ชาวนาโอด ขายข้าวเปลือกได้โลละ 5 บาท ถูกกว่าบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ช้ำปีหน้าคงต้องเลิกทำ
https://www.matichon.co.th/economy/news_3024953
ชาวนาโอด ขายข้าวเปลือกได้โลละ 5 บาท ถูกกว่าบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ช้ำปีหน้าคงต้องเลิกทำ
เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน ผู้สื่อข่าวรายงานการเก็บเกี่ยวและขายผลผลิตข้าวของชาวนาที่ จ.กาฬสินธุ์ในช่วงนี้ ซึ่งเริ่มเก็บเกี่ยวมาตั้งแต่ปลายเดือนตุลาคม โดยเฉพาะพื้นที่ใช้น้ำชลประทานลำปาว เพราะได้รับน้ำอย่างทั่วถึง จึงได้ทำนาต้นปี โดยมีการเพาะปลูกข้าวอายุสั้น หรือคือข้าวเหนียว กข.22 เพื่อเป็นเมล็ดพันธุ์สำหรับเพาะปลูกข้าวนาปรัง และแบ่งไปจำหน่าย ซึ่งได้อายุเก็บเกี่ยวในช่วงเดียวกับข้าวเจ้าหอมมะลิ พันธุ์ กข.15 ที่ชาวนาในพื้นที่นอกเขตชลประทาน อาศัยน้ำฝนเป็นหลัก ทำการเพาะปลูก ขณะที่ข้าวนาปีที่ใช้ข้าวพันธุ์ กข.6 จะเริ่มเก็บเกี่ยวกลางเดือนพฤศจิกายนเป็นต้นไป
ทั้งนี้ ชาวนาที่เก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวต่างนำผลผลิตจำหน่ายตามลานรับซื้อทั่วไป บรรยากาศเริ่มมีความคึกคักมากขึ้น โดยเฉพาะที่ตลาดกลางข้าวและพืชไร่ อ.ยางตลาด จ.กาฬสินธุ์ แต่ก็มีเสียงโอดครวญจากชาวนาว่า ราคารับซื้อข้าวเปลือกยังตกต่ำ ซึ่งยังต่ำกว่าปีที่ผ่านมา จึงอยากเรียกร้องให้รัฐบาลและนายทุน เพิ่มราคารับซื้อให้ชาวนาด้วย เพราะรายได้จากการขายข้าว โดยเฉพาะข้าวเปลือกเหนียวกิโลกรัมละ 5 บาทถูกกว่าบะหมี่สำเร็จรูป ซึ่งทำให้ประสบปัญหาขาดทุนซ้ำซากทุกปี
นาย
ไพบูลย์ ภูเต้าทอง อายุ 53 ปี กล่าวว่า วันนี้ตนนำข้าวมะลิ กข. 15 หรือที่ชาวบ้านเรียกว่าข้าวดอ ที่เกี่ยวสดมาขาย ได้ราคา ก.ก.ละ 8.10 บาท หรือตันละ 8,100 บาท ได้เงินหมื่นกว่าบาท แต่เมื่อหักค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เป็นต้นทุนการผลิต ทั้งค่าเมล็ดพันธุ์ ค่ารถไถ ค่าปุ๋ย ค่าเก็บเกี่ยว ค่าขนส่งแล้ว สรุปว่าขาดทุน อยากให้รัฐบาลช่วยปรับราคารับซื้อข้าวเปลือกให้สูงกว่านี้ด้วย เพราะหากรับซื้อเท่านี้ ชาวนาไม่วันลืมตาอ้าปากได้แน่ หากรับซื้อที่ราคา ก.ก.ละ 10 บาทขึ้นไป ก็ยังจะมีทุนสู้ต่อไป
ด้านนาย
บัณฑิต ภูบุตรตะ อายุ อายุ 53 ปี กล่าวว่า ตนเพิ่งนำข้าวเปลือกเหนียว กข. 22 ไปขาย ได้ราคา กก.ละ 5.50 บาท ถูกกว่าบะหมี่สำเร็จรูป หักรายจ่ายแล้วช้ำใจ เพราะไม่เหลือจ่ายค่าปุ๋ยเคมีเลย ไม่มีเงินไปใช้หนี้ธสก.ถึงแม้ผลผลิตข้าวจะได้ไร่ละ 400 ก.ก. แต่เนื่องจากต้นทุนการผลิตสูง โดยเฉพาะค่าปุ๋ยเคมีและค่าเก็บเกี่ยว ไร่ละ 800 บาท จึงไม่เหลือติดไม้ติดมือเลย อย่างไรก็ตามก็ยังหวังว่าราคาขายข้าวนาปี หรือข้าวเหนียว กข. 6 ราคาจะสูงขึ้นไม่น้อยกว่า กก.ละ 7-9 บาท ซึ่งก็จะทำให้พอมีกำไรและมีเงินทุนทำนาต่อไป แต่หากราคายังอยู่ที่ก.ก.ละ 5-6 บาท ชาวนาขาดทุนหนัก หากเป็นอย่างนั้น เห็นทีปีต่อไปตนคงเลิกทำนา จะทิ้งให้นาร้าง ปล่อยน้ำ ปล่อยปลา พอได้เป็นอาหารกินประทังชีวิตไป เพราะหากทำนา ก็คงขาดทุนอีก
ขณะที่นาย
ธนาพล ธรรมโนขจิต ผู้จัดกลางตลาดกลางข้าวและพืชไร่ จ.กาฬสินธุ์ กล่าวว่า สถานการณ์รับซื้อข้าวเปลือกในช่วงนี้ ส่วนมากจะเป็นข้าวเหนียว กข. 22 ซึ่งเป็นข้าวพันธุ์สำหรับเพาะปลูกนาปรัง หรือข้าวฤดูแล้ง และข้าวเจ้ามะลิ กข. 15 ส่วนข้าวนาปี หรือข้าวเหนียว กข 6. และข้าวเจ้ามะลิ 105 ผลผลิตยังไม่เก็บเกี่ยว คาดว่าจะเริ่มกลางเดือนพฤศจิกายนนี้ ดังนั้น ราคารับซื้อผลผลิตข้าวทั้ง 2 ชนิดจึงอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างต่ำ ตามคุณภาพข้าว
“สำหรับราคารับซื้อช่วงนี้ ซึ่งเป็นข้าวเกี่ยวสด โดยข้าวเหนียว กข. 22 สด ก.ก.ละ 5.50 – 6 บาท แห้ง 7.80 – 8 บาท ขณะที่ข้าวเจ้า กข. 15 สด 8 -8.50 บาท แห้ง 10.50 -11 บาท ทั้งนี้ ราคารับซื้อข้างเปลือกนาปีที่จะถึงนี้ยังไม่เผยออกมา เนื่องจากยังไม่มีผลผลิตออกมา แต่คาดว่าราคาจะลดลงกว่าปีที่ผ่านมาอีกตันละ 1,000 บาท ซึ่งเป็นผลกระทบจากการเกิดสถานการณ์โรคิดเชื้อโควิด-19 เช่น สถานประกอบการ ธุรกิจการท่องเที่ยว ร้านอาหาร ปิดกิจการ ความต้องการใช้ข้าวลดลง จึงส่งผลให้ราคารับซื้อข้าวเปลือกยังต่ำอยู่” นาย
ธนาพลกล่าว
เปิดหนี้รัฐบาลถึงสิ้นปีงบฯ 65 รวมกว่า 2.3 ล้านล้าน
https://www.thansettakij.com/money_market/502001
สบน. เปิดหนี้รัฐบาล ณ สิ้นปีงบ 65 จะอยู่ที่ 2.3 ล้านล้าน คิดเป็นหนี้สาธารณะ 62% ของจีดีพี ขณะที่ พ.ร.ก.กู้เงินเพิ่มเติม 5 แสนล้าน ล่าสุดเหลือให้อนุมัติกู้ได้อีกเพียง 2.63 แสนล้าน ส่วนจะออก พ.ร.ก.กู้เงินเพิ่มอีกหรือไม่ ต้องรอนโยบายจากรัฐบาล
นาง
แพตริเซีย มงคลวนิช ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เปิดเผยว่า ณ สิ้นปีงบประมาณ 2565 รัฐบาลจะมีหนี้รวม 2.3 ล้านล้านบาท แบ่งเป็นหนี้ที่กู้แล้ว 1.19 ล้านล้านบาท ซึ่งรวมอยู่ในตัวเลขหนี้สาธารณะแล้ว ณ สิ้นเดือนกันยายน 2564 โดยหนี้สาธารณะมีสัดส่วนอยู่ที่ 57.98% ของจีดีพี และหนี้ที่รัฐบาลจะต้องกู้ใหม่ในปีงบฯ 2565 รวม 1.12 ล้านล้านบาท แบ่งเป็นการกู้เพื่อชดเชยการขาดดุงบประมาณวงเงิน 7 แสนล้านบาท การกู้เงินภายใต้ พ.ร.ก.กู้เงินเพิ่มเติม 5 แสนล้านบาท วงเงินประมาณ 3 แสนล้านบาท และการกู้เงินเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมตามมาตรา 22 ภายใต้ พ.ร.บ.หนี้ วงเงินประมาณอีก 4-5 หมื่นล้านบาท ซึ่งจะทำให้ ณ สิ้นเดือนกันยายน 2565 สัดส่วนหนี้สาธารณะของไทยจะอยู่ที่ 62% ของจีดีพี
ขณะที่แผนการกู้เงินในปีงบประมาณ 2565 จะใช้เครื่องมือในทุกๆ เครื่องมือ ทั้งระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว ซึ่งก็ยังใช้พันธบัตรรัฐบาลเป็นเครื่อมือหลัก ซึ่งมีอายุตั้งแต่ 3-50 ปี โดยจะใช้เครื่องมือนี้ในการกู้เงิน 1.1-1.3 ล้านล้านบาท คิดเป็น 48-56% และจะมีการเปลี่ยนรุ่นพันธบัตรรัฐบาล ประมาณ 1.4 แสนล้านบาท คิดเป็น 6% มีการออกตั๋งเงินคลัง 5.4 แสนล้านบาท คิดเป็น 23% การออก P/N และเทอมโลน ประมาณ 3.9-5.9 หมื่นล้านบาท คิดเป็น 16-25% และในส่วนของการออกพันธบัตรออมทรัพย์อีก 1.5 แสนล้านบาท คิดเป็น 6%
“เราไม่ได้ปิดกั้นการกู้เงินจากแหล่งเงินต่างประเทศ ได้มีการเปิดช่องไว้ แต่เบื้องต้นจะใช้แหล่งเงินกู้จากในประเทศเป็นหลัก พร้อมกับดูสถานการณ์หากเห็นสัญญาณตลาดพันธบัตรในประเทศเริ่มตึงตัว ก็จะใช้แหล่งเงินจากต่างประเทศ ขณะนี้ก็มีหลายหน่วยงานและสถาบันการเงินของต่างประเทศมาเสนอเงื่อนไขการกู้เงินที่น่าสนใจ ซึ่ง สบน.อาจใช้รูปแบบการออกพันธบัตรในต่างประเทศ ในส่วนของการกู้เงินภายใต้ พ.ร.บ.หนี้ ในโครงการลงทุน เช่น โครงการลงทุนสนามบินอู่ตะเภา” ผอ.สบน. กล่าว
ทั้งนี้ กระทรวงการคลังเตรียมออกพันธบัตร ออมทรัพย์รุ่น “ออมไปด้วยกัน” วงเงิน 80,000 ล้านบาทในช่วงวันที่ 15 พฤศจิกายนนี้ เพื่อใช้ชดเชยการขาดดุลงบประมาณ และจะออกเพิ่มอีก 70,000 ล้านบาทในช่วงเดือน พฤษภาคม-กันยายน 2565 เพื่อให้เป็นไปตามแผนการออกพันธบัตรออมทรัพย์ทั้งปีงบประมาณ 65 ที่ตั้งไว้ที่ 150,000 ล้านบาท
ขณะที่ความคืบหน้า การกู้เงินภายใต้ พ.ร.ก.กู้เงินเพิ่มเติม 5 แสนล้านบาท เพื่อแก้ปัญหาการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ล่าสุด คณะรัฐมนตรี ได้อนุมัติกู้เงินแล้ว 2.37 แสนล้านบาท โดย สบน. มีการกู้เงินแล้ว 1.4 แสนล้านบาท เบิกจ่ายไป 1.3 แสนล้านบาท ซึ่งเป็นการทยอยกู้เงินตามความต้องการใช้เงิน เช่น โครงการคนละครึ่ง และอื่นๆ ทำให้วงเงินคงเหลือภายใต้ พ.ร.ก. ดังกล่าวที่รัฐบาลยังอนุมัติได้อีกประมาณ 2.63 แสนล้านบาท ส่วนรัฐบาลมีแผนจะออก พ.ร.ก.กู้เงินเพิ่มอีกหรือไม่นั้น ผอ.สบน.ระบุแค่ว่า ขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐบาล
เชียงใหม่ทุบสถิติ! ยอดผู้ติดเชื้อรายวันสูงสุด 492 ราย ตายอีก 1 เร่งมาตรการคัดกรองเชิงรุก
https://ch3plus.com/news/program/264514
เชียงใหม่ทุบสถิติ! ยอดผู้ติดเชื้อรายวันสูงสุด 492 ราย ตายอีก 1 เร่งมาตรการคัดกรองเชิงรุก
วันที่ 3 พ.ย. 64 คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดเชียงใหม่ รายงานสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ของจังหวัดเชียงใหม่วันนี้ มียอดผู้เสียชีวิตเพิ่มอีก 1 ราย ยอดเสียชีวิตสะสม รวม 62 ราย ส่วนผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่ม 492 ราย ซึ่งถือว่าเป็นสถิติรายวันที่สูงที่สุด หลังพบการแพร่ระบาดของโรค
ในจำนวนนี้เป็นการติดเชื้อในจังหวัด 488 ราย ติดเชื้อจากต่างจังหวัดเพียง 4 ราย ส่วนใหญ่เป็นการติดเชื้อในครอบครัวและสัมผัสผู้ติดเชื้อรายก่อนหน้าที่ยังคงพบการระบาดในหลายครอบครัว และในคลัสเตอร์เดิมที่อยู่ระหว่างการควบคุมโรค ซึ่งการระบาดในคลัสเตอร์ตลาดต่าง ๆ รวมถึงกลุ่มแรงงานต่างด้าว
ทั้งนี้ทางจังหวัดเชียงใหม่ เดินหน้ามาตรการตรวจเชิงรุกกลุ่มเสี่ยง โดยตั้งจุดบริการตรวจหาเชื้อ 4 มุมเมืองเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยง สามารถเข้าตรวจตามสถานที่ต่าง ๆ ใกล้บ้าน หากพบว่าติดเชื้อจะนำเข้าสู่กระบวนการรักษา เพื่อลดการแพร่ระบาดของเชื้อไปยังคนในครอบครัว และชุมชน
ขณะเดียวกันทางจังหวัดเดินหน้าฉีดวัคซีนป้องกันโควิด แก่ประชาชนในพื้นที่ โดยเปิดศูนย์ฉีดวัคซีน 4 ศูนย์ในเขตอำเภอเมือง และศูนย์ฉีดตามโรงพยาบาลประจำอำเภอ เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงวัคซีนโควิด 19 ได้อย่างสะดวกยิ่งขึ้น ซึ่งล่าสุด ได้ดำเนินการฉีดวัคซีนไปแล้วกว่า 1.1 ล้านคนเศษ หรือคิดเป็นร้อยละ 65.48 จากประชากรชาวเชียงใหม่ทั้งหมด 1.7 ล้านคน
JJNY : 4in1 ชาวนาโอดข้าวเปลือกโลละ 5 บ.│หนี้รบ.ถึงสิ้นปีงบฯ65รวมกว่า2.3ล.ล.│เชียงใหม่ทุบสถิติ!│จีนพบติดโควิดรายใหม่พุ่ง
https://www.matichon.co.th/economy/news_3024953
ชาวนาโอด ขายข้าวเปลือกได้โลละ 5 บาท ถูกกว่าบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ช้ำปีหน้าคงต้องเลิกทำ
เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน ผู้สื่อข่าวรายงานการเก็บเกี่ยวและขายผลผลิตข้าวของชาวนาที่ จ.กาฬสินธุ์ในช่วงนี้ ซึ่งเริ่มเก็บเกี่ยวมาตั้งแต่ปลายเดือนตุลาคม โดยเฉพาะพื้นที่ใช้น้ำชลประทานลำปาว เพราะได้รับน้ำอย่างทั่วถึง จึงได้ทำนาต้นปี โดยมีการเพาะปลูกข้าวอายุสั้น หรือคือข้าวเหนียว กข.22 เพื่อเป็นเมล็ดพันธุ์สำหรับเพาะปลูกข้าวนาปรัง และแบ่งไปจำหน่าย ซึ่งได้อายุเก็บเกี่ยวในช่วงเดียวกับข้าวเจ้าหอมมะลิ พันธุ์ กข.15 ที่ชาวนาในพื้นที่นอกเขตชลประทาน อาศัยน้ำฝนเป็นหลัก ทำการเพาะปลูก ขณะที่ข้าวนาปีที่ใช้ข้าวพันธุ์ กข.6 จะเริ่มเก็บเกี่ยวกลางเดือนพฤศจิกายนเป็นต้นไป
ทั้งนี้ ชาวนาที่เก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวต่างนำผลผลิตจำหน่ายตามลานรับซื้อทั่วไป บรรยากาศเริ่มมีความคึกคักมากขึ้น โดยเฉพาะที่ตลาดกลางข้าวและพืชไร่ อ.ยางตลาด จ.กาฬสินธุ์ แต่ก็มีเสียงโอดครวญจากชาวนาว่า ราคารับซื้อข้าวเปลือกยังตกต่ำ ซึ่งยังต่ำกว่าปีที่ผ่านมา จึงอยากเรียกร้องให้รัฐบาลและนายทุน เพิ่มราคารับซื้อให้ชาวนาด้วย เพราะรายได้จากการขายข้าว โดยเฉพาะข้าวเปลือกเหนียวกิโลกรัมละ 5 บาทถูกกว่าบะหมี่สำเร็จรูป ซึ่งทำให้ประสบปัญหาขาดทุนซ้ำซากทุกปี
นายไพบูลย์ ภูเต้าทอง อายุ 53 ปี กล่าวว่า วันนี้ตนนำข้าวมะลิ กข. 15 หรือที่ชาวบ้านเรียกว่าข้าวดอ ที่เกี่ยวสดมาขาย ได้ราคา ก.ก.ละ 8.10 บาท หรือตันละ 8,100 บาท ได้เงินหมื่นกว่าบาท แต่เมื่อหักค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เป็นต้นทุนการผลิต ทั้งค่าเมล็ดพันธุ์ ค่ารถไถ ค่าปุ๋ย ค่าเก็บเกี่ยว ค่าขนส่งแล้ว สรุปว่าขาดทุน อยากให้รัฐบาลช่วยปรับราคารับซื้อข้าวเปลือกให้สูงกว่านี้ด้วย เพราะหากรับซื้อเท่านี้ ชาวนาไม่วันลืมตาอ้าปากได้แน่ หากรับซื้อที่ราคา ก.ก.ละ 10 บาทขึ้นไป ก็ยังจะมีทุนสู้ต่อไป
ด้านนายบัณฑิต ภูบุตรตะ อายุ อายุ 53 ปี กล่าวว่า ตนเพิ่งนำข้าวเปลือกเหนียว กข. 22 ไปขาย ได้ราคา กก.ละ 5.50 บาท ถูกกว่าบะหมี่สำเร็จรูป หักรายจ่ายแล้วช้ำใจ เพราะไม่เหลือจ่ายค่าปุ๋ยเคมีเลย ไม่มีเงินไปใช้หนี้ธสก.ถึงแม้ผลผลิตข้าวจะได้ไร่ละ 400 ก.ก. แต่เนื่องจากต้นทุนการผลิตสูง โดยเฉพาะค่าปุ๋ยเคมีและค่าเก็บเกี่ยว ไร่ละ 800 บาท จึงไม่เหลือติดไม้ติดมือเลย อย่างไรก็ตามก็ยังหวังว่าราคาขายข้าวนาปี หรือข้าวเหนียว กข. 6 ราคาจะสูงขึ้นไม่น้อยกว่า กก.ละ 7-9 บาท ซึ่งก็จะทำให้พอมีกำไรและมีเงินทุนทำนาต่อไป แต่หากราคายังอยู่ที่ก.ก.ละ 5-6 บาท ชาวนาขาดทุนหนัก หากเป็นอย่างนั้น เห็นทีปีต่อไปตนคงเลิกทำนา จะทิ้งให้นาร้าง ปล่อยน้ำ ปล่อยปลา พอได้เป็นอาหารกินประทังชีวิตไป เพราะหากทำนา ก็คงขาดทุนอีก
ขณะที่นายธนาพล ธรรมโนขจิต ผู้จัดกลางตลาดกลางข้าวและพืชไร่ จ.กาฬสินธุ์ กล่าวว่า สถานการณ์รับซื้อข้าวเปลือกในช่วงนี้ ส่วนมากจะเป็นข้าวเหนียว กข. 22 ซึ่งเป็นข้าวพันธุ์สำหรับเพาะปลูกนาปรัง หรือข้าวฤดูแล้ง และข้าวเจ้ามะลิ กข. 15 ส่วนข้าวนาปี หรือข้าวเหนียว กข 6. และข้าวเจ้ามะลิ 105 ผลผลิตยังไม่เก็บเกี่ยว คาดว่าจะเริ่มกลางเดือนพฤศจิกายนนี้ ดังนั้น ราคารับซื้อผลผลิตข้าวทั้ง 2 ชนิดจึงอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างต่ำ ตามคุณภาพข้าว
“สำหรับราคารับซื้อช่วงนี้ ซึ่งเป็นข้าวเกี่ยวสด โดยข้าวเหนียว กข. 22 สด ก.ก.ละ 5.50 – 6 บาท แห้ง 7.80 – 8 บาท ขณะที่ข้าวเจ้า กข. 15 สด 8 -8.50 บาท แห้ง 10.50 -11 บาท ทั้งนี้ ราคารับซื้อข้างเปลือกนาปีที่จะถึงนี้ยังไม่เผยออกมา เนื่องจากยังไม่มีผลผลิตออกมา แต่คาดว่าราคาจะลดลงกว่าปีที่ผ่านมาอีกตันละ 1,000 บาท ซึ่งเป็นผลกระทบจากการเกิดสถานการณ์โรคิดเชื้อโควิด-19 เช่น สถานประกอบการ ธุรกิจการท่องเที่ยว ร้านอาหาร ปิดกิจการ ความต้องการใช้ข้าวลดลง จึงส่งผลให้ราคารับซื้อข้าวเปลือกยังต่ำอยู่” นายธนาพลกล่าว
เปิดหนี้รัฐบาลถึงสิ้นปีงบฯ 65 รวมกว่า 2.3 ล้านล้าน
https://www.thansettakij.com/money_market/502001
สบน. เปิดหนี้รัฐบาล ณ สิ้นปีงบ 65 จะอยู่ที่ 2.3 ล้านล้าน คิดเป็นหนี้สาธารณะ 62% ของจีดีพี ขณะที่ พ.ร.ก.กู้เงินเพิ่มเติม 5 แสนล้าน ล่าสุดเหลือให้อนุมัติกู้ได้อีกเพียง 2.63 แสนล้าน ส่วนจะออก พ.ร.ก.กู้เงินเพิ่มอีกหรือไม่ ต้องรอนโยบายจากรัฐบาล
นางแพตริเซีย มงคลวนิช ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เปิดเผยว่า ณ สิ้นปีงบประมาณ 2565 รัฐบาลจะมีหนี้รวม 2.3 ล้านล้านบาท แบ่งเป็นหนี้ที่กู้แล้ว 1.19 ล้านล้านบาท ซึ่งรวมอยู่ในตัวเลขหนี้สาธารณะแล้ว ณ สิ้นเดือนกันยายน 2564 โดยหนี้สาธารณะมีสัดส่วนอยู่ที่ 57.98% ของจีดีพี และหนี้ที่รัฐบาลจะต้องกู้ใหม่ในปีงบฯ 2565 รวม 1.12 ล้านล้านบาท แบ่งเป็นการกู้เพื่อชดเชยการขาดดุงบประมาณวงเงิน 7 แสนล้านบาท การกู้เงินภายใต้ พ.ร.ก.กู้เงินเพิ่มเติม 5 แสนล้านบาท วงเงินประมาณ 3 แสนล้านบาท และการกู้เงินเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมตามมาตรา 22 ภายใต้ พ.ร.บ.หนี้ วงเงินประมาณอีก 4-5 หมื่นล้านบาท ซึ่งจะทำให้ ณ สิ้นเดือนกันยายน 2565 สัดส่วนหนี้สาธารณะของไทยจะอยู่ที่ 62% ของจีดีพี
ขณะที่แผนการกู้เงินในปีงบประมาณ 2565 จะใช้เครื่องมือในทุกๆ เครื่องมือ ทั้งระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว ซึ่งก็ยังใช้พันธบัตรรัฐบาลเป็นเครื่อมือหลัก ซึ่งมีอายุตั้งแต่ 3-50 ปี โดยจะใช้เครื่องมือนี้ในการกู้เงิน 1.1-1.3 ล้านล้านบาท คิดเป็น 48-56% และจะมีการเปลี่ยนรุ่นพันธบัตรรัฐบาล ประมาณ 1.4 แสนล้านบาท คิดเป็น 6% มีการออกตั๋งเงินคลัง 5.4 แสนล้านบาท คิดเป็น 23% การออก P/N และเทอมโลน ประมาณ 3.9-5.9 หมื่นล้านบาท คิดเป็น 16-25% และในส่วนของการออกพันธบัตรออมทรัพย์อีก 1.5 แสนล้านบาท คิดเป็น 6%
“เราไม่ได้ปิดกั้นการกู้เงินจากแหล่งเงินต่างประเทศ ได้มีการเปิดช่องไว้ แต่เบื้องต้นจะใช้แหล่งเงินกู้จากในประเทศเป็นหลัก พร้อมกับดูสถานการณ์หากเห็นสัญญาณตลาดพันธบัตรในประเทศเริ่มตึงตัว ก็จะใช้แหล่งเงินจากต่างประเทศ ขณะนี้ก็มีหลายหน่วยงานและสถาบันการเงินของต่างประเทศมาเสนอเงื่อนไขการกู้เงินที่น่าสนใจ ซึ่ง สบน.อาจใช้รูปแบบการออกพันธบัตรในต่างประเทศ ในส่วนของการกู้เงินภายใต้ พ.ร.บ.หนี้ ในโครงการลงทุน เช่น โครงการลงทุนสนามบินอู่ตะเภา” ผอ.สบน. กล่าว
ทั้งนี้ กระทรวงการคลังเตรียมออกพันธบัตร ออมทรัพย์รุ่น “ออมไปด้วยกัน” วงเงิน 80,000 ล้านบาทในช่วงวันที่ 15 พฤศจิกายนนี้ เพื่อใช้ชดเชยการขาดดุลงบประมาณ และจะออกเพิ่มอีก 70,000 ล้านบาทในช่วงเดือน พฤษภาคม-กันยายน 2565 เพื่อให้เป็นไปตามแผนการออกพันธบัตรออมทรัพย์ทั้งปีงบประมาณ 65 ที่ตั้งไว้ที่ 150,000 ล้านบาท
ขณะที่ความคืบหน้า การกู้เงินภายใต้ พ.ร.ก.กู้เงินเพิ่มเติม 5 แสนล้านบาท เพื่อแก้ปัญหาการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ล่าสุด คณะรัฐมนตรี ได้อนุมัติกู้เงินแล้ว 2.37 แสนล้านบาท โดย สบน. มีการกู้เงินแล้ว 1.4 แสนล้านบาท เบิกจ่ายไป 1.3 แสนล้านบาท ซึ่งเป็นการทยอยกู้เงินตามความต้องการใช้เงิน เช่น โครงการคนละครึ่ง และอื่นๆ ทำให้วงเงินคงเหลือภายใต้ พ.ร.ก. ดังกล่าวที่รัฐบาลยังอนุมัติได้อีกประมาณ 2.63 แสนล้านบาท ส่วนรัฐบาลมีแผนจะออก พ.ร.ก.กู้เงินเพิ่มอีกหรือไม่นั้น ผอ.สบน.ระบุแค่ว่า ขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐบาล
เชียงใหม่ทุบสถิติ! ยอดผู้ติดเชื้อรายวันสูงสุด 492 ราย ตายอีก 1 เร่งมาตรการคัดกรองเชิงรุก
https://ch3plus.com/news/program/264514
เชียงใหม่ทุบสถิติ! ยอดผู้ติดเชื้อรายวันสูงสุด 492 ราย ตายอีก 1 เร่งมาตรการคัดกรองเชิงรุก
วันที่ 3 พ.ย. 64 คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดเชียงใหม่ รายงานสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ของจังหวัดเชียงใหม่วันนี้ มียอดผู้เสียชีวิตเพิ่มอีก 1 ราย ยอดเสียชีวิตสะสม รวม 62 ราย ส่วนผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่ม 492 ราย ซึ่งถือว่าเป็นสถิติรายวันที่สูงที่สุด หลังพบการแพร่ระบาดของโรค
ในจำนวนนี้เป็นการติดเชื้อในจังหวัด 488 ราย ติดเชื้อจากต่างจังหวัดเพียง 4 ราย ส่วนใหญ่เป็นการติดเชื้อในครอบครัวและสัมผัสผู้ติดเชื้อรายก่อนหน้าที่ยังคงพบการระบาดในหลายครอบครัว และในคลัสเตอร์เดิมที่อยู่ระหว่างการควบคุมโรค ซึ่งการระบาดในคลัสเตอร์ตลาดต่าง ๆ รวมถึงกลุ่มแรงงานต่างด้าว
ทั้งนี้ทางจังหวัดเชียงใหม่ เดินหน้ามาตรการตรวจเชิงรุกกลุ่มเสี่ยง โดยตั้งจุดบริการตรวจหาเชื้อ 4 มุมเมืองเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยง สามารถเข้าตรวจตามสถานที่ต่าง ๆ ใกล้บ้าน หากพบว่าติดเชื้อจะนำเข้าสู่กระบวนการรักษา เพื่อลดการแพร่ระบาดของเชื้อไปยังคนในครอบครัว และชุมชน
ขณะเดียวกันทางจังหวัดเดินหน้าฉีดวัคซีนป้องกันโควิด แก่ประชาชนในพื้นที่ โดยเปิดศูนย์ฉีดวัคซีน 4 ศูนย์ในเขตอำเภอเมือง และศูนย์ฉีดตามโรงพยาบาลประจำอำเภอ เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงวัคซีนโควิด 19 ได้อย่างสะดวกยิ่งขึ้น ซึ่งล่าสุด ได้ดำเนินการฉีดวัคซีนไปแล้วกว่า 1.1 ล้านคนเศษ หรือคิดเป็นร้อยละ 65.48 จากประชากรชาวเชียงใหม่ทั้งหมด 1.7 ล้านคน