านโรงแรม ที่พัก อาหาร และอื่น ๆ มีราคาที่ถูกลง แต่เวลานี้ไทยยังไม่ได้รับอานิสงส์จากภาคท่องเที่ยวอย่างเต็มที่ตามที่คาดหวังไว้ เพราะนักท่องเที่ยวจีนที่เป็นลูกค้ารายใหญ่สุด รัฐบาลยังไม่มีนโยบายปล่อยคนของเขาออกมาท่องเที่ยวนอกประเทศ ยกเว้นนักธุรกิจที่มีความจำเป็นจริง ๆ ขณะที่เงินบาทอ่อนค่ากระทบภาคการนำเข้าอาจชะลอตัวลงจากราคาสินค้าแพงขึ้น”
ขณะเดียวกันยังกระทบการนำเข้าสินค้าพลังงาน (น้ำมันดิบ น้ำมันสำเร็จรูป ก๊าซ ถ่านหิน) ที่จากเดิมราคาปรับตัวสูงขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก และสูงขึ้นอีกในเด้งที่ 2 จากเงินบาทที่อ่อนค่า ทำให้เวลานี้ต้นทุนค่าไฟฟ้า ค่าขนส่ง โลจิสติกส์ต่าง ๆ ปรับตัวสูงขึ้น กระทบกำลังซื้อของประชาชนลดลง ค่าครองชีพสูงขึ้น และมีผลให้เงินเฟ้อมีแนวโน้มสูงขึ้น
ด้านนายชัยชาญ เจริญสุข ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) กล่าวว่า จากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นเวลานี้ มีผลให้ต้นทุนการขนส่ง และต้นทุนการส่งออกเพิ่มขึ้นจากค่าระวางเรือที่ปรับขึ้น ขณะที่การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกมีผลให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น เหล็ก อะลูมิเนียม เม็ดพลาสติก กระดาษและอื่น ๆ ปรับตัวสูงขึ้นตาม หากสถานการณ์ยังเป็นเช่นนี้ คาดจะส่งผลให้ราคาสินค้าที่จำหน่ายทั้งในประเทศและส่งออกจะปรับตัวสูงขึ้นอีกตั้งแต่ต้นปีหน้า 10-20% และจะส่งผลต่ออัตราเงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้นซึ่งหมายถึงประชาชนแม้จะมีเงินแต่จะซื้อของได้น้อยลง ดังนั้นภาครัฐต้องเข้ามากำกับดูแลในส่วนนี้ให้ดี เพราะหลายสินค้าคงขอปรับราคา
“ราคาสินค้าตั้งแต่ต้นปีหน้าจะปรับขึ้นแน่นอน อาจ 10-20% เพราะปรับ 5-10% คงไม่พอกับต้นทุนที่สูงขึ้นจริง จากปัจจัยวัตถุดิบและต้นทุนพลังงานนำเข้า ตอนนี้ใครขาดอะไรคงต้องรีบซื้อเพราะยังเป็นสต๊อกเก่า ราคายังไม่ปรับขึ้นมาก” นาย
ชัยชาญ กล่าว
JJNY : ผู้ค้าหวยรายย่อยเลย บ่นยับ│ชาวนาทุกข์ซ้ำน้ำมันแพง│บาททิศทางอ่อนค่า สินค้าทุน-วัตถุดิบอ่วม│‘สุทิน’อุบข้อสอบถล่มรบ.
https://www.matichon.co.th/region/news_3039870
ผู้ค้าหวยรายย่อย จ.เลย บ่นยับ หวยแพงขึ้นทุกงวด ขายออกยาก
เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่หน้าธนาคารกรุงไทย สาขาเลย แหล่งแผงขายลอตเตอรี่ใหญ่สุดในจังหวัดเลย แต่ละร้านต่างเงียบเหงา โดยปกติจะมีความคึกคักตลอดทั้งวัน จากผู้เสี่ยงโชคจะเข้ามาซื้อหวยตัวเลขที่ตนชอบ ยิ่งช่วงหน้ากฐินจะขายดีกว่าปกติ แต่งวดนี้กลับเงียบเหงา เหตุลอตเตอรี่มีราคาแพง
นายณรงค์ฤทธิ์ ศรีวรพงษ์เดช พ่อค้าลอตเตอรี่รายย่อย เจ้าของร้านเงินงาม เผยว่า ความจริงเป็นที่รู้ๆ กันว่า ทำไมช่วงนี้หวยมีราคาแพงมากขึ้น ทั้งๆ กองสลากมีมาตรการออกมาให้หวยมีราคาถูก ยิ่งแก้กลับยิ่งแพง ที่รู้ๆ กันในวงการคนขายลอตเตอรี่ ทราบกันว่ามีนายทุนใหญ่ประมาณ 3 กลุ่ม ได้ระดมซื้อลอตเตอรี่จากตลาดขายส่ง ทั้งตลาดสนามบินน้ำ ตลาดส่งอำเภอวังสะพุง รวมถึงหวยเสรีหรือหวยไปรษณีย์ และหวยโควต้าจากศาลากลาง โดยกลุ่มนายทุนจะระดมกว้านซื้อลอตเตอรี่ให้มากสุดในตลาด หลังจากนั้นนำมารวมเป็นหวยชุด ชุด 2 ใบ จนถึง 5 ใบ และหวยเดียว แล้วนำกลับมาขายสู่ตลาดอีกครั้ง ส่วนใหญ่จะขายส่งตามออนไลน์ หรือกลับมาขายในตลาดขายส่งอีกครั้ง
ทั้งนี้เมื่อหวยหายจากตลาดไปอยู่กับนายทุน จากนั้นกลุ่มทุนก็ปั้นราคาตามใจชอบ แม้จะกำไรแค่ใบละ 2 บาท แต่มีเป็นล้านใบงวดหนึ่งจะได้กำไรเท่าไรคิดดู เมื่อความต้องการขายโดยเฉพาะกลุ่มผู้มีอาชีพขายหวยรายย่อย มีจำนวนมากในประเทศ จำต้องซื้อมาในราคาแพงจากลุ่มนายทุนพวกนี้ เมื่อซื้อแพงก็ต้องขายแพง บางคนต้องขาดทุนก็ต้องยอมเพราะมันเป็นอาชีพ จากในงวดนี้หน้าร้านตนขายชุด 3 ใบ ต้นทุนมาชุดหนึ่ง 320 บาท ซื้อจากตลาดขายส่งวังสะพุง ขายชุดละ 350 บาท ได้กำไร 30 บาท ยังขายยาก ยิ่งเดินขายจะไปขายยังไง เดือดร้อนไปหมด ปกติร้านผมขายงวดหนึ่ง 900 ใบ วันนี้รับมาแค่ 600 ใบยังขายไม่หมด เหลือมา 2-3 งวดแล้ว เพราะหวยมาราคาแพงมาก ใบเดียวมา 95-96 บาท หากเดินขายไม่คุ้มขายใบละ 100 บาทขาดทุนอยู่แล้ว จะขายใบละ 120 บาท มีน้อยมากที่คนจะซื้อ ใบละ 100 บาทยังพอมีคนซื้อบ้างแต่ก็น้อยลง เศรษฐกิจไม่ดีเลยของแพงทุกอย่าง
ชาวนาโอดข้าวราคาตก ทุกข์ซ้ำน้ำมันแพง รถเกี่ยวข้าวพุ่งไร่ละพัน เล็งเลิกทำนาหาขุดปูขาย
https://www.matichon.co.th/region/news_3039497
กาฬสินธุ์ชาวนา-ผู้ประกอบการรถเกี่ยวข้าวโอด น้ำมันแพงราคารถเกี่ยวพุ่งไร่ละ 1 พัน
ชาวนาที่จังหวัดกาฬสินธุ์โอดครวญขายข้าวเปลือกนาปีราคาแสนต่ำกิโลกรัมละ 5 บาท ขณะที่ค่าจ้างรถเกี่ยวข้าวขับสูงขึ้นไร่ละ 1,000 บาท ด้านผู้ประกอบการรถเกี่ยวข้าวระบุเป็นผลพวงจากราคาน้ำมันแพงขึ้นลิตรละ 30 กว่าบาท ขณะที่ผู้จัดกลางตลาดกลางข้าวและพืชไร่เผย ราคารับซื้อข้าวเปลือกเริ่มรับขยับขึ้น แนะชาวนาตากข้าวแห้งก่อนนำมาขาย
เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการติดตามบรรยากาศการเก็บเกี่ยวข้าวนาปี ของชาวนาใน จ.กาฬสินธุ์ ที่เริ่มเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวนาปีกันมากแล้ว ทั้งนี้เป็นผลมาจากราคาค่าจ้างรถเกี่ยวข้าวเริ่มสูงขึ้น จากเดิมไร่ละ 600 บาท และเริ่มสูงขึ้นเป็นไร่ละ 800 -1,000 บาท โดยผู้ประกอบการรถเกี่ยวระบุว่า เนื่องจากน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นลิตรละ 30 กว่าบาท และขึ้นอยู่กับระยะทางและความยากง่ายในการลงแปลงนาเกี่ยวข้าว ทำให้ค่าจ้างรถเกี่ยวข้าวขับสูงขึ้นไร่ละ 800- 1,000 บาท
นางคำเพา หนูแก้ว อายุ 53 ปี ชาว หมู่ 2 ชาวนาบ้านนาสัมพันธ์ ต.บึงวิชัย อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์ กล่าวว่า ผลจากราคาขายข้าวเปลือกที่ตกต่ำในปีนี้ ทำให้ตนแทบหมดกำลังกาย กำลังใจ ไม่อยากจะทำนาต่อไป เพราะข้าวเปลือกที่ลงทุนลงแรงทำมานานกว่า 7-8 เดือน พ่อค้าตามลานข้าวทั่วไปให้ ให้ราคารับซื้อเพียงกิโลกรัมละ 5 บาทเท่านั้น หากเทียบกับราคาปุ๋ยเคมี กระสอบละ 1,000 บาท และค่ารถเกี่ยวข้าวที่สูงขึ้น คือข้าวยืนต้นไร่ละ 800 บาท หรือข้าวล้มไร่ละ 1,000 บาท ก็ไม่เหลืออะไร ไม่มีแม้เงินจะใช้หนี้ปุ๋ยเคมีและหนี้ ธ.ก.ส. อนาคตไม่รู้จะทำยังไง เพราะมืดมนเหลือเกิน ซึ่งหลังจากจ้างรถเกี่ยวข้าวเสร็จ ก็คงจะหาขุดปูนาขาย เพราะปูนาราคากิโลกรัมละ 30-40 บาท และในฤดูกาลทำนาปรังที่จะถึง ก็คงจะไม่ทำแน่นอน เพราะราคาข้าวตกต่ำอย่างนี้ คงไม่มีทุนทำนาต่อหรือทำไปก็ขาดทุน
ด้านนายจรัล น้อยสารบรรณ อายุ 36 ปี บ้านท่าไคร้ ต.ลำพาน อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์ ผู้ประกอบการรถเกี่ยวข้าว กล่าวว่า สาเหตุที่ราคารับจ้างเกี่ยวข้าวปีนี้สูงไร่ละ 800-1,000 บาทดังกล่าว และขึ้นอยู่กับระยะทาง รวมทั้งความยากง่ายในการลงแปลงนาเกี่ยวข้าว ที่สำคัญราคาน้ำมันสูงถึงลิตรละ 30 กว่าบาท โดยปีที่ผ่านมาน้ำมันลิตรละ 25-26 บาทเท่านั้น ราคาเกี่ยวข้าวไร่ละ600-800 บาท ส่วนราคาขายข้าวเปลือกเริ่มต้น 7-8 บาท แต่มาปีนี้ ทำให้ราคาเกี่ยวข้าวสูงขึ้นด้วย ส่วนราคาขายข้าวกิโลกรัมละ 5 บาท ทำให้ชาวนาต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายและเดือดร้อนไปตามๆกัน ส่วนตนก็พอได้ค่าจ้างไปซ่อมแซมค่าสึกหรอ และได้เกี่ยวข้าวของตนและญาติพี่น้อง ธุรกิจรับจ้างเกี่ยวข้องปีนี้ ก็เป็นไปแบบประคับประคองตัว ไม่มีกำไรอะไรเลย
ขณะที่นายธนาพล ธรรมโนขจิต ผู้จัดกลางตลาดกลางข้าวและพืชไร่ อ.ยางตลาด จ.กาฬสินธุ์ กล่าวว่า แนวโน้มราคารับซื้อข้าวเปลือกนาปี หรือข้าวเหนียว กข.6 ในปลายสัปดาห์นี้ เริ่มปรับตัวขึ้น โดยข้าวเหนียว กข.6 เกี่ยวสด รับซื้อ ราคากิโลกรัมละ 5.80-6 บาท แห้ง 7.50-8 บาท ขณะที่ข้าวเจ้ามะลิ 105 เกี่ยวสด รับซื้อกิโลกรัมละ 8-8.50 บาท แห้ง 10.50-11 บาท อย่างไรก็ตาม ขอประชาสัมพันธ์ถึงชาวนาที่จะนำข้าวเปลือกมาขาย ควรตากแดดให้แห้ง และคัดแยกสิ่งเจือปน ก่อนนำมาขาย เพื่อคุณภาพของเมล็ดข้าว และไม่ถูกกพ่อค้าคนกลางหักค่าความชื้นและสิ่งเจือปน ซึ่งจะทำให้ขายข้าวได้ราคาสูงขึ้น
บาททิศทางอ่อนค่า สินค้าทุน-วัตถุดิบอ่วม ราคาพุ่งเบรกนำเข้า
https://www.thansettakij.com/economy/503074
บาทอ่อนดันสินค้าทุน-วัตถุดิบราคาพุ่ง ผู้ประกอบการชะลอนำเข้า รอดูทางลมหลังสหรัฐฯลดคิวอีลงเดือนละ 1 หมื่นล้านดอลล์ คาดดันดอลลาร์แข็ง กดบาทอ่อนลงอีกระลอก พาณิชย์เผยตัวเลข 9 เดือนไทยนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศกว่า 6.22 ล้านล้านบาท วิ่งแซงส่งออก ทำขาดดุลการค้า
จากต้นปี 2564 จนถึง ณ ปัจจุบัน เงินบาทอ่อนค่าลงประมาณ 10% มากสุดในภูมิภาค ส่งผลดีต่อความสามารถในการส่งออกสินค้าไทย ทำให้สินค้าถูกลงแข่งขันด้านราคาได้ดีขึ้น สะท้อนได้จากส่งออกไทยช่วง 9 เดือนแรกปี 2564 ส่งออกได้ 6.20 ล้านล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้น 14.99% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่อีกด้านหนึ่ง บาทอ่อนค่าส่งผลกระทบกับการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศมีราคาที่สูงขึ้นตามเงินบาทที่อ่อนค่าลง เป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ทำให้ไทยขาดดุลการค้า
จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากรระบุว่า ช่วง 9 เดือนแรกปีนี้ ไทยมีการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ ทั้งสิ้น 6.22 ล้านล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 30.52% จากตัวเลขการนำเข้าที่สูงกว่าการส่งออก ทำให้ช่วง 9 เดือนแรกไทยขาดดุลการค้า 2.46 หมื่นล้านบาท โดยสินค้าที่ไทยมีการนำเข้าในอันดับต้นๆ ได้แก่ สินค้าทุน (เช่น เครื่องจักรกลที่ใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ ผลิตภัณฑ์โลหะและอื่น ๆ) มูลค่ากว่า 1.51 ล้านล้านบาท, สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป มูลค่า 2.73 ล้านล้านบาท และสินค้าเชื้อเพลิง 9.01 แสนล้านบาท เป็นต้น
นายเกรียงไกร เธียรนุกุล รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า แม้บาทอ่อนจะส่งผลดีต่อการส่งออกแข่งขันด้านราคาได้ดีขึ้น และส่งออกได้มากขึ้น แต่อีกด้านบาทยิ่งอ่อนค่ายิ่งส่งผลกระทบการนำเข้ามีราคาหรือต้นทุนที่สูงขึ้น โดยเฉพาะสินค้าทุน พวกเครื่องจักรเทคโนโลยีและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่มีความจำเป็นต้องนำเข้ามาเพื่อปรับเปลี่ยนเครื่องจักรเดิม หรือในการขยายโรงงาน/ไลน์ผลิตเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต ก่อนหน้านี้ในรายที่สั่งซื้อแล้วและมีความจำเป็นที่ต้องนำเข้าก็คงเดินหน้าต่อ แต่หากจากนี้เงินบาทมีแนวโน้มอ่อนค่าลงไปอีก ประกอบกับค่าระวางเรือยังสูง การนำเข้าสินค้าทุน พวกเครื่องจักร เทคโนโลยีและอุปกรณ์ต่าง ๆ คงมีการชะลอตัวลงเพื่อรอดูทิศทางค่าเงินบาท
ล่าสุดรัฐบาลสหรัฐฯมีนโยบาย QE Tapering (ธนาคารกลางสหรัฐฯจะลดการอัดฉีดเงินเข้าระบบ (คิวอี) จากเดิมทำอยู่เดือนละ 8.5 หมื่นล้านดอลลาร์ ลดเหลือเดือนละ 7.5 หมื่นล้านดอลลาร์) ลดอัดฉีดเงินเข้าระบบลงเดือนละ 1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่อส่งสัญญาณว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯที่มีขนาดใหญ่สุดของโลกฟื้นตัวแล้ว จะมีผลทำให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯแข็งค่าขึ้นและแนวโน้มค่าเงินบาทจะอ่อนค่าลงอีก(จากปัจจุบันเฉลี่ยที่ระดับ 33 บาทต่อดอลลาร์)
“บาทอ่อนส่งผลดีต่อการส่งออก และภาคการท่องเที่ยวที่ไทยเพิ่งเปิดประเทศ เพราะจะมีผลให้ค่าใช้จ่ายด้านโรงแรม ที่พัก อาหาร และอื่น ๆ มีราคาที่ถูกลง แต่เวลานี้ไทยยังไม่ได้รับอานิสงส์จากภาคท่องเที่ยวอย่างเต็มที่ตามที่คาดหวังไว้ เพราะนักท่องเที่ยวจีนที่เป็นลูกค้ารายใหญ่สุด รัฐบาลยังไม่มีนโยบายปล่อยคนของเขาออกมาท่องเที่ยวนอกประเทศ ยกเว้นนักธุรกิจที่มีความจำเป็นจริง ๆ ขณะที่เงินบาทอ่อนค่ากระทบภาคการนำเข้าอาจชะลอตัวลงจากราคาสินค้าแพงขึ้น”
ขณะเดียวกันยังกระทบการนำเข้าสินค้าพลังงาน (น้ำมันดิบ น้ำมันสำเร็จรูป ก๊าซ ถ่านหิน) ที่จากเดิมราคาปรับตัวสูงขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก และสูงขึ้นอีกในเด้งที่ 2 จากเงินบาทที่อ่อนค่า ทำให้เวลานี้ต้นทุนค่าไฟฟ้า ค่าขนส่ง โลจิสติกส์ต่าง ๆ ปรับตัวสูงขึ้น กระทบกำลังซื้อของประชาชนลดลง ค่าครองชีพสูงขึ้น และมีผลให้เงินเฟ้อมีแนวโน้มสูงขึ้น
ด้านนายชัยชาญ เจริญสุข ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) กล่าวว่า จากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นเวลานี้ มีผลให้ต้นทุนการขนส่ง และต้นทุนการส่งออกเพิ่มขึ้นจากค่าระวางเรือที่ปรับขึ้น ขณะที่การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกมีผลให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น เหล็ก อะลูมิเนียม เม็ดพลาสติก กระดาษและอื่น ๆ ปรับตัวสูงขึ้นตาม หากสถานการณ์ยังเป็นเช่นนี้ คาดจะส่งผลให้ราคาสินค้าที่จำหน่ายทั้งในประเทศและส่งออกจะปรับตัวสูงขึ้นอีกตั้งแต่ต้นปีหน้า 10-20% และจะส่งผลต่ออัตราเงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้นซึ่งหมายถึงประชาชนแม้จะมีเงินแต่จะซื้อของได้น้อยลง ดังนั้นภาครัฐต้องเข้ามากำกับดูแลในส่วนนี้ให้ดี เพราะหลายสินค้าคงขอปรับราคา
“ราคาสินค้าตั้งแต่ต้นปีหน้าจะปรับขึ้นแน่นอน อาจ 10-20% เพราะปรับ 5-10% คงไม่พอกับต้นทุนที่สูงขึ้นจริง จากปัจจัยวัตถุดิบและต้นทุนพลังงานนำเข้า ตอนนี้ใครขาดอะไรคงต้องรีบซื้อเพราะยังเป็นสต๊อกเก่า ราคายังไม่ปรับขึ้นมาก” นายชัยชาญ กล่าว