เมื่อวันที่12 พ.ย.64 นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) กล่าวถึงกรณีที่เว็บไซต์ศาลรัฐธรรมนูญถูกแฮกเกอร์โจมตีระบบ ว่า ล่าสุดระงับการเข้าถึงเว็บไซต์ศาลรัฐธรรมนูญแล้ว จากการตรวจสอบพบว่า ยังไม่มีข้อมูลที่ได้รับความเสียหาย เป็นเพียงการดิสเครดิต
ทั้งนี้พบว่า ศาลฯจ้างบริษัทเอกชนรายหนึ่งเข้ามาดูแล คาดว่าบริษัทนี้คงไม่มีมาตรการป้องกันที่เพียงพอ จึงมีช่องให้แฮกเกอร์ยึดเว็บไซต์ สันนิษฐานว่าข้อมูลชื่อผู้ใช้ (ยูสเซอร์เนม) และรหัสผ่าน (พาสเวิร์ด) อาจหลุดจากแอดมิน หรือแฮกเกอร์ภายนอกอาจลองเจาะระบบ ซึ่งอยู่ในระหว่างการสืบสวน
นายชัยวุฒิ กล่าวต่อว่า ส่วนที่หลายฝ่ายเชื่อมโยงว่า เกี่ยวข้องกับที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัย #ม็อบ10สิงหา ว่าเข้าข่ายล้มล้างการปกครอง นายชัยวุฒิ กล่าวว่า รู้อยู่แล้วว่ากลุ่มไหนที่พยายามแฮกเข้ามา เป็นการเตรียมการไว้ล่วงหน้าก่อนวันที่ 10 พ.ย. ที่ศาลจะมีคำวินิจฉัย
เบื้องต้นกระทรวงดิจิทัลจะร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) และกองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ปอท.) เพื่อสืบหาผู้กระทำผิด โดยสามารถตรวจสอบหาคนแฮกได้ โดยดูจากระบบตรวจสอบการบุกรุก แต่อาจไม่ง่ายอย่างที่คิดต้องใช้เวลา ส่วนการกอบกู้คงยาก เพราะเว็บไซต์ถูกขโมยเอายูสเซอร์เนมและพาสเวิร์ดไป
รมว.ดีอีเอส กล่าวว่า ระยะหลังมักมีข่าวเว็บไซต์ของหน่วยงานรัฐถูกโจมตี ต้องยอมรับว่าหลายหน่วยงานมีข้อจำกัดเรื่องงบประมาณ ระบบคอมพิวเตอร์และระบบรักษาความปลอดภัย (ไซเบอร์ซิคิวริตี้) อาจยังไม่เพียงพอ
ขณะนี้หารือกับ สกมช. จะตั้งคณะทำงานศึกษาระบบให้ข้อแนะนำหน่วยงานรัฐ เพื่อจัดสรรงบประมาณพัฒนาระบบป้องกันการจู่โจม หากงบประมาณไม่เพียงพอก็อาจใช้งบประมาณจากกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ที่มีอยู่ปีละ 4-5 พันล้านบาทมาปรับปรุงระบบความปลอดภัยให้ทุกหน่วยงานภาครัฐ
“ขอฝากไปยังเว็บไซต์หน่วยงานราชการ ต้องระวังเรื่องยูสเซอร์เนมและพาสเวิร์ด ทีมแอดมินต้องมีระบบป้องกันการจู่โจม มีรหัสผ่านที่จำได้ยาก ทั้งนี้บริษัทที่ดูแลเว็บไซต์ต้องมีมาตรฐาน มีความพร้อมดูแลข้อมูลองค์กรด้วย” นายชัยวุฒิ กล่าว
https://www.khaosod.co.th/breaking-news/news_6728717
มาร่วมกันเอาใจช่วยให้ดีอีเอสกู้เว็บไซต์ศาลรัฐธรรมนูญได้โดยเร็วกันครับ
เมื่อวันที่12 พ.ย.64 นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) กล่าวถึงกรณีที่เว็บไซต์ศาลรัฐธรรมนูญถูกแฮกเกอร์โจมตีระบบ ว่า ล่าสุดระงับการเข้าถึงเว็บไซต์ศาลรัฐธรรมนูญแล้ว จากการตรวจสอบพบว่า ยังไม่มีข้อมูลที่ได้รับความเสียหาย เป็นเพียงการดิสเครดิต
ทั้งนี้พบว่า ศาลฯจ้างบริษัทเอกชนรายหนึ่งเข้ามาดูแล คาดว่าบริษัทนี้คงไม่มีมาตรการป้องกันที่เพียงพอ จึงมีช่องให้แฮกเกอร์ยึดเว็บไซต์ สันนิษฐานว่าข้อมูลชื่อผู้ใช้ (ยูสเซอร์เนม) และรหัสผ่าน (พาสเวิร์ด) อาจหลุดจากแอดมิน หรือแฮกเกอร์ภายนอกอาจลองเจาะระบบ ซึ่งอยู่ในระหว่างการสืบสวน
นายชัยวุฒิ กล่าวต่อว่า ส่วนที่หลายฝ่ายเชื่อมโยงว่า เกี่ยวข้องกับที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัย #ม็อบ10สิงหา ว่าเข้าข่ายล้มล้างการปกครอง นายชัยวุฒิ กล่าวว่า รู้อยู่แล้วว่ากลุ่มไหนที่พยายามแฮกเข้ามา เป็นการเตรียมการไว้ล่วงหน้าก่อนวันที่ 10 พ.ย. ที่ศาลจะมีคำวินิจฉัย
เบื้องต้นกระทรวงดิจิทัลจะร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) และกองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ปอท.) เพื่อสืบหาผู้กระทำผิด โดยสามารถตรวจสอบหาคนแฮกได้ โดยดูจากระบบตรวจสอบการบุกรุก แต่อาจไม่ง่ายอย่างที่คิดต้องใช้เวลา ส่วนการกอบกู้คงยาก เพราะเว็บไซต์ถูกขโมยเอายูสเซอร์เนมและพาสเวิร์ดไป
รมว.ดีอีเอส กล่าวว่า ระยะหลังมักมีข่าวเว็บไซต์ของหน่วยงานรัฐถูกโจมตี ต้องยอมรับว่าหลายหน่วยงานมีข้อจำกัดเรื่องงบประมาณ ระบบคอมพิวเตอร์และระบบรักษาความปลอดภัย (ไซเบอร์ซิคิวริตี้) อาจยังไม่เพียงพอ
ขณะนี้หารือกับ สกมช. จะตั้งคณะทำงานศึกษาระบบให้ข้อแนะนำหน่วยงานรัฐ เพื่อจัดสรรงบประมาณพัฒนาระบบป้องกันการจู่โจม หากงบประมาณไม่เพียงพอก็อาจใช้งบประมาณจากกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ที่มีอยู่ปีละ 4-5 พันล้านบาทมาปรับปรุงระบบความปลอดภัยให้ทุกหน่วยงานภาครัฐ
“ขอฝากไปยังเว็บไซต์หน่วยงานราชการ ต้องระวังเรื่องยูสเซอร์เนมและพาสเวิร์ด ทีมแอดมินต้องมีระบบป้องกันการจู่โจม มีรหัสผ่านที่จำได้ยาก ทั้งนี้บริษัทที่ดูแลเว็บไซต์ต้องมีมาตรฐาน มีความพร้อมดูแลข้อมูลองค์กรด้วย” นายชัยวุฒิ กล่าว
https://www.khaosod.co.th/breaking-news/news_6728717