โรงแรม 10% ตัดใจขายกิจการ! มาตรการรัฐหนุนเที่ยวไม่ปัง ทัวริสต์กังวลโควิด!
https://www.bangkokbiznews.com/business/970619
สมาคมโรงแรมไทย ร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สำรวจความเชื่อมั่นผู้ประกอบการที่พักแรม ประจำเดือน ต.ค.2564 วันที่ 11-28 ต.ค.ที่ผ่านมา กลุ่มตัวอย่าง 189 แห่งทั่วประเทศ ซึ่งการเผชิญวิกฤติโควิด-19 มายาวนานร่วม 2 ปี สั่นสะเทือนสภาพคล่องและเงินสดในมืออย่างรุนแรง!
มาริสา สุโกศล หนุนภักดี นายกสมาคมโรงแรมไทย กล่าวว่า 10% ของกลุ่มตัวอย่างได้ตัดสินใจขายกิจการแล้ว!! โดยโรงแรมที่ประกาศขายแล้วหรืออยู่ระหว่างเจรจากับผู้ซื้อส่วนใหญ่เป็นโรงแรมในจังหวัดท่องเที่ยวหลักของแต่ละภาค และเป็นโรงแรมขนาดกลางที่มีจำนวนห้องพักอยู่ที่ 51-249 ห้อง ส่วน 43% ของกลุ่มตัวอย่างยังไม่ตัดสินใจว่าจะขายกิจการหรือไม่ และอีก 48% ของกลุ่มตัวอย่างยังไม่พิจารณาขายกิจการ
สำหรับ
“สถานะกิจการ” พบว่าผู้ประกอบการโรงแรมที่พักแรมได้รับผลบวกจากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมโควิด-19 รวมถึงมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวของภาครัฐ สะท้อนถึงการกลับมาเปิดกิจการตามปกติที่เพิ่มขึ้น!
“โรงแรมทั่วประเทศกลับมาเปิดกิจการตามปกติ 67% เพิ่มขึ้นจากเดือน ก.ย.ที่ 51% จากภาพรวม โรงแรมในทุกภูมิภาคกลับมาเปิดกิจการปกติเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มที่รับลูกค้าท่องเที่ยวทั่วไป แต่ยังคงมีโรงแรมที่ยังไม่กลับมาเปิดกิจการปกติ โดยสาเหตุเนื่องจากส่วนใหญ่มองว่าต้นทุนในการเปิดดำเนินการ เช่น ค่าสาธารณูปโภค และค่าจ้างพนักงาน อยู่ในระดับสูง และดีมานด์นักท่องเที่ยวยังอยู่ในระดับต่ำเป็นสำคัญ ทั้งนี้โรงแรมที่ปิดกิจการชั่วคราวมีอยู่ประมาณ 8% ส่วนใหญ่คาดว่าจะกลับมาเปิดกิจการอีกครั้งในไตรมาส 4 ปี 2564”
ด้าน
“สภาพคล่องของโรงแรม” เดือน ต.ค.ส่วนใหญ่มีสภาพคล่อง
“ทรงตัว” จากเดือน ก.ย. โดย 50% มีสภาพคล่องสำหรับดำเนินธุรกิจได้ไม่เกิน 3 เดือน ลดลงจากเดือนก่อนที่ 53% อย่างไรก็ดีมีกลุ่มที่สภาพคล่องเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนถึง 27% เกือบทั้งหมดเป็นโรงแรมที่มีอัตราการเข้าพักเดือน ต.ค.สูงกว่าค่าเฉลี่ยที่ 23%
สถานการณ์
“รายได้” พบว่าเดือน ต.ค. โรงแรมส่วนใหญ่ยังมีรายได้อยู่ในระดับต่ำ แต่ปรับดีขึ้นจากเดือน ก.ย. โดยสัดส่วนโรงแรมที่มีรายได้กลับมาไม่ถึง 10% เทียบกับเดือน ต.ค.2562 ก่อนโควิด-19 ลดลงเหลือ 29% จากเดือน ก.ย.ซึ่งอยู่ที่ 55% นอกจากนี้ยังพบว่ามีโรงแรมเพียง 22% ที่รายได้กลับมาแล้วเกินครึ่งหนึ่ง
สอดคล้องกับ
“อัตราการเข้าพัก” เฉลี่ยเดือน ต.ค.อยู่ที่ 23.5% เพิ่มขึ้นจากเดือน ก.ย.ที่มีอัตราการเข้าพัก 15.5% โดยเป็นการปรับเพิ่มขึ้นของโรงแรมในทุกภูมิภาค โดยเฉพาะในภาคตะวันออก เนื่องจากรัฐบาลผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดโควิด-19 ความคืบหน้าในการฉีดวัคซีน และผลของมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวของภาครัฐ นอกจากนี้โรงแรมส่วนใหญ่คาดว่าอัตราการเข้าพักเฉลี่ยในเดือน พ.ย.2564 จะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือน ต.ค.มาอยู่ที่ 25%
มาริสา กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับการเปิดรับ “นักท่องเที่ยวต่างชาติ” ภายใต้โครงการ “แซนด์บ็อกซ์” พบว่าโรงแรม 42% มองว่าผลของการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติต่ออัตราการเขาพักในเดือน ต.ค. 64 แย่กว่าที่คาด โดยมีอุปสรรคหลักมาจากค่าใช้จ่ายในการเดินทางสูงและค่าตรวจโควิด-19 แบบ RT-PCR โดยอัตราการเข้าพักโรงแรมในพื้นที่แซนด์บ็อกซ์เดือน ต.ค.อยู่ที่ 23% จากเดือนก่อนหน้าอยู่ที่ 18.4%
ส่วนโครงการรัฐกระตุ้นเศรษฐกิจ ได้แก่ โครงการ
“เราเที่ยวด้วยกัน เฟส 3” และ
“ทัวร์เที่ยวไทย” ซึ่งเปิดให้เริ่มจองเมื่อวันที่ 8 ต.ค.ที่ผ่านมา เกือบครึ่งหนึ่งของโรงแรมที่ตอบแบบสำรวจระบุว่าไม่สามารถประเมินผลของโครงการได้ ขณะที่ 25% มองว่าผลของมาตรการดังกล่าวต่ออัตราการเข้าพักแย่กว่าที่คาดไว้ จากความกังวลเรื่องการแพร่ระบาดของโควิด-19 และดีมานด์นักท่องเที่ยวไทยอยู่ในระดับต่ำ
สำหรับปัญหาและอุปสรรคในการเข้าถึงมาตรการฟื้นฟู ผลสำรวจไม่ต่างจากการสำรวจก่อนเดือน ก.ย. มากนัก โดยผู้ประกอบการมองว่าอุปสรรคสำคัญของการเข้าร่วมโครงการคือสถาบันการเงินสร้างเงื่อนไขหรือกำหนดคุณสมบัติเพิ่มเติมซึ่งทำให้การเข้าถึงมาตรการได้ยากขึ้น! ด้านโครงการพักทรัพย์ พักหนี้ มีปัญหาการสื่อสารรายละเอียดของมาตรการ นโยบายหรือแนวปฏิบัติของสถาบันการเงินไม่ชัดเจนมากที่สุด ขณะที่สินเชื่อฟื้นฟูฯส่วนใหญ่มีอุปสรรคเรื่องสถาบันการเงินยังระมัดระวังในการให้สินเชื่อค่อนข้างมาก โดยเฉพาะลูกหนี้ใหม่เป็นสำคัญ!
อย่างไรก็ตาม สมาคมฯหวังว่า
“การเปิดประเทศ 1 พ.ย.2564” จะเป็น
“จุดเริ่มต้น” ของการฟื้นฟูประเทศและเศรษฐกิจของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยให้กลับมาพลิกฟื้นอีกครั้ง และเป็นแรงหนุนส่งต่อการท่องเที่ยวไปถึงปี 2565 ให้มีทิศทางที่ดีขึ้น
โดยหลังจากนี้ภาครัฐจำเป็นต้องเพิ่มมาตรการฟื้นฟู กระตุ้นเศรษฐกิจการท่องเที่ยว ทั้งตลาดในและต่างประเทศมากขึ้น เพื่อสร้างแรงจูงใจเรื่องการเดินทาง การบริโภคจับจ่ายใช้สอยในช่วงไฮซีซั่นและเทศกาลปีใหม่ รวมถึงการผ่อนคลายมาตรการควบคุมโควิด-19 ผนึกกับการสร้างความพร้อมต่างๆ ที่ยังเป็นส่วนสำคัญ เพื่อเดินหน้าสร้างความมั่นใจแก่นักท่องเที่ยวต่างชาติและประชาชนต่อไป!
พ่อค้าแม่ค้าวอนรัฐคุมราคาน้ำมันปาล์ม ด้านเกษตรกรชี้อย่าโยงราคาผลปาล์ม
https://www.matichon.co.th/region/news_3032969
พ่อค้าแม่ค้า วอนรัฐคุมราคาน้ำมันปาล์ม ด้านเกษตรกรชี้อย่าโยงราคาผลปาล์ม เหตุราคาเพิ่งขึ้นหลังตกต่ำมานับสิบปี
ผู้สื่อข่าวรายงานจาก จ.กระบี่ เมื่อวันที่ 9 พ.ย. หลังจากราคาน้ำมันปาล์มในท้องตลาด เพิ่มราคาสูงขึ้น กก.ละ 10-15 บาท ส่งผลกระทบต่อผู้บริโภค เนื่องจากทำให้น้ำมันขวดที่ขายกันอยู่ราคาสูงขวดละกว่า 50 บาท ขณะที่กลุ่มที่ใช้น้ำมันปาล์มมากที่สุด เป็นกลุ่มพ่อค้า แม่ค้า ที่จำหน่ายอาหารทอด เนื่องจากผลจากราคาน้ำมันแพง ทำให้ต้นทุนการผลิตอาหารเพิ่มสูงขึ้นไปด้วย แต่พ่อค้าแม่ค้า ส่วนใหญ่ ไม่สามารถปรับเพิ่มราคาขายอาหารขึ้นได้ ยังคงจำหน่ายในราคาเดิม โดยปัญหาดังกล่าวเกิดมานาน 1-2 เดือนแล้ว
ผู้สื่อข่าวเดินทางไปสำรวจแผงขายอาหารทอด บริเวณใกล้ตลาดสดมหาราช ในเขตเทศบาลเมืองกระบี่ พบว่าพ่อค้าแม่ค้าส่วนใหญ่ เดือดร้อนจากราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นเกือบทุกชนิด โดยเฉพาะน้ำมันปาล์ม ที่ต้องนำมาใช้เป็นน้ำมันทอดอาหาร นางสมพร พิบูลย์ อายุ 55 ปี แม่ค้าขายกล้วยทอด เผยว่า จากภาวะราคาน้ำมันแพง ส่งผลกระทบอย่างหนักต่อพ่อค้าแม่ค้า โดยเฉพาะกลุ่มที่ขายของทอด เพราะทำให้ต้นทุนสูงขึ้น แต่ราคาขายอาหารยังคงขายเท่าเดิม อยากให้รัฐบาลเร่งควบคุมราคาไม่ให้เพิ่มสูงขึ้น ให้อยู่ที่ กก.ละไม่เกิน 40 บาท
เช่นเดียวกับ นาย
สุระชัย ขอสวัสดิ์ อายุ 48 ปี พ่อค้าขายไก่ทอด กล่าวด้วยว่า ราคาน้ำมันปาล์มปรับเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง ทำให้ต้นทุนเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งแต่ละวันทางร้านใช้น้ำมันทอดไก่ วันละ 20 ลิตร ต้นทุนราคาน้ำมันเพิ่มสูงมาวันละ 200-300 บาท แต่ไม่สามารถขึ้นราคาไก่ทอดได้เนื่องจาก สงสารผู้บริโภค เศรษฐกิจไม่ดี ส่วนใหญ่ รายได้ลดลง ขาดรายได้ จึงต้องขายราคาเดิม เน้นขายปริมาณมาก อยากให้รัฐควบคุมราคา เพราะผู้บริโภคเดือดร้อนมานาน 1-2 เดือนแล้ว
ขณะที่ผลจากราคาน้ำมันปาล์มแพง ทำให้หลายคนมองว่าเป็นผลมาจาก ราคาผลปาล์มดิบเพิ่มสูงขึ้นในระยะ 2-3 เดือนที่ผ่านมานั้น นาย
ชโยดม สุวรรณวัฒนะ ประธานกลุ่มคนปลูกปาล์มน้ำมันแห่งประเทศไทย มองเรื่องนี้ว่า ต้นเหตุที่ทำให้ราคาน้ำมันปาล์มในท้องตลาดเพิ่มสูงขึ้น ไม่น่าจะมีปัจจัยมาจากราคาพืชผลการเกษตรปรับสูงขึ้น แต่เป็นผลมาจากกลไกทางการตลาด ที่ประเทศไทยไม่มีโครงสร้างราคาปาล์มที่ดีพอ ทำให้กลุ่มพ่อค้า นักธุรกิจ พากันปั่นราคาจนสูง แล้วมาโทษภาคการเกษตร อยากให้เข้าใจว่าก่อนนี้ ภาคเกษตรกรผู้ปลูกปาล์ม ต้องเดือดร้อนเพราะราคาตกต่ำมานานนับสิบปีแล้ว วันนี้เราขายผลปาล์มได้ 8-9 บาทต่อ กก. กลับถูกมองว่าเป็นเหตุทำให้ราคาน้ำมันแพง เป็นการไม่ยุติธรรม อยากให้มองในทุกมติ ทั้งต้นทุนปุ๋ยที่แพง เพราะปัญหาปุ๋ยขาดตลาดด้วย รวมทั้งรัฐไม่วางโครงสร้างราคาให้ดี
ผักชีปรับราคาลง ขณะที่ผักชนิดอื่นยังมีราคาสูง
https://www.nationtv.tv/news/378851369
ตรัง - ราคาผักชีในตลาดสดเทศบาลนครตรังเริ่มปรับราคาลง จากเดิม 400 บาทต่อกิโลกรัม เหลือ 250-300 บาทต่อกิโลกรัม ในขณะที่ผักชนิดอื่นกลับมีราคาเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งแม่ค้าบอกว่าสาเหตุมาจากน้ำท่วมในหลายพื้นที่
9 พฤศจิกายน 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการสำรวจราคาพืชผักในตลาดสดเทศบาลนครตรัง พบว่าได้มีการทยอยปรับขึ้นราคาไปแล้วหลายระลอก ส่วนหนึ่งมาจากผลกระทบการเกิดน้ำท่วมในหลายพื้นที่ ทำให้ผักมีปริมาณลดลง จึงทำให้ผักมีราคาพง ที่ผ่านมานั้นผักชีในตลาดสดนั้นมีการปรับตัวสูงขึ้นไปถึง 400 บาทต่อกิโลกรัม ส่งผลกระทบต่อประชาชนและผู้ประกอบการร้านอาหารเป็นอย่างมาก
ทางด้านนาง
สุธาภรณ์ วันจันทร์ แม่ค้าขายผักในตลาดสดเทศบาลนครตรังกล่าวว่า ตั้งแต่มีน้ำท่วมในหลายจังหวัด ทำให้ราคาผักได้ปรับขึ้น และได้ปรับลดลง โดยเฉพาะผักชี สัปดาห์ที่ผ่านมาปรับเพิ่มสูงขึ้นไปถึง 400 บาทต่อกิโลกรัม และในสัปดาห์นี้ราคาผักชีได้ปรับลดลงมาเหลือ 250-300 บาทต่อกิโลกรัม
JJNY : โรงแรม10%ขายกิจการ! มาตรการไม่ปัง│วอนคุมราคาน้ำมันปาล์ม│ผักชีราคาลง ผักอื่นยังสูง│ทช.แจ้ง 12 จว. น้ำยังท่วมอยู่
https://www.bangkokbiznews.com/business/970619
สมาคมโรงแรมไทย ร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สำรวจความเชื่อมั่นผู้ประกอบการที่พักแรม ประจำเดือน ต.ค.2564 วันที่ 11-28 ต.ค.ที่ผ่านมา กลุ่มตัวอย่าง 189 แห่งทั่วประเทศ ซึ่งการเผชิญวิกฤติโควิด-19 มายาวนานร่วม 2 ปี สั่นสะเทือนสภาพคล่องและเงินสดในมืออย่างรุนแรง!
มาริสา สุโกศล หนุนภักดี นายกสมาคมโรงแรมไทย กล่าวว่า 10% ของกลุ่มตัวอย่างได้ตัดสินใจขายกิจการแล้ว!! โดยโรงแรมที่ประกาศขายแล้วหรืออยู่ระหว่างเจรจากับผู้ซื้อส่วนใหญ่เป็นโรงแรมในจังหวัดท่องเที่ยวหลักของแต่ละภาค และเป็นโรงแรมขนาดกลางที่มีจำนวนห้องพักอยู่ที่ 51-249 ห้อง ส่วน 43% ของกลุ่มตัวอย่างยังไม่ตัดสินใจว่าจะขายกิจการหรือไม่ และอีก 48% ของกลุ่มตัวอย่างยังไม่พิจารณาขายกิจการ
สำหรับ “สถานะกิจการ” พบว่าผู้ประกอบการโรงแรมที่พักแรมได้รับผลบวกจากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมโควิด-19 รวมถึงมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวของภาครัฐ สะท้อนถึงการกลับมาเปิดกิจการตามปกติที่เพิ่มขึ้น!
“โรงแรมทั่วประเทศกลับมาเปิดกิจการตามปกติ 67% เพิ่มขึ้นจากเดือน ก.ย.ที่ 51% จากภาพรวม โรงแรมในทุกภูมิภาคกลับมาเปิดกิจการปกติเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มที่รับลูกค้าท่องเที่ยวทั่วไป แต่ยังคงมีโรงแรมที่ยังไม่กลับมาเปิดกิจการปกติ โดยสาเหตุเนื่องจากส่วนใหญ่มองว่าต้นทุนในการเปิดดำเนินการ เช่น ค่าสาธารณูปโภค และค่าจ้างพนักงาน อยู่ในระดับสูง และดีมานด์นักท่องเที่ยวยังอยู่ในระดับต่ำเป็นสำคัญ ทั้งนี้โรงแรมที่ปิดกิจการชั่วคราวมีอยู่ประมาณ 8% ส่วนใหญ่คาดว่าจะกลับมาเปิดกิจการอีกครั้งในไตรมาส 4 ปี 2564”
ด้าน “สภาพคล่องของโรงแรม” เดือน ต.ค.ส่วนใหญ่มีสภาพคล่อง “ทรงตัว” จากเดือน ก.ย. โดย 50% มีสภาพคล่องสำหรับดำเนินธุรกิจได้ไม่เกิน 3 เดือน ลดลงจากเดือนก่อนที่ 53% อย่างไรก็ดีมีกลุ่มที่สภาพคล่องเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนถึง 27% เกือบทั้งหมดเป็นโรงแรมที่มีอัตราการเข้าพักเดือน ต.ค.สูงกว่าค่าเฉลี่ยที่ 23%
สถานการณ์ “รายได้” พบว่าเดือน ต.ค. โรงแรมส่วนใหญ่ยังมีรายได้อยู่ในระดับต่ำ แต่ปรับดีขึ้นจากเดือน ก.ย. โดยสัดส่วนโรงแรมที่มีรายได้กลับมาไม่ถึง 10% เทียบกับเดือน ต.ค.2562 ก่อนโควิด-19 ลดลงเหลือ 29% จากเดือน ก.ย.ซึ่งอยู่ที่ 55% นอกจากนี้ยังพบว่ามีโรงแรมเพียง 22% ที่รายได้กลับมาแล้วเกินครึ่งหนึ่ง
สอดคล้องกับ “อัตราการเข้าพัก” เฉลี่ยเดือน ต.ค.อยู่ที่ 23.5% เพิ่มขึ้นจากเดือน ก.ย.ที่มีอัตราการเข้าพัก 15.5% โดยเป็นการปรับเพิ่มขึ้นของโรงแรมในทุกภูมิภาค โดยเฉพาะในภาคตะวันออก เนื่องจากรัฐบาลผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดโควิด-19 ความคืบหน้าในการฉีดวัคซีน และผลของมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวของภาครัฐ นอกจากนี้โรงแรมส่วนใหญ่คาดว่าอัตราการเข้าพักเฉลี่ยในเดือน พ.ย.2564 จะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือน ต.ค.มาอยู่ที่ 25%
มาริสา กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับการเปิดรับ “นักท่องเที่ยวต่างชาติ” ภายใต้โครงการ “แซนด์บ็อกซ์” พบว่าโรงแรม 42% มองว่าผลของการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติต่ออัตราการเขาพักในเดือน ต.ค. 64 แย่กว่าที่คาด โดยมีอุปสรรคหลักมาจากค่าใช้จ่ายในการเดินทางสูงและค่าตรวจโควิด-19 แบบ RT-PCR โดยอัตราการเข้าพักโรงแรมในพื้นที่แซนด์บ็อกซ์เดือน ต.ค.อยู่ที่ 23% จากเดือนก่อนหน้าอยู่ที่ 18.4%
ส่วนโครงการรัฐกระตุ้นเศรษฐกิจ ได้แก่ โครงการ “เราเที่ยวด้วยกัน เฟส 3” และ “ทัวร์เที่ยวไทย” ซึ่งเปิดให้เริ่มจองเมื่อวันที่ 8 ต.ค.ที่ผ่านมา เกือบครึ่งหนึ่งของโรงแรมที่ตอบแบบสำรวจระบุว่าไม่สามารถประเมินผลของโครงการได้ ขณะที่ 25% มองว่าผลของมาตรการดังกล่าวต่ออัตราการเข้าพักแย่กว่าที่คาดไว้ จากความกังวลเรื่องการแพร่ระบาดของโควิด-19 และดีมานด์นักท่องเที่ยวไทยอยู่ในระดับต่ำ
สำหรับปัญหาและอุปสรรคในการเข้าถึงมาตรการฟื้นฟู ผลสำรวจไม่ต่างจากการสำรวจก่อนเดือน ก.ย. มากนัก โดยผู้ประกอบการมองว่าอุปสรรคสำคัญของการเข้าร่วมโครงการคือสถาบันการเงินสร้างเงื่อนไขหรือกำหนดคุณสมบัติเพิ่มเติมซึ่งทำให้การเข้าถึงมาตรการได้ยากขึ้น! ด้านโครงการพักทรัพย์ พักหนี้ มีปัญหาการสื่อสารรายละเอียดของมาตรการ นโยบายหรือแนวปฏิบัติของสถาบันการเงินไม่ชัดเจนมากที่สุด ขณะที่สินเชื่อฟื้นฟูฯส่วนใหญ่มีอุปสรรคเรื่องสถาบันการเงินยังระมัดระวังในการให้สินเชื่อค่อนข้างมาก โดยเฉพาะลูกหนี้ใหม่เป็นสำคัญ!
อย่างไรก็ตาม สมาคมฯหวังว่า “การเปิดประเทศ 1 พ.ย.2564” จะเป็น “จุดเริ่มต้น” ของการฟื้นฟูประเทศและเศรษฐกิจของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยให้กลับมาพลิกฟื้นอีกครั้ง และเป็นแรงหนุนส่งต่อการท่องเที่ยวไปถึงปี 2565 ให้มีทิศทางที่ดีขึ้น
โดยหลังจากนี้ภาครัฐจำเป็นต้องเพิ่มมาตรการฟื้นฟู กระตุ้นเศรษฐกิจการท่องเที่ยว ทั้งตลาดในและต่างประเทศมากขึ้น เพื่อสร้างแรงจูงใจเรื่องการเดินทาง การบริโภคจับจ่ายใช้สอยในช่วงไฮซีซั่นและเทศกาลปีใหม่ รวมถึงการผ่อนคลายมาตรการควบคุมโควิด-19 ผนึกกับการสร้างความพร้อมต่างๆ ที่ยังเป็นส่วนสำคัญ เพื่อเดินหน้าสร้างความมั่นใจแก่นักท่องเที่ยวต่างชาติและประชาชนต่อไป!
พ่อค้าแม่ค้าวอนรัฐคุมราคาน้ำมันปาล์ม ด้านเกษตรกรชี้อย่าโยงราคาผลปาล์ม
https://www.matichon.co.th/region/news_3032969
พ่อค้าแม่ค้า วอนรัฐคุมราคาน้ำมันปาล์ม ด้านเกษตรกรชี้อย่าโยงราคาผลปาล์ม เหตุราคาเพิ่งขึ้นหลังตกต่ำมานับสิบปี
ผู้สื่อข่าวรายงานจาก จ.กระบี่ เมื่อวันที่ 9 พ.ย. หลังจากราคาน้ำมันปาล์มในท้องตลาด เพิ่มราคาสูงขึ้น กก.ละ 10-15 บาท ส่งผลกระทบต่อผู้บริโภค เนื่องจากทำให้น้ำมันขวดที่ขายกันอยู่ราคาสูงขวดละกว่า 50 บาท ขณะที่กลุ่มที่ใช้น้ำมันปาล์มมากที่สุด เป็นกลุ่มพ่อค้า แม่ค้า ที่จำหน่ายอาหารทอด เนื่องจากผลจากราคาน้ำมันแพง ทำให้ต้นทุนการผลิตอาหารเพิ่มสูงขึ้นไปด้วย แต่พ่อค้าแม่ค้า ส่วนใหญ่ ไม่สามารถปรับเพิ่มราคาขายอาหารขึ้นได้ ยังคงจำหน่ายในราคาเดิม โดยปัญหาดังกล่าวเกิดมานาน 1-2 เดือนแล้ว
ผู้สื่อข่าวเดินทางไปสำรวจแผงขายอาหารทอด บริเวณใกล้ตลาดสดมหาราช ในเขตเทศบาลเมืองกระบี่ พบว่าพ่อค้าแม่ค้าส่วนใหญ่ เดือดร้อนจากราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นเกือบทุกชนิด โดยเฉพาะน้ำมันปาล์ม ที่ต้องนำมาใช้เป็นน้ำมันทอดอาหาร นางสมพร พิบูลย์ อายุ 55 ปี แม่ค้าขายกล้วยทอด เผยว่า จากภาวะราคาน้ำมันแพง ส่งผลกระทบอย่างหนักต่อพ่อค้าแม่ค้า โดยเฉพาะกลุ่มที่ขายของทอด เพราะทำให้ต้นทุนสูงขึ้น แต่ราคาขายอาหารยังคงขายเท่าเดิม อยากให้รัฐบาลเร่งควบคุมราคาไม่ให้เพิ่มสูงขึ้น ให้อยู่ที่ กก.ละไม่เกิน 40 บาท
เช่นเดียวกับ นายสุระชัย ขอสวัสดิ์ อายุ 48 ปี พ่อค้าขายไก่ทอด กล่าวด้วยว่า ราคาน้ำมันปาล์มปรับเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง ทำให้ต้นทุนเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งแต่ละวันทางร้านใช้น้ำมันทอดไก่ วันละ 20 ลิตร ต้นทุนราคาน้ำมันเพิ่มสูงมาวันละ 200-300 บาท แต่ไม่สามารถขึ้นราคาไก่ทอดได้เนื่องจาก สงสารผู้บริโภค เศรษฐกิจไม่ดี ส่วนใหญ่ รายได้ลดลง ขาดรายได้ จึงต้องขายราคาเดิม เน้นขายปริมาณมาก อยากให้รัฐควบคุมราคา เพราะผู้บริโภคเดือดร้อนมานาน 1-2 เดือนแล้ว
ขณะที่ผลจากราคาน้ำมันปาล์มแพง ทำให้หลายคนมองว่าเป็นผลมาจาก ราคาผลปาล์มดิบเพิ่มสูงขึ้นในระยะ 2-3 เดือนที่ผ่านมานั้น นายชโยดม สุวรรณวัฒนะ ประธานกลุ่มคนปลูกปาล์มน้ำมันแห่งประเทศไทย มองเรื่องนี้ว่า ต้นเหตุที่ทำให้ราคาน้ำมันปาล์มในท้องตลาดเพิ่มสูงขึ้น ไม่น่าจะมีปัจจัยมาจากราคาพืชผลการเกษตรปรับสูงขึ้น แต่เป็นผลมาจากกลไกทางการตลาด ที่ประเทศไทยไม่มีโครงสร้างราคาปาล์มที่ดีพอ ทำให้กลุ่มพ่อค้า นักธุรกิจ พากันปั่นราคาจนสูง แล้วมาโทษภาคการเกษตร อยากให้เข้าใจว่าก่อนนี้ ภาคเกษตรกรผู้ปลูกปาล์ม ต้องเดือดร้อนเพราะราคาตกต่ำมานานนับสิบปีแล้ว วันนี้เราขายผลปาล์มได้ 8-9 บาทต่อ กก. กลับถูกมองว่าเป็นเหตุทำให้ราคาน้ำมันแพง เป็นการไม่ยุติธรรม อยากให้มองในทุกมติ ทั้งต้นทุนปุ๋ยที่แพง เพราะปัญหาปุ๋ยขาดตลาดด้วย รวมทั้งรัฐไม่วางโครงสร้างราคาให้ดี
ผักชีปรับราคาลง ขณะที่ผักชนิดอื่นยังมีราคาสูง
https://www.nationtv.tv/news/378851369
ตรัง - ราคาผักชีในตลาดสดเทศบาลนครตรังเริ่มปรับราคาลง จากเดิม 400 บาทต่อกิโลกรัม เหลือ 250-300 บาทต่อกิโลกรัม ในขณะที่ผักชนิดอื่นกลับมีราคาเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งแม่ค้าบอกว่าสาเหตุมาจากน้ำท่วมในหลายพื้นที่
9 พฤศจิกายน 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการสำรวจราคาพืชผักในตลาดสดเทศบาลนครตรัง พบว่าได้มีการทยอยปรับขึ้นราคาไปแล้วหลายระลอก ส่วนหนึ่งมาจากผลกระทบการเกิดน้ำท่วมในหลายพื้นที่ ทำให้ผักมีปริมาณลดลง จึงทำให้ผักมีราคาพง ที่ผ่านมานั้นผักชีในตลาดสดนั้นมีการปรับตัวสูงขึ้นไปถึง 400 บาทต่อกิโลกรัม ส่งผลกระทบต่อประชาชนและผู้ประกอบการร้านอาหารเป็นอย่างมาก
ทางด้านนางสุธาภรณ์ วันจันทร์ แม่ค้าขายผักในตลาดสดเทศบาลนครตรังกล่าวว่า ตั้งแต่มีน้ำท่วมในหลายจังหวัด ทำให้ราคาผักได้ปรับขึ้น และได้ปรับลดลง โดยเฉพาะผักชี สัปดาห์ที่ผ่านมาปรับเพิ่มสูงขึ้นไปถึง 400 บาทต่อกิโลกรัม และในสัปดาห์นี้ราคาผักชีได้ปรับลดลงมาเหลือ 250-300 บาทต่อกิโลกรัม