"ศาสนาอาจจะมีหรือไม่มี แต่ผีนี่สิของจริง"
คำนี้ติดอยู่ในหัวทันทีที่เดินออกมาจากโรงหนัง
ทั้งเรื่องมีการเปิดประเด็นเรื่องผีดี ผีร้าย ผีอยู่ทุกที่ ซึ่งบริบทประเทศไทยก็เป็นอย่างนั้นจริงเสียด้วย ทุกที่ที่กล้องแพนไปมีสิ่งที่คนนับถือเป็นผีได้หมด ไม่ว่าจะเป็นเจ้าป่าเจ้าเขา ศาลพระภูมิ หิ้งกุมารในผับ ผีตายโหงตามถนน ผีตึกร้าง ทุกที่ทุกทางตามความเชื่อในประเทศไทยเต็มไปด้วยสิ่งลี้ลับ ย่าบาหยันเป็นตัวแทนของผีดีที่มีคนนับถือ จะว่าไปแล้ว รูปปั้นทั้งหลายก็เป็นเหมือนกับสื่อกลาง เป็นวัตถุที่เปรียบเสมือนร่างทรงแทนความเชื่อ
ป้านิ่มคือคนที่เราเอาใจช่วยตลอดทั้งเรื่อง ป้าเป็นร่างทรงที่ยอมเคารพความเชื่อ เป็นภาชนะให้ย่าบาหยันได้สิงสู่เพื่อรักษาคนในหมู่บ้าน
ป้าน้อยก็คือขั้วตรงข้าม ป้ามีอิสระตั้งแต่เปลี่ยนศาสนา ขายเนื้อหมา แต่งงาน ปฏิเสธย่าบาหยัน
มิ้งก็คือคนรุ่นใหม่ที่ไม่สนใจศาสนา ไม่สนใจคนทรง อยากทำอะไรตามใจตัวเอง
แต่ลึกๆ แล้วทั้งมิ้งและป้าน้อยก็หนีไม่พ้นความเชื่อ เช่นเดียวกับป้านิ่มที่หนีไม่พ้นความไม่เชื่ออยู่ดี
ผีมีมานานกว่าศาสนา เป็นสิ่งที่มีอยู่แต่มองไม่เห็น ความกำกวมในตัวตนของผีส่งผลต่อทุกตัวละครหลักในเรื่อง
ความหักมุมไปมาของเรื่องก็เกิดจากความกำกวมในส่วนนี้ แต่ละตัวละครถูกหลอกไปมา ไม่รู้ว่าตัวเองกำลังเจออยู่กับอะไรกันแน่
ความกำกวมทั้งหมดก็ส่งผลให้เนื้อเรื่องมีความน่าสนใจมาก
ศาสนาอะไรก็ไม่อาจช่วยป้าน้อยให้รักษาครอบครัวไว้ได้
ป้านิ่มสิ้นใจไปอย่างสงบ หลังจากเสื่อมศรัทธาในย่าบาหยัน ภาชนะที่ไม่เชื่อมต่อกับจิตวิญญาณก็มีอันต้องสลายไป
แต่แท้จริงแล้ว เราก็สรุปไม่ได้เลยเสียทีเดียวว่าย่าบาหยันมีตัวตนจริงหรือไม่ และหากศาสนามีจริงทำไมไม่ช่วยป้าน้อย
แต่ถ้าจะเลือกไม่เชื่อในศาสนาเลย ก็ต้องไม่มองในมุมของกฏแห่งกรรม ซึ่งก็คงทำได้ยาก
ตัวละครที่เราสนใจมากๆ ก็คือมิ้ง มิ้งผู้ซึ่งเลือกอะไรแทบไม่ได้ สายเลือดทางแม่มีย่าบาหยัน สายเลือดทางพ่อมีความแค้นของคนหมู่มาก
ต้นตระกูลทางปู่ก็ไปทำกรรมหนัก เผาโรงงานเอาไว้ มิ้งไม่ได้เลือกที่จะเป็นอะไรสักอย่าง แต่ก็ถูกทุกอย่างเข้ามาควบคุม ครอบงำ ทำให้กลายเป็นรถที่จอดทิ้งมีกุญแจเสียบคาไว้เสียอย่างนั้น
อีกสิ่งที่น่าสนใจมากๆ คือคำว่า "ร่างทรง" ในเรื่อง แทบทุกอย่างถูกถ่ายทอดผ่านตัวกลางอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวที่ถูกถ่ายทอดผ่านกล้อง พิธีที่ดำเนินผ่านป้าน้อยแทนที่จะเป็นมิ้ง หมอผีชายทั้งสำนักถูกวิญญาณย้อนมาทำร้ายผ่านตัวกลางอย่างหม้ออาคมที่แตก การปักธูปกลับด้าน หรือแม้แต่จบท้ายที่เฉลยว่าครอบครัวยะสันเทียะถูกสาปไว้กับหุ่นพยนต์ปักเข็ม หุ่นนั้นก็เป็นสื่อกลางของความอาฆาตแค้น
สิ่งที่ชอบสุดๆ ในเรื่องนี้คือการจบแบบที่การมีอยู่ของผีชัดเจนกว่าทุกสิ่ง ศาสนามีจริงไม่มีจริงไม่รู้ แต่ผีที่มีความแค้นนั้นมีจริง ชัดเจนพอจะตามแก้แค้นครอบครัวที่อาฆาต ไม่มีคำอธิบาย แต่ก็ทำร้ายคนถึงตายได้ ไม่มีเหตุผล ไม่มีตรรกะถกเถียงกันถึงระบบเวรกรรมความเชื่อตามศาสนา ผีก็คือผี สิงสู่ยึดครองร่างแล้วทำอะไรก็ได้ เป็นประเด็นที่ติดค้างในความรู้สึกแล้วคิดว่าเอาไปต่อยอดอะไรได้อีกมาก
ด้านล่างเป็นประเด็นที่ตกผลึกได้เองส่วนตัว อาจจะไม่เกี่ยวกับหนังเลย ข้ามไปก็ได้ค่ะ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้อาจจะไม่เกี่ยวกับเรื่องตรงๆ แต่ส่วนตัวคิดไปถึงอุดมการณ์การเมืองที่คนถกเถียงกันอยู่ เถียงกันเข้าไปว่าอะไรดี ไม่ดี หลักการไหนถูก ผิด จริง ไม่จริง แต่ระหว่างนั้นคนจนที่ใช้ชีวิตลำบากมีจริง เดือดร้อนจริงและตายจริงๆ ไม่มีความถูกต้อง ไม่มีหลักการใดที่คนจนต้องการโต้เถียง และการมีอยู่ของคนจนนั้นก็ยิ่งกว่าผี สังคมก็รู้ว่ามี แต่แทบไม่มีที่ยืนให้เลย
ใครไปดูมาแล้ว อ่านแล้วมีความเห็นอย่างไร มาแลกเปลี่ยนพูดคุยกันได้นะคะ
ส่วนใครที่ยังลังเล ไปดูในโรงภาพยนต์เถอะค่ะ คุ้มค่าแน่นอน ภาพ แสง เสียงแบบนี้ ต้องดูในโรงภาพยนต์เท่านั้นจริงๆ
ร่างทรง ไปดูมาแล้ว รีวิวตามที่เข้าใจ ***มีสปอยล์***
คำนี้ติดอยู่ในหัวทันทีที่เดินออกมาจากโรงหนัง
ทั้งเรื่องมีการเปิดประเด็นเรื่องผีดี ผีร้าย ผีอยู่ทุกที่ ซึ่งบริบทประเทศไทยก็เป็นอย่างนั้นจริงเสียด้วย ทุกที่ที่กล้องแพนไปมีสิ่งที่คนนับถือเป็นผีได้หมด ไม่ว่าจะเป็นเจ้าป่าเจ้าเขา ศาลพระภูมิ หิ้งกุมารในผับ ผีตายโหงตามถนน ผีตึกร้าง ทุกที่ทุกทางตามความเชื่อในประเทศไทยเต็มไปด้วยสิ่งลี้ลับ ย่าบาหยันเป็นตัวแทนของผีดีที่มีคนนับถือ จะว่าไปแล้ว รูปปั้นทั้งหลายก็เป็นเหมือนกับสื่อกลาง เป็นวัตถุที่เปรียบเสมือนร่างทรงแทนความเชื่อ
ป้านิ่มคือคนที่เราเอาใจช่วยตลอดทั้งเรื่อง ป้าเป็นร่างทรงที่ยอมเคารพความเชื่อ เป็นภาชนะให้ย่าบาหยันได้สิงสู่เพื่อรักษาคนในหมู่บ้าน
ป้าน้อยก็คือขั้วตรงข้าม ป้ามีอิสระตั้งแต่เปลี่ยนศาสนา ขายเนื้อหมา แต่งงาน ปฏิเสธย่าบาหยัน
มิ้งก็คือคนรุ่นใหม่ที่ไม่สนใจศาสนา ไม่สนใจคนทรง อยากทำอะไรตามใจตัวเอง
แต่ลึกๆ แล้วทั้งมิ้งและป้าน้อยก็หนีไม่พ้นความเชื่อ เช่นเดียวกับป้านิ่มที่หนีไม่พ้นความไม่เชื่ออยู่ดี
ผีมีมานานกว่าศาสนา เป็นสิ่งที่มีอยู่แต่มองไม่เห็น ความกำกวมในตัวตนของผีส่งผลต่อทุกตัวละครหลักในเรื่อง
ความหักมุมไปมาของเรื่องก็เกิดจากความกำกวมในส่วนนี้ แต่ละตัวละครถูกหลอกไปมา ไม่รู้ว่าตัวเองกำลังเจออยู่กับอะไรกันแน่
ความกำกวมทั้งหมดก็ส่งผลให้เนื้อเรื่องมีความน่าสนใจมาก
ศาสนาอะไรก็ไม่อาจช่วยป้าน้อยให้รักษาครอบครัวไว้ได้
ป้านิ่มสิ้นใจไปอย่างสงบ หลังจากเสื่อมศรัทธาในย่าบาหยัน ภาชนะที่ไม่เชื่อมต่อกับจิตวิญญาณก็มีอันต้องสลายไป
แต่แท้จริงแล้ว เราก็สรุปไม่ได้เลยเสียทีเดียวว่าย่าบาหยันมีตัวตนจริงหรือไม่ และหากศาสนามีจริงทำไมไม่ช่วยป้าน้อย
แต่ถ้าจะเลือกไม่เชื่อในศาสนาเลย ก็ต้องไม่มองในมุมของกฏแห่งกรรม ซึ่งก็คงทำได้ยาก
ตัวละครที่เราสนใจมากๆ ก็คือมิ้ง มิ้งผู้ซึ่งเลือกอะไรแทบไม่ได้ สายเลือดทางแม่มีย่าบาหยัน สายเลือดทางพ่อมีความแค้นของคนหมู่มาก
ต้นตระกูลทางปู่ก็ไปทำกรรมหนัก เผาโรงงานเอาไว้ มิ้งไม่ได้เลือกที่จะเป็นอะไรสักอย่าง แต่ก็ถูกทุกอย่างเข้ามาควบคุม ครอบงำ ทำให้กลายเป็นรถที่จอดทิ้งมีกุญแจเสียบคาไว้เสียอย่างนั้น
อีกสิ่งที่น่าสนใจมากๆ คือคำว่า "ร่างทรง" ในเรื่อง แทบทุกอย่างถูกถ่ายทอดผ่านตัวกลางอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวที่ถูกถ่ายทอดผ่านกล้อง พิธีที่ดำเนินผ่านป้าน้อยแทนที่จะเป็นมิ้ง หมอผีชายทั้งสำนักถูกวิญญาณย้อนมาทำร้ายผ่านตัวกลางอย่างหม้ออาคมที่แตก การปักธูปกลับด้าน หรือแม้แต่จบท้ายที่เฉลยว่าครอบครัวยะสันเทียะถูกสาปไว้กับหุ่นพยนต์ปักเข็ม หุ่นนั้นก็เป็นสื่อกลางของความอาฆาตแค้น
สิ่งที่ชอบสุดๆ ในเรื่องนี้คือการจบแบบที่การมีอยู่ของผีชัดเจนกว่าทุกสิ่ง ศาสนามีจริงไม่มีจริงไม่รู้ แต่ผีที่มีความแค้นนั้นมีจริง ชัดเจนพอจะตามแก้แค้นครอบครัวที่อาฆาต ไม่มีคำอธิบาย แต่ก็ทำร้ายคนถึงตายได้ ไม่มีเหตุผล ไม่มีตรรกะถกเถียงกันถึงระบบเวรกรรมความเชื่อตามศาสนา ผีก็คือผี สิงสู่ยึดครองร่างแล้วทำอะไรก็ได้ เป็นประเด็นที่ติดค้างในความรู้สึกแล้วคิดว่าเอาไปต่อยอดอะไรได้อีกมาก
ด้านล่างเป็นประเด็นที่ตกผลึกได้เองส่วนตัว อาจจะไม่เกี่ยวกับหนังเลย ข้ามไปก็ได้ค่ะ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ใครไปดูมาแล้ว อ่านแล้วมีความเห็นอย่างไร มาแลกเปลี่ยนพูดคุยกันได้นะคะ
ส่วนใครที่ยังลังเล ไปดูในโรงภาพยนต์เถอะค่ะ คุ้มค่าแน่นอน ภาพ แสง เสียงแบบนี้ ต้องดูในโรงภาพยนต์เท่านั้นจริงๆ