ข้อมูลจำนวนประชากรเกิดของไทยในแต่ละปี ไม่มีหน่วยงานไหน นำเสนอสถิติว่าเด็กแต่ละคนเกิดจากครอบครัวที่มีรายได้เท่าไหร่
ซึ่งมีแต่เพียงสถิติประชากรเกิดแยกตามช่วงอายุของมารดา และลำดับการคลอดบุตรเท่านั้น
ข้อมูล ปี 2562 ประเทศไทย
มีประชากรเกิดทั้งสิ้น
596,736 คน
ถ้าแบ่งตามช่วงอายุของมารดาคลอดบุตร พบว่า
- หญิงคลอดบุตรอายุต่ำกว่า 15 ปี 2,180 คน
- หญิงคลอดบุตรอายุ 15-19 ปี 61,651 คน
- หญิงคลอดบุตรอายุ 20-24 ปี 132,075 คน
- หญิงคลอดบุตรอายุ 25-29 ปี 159,720 คน
- หญิงคลอดบุตรอายุ 30-34 ปี 137,126 คน
- หญิงคลอดบุตรอายุ 35 ปีขึ้นไป 103,636 คน
และไม่ทราบข้อมูล 348 คน
จะเห็นได้ว่า...สถิติการคลอดบุตรของหญิงไทยส่วนใหญ่อยู่ที่อายุประมาณ 20-30 ปี
และถ้าแบ่งตามลำดับการคลอดบุตรของมารดา พบว่า
- บุตรคนแรก 331,822 คน
- บุตรคนที่สอง 189,034 คน
- บุตรคนที่สาม 55,160 คน
- บุตรคนที่สี่ 13,349 คน
- บุตรคนที่ห้าขึ้นไป 6,527 คน
และไม่ทราบ 844 คน
จะเห็นได้ว่า...ผู้หญิงไทยรุ่นใหม่ส่วนใหญ่มีลูกกันแค่ 1-3 คนเท่านั้น
จากสถิติต่างๆ ยังไม่เคยมีหน่วยงานใด บอกจำนวนตัวเลขว่าผู้หญิงไทยส่วนใหญ่คลอดบุตรคนแรกกันช่วงอายุเท่าไหร่มากที่สุด
มีแต่เพียงกระทรวงสาธารณสุขเท่านั้น ที่บอกถึงสถิติการคลอดบุตรในช่วงวัยรุ่น
ข้อมูล ปี 2562
จำนวนหญิงคลอดบุตรคนแรกอายุต่ำกว่า 15 ปี ทั้งสิ้น 2,180 คน
และจำนวนหญิงคลอดบุตรอายุ 15-19 ปี ทั้งสิ้น 61,651 คน แบ่งเป็น
คลอดบุตรคนแรก 56,429 คน
คลอดบุตรซ้ำคนที่สอง 5,222 คน
ซึ่งสามารถคำนวณเป็นสถิติได้ว่า ปี 2562
จำนวนการคลอดบุตรคนแรก 331,822 คน
สามารถแบ่งเป็น
- หญิงคลอดบุตรคนแรกอายุต่ำกว่า 20 ปี ทั้งสิ้น 58,609 คน (คิดเป็น 17.6%)
- หญิงคลอดบุตรคนแรกอายุ 20 ปีขึ้นไป ทั้งสิ้น 273,213 คน (คิดเป็น 82.4%)
(นับเฉพาะหญิงคลอดบุตรคนแรกนะครับ)
ซึ่งก็สามารถอนุมานได้ว่าเด็กไทยรุ่นใหม่ ส่วนใหญ่ก็เกิดกับผู้หญิงที่สามารถมีความพร้อมได้ในระดับนึงแล้ว
ส่วนลำดับการคลอดบุตรคนที่ 2 3 4 ~~~
ยังไม่เคยมีหน่วยงานใดนำสถิติมาเสนอว่าส่วนใหญ่เกิดกับหญิงคลอดบุตรช่วงอายุใด มากน้อยแค่ไหน
ซึ่งช่วงอายุหญิงคลอดบุตร ก็สามารถอนุมานระดับการศึกษาได้ในระดับนึงด้วย
- หญิงคลอดบุตรคนแรกอายุต่ำกว่า 15 ปี
ส่วนใหญ่พลาดท้องช่วง ม.ต้น / ถูกล่วงละเมิดทางเพศ / จบวุฒิ ป.6
- หญิงคลอดบุตรคนแรกอายุ 15-19 ปี
ส่วนใหญ่พลาดท้องช่วง ม.ปลาย / จบวุฒิ ม.3 / มีบางส่วนที่แต่งงาน มีลูก หลังเรียนจบ ม.6 ปวช. พอดี
- หญิงคลอดบุตรคนแรกอายุ 20-24 ปี
ส่วนใหญ่ไม่ได้เรียนต่อ ป.ตรี / หลายคนจบวุฒิเพียง ม.6 ปวช. ปวส. แล้วออกมาทำเลย / มีบางส่วนแต่งงานที่มีลูกหลังเรียนจบ ป.ตรี เพียงไม่กี่ปี / ส่วนใหญ่เป็นคนสังคมชนบท
- หญิงคลอดบุตรคนแรกอายุ 25-29 ปี
ส่วนใหญ่เรียนจบ ป.ตรี / ตั้งใจรีบมีลูกคนแรกก่อนอายุ 30 เพราะกลัวติดลูกยาก / ส่วนใหญ่เป็นทั้งคนสังคมเมืองกับคนชนบท
- หญิงคลอดบุตรคนแรกอายุ 30 ปีขึ้นไป
ส่วนใหญ่จบวุฒิ ป.ตรี / บางส่วนจบวุฒิ ป.โท / ส่วนใหญ่เป็นสังคมเมือง โดยเฉพาะกรุงเทพฯนี่เยอะมาก
อย่างไรก็ตาม ตัวอย่างที่ผมอนุมานมาทั้งหมดนี่ ก็ไม่เสมอไปทั้งหมด
ผู้หญิงไทยที่เรียนไม่จบสูงก็แต่งงานช้ามีลูกช้ากว่าคนจบสูงก็มีให้เห็นอีกเยอะ
ผู้หญิงไทยที่เรียนจบสูงก็แต่งงานเร็วมีลูกเร็วกว่าคนไม่จบสูงก็ให้เห็นมีอีกเยอะด้วยเช่นกัน
หลายๆครอบครัวที่ผมเห็นทั้งครอบครัวคนในเมืองกับชนบท มีลูก 1 คน 2 คน 3 คน ประปรายกันไป ซึ่งยังไม่เคยมีหน่วยงานใดนำเสนอสถิติว่าเด็กไทยรุ่นใหม่เกิดกับครอบครัวมีรายได้เท่าไหร่
ประเด็น.....
คิดว่าอายุมารดาคลอดบุตร สามารถบ่งบอกถึงคุณภาพ สังคม และอนาคตของเด็ก เสมอไปไหม
คิดว่า อายุมารดาคลอดบุตร สามารถบ่งบอกถึงคุณภาพ สังคม และอนาคตของลูก เสมอไปไหม
ซึ่งมีแต่เพียงสถิติประชากรเกิดแยกตามช่วงอายุของมารดา และลำดับการคลอดบุตรเท่านั้น
ข้อมูล ปี 2562 ประเทศไทย
มีประชากรเกิดทั้งสิ้น
596,736 คน
ถ้าแบ่งตามช่วงอายุของมารดาคลอดบุตร พบว่า
- หญิงคลอดบุตรอายุต่ำกว่า 15 ปี 2,180 คน
- หญิงคลอดบุตรอายุ 15-19 ปี 61,651 คน
- หญิงคลอดบุตรอายุ 20-24 ปี 132,075 คน
- หญิงคลอดบุตรอายุ 25-29 ปี 159,720 คน
- หญิงคลอดบุตรอายุ 30-34 ปี 137,126 คน
- หญิงคลอดบุตรอายุ 35 ปีขึ้นไป 103,636 คน
และไม่ทราบข้อมูล 348 คน
จะเห็นได้ว่า...สถิติการคลอดบุตรของหญิงไทยส่วนใหญ่อยู่ที่อายุประมาณ 20-30 ปี
และถ้าแบ่งตามลำดับการคลอดบุตรของมารดา พบว่า
- บุตรคนแรก 331,822 คน
- บุตรคนที่สอง 189,034 คน
- บุตรคนที่สาม 55,160 คน
- บุตรคนที่สี่ 13,349 คน
- บุตรคนที่ห้าขึ้นไป 6,527 คน
และไม่ทราบ 844 คน
จะเห็นได้ว่า...ผู้หญิงไทยรุ่นใหม่ส่วนใหญ่มีลูกกันแค่ 1-3 คนเท่านั้น
จากสถิติต่างๆ ยังไม่เคยมีหน่วยงานใด บอกจำนวนตัวเลขว่าผู้หญิงไทยส่วนใหญ่คลอดบุตรคนแรกกันช่วงอายุเท่าไหร่มากที่สุด
มีแต่เพียงกระทรวงสาธารณสุขเท่านั้น ที่บอกถึงสถิติการคลอดบุตรในช่วงวัยรุ่น
ข้อมูล ปี 2562
จำนวนหญิงคลอดบุตรคนแรกอายุต่ำกว่า 15 ปี ทั้งสิ้น 2,180 คน
และจำนวนหญิงคลอดบุตรอายุ 15-19 ปี ทั้งสิ้น 61,651 คน แบ่งเป็น
คลอดบุตรคนแรก 56,429 คน
คลอดบุตรซ้ำคนที่สอง 5,222 คน
ซึ่งสามารถคำนวณเป็นสถิติได้ว่า ปี 2562
จำนวนการคลอดบุตรคนแรก 331,822 คน
สามารถแบ่งเป็น
- หญิงคลอดบุตรคนแรกอายุต่ำกว่า 20 ปี ทั้งสิ้น 58,609 คน (คิดเป็น 17.6%)
- หญิงคลอดบุตรคนแรกอายุ 20 ปีขึ้นไป ทั้งสิ้น 273,213 คน (คิดเป็น 82.4%)
(นับเฉพาะหญิงคลอดบุตรคนแรกนะครับ)
ซึ่งก็สามารถอนุมานได้ว่าเด็กไทยรุ่นใหม่ ส่วนใหญ่ก็เกิดกับผู้หญิงที่สามารถมีความพร้อมได้ในระดับนึงแล้ว
ส่วนลำดับการคลอดบุตรคนที่ 2 3 4 ~~~
ยังไม่เคยมีหน่วยงานใดนำสถิติมาเสนอว่าส่วนใหญ่เกิดกับหญิงคลอดบุตรช่วงอายุใด มากน้อยแค่ไหน
ซึ่งช่วงอายุหญิงคลอดบุตร ก็สามารถอนุมานระดับการศึกษาได้ในระดับนึงด้วย
- หญิงคลอดบุตรคนแรกอายุต่ำกว่า 15 ปี
ส่วนใหญ่พลาดท้องช่วง ม.ต้น / ถูกล่วงละเมิดทางเพศ / จบวุฒิ ป.6
- หญิงคลอดบุตรคนแรกอายุ 15-19 ปี
ส่วนใหญ่พลาดท้องช่วง ม.ปลาย / จบวุฒิ ม.3 / มีบางส่วนที่แต่งงาน มีลูก หลังเรียนจบ ม.6 ปวช. พอดี
- หญิงคลอดบุตรคนแรกอายุ 20-24 ปี
ส่วนใหญ่ไม่ได้เรียนต่อ ป.ตรี / หลายคนจบวุฒิเพียง ม.6 ปวช. ปวส. แล้วออกมาทำเลย / มีบางส่วนแต่งงานที่มีลูกหลังเรียนจบ ป.ตรี เพียงไม่กี่ปี / ส่วนใหญ่เป็นคนสังคมชนบท
- หญิงคลอดบุตรคนแรกอายุ 25-29 ปี
ส่วนใหญ่เรียนจบ ป.ตรี / ตั้งใจรีบมีลูกคนแรกก่อนอายุ 30 เพราะกลัวติดลูกยาก / ส่วนใหญ่เป็นทั้งคนสังคมเมืองกับคนชนบท
- หญิงคลอดบุตรคนแรกอายุ 30 ปีขึ้นไป
ส่วนใหญ่จบวุฒิ ป.ตรี / บางส่วนจบวุฒิ ป.โท / ส่วนใหญ่เป็นสังคมเมือง โดยเฉพาะกรุงเทพฯนี่เยอะมาก
อย่างไรก็ตาม ตัวอย่างที่ผมอนุมานมาทั้งหมดนี่ ก็ไม่เสมอไปทั้งหมด
ผู้หญิงไทยที่เรียนไม่จบสูงก็แต่งงานช้ามีลูกช้ากว่าคนจบสูงก็มีให้เห็นอีกเยอะ
ผู้หญิงไทยที่เรียนจบสูงก็แต่งงานเร็วมีลูกเร็วกว่าคนไม่จบสูงก็ให้เห็นมีอีกเยอะด้วยเช่นกัน
หลายๆครอบครัวที่ผมเห็นทั้งครอบครัวคนในเมืองกับชนบท มีลูก 1 คน 2 คน 3 คน ประปรายกันไป ซึ่งยังไม่เคยมีหน่วยงานใดนำเสนอสถิติว่าเด็กไทยรุ่นใหม่เกิดกับครอบครัวมีรายได้เท่าไหร่
ประเด็น.....
คิดว่าอายุมารดาคลอดบุตร สามารถบ่งบอกถึงคุณภาพ สังคม และอนาคตของเด็ก เสมอไปไหม