จากข่าวเรื่องสุนัขร็อตไวเลอร์ที่กำลังโด่งดัง ผมได้ไปค้นเจอ
"ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครว่าด้วยการควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสุนัข พ.ศ. ๒๕๔๘" ซึ่งมีเนื้อหาส่วนหนึ่งกล่าวถึง
"สุนัขควบคุมพิเศษ" (เนื้อหาอยู่ในสปอย)
อยากเรียนถามผู้ที่มีความรู้ทางกฎหมาย ว่าข้อบัญญัตินี้มันมีอยู่จริงหรือไม่ครับ เคยถูกนำมาใช้ปฎิบัติจริงๆหรือครับ เพราะปกติผมชอบไปเดินสวนจตุจักร หรือไปตามงาน Pet Fair ต่างๆ เพราะเป็นคนชอบเลี้ยงสัตว์ ศึกษาเรื่องสัตว์พอสมควร แต่ก็ยังเห็นมีการขายสุนัขพันธุ์พิเศษที่ถูกระบุไว้อย่างเอิกเกริก ใครใคร่ขายๆ ใครใคร่ซื้อๆ คนเลี้ยงเป็นไม่เป็นไม่เป็นไร มีเงินซื้อพอ จะเอาไปเลี้ยงในชุมชน ทาวเฮ้าส์ แฟลต คอนโด (กรณีข่าวเร็วๆนี้) ได้หมด ทั้งๆที่สุนัขพวกนี้ต้องการพื้นที่ ต้องการปลดปล่อยพลังงาน เพื่อไม่ให้เค้าเกิดความเครียด ซึ่งสภาพแวดล้อม องค์ความรู้ และความรับผิดชอบของคนเลี้ยงสำคัญมาก แต่เมืองไทยเอามาขาย หรือพอออกลูกมาก็แจกกันเอาไปเลี้ยง อย่างกับเป็นพุดเดิ้ล ชิวาวา พอมีปัญหาก็ประชาชนแถวนั้นรับกรรมกันไป โชคร้ายก็ตายไปก็มี แถมคนต้องมาทะเลาะกันเพราะเรื่องหมาๆ (รวมทั้งสัตว์เลี้ยงอื่นๆที่เจ้าของไม่มีความรับผิดชอบ) ให้ได้เห็นอยู่บ่อยๆ
เราน่าจะตัดไฟแต่ต้นลมกันได้เสียทีนะครับ จะมาหวังความรับผิดชอบจากคนที่ไม่มีความรับผิดชอบไปได้ยังไง เวลาหาเสียงเลือกตั้งทั้งเวทีใหญ่ เวทีท้องถิ่นไม่เห็นมีใครพูดถึงเรื่องนี้เลย (เวทีผู้ว่าฯที่จะมาถึง ใครยกเรื่องนี้มาพูดเสนอ ผมจะให้คะแนนพิเศษเลย) ทั้งๆมันเป็นปัญหาของประเทศเราจริงๆนะครับ เรื่องหมาดุพิตบูล ร็อตไวเลอร์ โดเบอร์แมน นี่มันกัดคนออกข่าวจำได้ว่ามีมา 30 กว่าปีแล้วนะครับ พอมีข่าวก็เฮกันทีนึง แล้วก็หายไปกับสายลม.. จากใจคนที่ในซอยบ้านเคยมีหมาสายพันธุ์ดุที่ถูกปล่อยให้วิ่งอิสระไล่กัดคน กัดจักรยาน มอเตอร์ไซค์ อยู่หลายปี
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครว่าด้วยการควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสุนัข พ.ศ. ๒๕๔๘ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๒๙ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครนี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสุนัข พ.ศ. ๒๕๔๘
ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป
บรรดาข้อบัญญัติ เทศบัญญัติ กฎ ข้อบังคับ ระเบียบ คําสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้ว ในข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครนี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครนี้ ให้ใช้ข้อบัญญัติ กรุงเทพมหานครนี้แทน
ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครนี้มิให้ใช้บังคับแก่สุนัขของทางราชการ
ในข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครนี้
“การปล่อยสุนัข” หมายความว่า การสละการครอบครองสุนัข หรือปล่อยให้อยู่นอกสถานที่เลี้ยง โดยปราศจากการควบคุม
“เจ้าของสุนัข” หมายความรวมถึงผู้ครอบครองสุนัข หรือผู้ให้อาหารสุนัขเป็นประจําด้วย
“สถานที่เลี้ยง” หมายความว่า กรง ที่ขัง หรือที่เลี้ยงอื่นที่มีการควบคุมของเจ้าของสุนัข
“เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
“เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ตามมาตรา ๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
“พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ข้าราชการกรุงเทพมหานครผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งจากเจ้าพนักงาน ท้องถิ่นตามมาตรา ๔๔ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
“ที่หรือทางสาธารณะ” หมายความว่า สถานที่หรือทางซึ่งมิใช้เป็นของเอกชน และประชาชน สามารถใช็ประโยชน์หรือสัญจรได้
“สิ่งปฏิกูล” หมายความว่า อุจจาระหรือปัสสาวะ และให้หมายรวมถึงสิ่งอื่นใดซึ่งเป็นสิ่งโสโครก หรือมีกลิ่นเหม็น
“ใบรับรอง” หมายความว่า ใบรับรองรูปพรรณสัณฐานสุนัขและการจัดทําเครื่องหมายระบุตัวสุนัข อย่างถาวร ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ เช่น การฝังไมโครชิป เป็นต้น ซึ่งออกโดยสถานพยาบาลสัตว์ ในเขตกรุงเทพมหานครที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลสัตว์
“การจดทะเบียนสุนัข” หมายความว่า การนําสุนัขหรือใบรับรองไปแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อบันทึกรายละเอียดรูปพรรณสัณฐานของสุนัขและรหัสไมโครชิป พร้อมจัดทําบัตรประจําตัวสุนัข
“สุนัขควบคุมพิเศษ” หมายความว่าสุนัขสายพันธุ์ที่ดุร้าย เช่น พิทบูลเทอเรีย บูลเทอเรีย สเตฟฟอร์ดเชอร์บูลเทอเรีย รอทไวเลอร์ และฟัล่าบราซิลเรียโร เป็นต้น และ สุนัขที่มีประวัติทําร้ายคน หรือพยายามทําร้ายคน
ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครรักษาการตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครนี้ และให้มีอํานาจออกข้อบังคับ ระเบียบ คําสั่ง ประกาศ เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครนี้
ให้กรุงเทพมหานครเป็นเขตควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสุนัข
ห้ามมิให้ผู้ใดปล่อยสุนัขในที่หรือทางสาธารณะ หรือในที่อื่นใดในเขตกรุงเทพมหานคร โดยเด็ดขาด
เจ้าของสุนัขต้องนําสุนัขหรือใบรับรองแล้วแต่กรณีไปจดทะเบียน ณ สถานที่ ที่กําหนดไว้ตามข้อ ๑๐ ภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่สุนัขเกิดหรือภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ นําสุนัขมาเลี้ยงในเขตกรุงเทพมหานครด้วยตนเองหรือมอบอํานาจให้ผู้อื่นไปทําการแทนก็ได้
การจดทะเบียนสุนัขที่สํานักงานเขตพื้นที่ หรือสถานที่อื่นใดตามที่ผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานครกําหนด ให้นําใบรับรองมาแสดงโดยไม่ต้องนําสุนัขมาด้วย (การจดทะเบียนสุนัขที่กองสัตวแพทย์สาธารณสุข สํานักอนามัย หรือสถานที่อื่นใดตามที่ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครกําหนด จะนําสุนัขหรือใบรับรองอย่างหนึ่งอย่างใดมาจดทะเบียนก็ได้ )
การควบคุมการเลี้ยงสุนัข
จัดสถานที่เลี้ยงตามความเหมาะสมของสุนัข โดยมีขนาดเพียงพอแก่การดํารงชีวิตของสุนัข มีแสงสว่างและการระบายอากาศที่เพียงพอ มีระบบการระบายน้ําและกําจัดสิ่งปฏิกูลให้ถูกสุขลักษณะ
กรณีเป็นสุนัขควบคุมพิเศษจะต้องเลี้ยงในสถานที่ หรือกรงที่สุนัขไม่สามารถเข้าถึงบุคคลภายนอก และมีป้ายเตือนให้ระมัดระวังโดยสังเกตได้อย่างชัดเจน
ควบคุมสุนัขมิให้ออกนอกสถานที่เลี้ยงโดยปราศจากการควบคุม
ควบคุมดูแลสุนัขมิให้ก่อเหตุเดือดร้อนรําคาญ เช่น ก่อให้เกิดเสียงดังติดต่อกันเป็นระยะเวลา นานๆ เป็นต้น
รักษาสถานที่เลี้ยงสุนัขให้สะอาดอยู่เสมอ จัดเก็บสิ่งปฏิกูลให้ถูกสุขลักษณะเป็นประจํา ไม่ปล่อยให้เป็นที่สะสมหมักหมมจนเกิดกลิ่นเหม็นรบกวนผู้ที่อยู่บริเวณใกล้เคียง
ต้องรับผิดชอบต้อความเป็นอยู่ของสุนัข เช่น เรื่องอาหาร ความสะอาด เป็นต้น ถ้าเจ้าของสุนัขไม่สามารถเลี้ยงดูสุนัขได้เป็นการชั่วคราว จะต้องจัดให้มีผู้ดูแลความเป็นอยู่ของสุนัขให้เป็น ปกติสุข
เมื่อสุนัขตาย เจ้าของสุนัขจะต้องกําจัดซากสุนัขให้ถูกสุขลักษณะ
จัดให้มีการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในสุนัข
ในกรณีที่มีเหตุควรสงสัยว่า สุนัขที่เลี้ยงเป็นโรคอันอาจเป็นอันตรายแก่สุขภาพของ ประชาชน ให้เจ้าของสุนัขแยกกักสุนัขนั้นไว้ต่างหาก และแจ้งให้หน่วยงานที่จดทะเบียนไว้ กองสัตวแพทย์สาธารณสุข สํานักอนามัย หรือสถานที่อื่นใดตามที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครกําหนด ทราบ และต้องปฏิบัติตามคําแนะนําของสัตวแพทย์
ห้ามมิให้ผู้ใดเลี้ยงสุนัขในที่หรือทางสาธารณะ หรือในที่ของบุคคลอื่นโดยปราศจาก ความยินยอม
เจ้าของสุนัขมีหน้าที่กําจัดสิ่งปฏิกูลอันเกิดจากสุนัขในที่หรือทางสาธารณะ หรือในที่อื่นใดในเขตกรุงเทพมหานครโดยทันที
หากเจ้าของสุนัขไม่ประสงค์จะเลี้ยงดูสุนัขอีกต่อไป ต้องมอบสุนัขพร้อมบัตร ประจําตัวสุนัขให้กับบุคคลอื่น และเจ้าของใหม่จะต้องแจ้งต้อหน่วยงานที่จดทะเบียนไว้ กองสัตวแพทย์ สาธารณสุข สํานักอนามัย หรือสถานที่อื่นใดตามที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครกําหนดภายใน สามสิบวันนับแต่วันรับมอบสุนัข (หากเจ้าของสุนัขไม่สามารถหาเจ้าของใหม่ได้ จะต้องมอบสุนัขให้กรุงเทพมหานครดูแล โดยเสียค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูตามที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครกําหนด)
การนําสุนัขออกนอกสถานที่เลี้ยง
พกบัตรประจําตัวสุนัขและต้องแสดงบัตรประจําตัวสุนัขเมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น เจ้าพนักงานสาธารณสุข หรือพนักงานเจ้าหน้าที่เรียกตรวจ
ผูกสายลากจูงสุนัขที่แข็งแรงและจับสายลากจูงตลอดเวลา ในกรณีที่เป็นสุนัขควบคุม พิเศษต้องใส่อุปกรณ์ครอบปากและจับสายลากจูงห่างจากตัวสุนัขไม่เกินห้าสิบเซนติเมตรตลอดเวลา ยกเว้น ขณะที่สุนัขอยู่ในระหว่างการประกวด การแสดงหรือการประกอบกิจกรรมอื่นใด ในทํานองเดียวกัน แต่ผู้จัดงานจะต้องมีมาตรการในการป้องกันสุนัขมิให้ทําร้ายคน ขณะที่สุนัขอยู่ในการฝึกหัด แต่ผู้ฝึกจะต้องมีมาตรการในการป้องกันสุนัขมิให้ทําร้ายคน ขณะที่สุนัขอยู่ในกรง ที่ขัง หรือเครื่องควบคุมอื่นใดที่มั่นคงแข็งแรงเพียงพอที่จะป้องกันมิให้สุนัขเข้าถึงบุคคลภายนอก
ห้ามบุคคลอายุต่ํากว่าสิบห้าปี หรือเกินกว่าหกสิบห้าปี นําสุนัขควบคุมพิเศษ ออกนอกสถานที่เลี้ยง เว้นแต่จะอยู่ในกรง ที่ขัง หรือเครื่องควบคุมอื่น ที่มั่นคงแข็งแรง เพียงพอที่จะ ป้องกันสุนัขมิให้เข้าถึงบุคคลภายนอก
CR : https://www.tungkhoodog.com
"ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครว่าด้วยการควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสุนัข (ควบคุมพิเศษ)" สรุปว่ามันมีจริงหรือไม่ครับ
อยากเรียนถามผู้ที่มีความรู้ทางกฎหมาย ว่าข้อบัญญัตินี้มันมีอยู่จริงหรือไม่ครับ เคยถูกนำมาใช้ปฎิบัติจริงๆหรือครับ เพราะปกติผมชอบไปเดินสวนจตุจักร หรือไปตามงาน Pet Fair ต่างๆ เพราะเป็นคนชอบเลี้ยงสัตว์ ศึกษาเรื่องสัตว์พอสมควร แต่ก็ยังเห็นมีการขายสุนัขพันธุ์พิเศษที่ถูกระบุไว้อย่างเอิกเกริก ใครใคร่ขายๆ ใครใคร่ซื้อๆ คนเลี้ยงเป็นไม่เป็นไม่เป็นไร มีเงินซื้อพอ จะเอาไปเลี้ยงในชุมชน ทาวเฮ้าส์ แฟลต คอนโด (กรณีข่าวเร็วๆนี้) ได้หมด ทั้งๆที่สุนัขพวกนี้ต้องการพื้นที่ ต้องการปลดปล่อยพลังงาน เพื่อไม่ให้เค้าเกิดความเครียด ซึ่งสภาพแวดล้อม องค์ความรู้ และความรับผิดชอบของคนเลี้ยงสำคัญมาก แต่เมืองไทยเอามาขาย หรือพอออกลูกมาก็แจกกันเอาไปเลี้ยง อย่างกับเป็นพุดเดิ้ล ชิวาวา พอมีปัญหาก็ประชาชนแถวนั้นรับกรรมกันไป โชคร้ายก็ตายไปก็มี แถมคนต้องมาทะเลาะกันเพราะเรื่องหมาๆ (รวมทั้งสัตว์เลี้ยงอื่นๆที่เจ้าของไม่มีความรับผิดชอบ) ให้ได้เห็นอยู่บ่อยๆ
เราน่าจะตัดไฟแต่ต้นลมกันได้เสียทีนะครับ จะมาหวังความรับผิดชอบจากคนที่ไม่มีความรับผิดชอบไปได้ยังไง เวลาหาเสียงเลือกตั้งทั้งเวทีใหญ่ เวทีท้องถิ่นไม่เห็นมีใครพูดถึงเรื่องนี้เลย (เวทีผู้ว่าฯที่จะมาถึง ใครยกเรื่องนี้มาพูดเสนอ ผมจะให้คะแนนพิเศษเลย) ทั้งๆมันเป็นปัญหาของประเทศเราจริงๆนะครับ เรื่องหมาดุพิตบูล ร็อตไวเลอร์ โดเบอร์แมน นี่มันกัดคนออกข่าวจำได้ว่ามีมา 30 กว่าปีแล้วนะครับ พอมีข่าวก็เฮกันทีนึง แล้วก็หายไปกับสายลม.. จากใจคนที่ในซอยบ้านเคยมีหมาสายพันธุ์ดุที่ถูกปล่อยให้วิ่งอิสระไล่กัดคน กัดจักรยาน มอเตอร์ไซค์ อยู่หลายปี
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้