สอบถามวิศวกรและนายกฏหมาย ?! การถมที่ดินแบบนี้ สามารถกระทำได้หรือไม่ ??!!

จากข่าว สั่งระงับแล้ว ที่ดินถมสูง 3 เมตร ก่อกำแพงมิดหลังคาเพื่อนบ้าน เจ้าของที่แจงทุกประเด็น

https://www.sanook.com/news/8468638/gallery/3492126/

สงสัยว่า

1. ถมดินสูงขนาดนั้น แรงดันของดินจะมากขึ้นไหน ต้องทำคานกั้นดินแข็งแรงขนาดไหน
แล้วจากในรูป กำแพงแบบนี้จะเอาอยู่ไหม ?!?!

2. ตามกฏหมาย เพื่อนบ้าน สามารถถมดินสูงขนาดนี้ได้หรือไม่ ?!?!



สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 21
ออกข่าวทีวีแล้วนี่ นักข่าวไปดูสภาพที่ดินจริง ปรากฎว่า เขาก็ถมสูงเท่าระดับถนนเท่านั้นเอง
แต่บ้านที่มาร้องเรียนนั้น อยู่ต่ำกว่าระดับถนนมาก ซึ่งก็เป็นเรื่องน่าเห็นใจฝั่งถมดิน
เพราะเขาก็อยากปลูกบ้านระดับเดียวกับถนน และเขาก็ทำตามกฎหมายทุกอย่าง
โดยทำกำแพงคอนกรีตกันดินล้น ออกแบบควบคุมโดยวิศวกร มีความแข็งแรง มีสเตย์รั้งถูกต้องครบถ้วน
ส่วนกำแพงอิฐบล็อกนั้น ก็ก่อสูงขึ้นไป ตามความต้องการของบ้านข้างเคียงที่อ้างว่า
คนเดินผ่านในที่ดินที่ถมนั้น สามารถมองเห็นเข้าไปในตัวบ้าน ไม่มีความส่วนตัว
ฝ่ายถมที่ดินก็ยอมทำตามโดยก่อกำแพงสูงขึ้นไปเพื่อปิดบังสายตาให้แล้ว

น่าเห็นใจฝั่งเจ้าของที่ถมดินนะ ซึ่งก็ทำตามทั้งกฎหมายกำหนดและยอมทำตาม
คำเรียกร้องของบ้านข้างเคียงแล้ว แต่ก็ยังไม่หยุดโวยวายอีก แล้วจะให้เขาทำไง
จะให้เขาปลูกบ้านต่ำกว่าระดับถนนเป็นเพื่อนกันงั้นรึ มันก็ประหลาดล่ะ
ความคิดเห็นที่ 7
ฎีกา 2949/2526    เดิมบ้านของโจทก์ได้รับลมและแสงสว่างจากภายนอกพอ

สมควร เมื่อจำเลยสร้างอาคารพิพาทสูงกว่าบ้านโจทก์มาก  จึงปิดกั้นทางลม

ที่พัดจากทางด้านทิศใต้ถึงปีละ 6 เดือน และปิดกั้นแสงสว่างเป็นเหตุให้โจทก์

ต้องใช้แสงไฟฟ้าในเวลากลางวัน ดังนี้   การกระทำของจำเลยจึงเป็นการ

ละเมิดต่อโจทก์ แม้จำเลยจะมีแดนกรรมสิทธิ์เหนือพื้นดินของตน  แต่ก็ต้องอยู่

ในบังคับแห่ง ป.พ.พ. ม.420  การใช้สิทธิปลูกสร้างอาคารของจำเลยเป็น

เหตุให้โจทก์ได้รับความเดือดร้อนรำคาญเกินที่ควรคาดหมาย ได้ว่าจะเป็นไป

ตามปกติและเหตุอันสมควร   เพราะตรงที่จำเลยปลูกสร้างอาคารพิพาทเป็น

ย่านประชาชนอยู่อาศัย ไม่ใช่ย่านการค้าหรือประกอบธุรกิจ   โจทก์จึงมีสิทธิ

ที่จะกำจดความเดือนร้อนรำคาญให้สิ้นไปได้ตาม ม.1337

    ตามเทศบัญญัติของเทศบาลกรุงเทพ   เรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคาร

พ.ศ. 2484 (ซึ่งใช้อยู่ในขณะนั้น) ข้อ  59 และ 60 การปลูกสร้างอาคาร

ซึ่งอยู่ริมถนนที่มีความกว้างไม่ถึง 8 เมตรแต่ไม่น้อยกว่า 4 เมตร อนุญาตให้

ปลูกสร้างได้สูงไม่เกิน 8 เมตร บริเวณหน้าอาคารของจำเลยที่ 1  ติดขอบ

ซอยหรือขอบถนนกว้าง 4.60หรือ 5.40 เมตรเท่านั้นการที่กรุงเทพมหานคร

จำเลยที่ 2 โดยหัวหน้าเขตจำเลยที่ 4อนุญาตให้จำเลยที่ 1ปลูกสร้างอาคาร

พิพาทสูงเกิน 8 เมตร จึงไม่ชอบด้วยเทศบัญญัติดังกล่าว แม้จะกำหนดให้ปลูก

สร้างร่นห่างจากของซอยเข้าไปด้านหลังอีก 3 เมตรก็ตาม

    การที่ศาลพิพาทเพิกถอนใบอนุญาตให้ปลูกสร้างอาคารพิพาทในส่วนที่สูง

เกิน 8  เมตร หาเป็นการก้าวล่วงเข้าไปวินิจฉัยในเรื่องการใช้ดุลพินิจของ

ฝ่ายบริหารไม่   เพราะการอนุญาตให้ปลูกสร้างอาคารพิพาทเกิดขึ้นจากฝ่าย

บริหารฝ่าฝืนบทบัญญัติของกฎหมาย   ศาลย่อมมีอำนาจพิจารณาพิพากษาได้ว่า

คำสั่งของฝ่ายบริหารนั้นถูกต้องชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่