Diary Note วันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
...จากน้ำหนึ่งหยดบนยอดดอยสู่ "ตาดก๊องโยง" น้ำตกในฝัน
กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว ยังมีน้ำตกที่เป็นเหมือนอุทยานสวรรค์ ชาวบ้านคนผ่านทางมักจะได้ยินเสียงดังกึกก้องของน้ำตกแห่งนี้กระโจนลงจากหน้าผาเป็นสายน้ำสีขาวยามกระทบกับก้อนหินผาขรุขระเบื้องล่าง
คราใดน้ำหลาก สายน้ำเปลี่ยนเป็นสีกาแฟ ธารน้ำทั้งหมดก็จะรวมกันเป็นผืนเดียวพร้อมใจกันกระโจนลงจากเบื้องบน เสียงดังกึกก้องสนั่นหวั่นไหว ฟังไกลๆ คล้ายดั่งเสียงตีฆ้องร้องป่าวของเหล่าเทพยดา ชาวบ้านจึงตั้งชื่อให้ว่า “น้ำตกตาดก๊องโยง”
ตาดเป็นภาษาเหนือหมายถึงลานหินกว้าง ๆ ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ส่วนก๊องก็คือฆ้อง และโยงก็หมายถึงเสียงกึกก้องที่มาจากฆ้องหลายๆ ตัวรวมกัน เปรียบเสียงสะท้อนของน้ำที่กระโจนลงจากที่สูง เสียงดังกึกก้องไปทั้งหุบเขาและดังไกลออกไป
ที่จริงไม่ได้อ่านออกเสียงแบบที่เขียนเพราะไม่รู้จะใช้ตัวอะไรมาเทียบเสียงให้อ่านได้ถูกต้องอย่างที่คนเหนือเขาพูดกัน ลักษณะเดียวกับการออกเสียงคำว่า ลำไยหรือแม่หญิง (แม่ยิงจะใกล้เคียงมากกว่า)
หากใคร่รู้ คุณคงต้องมาแอ่วทางเหนือบ้าง แล้วก็ขอให้คนเหนือพันธุ์แท้เค้าพูดให้ฟัง
ทางการประสบความสำเร็จในการก่อตั้งจุดยุทธศาสตร์ทางทหาร ณ. ยอดดอยอินทนนท์ในปีพ.ศ. 2519 ท่ามกลางกระแสคัดค้านของชาวบ้านที่ต้องการอนุรักษ์ผืนป่าต้นน้ำแม่ปิงอีกแหล่งหนึ่ง ซึ่งป่าแห่งนี้ได้ชื่อว่าเป็นป่าดึกดำบรรพ์ เป็นป่าโบราณที่มีความหลากหลายทางนิเวศวิทยา หลายสิ่งหลายอย่างไม่สามารถหาดูหรือศึกษาได้จากที่ใดๆ ในโลก
เมื่อฉันยังเป็นเด็ก ป่ายังอุดมสมบูรณ์กว่าในปัจจุบันมาก เวลาที่มีเมฆหมอกโรยตัวหนาแน่น มีลมเย็นจนหนาวสะท้าน ฉันรู้สึกว่า ที่นี่...เป็นโลกอีกโลกหนึ่งที่ต่างจากบ้านตรงเชิงดอยลิบลับ แม้ว่าจะใช้เวลามาที่นี่ไม่ถึงหนึ่งชั่วโมงเท่านั้น
จุดยุทธศาสตร์มาพร้อมกับจุดเริ่มต้นแห่งการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่บนยอดดอยอินทนนท์ เริ่มจากถนนทอดตัวเป็นแนวยาวจากเชิงเขาสู่ยอดดอย มีโครงการต่างๆ เกิดขึ้นตามรายทางมากมายทำให้ต้องสร้างสำนักงานที่มั่นคงแข็งแรงไว้รองรับการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่และนักท่องเที่ยว ความสวยงามอันเป็นสากลใครๆ ก็อยากจะเชยชม ดอยอินทนนท์จึงปรากฏมีนักท่องเที่ยวมาเยือนมากขึ้นเรื่อยๆ ในแต่ละปี และชื่อของน้ำตกตาดก๊องโยงที่ชาวบ้านเรียกกันอย่างไม่เป็นทางการก็เปลี่ยนไป
เมื่อก่อนทางเข้าน้ำตกจะต้องเดินลงตามทางเดินซึ่งเป็นดินแดงเป็นขั้นๆ ทำไว้อย่างง่าย มีราวไม้เอาไว้เกาะพยุงตัว การเดินลงตามทางเพื่อไปชมความงามของน้ำตกนั้นค่อนข้างลำบาก ถ้าเป็นผู้เฒ่าผู้แก่หรือผู้ใหญ่ที่ไม่ค่อยได้ออกกำลังกายคงจะไม่สะดวกเดินเข้ามา ถ้าเทียบกับสถานที่ท่องเที่ยวข้างทางอื่นๆ ที่นี่จึงไม่ค่อยมีนักท่องเที่ยวมาเยือนมากนัก
แต่สำหรับฉันแล้ว... ที่นี่เปรียบเสมือนขุมพลังงานที่ฉันจะมาพักเติมแรงบันดาลใจเสมอยามเหน็ดเหนื่อยจากการเรียน ฉันมักจะมาพร้อมกับเจ้าสี่ขาหนึ่งตัว กระดาษ ปากกาและที่ขาดไม่ได้เลยคือเปลนอน แล้วก็เป็นธรรมเนียมที่รู้กันระหว่างคนกับหมา ว่าเจ้าสี่ขาจะต้องคอยเฝ้าระวังคนแปลกหน้ายามที่เจ้าของมันหลับใหลบนเปลนอน
บทกวีพรั่งพรูดั่งดอกไม้แย้มบาน ออกมาจากความฝัน หน้าที่ของกวีตัวน้อยคือการคิดคำนึงและเอามาปะติดปะต่ออีกที
ฉันฝันว่าตัวเองนั่งแต่งกลอนอยู่บนเปลนอน (ซึ่งก่อนเผลอหลับไปก็ยังขีดๆ เขียนๆ อยู่) ทั้งที่ตัวจริงเสียงจริงนั้นหลับไปแล้ว หลับอย่างมีความสุขและเมื่อตื่นขึ้นมารู้สึกว่าเสียงน้ำตกจะดังกึกก้องมากกว่าปกติ มีไอน้ำกระเซ็นมาเป็นระยะๆ ตามแรงลมแล้วทั้งเจ้าสี่ขาและเจ้าของก็จะเป็นหวัดอ่อนๆ ทั้งคู่
ตอนบ่ายสองของทุกวันที่มีแสงแดดสาดส่อง น้ำตกแห่งนี้จะปรากฏรุ้งงามตามละอองน้ำ สายน้ำไหลไปในทิศตะวันออกทำให้เกิดละอองน้ำกระเซ็นไปไกล สายแดดส่องมาจากทิศตะวันตกเมื่อกระทบกับละอองน้ำจะเห็นเป็นรุ้งตัวอ้วนสองชั้น อวดโฉมให้ผู้มาเยือนอย่างเราเป็นปลื้มอยู่นานสองนาน
ไม่ว่าฤดูไหนสายรุ้งจะยังคงอยู่ตราบใดที่ยังมีละอองน้ำ สายน้ำยังคงไหลเรื่อยไปไม่เคยแห้งเหือดตราบใดที่บนยอดดอยอินทนนท์ยังมีมอสและตะไคร่น้ำเกาะอยู่อย่างหนาแน่นคอยอุ้มน้ำและก่อให้เกิดเป็นสายน้ำใหญ่น้อย
ตอนนี้ดอยอินทนนท์เปลี่ยนไปมาก เมื่อก่อนฉันไม่เคยรู้จักกับแดดร้อนเปรี้ยงบนยอดดอย แต่ทว่าวันนี้ยามที่คุณมาเยือนดอยอินทนนท์ในฤดูร้อน คุณแทบจะไม่ได้ฟังเสียงลมเย็นๆ กระซิบข้างหูอย่างนุ่มนวล คุณแทบจะไม่ได้เห็นกลุ่มละอองเมฆที่ล้อมรอบตัวคุณ น้ำตกที่ฉันรักในฤดูแล้งแม้จะไม่ถึงกับแห้งเหือดแต่ก็ยังห่างไกลจากน้ำตกที่เด็กหญิงคนหนึ่งเคยมานอนเล่นรับละอองน้ำกับเจ้าสี่ขาเมื่อสิบกว่าปีที่แล้วมากนัก
ทุกวันนี้ ความรู้สึกชุ่มเย็นบนยอดดอยอินทนนท์ตั้งแต่ที่ทำการเป็นต้นไปหรือที่ความสูงราว 1600 เมตรจากระดับน้ำทะเลขึ้นไปจะสัมผัสได้เฉพาะฤดูกาลเท่านั้น เมฆหมอกหยอกเอินกับละอองฝน ในช่วงอากาศแปรปรวนบนยอดดอยตั้งแต่เดือนสิงหาคมไปจนถึงฤดูหนาวโดยเฉพาะเดือนมกราคม วันเวลาที่เหลือในช่วงปีจึงต้องปล่อยให้เป็นหน้าที่ของดวงอาทิตย์ที่สาดแสงร้อนแรง ไม่ใช่อาทิตย์ดวงเดิมที่เราต่างถวิลหาเพื่อขอแบ่งปันความอบอุ่นอีกเลย
น้ำตกแม่กลางบริเวณเชิงดอยอินทนนท์ในฤดูร้อน ลานหินของน้ำตกนั้นร้อนมาก ร้อนชนิดที่ว่าน้ำธรรมดาๆ ไหลผ่านคงได้กลายเป็นน้ำอุ่นแน่นอน น้ำตกแม่กลางจะกลายเป็นสายน้ำเล็กๆ ไม่ได้ดูสบายตาเหมือนภาพถ่ายเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวที่เห็นกันอยู่จนชินตา น้ำตกแม่ยะยิ่งแล้วใหญ่ จะเห็นเป็นเพียงชั้นหินที่ลดหลั่นกันไปเท่านั้น ไม่ได้มีสายน้ำกระเซ็นสีขาวบริสุทธิ์อย่างในรูปถ่ายเลย
มอสและตะไคร่น้ำบนลานหินที่น้ำตกตาดก๊องโยงแต่ก่อนเคยเป็นสีเขียวชอุ่ม บัดนี้ก็ยังคงเป็นเช่นนั้นเพียงแต่อาจจะลดจำนวนลงไปหรือเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลบ้างเพราะอากาศร้อนขึ้น รอให้ฟ้าฝนเป็นใจหรือรอให้ถึงฤดูกาลที่จะได้กลับมาชุ่มชื้นอย่างเต็มที่อีกครั้ง
เหล่านักท่องเที่ยวแวะมาชมความงามของน้ำตกมิขาดสายเพราะทางการตัดถนนเข้าถึงตัวน้ำตก มีร้านค้าหลายๆ ร้านไว้คอยบริการ มีอาหารที่เหมาะสมจำหน่ายแล้ว และมีเหมือนๆ กันทุกร้านอันได้แก่ข้าวเหนียว ไก่ย่าง ส้มตำเป็นหลัก ที่เห็นเป็นร้านเครื่องดื่มร้อนๆ คลายหนาวก็ดูเก๋ไก๋ไปกันได้กับบรรยากาศรอบๆ บริเวณน้ำตก
ไม่มีใครรู้หรอกว่าน้ำตกวชิรธารที่ใครๆ ก็รู้จักนั้นแต่เดิมชาวบ้านเรียกว่าน้ำตกตาดก๊องโยง ที่มีเจ้าสี่ขามานอนเฝ้าเจ้าของมันหลับอยู่บนเปลนอนเมื่อสิบกว่าปีมาแล้ว (ตอนนั้นราวๆ ปี 2540)
ตอนนี้เจ้าสี่ขาคงไปเกิดใหม่ที่ไหนซักแห่ง ส่วนเด็กคนนั้นก็คงไม่มีโอกาสไปผูกเปลนอนยังที่เดิมอีกเพราะต้นไม้สองต้นที่ใช้ผูกเปลแต่ก่อนนั้นถูกตัดไปแล้ว มีต้นหญ้าเขียวขจีมาแทนที่ ทุกอย่างเปลี่ยนไปตามวันเวลา
ฉันเพียงแต่คิดถึงบรรยากาศเดิมๆ คิดถึงต้นไม้สองต้นที่ใช้ผูกเปลนอน ฉันไม่ต่อต้านการเปลี่ยนแปลงอะไรเลย เพราะสิ่งที่ไม่เคยเปลี่ยนไปเลยคือฉันยังคงแวะไปน้ำตกวชิรธารบ่อยๆ เพราะอยู่ห่างบ้านฉันราวๆ 20 กิโลเมตรเท่านั้น
บางครั้ง ก็แค่แวะไปดื่มกาแฟ ห่อข้าวไปกินกลางวันแล้วก็กลับ บางทีก็เจอนกเอี้ยงถ้ำกึ่งบินกึ่งกระโดดไปมาอยู่แถวโขดหิน บางทีก็เจอเหยี่ยวบางชนิดบินอยู่แถวนั้น
ละอองน้ำปะทะใบหน้าแล้ว กลับบ้านได้ 😊
ปล. ปีนี้ (2564) ถ้าเปิดอช. ดอยอินทนนท์เมื่อไหร่จะไปถ่ายภาพปัจจุบันมาให้ชมนะคะ
ความทรงจำของสาวแว่นและตูบสี่ขา น้ำตกที่ฉันแวะไปบ่อยที่สุด น้ำตกตาดก๊องโยง
...จากน้ำหนึ่งหยดบนยอดดอยสู่ "ตาดก๊องโยง" น้ำตกในฝัน
กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว ยังมีน้ำตกที่เป็นเหมือนอุทยานสวรรค์ ชาวบ้านคนผ่านทางมักจะได้ยินเสียงดังกึกก้องของน้ำตกแห่งนี้กระโจนลงจากหน้าผาเป็นสายน้ำสีขาวยามกระทบกับก้อนหินผาขรุขระเบื้องล่าง
คราใดน้ำหลาก สายน้ำเปลี่ยนเป็นสีกาแฟ ธารน้ำทั้งหมดก็จะรวมกันเป็นผืนเดียวพร้อมใจกันกระโจนลงจากเบื้องบน เสียงดังกึกก้องสนั่นหวั่นไหว ฟังไกลๆ คล้ายดั่งเสียงตีฆ้องร้องป่าวของเหล่าเทพยดา ชาวบ้านจึงตั้งชื่อให้ว่า “น้ำตกตาดก๊องโยง”
ตาดเป็นภาษาเหนือหมายถึงลานหินกว้าง ๆ ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ส่วนก๊องก็คือฆ้อง และโยงก็หมายถึงเสียงกึกก้องที่มาจากฆ้องหลายๆ ตัวรวมกัน เปรียบเสียงสะท้อนของน้ำที่กระโจนลงจากที่สูง เสียงดังกึกก้องไปทั้งหุบเขาและดังไกลออกไป
ที่จริงไม่ได้อ่านออกเสียงแบบที่เขียนเพราะไม่รู้จะใช้ตัวอะไรมาเทียบเสียงให้อ่านได้ถูกต้องอย่างที่คนเหนือเขาพูดกัน ลักษณะเดียวกับการออกเสียงคำว่า ลำไยหรือแม่หญิง (แม่ยิงจะใกล้เคียงมากกว่า)
หากใคร่รู้ คุณคงต้องมาแอ่วทางเหนือบ้าง แล้วก็ขอให้คนเหนือพันธุ์แท้เค้าพูดให้ฟัง
ทางการประสบความสำเร็จในการก่อตั้งจุดยุทธศาสตร์ทางทหาร ณ. ยอดดอยอินทนนท์ในปีพ.ศ. 2519 ท่ามกลางกระแสคัดค้านของชาวบ้านที่ต้องการอนุรักษ์ผืนป่าต้นน้ำแม่ปิงอีกแหล่งหนึ่ง ซึ่งป่าแห่งนี้ได้ชื่อว่าเป็นป่าดึกดำบรรพ์ เป็นป่าโบราณที่มีความหลากหลายทางนิเวศวิทยา หลายสิ่งหลายอย่างไม่สามารถหาดูหรือศึกษาได้จากที่ใดๆ ในโลก
เมื่อฉันยังเป็นเด็ก ป่ายังอุดมสมบูรณ์กว่าในปัจจุบันมาก เวลาที่มีเมฆหมอกโรยตัวหนาแน่น มีลมเย็นจนหนาวสะท้าน ฉันรู้สึกว่า ที่นี่...เป็นโลกอีกโลกหนึ่งที่ต่างจากบ้านตรงเชิงดอยลิบลับ แม้ว่าจะใช้เวลามาที่นี่ไม่ถึงหนึ่งชั่วโมงเท่านั้น
จุดยุทธศาสตร์มาพร้อมกับจุดเริ่มต้นแห่งการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่บนยอดดอยอินทนนท์ เริ่มจากถนนทอดตัวเป็นแนวยาวจากเชิงเขาสู่ยอดดอย มีโครงการต่างๆ เกิดขึ้นตามรายทางมากมายทำให้ต้องสร้างสำนักงานที่มั่นคงแข็งแรงไว้รองรับการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่และนักท่องเที่ยว ความสวยงามอันเป็นสากลใครๆ ก็อยากจะเชยชม ดอยอินทนนท์จึงปรากฏมีนักท่องเที่ยวมาเยือนมากขึ้นเรื่อยๆ ในแต่ละปี และชื่อของน้ำตกตาดก๊องโยงที่ชาวบ้านเรียกกันอย่างไม่เป็นทางการก็เปลี่ยนไป
เมื่อก่อนทางเข้าน้ำตกจะต้องเดินลงตามทางเดินซึ่งเป็นดินแดงเป็นขั้นๆ ทำไว้อย่างง่าย มีราวไม้เอาไว้เกาะพยุงตัว การเดินลงตามทางเพื่อไปชมความงามของน้ำตกนั้นค่อนข้างลำบาก ถ้าเป็นผู้เฒ่าผู้แก่หรือผู้ใหญ่ที่ไม่ค่อยได้ออกกำลังกายคงจะไม่สะดวกเดินเข้ามา ถ้าเทียบกับสถานที่ท่องเที่ยวข้างทางอื่นๆ ที่นี่จึงไม่ค่อยมีนักท่องเที่ยวมาเยือนมากนัก
แต่สำหรับฉันแล้ว... ที่นี่เปรียบเสมือนขุมพลังงานที่ฉันจะมาพักเติมแรงบันดาลใจเสมอยามเหน็ดเหนื่อยจากการเรียน ฉันมักจะมาพร้อมกับเจ้าสี่ขาหนึ่งตัว กระดาษ ปากกาและที่ขาดไม่ได้เลยคือเปลนอน แล้วก็เป็นธรรมเนียมที่รู้กันระหว่างคนกับหมา ว่าเจ้าสี่ขาจะต้องคอยเฝ้าระวังคนแปลกหน้ายามที่เจ้าของมันหลับใหลบนเปลนอน
บทกวีพรั่งพรูดั่งดอกไม้แย้มบาน ออกมาจากความฝัน หน้าที่ของกวีตัวน้อยคือการคิดคำนึงและเอามาปะติดปะต่ออีกที
ฉันฝันว่าตัวเองนั่งแต่งกลอนอยู่บนเปลนอน (ซึ่งก่อนเผลอหลับไปก็ยังขีดๆ เขียนๆ อยู่) ทั้งที่ตัวจริงเสียงจริงนั้นหลับไปแล้ว หลับอย่างมีความสุขและเมื่อตื่นขึ้นมารู้สึกว่าเสียงน้ำตกจะดังกึกก้องมากกว่าปกติ มีไอน้ำกระเซ็นมาเป็นระยะๆ ตามแรงลมแล้วทั้งเจ้าสี่ขาและเจ้าของก็จะเป็นหวัดอ่อนๆ ทั้งคู่
ตอนบ่ายสองของทุกวันที่มีแสงแดดสาดส่อง น้ำตกแห่งนี้จะปรากฏรุ้งงามตามละอองน้ำ สายน้ำไหลไปในทิศตะวันออกทำให้เกิดละอองน้ำกระเซ็นไปไกล สายแดดส่องมาจากทิศตะวันตกเมื่อกระทบกับละอองน้ำจะเห็นเป็นรุ้งตัวอ้วนสองชั้น อวดโฉมให้ผู้มาเยือนอย่างเราเป็นปลื้มอยู่นานสองนาน
ไม่ว่าฤดูไหนสายรุ้งจะยังคงอยู่ตราบใดที่ยังมีละอองน้ำ สายน้ำยังคงไหลเรื่อยไปไม่เคยแห้งเหือดตราบใดที่บนยอดดอยอินทนนท์ยังมีมอสและตะไคร่น้ำเกาะอยู่อย่างหนาแน่นคอยอุ้มน้ำและก่อให้เกิดเป็นสายน้ำใหญ่น้อย
ตอนนี้ดอยอินทนนท์เปลี่ยนไปมาก เมื่อก่อนฉันไม่เคยรู้จักกับแดดร้อนเปรี้ยงบนยอดดอย แต่ทว่าวันนี้ยามที่คุณมาเยือนดอยอินทนนท์ในฤดูร้อน คุณแทบจะไม่ได้ฟังเสียงลมเย็นๆ กระซิบข้างหูอย่างนุ่มนวล คุณแทบจะไม่ได้เห็นกลุ่มละอองเมฆที่ล้อมรอบตัวคุณ น้ำตกที่ฉันรักในฤดูแล้งแม้จะไม่ถึงกับแห้งเหือดแต่ก็ยังห่างไกลจากน้ำตกที่เด็กหญิงคนหนึ่งเคยมานอนเล่นรับละอองน้ำกับเจ้าสี่ขาเมื่อสิบกว่าปีที่แล้วมากนัก
ทุกวันนี้ ความรู้สึกชุ่มเย็นบนยอดดอยอินทนนท์ตั้งแต่ที่ทำการเป็นต้นไปหรือที่ความสูงราว 1600 เมตรจากระดับน้ำทะเลขึ้นไปจะสัมผัสได้เฉพาะฤดูกาลเท่านั้น เมฆหมอกหยอกเอินกับละอองฝน ในช่วงอากาศแปรปรวนบนยอดดอยตั้งแต่เดือนสิงหาคมไปจนถึงฤดูหนาวโดยเฉพาะเดือนมกราคม วันเวลาที่เหลือในช่วงปีจึงต้องปล่อยให้เป็นหน้าที่ของดวงอาทิตย์ที่สาดแสงร้อนแรง ไม่ใช่อาทิตย์ดวงเดิมที่เราต่างถวิลหาเพื่อขอแบ่งปันความอบอุ่นอีกเลย
น้ำตกแม่กลางบริเวณเชิงดอยอินทนนท์ในฤดูร้อน ลานหินของน้ำตกนั้นร้อนมาก ร้อนชนิดที่ว่าน้ำธรรมดาๆ ไหลผ่านคงได้กลายเป็นน้ำอุ่นแน่นอน น้ำตกแม่กลางจะกลายเป็นสายน้ำเล็กๆ ไม่ได้ดูสบายตาเหมือนภาพถ่ายเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวที่เห็นกันอยู่จนชินตา น้ำตกแม่ยะยิ่งแล้วใหญ่ จะเห็นเป็นเพียงชั้นหินที่ลดหลั่นกันไปเท่านั้น ไม่ได้มีสายน้ำกระเซ็นสีขาวบริสุทธิ์อย่างในรูปถ่ายเลย
มอสและตะไคร่น้ำบนลานหินที่น้ำตกตาดก๊องโยงแต่ก่อนเคยเป็นสีเขียวชอุ่ม บัดนี้ก็ยังคงเป็นเช่นนั้นเพียงแต่อาจจะลดจำนวนลงไปหรือเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลบ้างเพราะอากาศร้อนขึ้น รอให้ฟ้าฝนเป็นใจหรือรอให้ถึงฤดูกาลที่จะได้กลับมาชุ่มชื้นอย่างเต็มที่อีกครั้ง
เหล่านักท่องเที่ยวแวะมาชมความงามของน้ำตกมิขาดสายเพราะทางการตัดถนนเข้าถึงตัวน้ำตก มีร้านค้าหลายๆ ร้านไว้คอยบริการ มีอาหารที่เหมาะสมจำหน่ายแล้ว และมีเหมือนๆ กันทุกร้านอันได้แก่ข้าวเหนียว ไก่ย่าง ส้มตำเป็นหลัก ที่เห็นเป็นร้านเครื่องดื่มร้อนๆ คลายหนาวก็ดูเก๋ไก๋ไปกันได้กับบรรยากาศรอบๆ บริเวณน้ำตก
ไม่มีใครรู้หรอกว่าน้ำตกวชิรธารที่ใครๆ ก็รู้จักนั้นแต่เดิมชาวบ้านเรียกว่าน้ำตกตาดก๊องโยง ที่มีเจ้าสี่ขามานอนเฝ้าเจ้าของมันหลับอยู่บนเปลนอนเมื่อสิบกว่าปีมาแล้ว (ตอนนั้นราวๆ ปี 2540)
ตอนนี้เจ้าสี่ขาคงไปเกิดใหม่ที่ไหนซักแห่ง ส่วนเด็กคนนั้นก็คงไม่มีโอกาสไปผูกเปลนอนยังที่เดิมอีกเพราะต้นไม้สองต้นที่ใช้ผูกเปลแต่ก่อนนั้นถูกตัดไปแล้ว มีต้นหญ้าเขียวขจีมาแทนที่ ทุกอย่างเปลี่ยนไปตามวันเวลา
ฉันเพียงแต่คิดถึงบรรยากาศเดิมๆ คิดถึงต้นไม้สองต้นที่ใช้ผูกเปลนอน ฉันไม่ต่อต้านการเปลี่ยนแปลงอะไรเลย เพราะสิ่งที่ไม่เคยเปลี่ยนไปเลยคือฉันยังคงแวะไปน้ำตกวชิรธารบ่อยๆ เพราะอยู่ห่างบ้านฉันราวๆ 20 กิโลเมตรเท่านั้น
บางครั้ง ก็แค่แวะไปดื่มกาแฟ ห่อข้าวไปกินกลางวันแล้วก็กลับ บางทีก็เจอนกเอี้ยงถ้ำกึ่งบินกึ่งกระโดดไปมาอยู่แถวโขดหิน บางทีก็เจอเหยี่ยวบางชนิดบินอยู่แถวนั้น
ละอองน้ำปะทะใบหน้าแล้ว กลับบ้านได้ 😊
ปล. ปีนี้ (2564) ถ้าเปิดอช. ดอยอินทนนท์เมื่อไหร่จะไปถ่ายภาพปัจจุบันมาให้ชมนะคะ