กรมอนามัย เผยผลสำรวจ เปิดประเทศ หวั่นระบาดระลอกใหม่ สูงลิบ 75.8%
https://www.khaosod.co.th/covid-19/news_6699643
กรมอนามัย เผยผลสำรวจ เปิดประเทศ หวั่นระบาดระลอกใหม่ สูงลิบ 75.8% ปรับมาตรการป้องกันสูงสุด เข้ม 3 เรื่อง ขอฉีดวัคซีนให้ครบ 2 เข็มโดยเร็ว
วันที่ 27 ต.ค.64 นพ.
สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย แถลงข่าวมาตรการเปิดบ้าน เปิดเมือง เปิดประเทศ ว่า อีกไม่กี่วันจะถึงกำหนดวันเปิดพื้นที่นำร่องท่องเที่ยวใน 17 จังหวัด กรมอนามัยสำรวจความคิดเห็นความกังวลกับการเปิดประเทศวันที่ 1 พ.ย. พบว่า ประชาชนกังวล 92.4% เรื่องที่กังวลที่สุด คือ การระบาดระลอกใหม่ 75.8% การ์ดตกไม่ป้องกันตนเอง 49.7%
สถานประกอบการสถานที่ท่องเที่ยวไม่ทำตามมาตรการป้องกันโรค 45.1% กลัวตัวเองและครอบครัวติดเชื้อ 41% มาตรการคัดกรองนักท่องเที่ยวต่างประเทศไม่ดีพอ 39.6% กังวลเกิดการล็อกดาวน์อีกครั้ง 37.1% จำนวนเตียงรักษาไม่พอ 31.7% และอื่นๆ เช่น เศรษฐกิจ ประสิทธิภาพวัคซีน 2.1%
กิจการใดที่กังวลเกิดคลัสเตอร์ระบาดใหม่หลังเปิดประเทศ คือ สถานบันเทิง ผับบาร์ 89.2% ขนส่งสาธารณะ 43.1% สถานที่ท่องเที่ยว 39.8% สถานศึกษา 39.2% ตลาด 37.4% ห้างสรรพสินค้า 34.1% ร้านอาหาร 28.8% เรงแรมรีสอร์ท 24% ร้านสะดวกซื้อ 17.9% ศาสนสถาน 16.4% ไม่กังวลคลัสเตอร์ใหม่ 5.5% ความกังวลคลัสเตอร์ใหม่ๆ สถานประกอบการอื่น 3.1%
มาตรการที่ประชาชนคิดว่าควรดำเนินการเพิ่มเติมเพื่อเชื่อมั่นว่าเปิดประเทศแล้วปลอดภัย มากที่สุดคือเร่งฉีดวัคซีนครบ 2 เข็มทุกจังหวัดครอบคลุม 70% ขึ้นไป 72.53% การคุมเข้มลักลอบเข้าประเทศผิดกฎหมายตามแนวชายแดน 60.58% การกำกับติดตามมาตรการป้องกันโรค 55.1%
เร่งฉีดวีคซีนพื้นที่ท่องเที่ยว 52.72% สนับสนุนชุดตรวจ ATK ให้ทุกคนพื้นที่ท่องเที่ยว 49.41% สถานประกอบการทุกแห่งผ่านมาตรฐานรับรองด้านสาธารณสุข 43.3% ให้นักท่องเที่ยวเข้ามาในประเทศ เที่ยวได้เฉพาะพื้นที่กำหนดเท่านั้น 41.2% มาตรการอื่นๆ 2.7%
การกำหนดกลุ่มประเภทกิจการกิจกรรม กรมอนามัยพิจารณาปัจจัยเสี่ยงสำคัญ คือ ความหนาแน่นการใช้บริการ ความสะอาด สุขลักษณะสถานที่ การระบายอากาศ ลักษณะกิจกรรม ระยะเวลาเข้าร่วม และความปลอดภัยสภาพแวดล้อมโดยรวม เอามาจำแนกตามความเสี่ยง
แยกเป็น 3 กลุ่ม คือ
1. เสี่ยงปานกลาง ได้แก่ ห้องสมุด พิพิธภัณฑื ศูนย์การเรียนรู้ ร้านอาหารเปิดโล่ง ขนส่งสาธารณะไม่ปรับอากาศ สวนสาธารณะ สนามกีฬากลางแจ้ง รถเร่จำหน่ายอาหาร ร้านสะดวกซื้อ โรงแรม แหล่งท่องเที่ยว ธุรกิจนำเท่ี่ยว รถนำเที่ยว ปั๊มน้ำมัย
2. เสี่ยงสูง ได้แก่ ห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ ศูนญืการเรียนรู้ที่เป้นห้องปิด ใเครื่องปรับอากาศ โรงยิม ฟิตเนส ไม่มีเครื่องปรับอากาศ โรงภาพยนตร์ ร้านอาหารห้องปรับอากาศ ห้างสรรพสินค้า ขนส่งสาธารณะปรับอากาศ สวนสนุก สวนน้ำ ร้านเสริมสวย ตัดผม
และ 3. เสี่ยงสูงมาก ที่สัมผัสใกล้ชิดใช้ระยะเวลา รวมทคนจำนวนมาก เช่น ร้านสักเจาะ ทำเล็บ นวดสปา โรงยิมฟิตเนสมีเครื่องปรับอากาศ สนามกีฬาจัดแข่งมีคนรวมมากๆ ตลาดสด ตลาดนัด
สธ.กำหนดมาตรการปลอดภัยสำหรับองค์กร COVID Free Setting สำหรับกิจการรองรับไว้แล้ว เน้นสิ่งแวดล้อม พนักงาน ผู้รับบริการปลอดภัย รายละเอียดแต่ละกิจการอยู่ใน Thai Stop COVID Plus ส่วนกรอบการดำเนินงานการประเมินกิจการกิจกรรม การติดตามดำเนินการตามมาตรการและเฝ้าระวัง
แบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลัก คือ
1. สถานประกอบการทุกกิจการกิจกรรมลงทะเบียนประเมินตนเองบน Thai Stop COVID Plus เพื่อยกระดับตามมาตรการ COVID Free Setting และติดใบรับรองในจุดที่ผู้ใช้บริการเห็นชัด
2. ประชาชนประเมินแนะนำติชมแจ้งข้อมูลหรือร้องเรียนสถานประกอบการในพื้นที่มีการดำเนินการตามมาตรการหรือไม่ ผ่านช่องทาง QR Code ในใบรับรอง E-Certification , Thai Stop COVID Plus และเฟซบุ๊กผู้พิทักษ์อนามัย
และ 3. การตรวจสอบโดยเจ้าพนักงาน กำหนดให้จังหวัดหรือ กทม.จัดตั้งคณะกรรมการร่วมตรวจกำกับการดำเนินการ ควรประกอบด้วย ภาครัฐ เอกชน ประชาชน เน้นเมื่อเปิดเมืองเปิดประเทศ โดยจัดเป็นทีมย่อยระดับอำเภอ ตำบลได้ ต้องตรวจประเมินทุก 2 สัปดาห์ กำกับมาตรการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ทำเช็กลิสต์เป้าหมายตรวจสอบบน TSCP เพื่อกำหนดเป้าหมายว่าจะต้องตรวจสถานประกอบการที่ลงทะเบียนไม่น้อยกว่า 20% ตรวจสถานประกอบการที่ประชาชนร้องเรียน 100% นอกจากนี้ จะให้คำแนะนำตักเตือน ดำเนินการตามกฎหมายกับกิจการปฏิบัติไม่ถกต้อง ให้ปฏิบัติอย่างเคร่งครัด
ภาพรวมยกระดับกิจการกิจกรรมให้ดำเนินการตาม COVID Free Setting บน Thai Stop COVID Plus รวมกับหลายมาตรการรองรับเปิดพื้นที่นำร่องท่องเทีย่ว 17 จังหวัด สาระสำคัญมุ่งเน้นประชาชนร่วมเจ้าพนักงานทำงานดำเนินการคู่ขนานกันตรวจสอบผู้ประกอบการ กำกับมาตรการ ติชม แจ้งข้อมูล ร้องเรียนผ่านคิวอาร์โคด E-Certification ออกโดยร้าน สติกเกอร์ COVID Free Setting ที่ออกโดยพนักงาน
ขอความร่วมมือผู้ประกอบการในพื้นที่ ให้ผู้มารับบริการร่วมตรวจสอบอย่างน้อย 5% ของผู้รับบริการ 5 คนตอวันต่อร้าน การป้องกันตนเองหลังเปิดประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย. ประชาชนทุกคน ยังต้องปฏิบัติเข้มงวดตามมาตรการป้องกันตนเองสูงสุด แต่ก่อนการเปิดประเทศมี 10 ข้อ จะปรับให้เหมาะสมกับนักท่องเที่ยวผู้เดินทางดังนี้
1. ประชาชนควรเลือกไปสถานที่มีสัญลักษณ์ COVID Free Setting หรือ SHA Plus ที่ร่วมโครงการ
2. ประชาชนรับบริการและให้บริการแสดงการรับวัคซีน ผลการตรวจไม่มีเชื้อก่อนเข้าสถานที่
3. ปฏิบัติตามมาตรการ DMH เว้นะรยนห่าง 2 เมตรทุกสถานที เลี่ยงเข้าสถานที่แออัด ระบายอากาศไม่ดี งดใช้ของส่วนตัวร่วมกัน น้นย้ำสวมหน้ากากถูกต้องตลอดเวลา ออกจากที่พักและที่พักร่วมนักท่องเที่ยวอื่นๆ ล้างมือบ่อยๆ หากสงสัยเสีย่งมีอาการงดออกจากที่พัก ตรวจตัวเอง ATK ปรึกษาสถานพยาบาลใกล้เคียง เชื่อว่าร่วมมือกันจะผ่านไปด้วยกัน
กังวลเปิดปท.ต่างชาติเที่ยวไม่ใส่แมสก์
https://www.innnews.co.th/video/general-news-clips/news_220582/
กังวลเปิดประเทศ ต่างชาติเที่ยวไม่ใส่แมสก์ ชาวบ้านหวั่นโควิด19ระลอกใหม่
เหลือเวลาอีกไม่กี่วันสำหรับการเปิดประเทศต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติตามนโยบายของรัฐบาลในวันที่ 1 พ.ย.นี้ ร้านค้า ร้านอาหาร หรือแม้แต่ประชาชนมีความพร้อมมากน้อยแค่ไหนสำหรับการเปิดรับต่างชาติเข้ามาในประเทศไทย ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ยังน่าเป็นห่วง
นาย
สง่า เรืองวัฒนกุล นายกสมาคมผู้ประกอบธุรกิจถนนข้าวสาร เปิดเผยกับสำนักข่าว INN ว่า ทางผู้ประกอบการได้เตรียมพร้อมสำหรับการเปิดประเทศอยู่แล้ว แต่การเปิดนั้นจะเป็นการเปิดที่สมบูรณ์แบบหรือไม่ขึ้นอยู่กับสถานการณ์การท่องเที่ยว ซึ่งหากพูดตามตรงผู้ประกอบการเปิดมาเพื่อประเมินสถานการณ์ว่าจะเป็นอย่างไร บรรยากาศการท่องเที่ยวจะกลับมาคึกคักหรือยังเงียบเหงา จะคุ้มค่ากับการลงทุน การจ้างพนักงานกลับมาทำงานหรือไม่
แต่ถ้าหากพูดถึงการป้องกันการระบาด ผู้ประกอบการได้เตรียมพร้อมแล้วเช่น ตรวจสอบการฉีดวัคซีนของนักท่องเที่ยวครบ 2 โดสหรือไม่ หรือการตรวจ ATK ให้กับลูกค้าและผู้ประกอบการก่อนเข้าใช้บริการ และให้บริการ
ทั้งนี้ เชื่อว่าธุรกิจสถานบันเทิงยังเดินต่อไปได้ แต่ต้องปรับตัวไม่ควรยึดตามนักท่องเที่ยวต่างชาติเพียงอย่างเดียวต้องหันมาหาแนวทางรองรับนักท่องเที่ยวไทยด้วย พร้อมกันนี้ มองว่า การเปิดประเทศเป็นความหวังของผู้ประกอบการที่จะกลับมามีรายได้
ขณะที่ผู้ประกอบการร้านอาหารเห็นด้วยกับการเปิดประเทศ มองว่าเป็นผลดีทำให้มีรายได้ส่วนมาตรการป้องกันโควิด-19 ได้ปฏิบัติตามนโยบายของรัฐบาลและมาตรฐานสาธารณสุข
อีกแง่มุมของคนที่ประชาชนและในนามของคนค้าขาย มองว่าการเปิดประเทศอาจจะทำให้มีการกลับมาติดเชื้อได้อีกเพราะต่างชาติส่วนใหญ่ที่มาท่องเที่ยวในไทยส่วนมากจะไม่สวมใส่หน้ากากอนามัยในการป้องกันตนเองซึ่งหากประเมินแล้วขณะนี้ประเทศไทยถือว่ายังมีความเสี่ยงยอดผู้ติดเชื้อยังสูงแตะหลัก 10,000 คน จึงมีความกังวลว่าอาจจะทำให้การระบาดนั้นกลับมาจนเป็นเหตุทำให้ต้องปิดประเทศอีกรอบ
ต้องถือว่าการเปิดประเทศในครั้งนี้มีหลากหลายมุมมองทั้งในแง่ดีที่จะทำให้ผู้ประกอบการร้านอาหารหรือคนค้าขายได้กลับมามีรายได้ต่อลมหายใจในการประคับประคองชีวิตแต่ในอีกแง่มุมหนึ่งยังมีความกังวลว่าการเปิดประเทศรับต่างชาติเข้ามาภายใต้สถานการณ์การระบาดของประเทศที่ยังน่าเป็นห่วงอาจจะทำให้กลับมามีผู้ติดเชื้อและต้องปิดประเทศอีกครั้ง ซึ่งการปิดในครั้งนี้จะกินเวลายาวนานแค่ไหน จะส่งผลกระทบรุนแรงอย่างไรบ้าง
‘ธนาธร’ เดินสายติวเข้มชิง อบต. ย้ำจุดยืน ชูนโยบายซื้อใจประชาชน
https://www.matichon.co.th/politics/news_3012761
‘ธนาธร’ เดินสายติวเข้มชิง อบต. ย้ำจุดยืน ชูนโยบายซื้อใจประชาชน
เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม นาย
ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้า พร้อมด้วย นาย
ไกลก้อง ไวทยการ และนาย
ชัน ภักดีศรี กรรมการบริหารคณะก้าวหน้า เดินทางไป จ.อุดรธานี ซึ่งเป็นพื้นที่ที่คณะให้การสนับสนุนผู้สมัครมากที่สุดถึง 23 แห่ง
นาย
ธนาธร กล่าวว่า อยากย้ำความเข้าใจร่วมกันถึงคุณค่าซึ่งผู้สมัครคณะก้าวหน้าจะต้องยึดโยงร่วมกัน ได้แก่ อุดมการณ์ปประชาธิปไตย ไม่ซื้อสิทธิ์ซื้อเสียง และไม่ทุจริตคอร์รัปชั่น นี่เป็นหลักการสำคัญที่เราจะทำงานร่วมกันต่อไป สำหรับเครื่องมือสำคัญที่เราจะใช้เอาชนะคู่แข่งก็คืนโยบายที่ผู้สมัครจะนำไปเสนอกับประชาชน จะต้องจับต้องได้ เป็นจริง และแก้ปัญหาคุณภาพชีวิตของประชาชนได้อย่างตรงจุด ทั้งนี้ อบต.เป็นหนึ่งในองค์กรปกครองท้องถิ่นที่ใกล้ชิดกับประชาชนมากที่สุด เกี่ยวพันกับชีวิตประชาชนในหลายด้าน การทำงานการเมืองท้องถิ่นของคณะก้าวหน้าจะต้องทำให้ประชาชนเห็นว่าการเมืองคือสิ่งที่จะทำให้คุณภาพชีวิตของประชาชนได้รับการพัฒนาได้อย่างแท้จริง
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า สำหรับแนวนโยบายและข้อมูลปัญหาพื้นฐานที่มีการนำเสนอแลกเปลี่ยนเป็นนโยบายมานั้น มีหลายประเด็น ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาพื้นที่สาธารณะให้เป็นแหล่งสร้างรายได้ ไม่ว่าจะเป็นด้านการท่องเที่ยว การพาณิชย์ นันทนาการ การปรับปรุงพื้นที่ตลาดที่มีอยู่ รวมทั้งนโยบายด้านคุณภาพชีวิตพื้นฐาน เช่นน้ำ การจัดการขยะ การดูแลผู้สูงอายุ เป็นต้น และแม้อุดรธานีจะเป็นจังหวัดใหญ่ แต่ทว่าบริการสาธารณะพื้นฐานหลายด้านที่อยู่ในขอบเขตอำนาจของ อบต.ยังคงไม่ได้รับการพัฒนาอย่างเต็มที่
ขณะที่ จ.เชียงราย น.ส.
พรรณิการ์ วานิช พร้อมด้วย นาย
ชำนาญ จันทร์เรือง กรรมการบริหารคณะก้าวหน้า พบปะหารือกับผู้สมัคร นายก อบต. 2 แห่ง ที่พรรคให้การสนับสนุน โดยน.ส.
พรรณิการ์ และนาย
ชำนาญ ร่วมกันแนะนำเทคนิคการเดินพบปะพี่น้องประชาชนให้ครบทุกหมู่ ยืนยันต้องการแก้ไขปัญหาพื้นฐานในชีวิตประจำวัน ชูโมเดลเด่น การจัดการขยะก้าวหน้า และ 99 วัน น้ำประปาดื่มได้ ซึ่งเทศบาลที่คณะก้าวหน้าให้การสนับสนุนได้ทำสำเร็จมาแล้ว ซึ่งทั้ง 2 เรื่องนี้ก็เป็นปัญหาที่ไม่ได้รับการแก้ไขในพื้นที่ จ.เชียงรายเช่นกัน จากนั้นเดินทางต่อไปที่ จ.พะเยา เพื่อรับฟังยุทธศาสตร์และแนวทางของผู้สมัครนายก อบต. น้ำแวน อ.เชียงคำ ซึ่งแม้จะมีผู้สมัครท้าชิงตำแหน่งนายกอบต. เพียง 1 แห่ง แต่คณะก้าวหน้าก็พร้อมลุยติวเข้มและหวังปักธงในพื้นที่ดังกล่าวให้ได้ เพราะพื้นที่ในการดูแลของ อบต.น้ำแวน ไม่มีแม้แต่รถขยะหรือการจัดเก็บขยะใดๆ ทั้งสิ้น
JJNY : 4in1 เผยเปิดปท.หวั่นระลอกใหม่สูงลิบ75.8%│กังวลชาติเที่ยวไม่ใส่แมสก์│‘ธนาธร’เดินสายติวชิงอบต.│เตือนระวังน้ำหลาก
https://www.khaosod.co.th/covid-19/news_6699643
กรมอนามัย เผยผลสำรวจ เปิดประเทศ หวั่นระบาดระลอกใหม่ สูงลิบ 75.8% ปรับมาตรการป้องกันสูงสุด เข้ม 3 เรื่อง ขอฉีดวัคซีนให้ครบ 2 เข็มโดยเร็ว
วันที่ 27 ต.ค.64 นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย แถลงข่าวมาตรการเปิดบ้าน เปิดเมือง เปิดประเทศ ว่า อีกไม่กี่วันจะถึงกำหนดวันเปิดพื้นที่นำร่องท่องเที่ยวใน 17 จังหวัด กรมอนามัยสำรวจความคิดเห็นความกังวลกับการเปิดประเทศวันที่ 1 พ.ย. พบว่า ประชาชนกังวล 92.4% เรื่องที่กังวลที่สุด คือ การระบาดระลอกใหม่ 75.8% การ์ดตกไม่ป้องกันตนเอง 49.7%
สถานประกอบการสถานที่ท่องเที่ยวไม่ทำตามมาตรการป้องกันโรค 45.1% กลัวตัวเองและครอบครัวติดเชื้อ 41% มาตรการคัดกรองนักท่องเที่ยวต่างประเทศไม่ดีพอ 39.6% กังวลเกิดการล็อกดาวน์อีกครั้ง 37.1% จำนวนเตียงรักษาไม่พอ 31.7% และอื่นๆ เช่น เศรษฐกิจ ประสิทธิภาพวัคซีน 2.1%
กิจการใดที่กังวลเกิดคลัสเตอร์ระบาดใหม่หลังเปิดประเทศ คือ สถานบันเทิง ผับบาร์ 89.2% ขนส่งสาธารณะ 43.1% สถานที่ท่องเที่ยว 39.8% สถานศึกษา 39.2% ตลาด 37.4% ห้างสรรพสินค้า 34.1% ร้านอาหาร 28.8% เรงแรมรีสอร์ท 24% ร้านสะดวกซื้อ 17.9% ศาสนสถาน 16.4% ไม่กังวลคลัสเตอร์ใหม่ 5.5% ความกังวลคลัสเตอร์ใหม่ๆ สถานประกอบการอื่น 3.1%
มาตรการที่ประชาชนคิดว่าควรดำเนินการเพิ่มเติมเพื่อเชื่อมั่นว่าเปิดประเทศแล้วปลอดภัย มากที่สุดคือเร่งฉีดวัคซีนครบ 2 เข็มทุกจังหวัดครอบคลุม 70% ขึ้นไป 72.53% การคุมเข้มลักลอบเข้าประเทศผิดกฎหมายตามแนวชายแดน 60.58% การกำกับติดตามมาตรการป้องกันโรค 55.1%
เร่งฉีดวีคซีนพื้นที่ท่องเที่ยว 52.72% สนับสนุนชุดตรวจ ATK ให้ทุกคนพื้นที่ท่องเที่ยว 49.41% สถานประกอบการทุกแห่งผ่านมาตรฐานรับรองด้านสาธารณสุข 43.3% ให้นักท่องเที่ยวเข้ามาในประเทศ เที่ยวได้เฉพาะพื้นที่กำหนดเท่านั้น 41.2% มาตรการอื่นๆ 2.7%
การกำหนดกลุ่มประเภทกิจการกิจกรรม กรมอนามัยพิจารณาปัจจัยเสี่ยงสำคัญ คือ ความหนาแน่นการใช้บริการ ความสะอาด สุขลักษณะสถานที่ การระบายอากาศ ลักษณะกิจกรรม ระยะเวลาเข้าร่วม และความปลอดภัยสภาพแวดล้อมโดยรวม เอามาจำแนกตามความเสี่ยง
แยกเป็น 3 กลุ่ม คือ
1. เสี่ยงปานกลาง ได้แก่ ห้องสมุด พิพิธภัณฑื ศูนย์การเรียนรู้ ร้านอาหารเปิดโล่ง ขนส่งสาธารณะไม่ปรับอากาศ สวนสาธารณะ สนามกีฬากลางแจ้ง รถเร่จำหน่ายอาหาร ร้านสะดวกซื้อ โรงแรม แหล่งท่องเที่ยว ธุรกิจนำเท่ี่ยว รถนำเที่ยว ปั๊มน้ำมัย
2. เสี่ยงสูง ได้แก่ ห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ ศูนญืการเรียนรู้ที่เป้นห้องปิด ใเครื่องปรับอากาศ โรงยิม ฟิตเนส ไม่มีเครื่องปรับอากาศ โรงภาพยนตร์ ร้านอาหารห้องปรับอากาศ ห้างสรรพสินค้า ขนส่งสาธารณะปรับอากาศ สวนสนุก สวนน้ำ ร้านเสริมสวย ตัดผม
และ 3. เสี่ยงสูงมาก ที่สัมผัสใกล้ชิดใช้ระยะเวลา รวมทคนจำนวนมาก เช่น ร้านสักเจาะ ทำเล็บ นวดสปา โรงยิมฟิตเนสมีเครื่องปรับอากาศ สนามกีฬาจัดแข่งมีคนรวมมากๆ ตลาดสด ตลาดนัด
สธ.กำหนดมาตรการปลอดภัยสำหรับองค์กร COVID Free Setting สำหรับกิจการรองรับไว้แล้ว เน้นสิ่งแวดล้อม พนักงาน ผู้รับบริการปลอดภัย รายละเอียดแต่ละกิจการอยู่ใน Thai Stop COVID Plus ส่วนกรอบการดำเนินงานการประเมินกิจการกิจกรรม การติดตามดำเนินการตามมาตรการและเฝ้าระวัง
แบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลัก คือ
1. สถานประกอบการทุกกิจการกิจกรรมลงทะเบียนประเมินตนเองบน Thai Stop COVID Plus เพื่อยกระดับตามมาตรการ COVID Free Setting และติดใบรับรองในจุดที่ผู้ใช้บริการเห็นชัด
2. ประชาชนประเมินแนะนำติชมแจ้งข้อมูลหรือร้องเรียนสถานประกอบการในพื้นที่มีการดำเนินการตามมาตรการหรือไม่ ผ่านช่องทาง QR Code ในใบรับรอง E-Certification , Thai Stop COVID Plus และเฟซบุ๊กผู้พิทักษ์อนามัย
และ 3. การตรวจสอบโดยเจ้าพนักงาน กำหนดให้จังหวัดหรือ กทม.จัดตั้งคณะกรรมการร่วมตรวจกำกับการดำเนินการ ควรประกอบด้วย ภาครัฐ เอกชน ประชาชน เน้นเมื่อเปิดเมืองเปิดประเทศ โดยจัดเป็นทีมย่อยระดับอำเภอ ตำบลได้ ต้องตรวจประเมินทุก 2 สัปดาห์ กำกับมาตรการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ทำเช็กลิสต์เป้าหมายตรวจสอบบน TSCP เพื่อกำหนดเป้าหมายว่าจะต้องตรวจสถานประกอบการที่ลงทะเบียนไม่น้อยกว่า 20% ตรวจสถานประกอบการที่ประชาชนร้องเรียน 100% นอกจากนี้ จะให้คำแนะนำตักเตือน ดำเนินการตามกฎหมายกับกิจการปฏิบัติไม่ถกต้อง ให้ปฏิบัติอย่างเคร่งครัด
ภาพรวมยกระดับกิจการกิจกรรมให้ดำเนินการตาม COVID Free Setting บน Thai Stop COVID Plus รวมกับหลายมาตรการรองรับเปิดพื้นที่นำร่องท่องเทีย่ว 17 จังหวัด สาระสำคัญมุ่งเน้นประชาชนร่วมเจ้าพนักงานทำงานดำเนินการคู่ขนานกันตรวจสอบผู้ประกอบการ กำกับมาตรการ ติชม แจ้งข้อมูล ร้องเรียนผ่านคิวอาร์โคด E-Certification ออกโดยร้าน สติกเกอร์ COVID Free Setting ที่ออกโดยพนักงาน
ขอความร่วมมือผู้ประกอบการในพื้นที่ ให้ผู้มารับบริการร่วมตรวจสอบอย่างน้อย 5% ของผู้รับบริการ 5 คนตอวันต่อร้าน การป้องกันตนเองหลังเปิดประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย. ประชาชนทุกคน ยังต้องปฏิบัติเข้มงวดตามมาตรการป้องกันตนเองสูงสุด แต่ก่อนการเปิดประเทศมี 10 ข้อ จะปรับให้เหมาะสมกับนักท่องเที่ยวผู้เดินทางดังนี้
1. ประชาชนควรเลือกไปสถานที่มีสัญลักษณ์ COVID Free Setting หรือ SHA Plus ที่ร่วมโครงการ
2. ประชาชนรับบริการและให้บริการแสดงการรับวัคซีน ผลการตรวจไม่มีเชื้อก่อนเข้าสถานที่
3. ปฏิบัติตามมาตรการ DMH เว้นะรยนห่าง 2 เมตรทุกสถานที เลี่ยงเข้าสถานที่แออัด ระบายอากาศไม่ดี งดใช้ของส่วนตัวร่วมกัน น้นย้ำสวมหน้ากากถูกต้องตลอดเวลา ออกจากที่พักและที่พักร่วมนักท่องเที่ยวอื่นๆ ล้างมือบ่อยๆ หากสงสัยเสีย่งมีอาการงดออกจากที่พัก ตรวจตัวเอง ATK ปรึกษาสถานพยาบาลใกล้เคียง เชื่อว่าร่วมมือกันจะผ่านไปด้วยกัน
กังวลเปิดปท.ต่างชาติเที่ยวไม่ใส่แมสก์
https://www.innnews.co.th/video/general-news-clips/news_220582/
กังวลเปิดประเทศ ต่างชาติเที่ยวไม่ใส่แมสก์ ชาวบ้านหวั่นโควิด19ระลอกใหม่
เหลือเวลาอีกไม่กี่วันสำหรับการเปิดประเทศต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติตามนโยบายของรัฐบาลในวันที่ 1 พ.ย.นี้ ร้านค้า ร้านอาหาร หรือแม้แต่ประชาชนมีความพร้อมมากน้อยแค่ไหนสำหรับการเปิดรับต่างชาติเข้ามาในประเทศไทย ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ยังน่าเป็นห่วง
นายสง่า เรืองวัฒนกุล นายกสมาคมผู้ประกอบธุรกิจถนนข้าวสาร เปิดเผยกับสำนักข่าว INN ว่า ทางผู้ประกอบการได้เตรียมพร้อมสำหรับการเปิดประเทศอยู่แล้ว แต่การเปิดนั้นจะเป็นการเปิดที่สมบูรณ์แบบหรือไม่ขึ้นอยู่กับสถานการณ์การท่องเที่ยว ซึ่งหากพูดตามตรงผู้ประกอบการเปิดมาเพื่อประเมินสถานการณ์ว่าจะเป็นอย่างไร บรรยากาศการท่องเที่ยวจะกลับมาคึกคักหรือยังเงียบเหงา จะคุ้มค่ากับการลงทุน การจ้างพนักงานกลับมาทำงานหรือไม่
แต่ถ้าหากพูดถึงการป้องกันการระบาด ผู้ประกอบการได้เตรียมพร้อมแล้วเช่น ตรวจสอบการฉีดวัคซีนของนักท่องเที่ยวครบ 2 โดสหรือไม่ หรือการตรวจ ATK ให้กับลูกค้าและผู้ประกอบการก่อนเข้าใช้บริการ และให้บริการ
ทั้งนี้ เชื่อว่าธุรกิจสถานบันเทิงยังเดินต่อไปได้ แต่ต้องปรับตัวไม่ควรยึดตามนักท่องเที่ยวต่างชาติเพียงอย่างเดียวต้องหันมาหาแนวทางรองรับนักท่องเที่ยวไทยด้วย พร้อมกันนี้ มองว่า การเปิดประเทศเป็นความหวังของผู้ประกอบการที่จะกลับมามีรายได้
ขณะที่ผู้ประกอบการร้านอาหารเห็นด้วยกับการเปิดประเทศ มองว่าเป็นผลดีทำให้มีรายได้ส่วนมาตรการป้องกันโควิด-19 ได้ปฏิบัติตามนโยบายของรัฐบาลและมาตรฐานสาธารณสุข
อีกแง่มุมของคนที่ประชาชนและในนามของคนค้าขาย มองว่าการเปิดประเทศอาจจะทำให้มีการกลับมาติดเชื้อได้อีกเพราะต่างชาติส่วนใหญ่ที่มาท่องเที่ยวในไทยส่วนมากจะไม่สวมใส่หน้ากากอนามัยในการป้องกันตนเองซึ่งหากประเมินแล้วขณะนี้ประเทศไทยถือว่ายังมีความเสี่ยงยอดผู้ติดเชื้อยังสูงแตะหลัก 10,000 คน จึงมีความกังวลว่าอาจจะทำให้การระบาดนั้นกลับมาจนเป็นเหตุทำให้ต้องปิดประเทศอีกรอบ
ต้องถือว่าการเปิดประเทศในครั้งนี้มีหลากหลายมุมมองทั้งในแง่ดีที่จะทำให้ผู้ประกอบการร้านอาหารหรือคนค้าขายได้กลับมามีรายได้ต่อลมหายใจในการประคับประคองชีวิตแต่ในอีกแง่มุมหนึ่งยังมีความกังวลว่าการเปิดประเทศรับต่างชาติเข้ามาภายใต้สถานการณ์การระบาดของประเทศที่ยังน่าเป็นห่วงอาจจะทำให้กลับมามีผู้ติดเชื้อและต้องปิดประเทศอีกครั้ง ซึ่งการปิดในครั้งนี้จะกินเวลายาวนานแค่ไหน จะส่งผลกระทบรุนแรงอย่างไรบ้าง
https://www.matichon.co.th/politics/news_3012761
‘ธนาธร’ เดินสายติวเข้มชิง อบต. ย้ำจุดยืน ชูนโยบายซื้อใจประชาชน
เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้า พร้อมด้วย นายไกลก้อง ไวทยการ และนายชัน ภักดีศรี กรรมการบริหารคณะก้าวหน้า เดินทางไป จ.อุดรธานี ซึ่งเป็นพื้นที่ที่คณะให้การสนับสนุนผู้สมัครมากที่สุดถึง 23 แห่ง
นายธนาธร กล่าวว่า อยากย้ำความเข้าใจร่วมกันถึงคุณค่าซึ่งผู้สมัครคณะก้าวหน้าจะต้องยึดโยงร่วมกัน ได้แก่ อุดมการณ์ปประชาธิปไตย ไม่ซื้อสิทธิ์ซื้อเสียง และไม่ทุจริตคอร์รัปชั่น นี่เป็นหลักการสำคัญที่เราจะทำงานร่วมกันต่อไป สำหรับเครื่องมือสำคัญที่เราจะใช้เอาชนะคู่แข่งก็คืนโยบายที่ผู้สมัครจะนำไปเสนอกับประชาชน จะต้องจับต้องได้ เป็นจริง และแก้ปัญหาคุณภาพชีวิตของประชาชนได้อย่างตรงจุด ทั้งนี้ อบต.เป็นหนึ่งในองค์กรปกครองท้องถิ่นที่ใกล้ชิดกับประชาชนมากที่สุด เกี่ยวพันกับชีวิตประชาชนในหลายด้าน การทำงานการเมืองท้องถิ่นของคณะก้าวหน้าจะต้องทำให้ประชาชนเห็นว่าการเมืองคือสิ่งที่จะทำให้คุณภาพชีวิตของประชาชนได้รับการพัฒนาได้อย่างแท้จริง
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า สำหรับแนวนโยบายและข้อมูลปัญหาพื้นฐานที่มีการนำเสนอแลกเปลี่ยนเป็นนโยบายมานั้น มีหลายประเด็น ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาพื้นที่สาธารณะให้เป็นแหล่งสร้างรายได้ ไม่ว่าจะเป็นด้านการท่องเที่ยว การพาณิชย์ นันทนาการ การปรับปรุงพื้นที่ตลาดที่มีอยู่ รวมทั้งนโยบายด้านคุณภาพชีวิตพื้นฐาน เช่นน้ำ การจัดการขยะ การดูแลผู้สูงอายุ เป็นต้น และแม้อุดรธานีจะเป็นจังหวัดใหญ่ แต่ทว่าบริการสาธารณะพื้นฐานหลายด้านที่อยู่ในขอบเขตอำนาจของ อบต.ยังคงไม่ได้รับการพัฒนาอย่างเต็มที่
ขณะที่ จ.เชียงราย น.ส.พรรณิการ์ วานิช พร้อมด้วย นายชำนาญ จันทร์เรือง กรรมการบริหารคณะก้าวหน้า พบปะหารือกับผู้สมัคร นายก อบต. 2 แห่ง ที่พรรคให้การสนับสนุน โดยน.ส.พรรณิการ์ และนายชำนาญ ร่วมกันแนะนำเทคนิคการเดินพบปะพี่น้องประชาชนให้ครบทุกหมู่ ยืนยันต้องการแก้ไขปัญหาพื้นฐานในชีวิตประจำวัน ชูโมเดลเด่น การจัดการขยะก้าวหน้า และ 99 วัน น้ำประปาดื่มได้ ซึ่งเทศบาลที่คณะก้าวหน้าให้การสนับสนุนได้ทำสำเร็จมาแล้ว ซึ่งทั้ง 2 เรื่องนี้ก็เป็นปัญหาที่ไม่ได้รับการแก้ไขในพื้นที่ จ.เชียงรายเช่นกัน จากนั้นเดินทางต่อไปที่ จ.พะเยา เพื่อรับฟังยุทธศาสตร์และแนวทางของผู้สมัครนายก อบต. น้ำแวน อ.เชียงคำ ซึ่งแม้จะมีผู้สมัครท้าชิงตำแหน่งนายกอบต. เพียง 1 แห่ง แต่คณะก้าวหน้าก็พร้อมลุยติวเข้มและหวังปักธงในพื้นที่ดังกล่าวให้ได้ เพราะพื้นที่ในการดูแลของ อบต.น้ำแวน ไม่มีแม้แต่รถขยะหรือการจัดเก็บขยะใดๆ ทั้งสิ้น