โดย เมธากุล ชาบัญ นักศึกษาฝึกงานหอภาพยนตร์
“จริง ๆ ตอนนี้มันก็กลับมาอินเทรนด์อีกทีนะครับ ฟ้าทะลายโจรเนี่ย ตอนนี้เขาบอกว่ามันกันโควิดได้ (หัวเราะ)” วิศิษฏ์ ศาสนเที่ยง กล่าวติดตลกก่อนเริ่มการสนทนา ถึงแม้ว่าหัวข้อการสนทนาจะว่าด้วยวาระครบรอบ 20 ปีที่ ฟ้าทะลายโจร ได้รับเลือกให้ฉายที่เทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ในปี 2544 แต่อันที่จริงภาพยนตร์เรื่องนี้ได้ลงโรงฉายในไทยเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2543 ดังนั้นในปีนี้ ฟ้าทะลายโจร จึงมีอายุมากกว่า 20 ปี และก่อนที่จะได้ไปคานส์ ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้ไปฉายในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติแวนคูเวอร์เมื่อตุลาคม 2543 พร้อมกับ ดอกฟ้าในมือมาร ผลงานของ อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล
“พอหนังฉายแล้วก็กำลังเจ๊ง ผมก็บินไปแวนคูเวอร์เลย (หัวเราะ) ผมว่ามันคงจะประหลาดไปนิดหนึ่งสำหรับคนไทย หรืออาจจะดูว่ามันเชย มันเป็นหนังย้อนยุค ก็ไม่เป็นไร แล้วพอฉายสักพักผมก็ต้องไปแวนคูเวอร์แล้ว ก็เลยไม่ค่อยรับรู้ตัวเลขรายได้อะไรเท่าไหร่ แล้วพอกลับมาก็ทราบว่า มันเจ๊งมาก (หัวเราะ)” วิศิษฏ์ กล่าว ถึงแม้ว่าจะเป็นภาพยนตร์ร่วมรุ่นอย่าง นางนาก หรือ สตรีเหล็ก ที่ต่างก็ประสบความสำเร็จทางด้านรายได้สูง และทำให้บรรยากาศภาพยนตร์ไทยกลับมาคึกคักอีกครั้งจนต่อมาได้รับการขนานนามว่าเป็นคลื่นลูกใหม่ในช่วงทศวรรษที่ 2540 แต่ วิศิษฏ์ ก็หวังเพียงให้แรงกระเพื่อมเหล่านี้ส่งผลให้ ฟ้าทะลายโจร มีรายได้ในระดับเท่าทุนพอ ไม่ต้องทำเงินถึงขั้นนั้น
“ตอนนั้นก็เชื่อว่าหนังรสชาติแบบนี้คนไทยชอบ เป็นหนัง Melodrama ครบรส มีตลก มี Action คือพยายามทำตามขนบหนังไทยโบราณ แต่ปรากฏว่าคนดูคงรู้สึกว่ามันโบราณไปก็เลยไม่ดูกัน ก็รู้สึกผิดหวังตามสภาพของคนทำหนัง จะบอกว่าไม่หวังก็คงโกหก แต่พอตอนนี้ย้อนกลับมาดูก็รู้สึกสมควรแล้วที่จะเจ๊ง (หัวเราะ) พอแก่ตัวก็เริ่มเข้าใจว่าตอนนั้นมันก็บ้าพลังไปหน่อย (หัวเราะ)” วิศิษฏ์กล่าว
สำหรับแรงบันดาลใจในการสร้าง ฟ้าทะลายโจร วิศิษฏ์ เล่าว่าตนเติบโตมาในยุคหนัง 16 มม. และในตอนเด็ก ๆ ก็จะได้ดูหนังกลางแปลงซึ่งมักจะเป็นแบบคาวบอยไทย ที่มีพระเอกเป็น “เสือ” ผสมผสานกับความเป็นคาวบอย อันเกิดจากความนิยมภาพยนตร์คาวบอยจากตะวันตกในหมู่ชาวไทย ประกอบกับอิทธิพลจากนวนิยายของ ป. อินทรปาลิต อาทิ เสือใบ เสือดำ ดาวโจร “ผมไม่ได้เป็นต้นทาง แค่ไปเลียนแบบแล้วก็พยายามนำมันมาทำด้วยเทคนิคของปัจจุบันเท่านั้นเอง แต่ว่าวิธีของหนัง วิธีของการถ่ายทำ กระทั่งการแสดงที่บางคนก็รู้สึกว่าทำไมมันเล่นแข็งกันอย่างนี้ คือเราตั้งใจให้คล้ายหนังโบราณ ซึ่งความตั้งใจนี้มันก็เลยทำให้คนดูยุคนั้นรู้สึกว่ามันเป็นอะไรที่ประหลาดเกิน แต่ผมก็เข้าใจเขานะ ตัวผมเองก็อาจจะลุ่มหลงในหนังยุคนั้นมากเกินไป แล้วก็มีความอยากทดลองในเรื่องของศิลปะด้วย” วิศิษฏ์ กล่าว พร้อมกับยกเครดิตให้กับกิจกรรมของมูลนิธิหนังไทย “ทึ่ง! หนังไทย” ซึ่งเคยจัดขึ้นเมื่อราวปี 2538 ทำให้ตนได้มีโอกาสรับชมภาพยนตร์ไทยชั้นครูในอดีตจนนำมาสู่การสร้าง ฟ้าทะลายโจร
ชลิดา เอื้อบำรุงจิต ได้เล่าย้อนถึงกิจกรรม “ทึ่ง! หนังไทย” ซึ่งในขณะนั้นตนยังทำงานเป็นอาสาสมัครของหอภาพยนตร์ว่า เกิดจากการที่ Rank Film Laboratories ติดต่อมาว่ามีฟิล์มเนกาทีฟของภาพยนตร์ไทยค้างอยู่ที่นั่น เนื่องจากในสมัยนั้นมักนิยมส่งฟิล์มไปล้างที่อังกฤษ โดย โดม สุขวงศ์ ซึ่งเป็นผู้อำนวยการหอภาพยนตร์ในขณะนั้นได้นำฟิล์มที่ตกค้างอยู่กลับมายังประเทศไทย โดยมีทั้งภาพยนตร์จากละโว้ภาพยนตร์ ของพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ หนุมานภาพยนตร์ ของรัตน์ เปสตันยี และคันจราภาพยนตร์ ของเทวมิตร กุญชร ณ อยุธยา ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือเรื่อง สวรรค์มืด (2501) ที่กำกับโดย รัตน์ เปสตันยี เมื่อนำกลับมาแล้วก็เกิดความคิดว่าควรนำมาจัดฉาย เนื่องจากภาพยนตร์เหล่านี้มีน้อยคนที่ได้เคยรับชมในโรง
“ตอนเราเรียนเราก็ไม่ค่อยประทับใจในหนังไทย เพราะไม่ค่อยมีให้ดูเท่าไหร่ มีแต่หนังทั่ว ๆ ไป แต่พออันนี้ก็ทำให้เรารู้สึกว่า หนังไทยก็มีครูเหมือนกันนะ มี Master แล้วมันก็ทำให้เราอยากทำงานอนุรักษ์ แล้วมันก็สำคัญนะ กับการที่คนจะได้ดูหนังในแบบที่มันควรจะเป็น อย่างตัวเองที่ได้ค้นพบว่าพอมาดู Copy สวย ๆ หรือแม้แต่หนังขาว-ดำ อย่าง โรงแรมนรก (2500) พอเรามาดูก็รู้สึกว่ามันมีอะไรที่น่าสนใจเยอะมาก” ชลิดา กล่าว
“โรงแรมนรก นี่ Master มากจริง ๆ” วิศิษฏ์ เสริม “มันสนุกมาก คือได้ยินชื่อภาพยนตร์เรื่องนี้จาก อ.กิตติศักดิ์ สุวรรณโภคิน เคยเขียนถึง แล้วเราก็ไม่เคยเห็นหนังจนกระทั่งได้เห็นจากเทศกาล ทึ่ง! หนังไทย แล้วก็เป็นแรงบันดาลใจมาก รู้สึกว่าเรามีคนระดับครู ระดับ Master อย่างคุณรัตน์ เปสตันยี แล้วเราไม่รู้จักได้อย่างไร เราโกรธตัวเองว่า เอ๊ะ เรารู้จักคนทำหนังระดับโลกทั้งหมด แต่เรากลับไม่รู้จักคนของเราเอง ซึ่งซุกซ่อนอยู่ แล้วคนส่วนใหญ่ก็ไม่รู้จักด้วย” วิศิษฏ์ ได้เล่าต่อไปว่าหลังจากนั้นจึงได้ไปค้นคว้าประวัติของ รัตน์ กับหอภาพยนตร์ทำให้ได้พบว่า นอกจากการเป็นคนทำภาพยนตร์ไทยแล้ว รัตน์ ยังเป็นผู้ที่อุทิศชีวิตให้กับวงการภาพยนตร์ไทยด้วย และเมื่อตนได้สร้าง ฟ้าทะลายโจร จึงได้อุทิศภาพยนตร์เรื่องนี้แด่ รัตน์ ดังข้อความที่ปรากฏในช่วงท้ายของภาพยนตร์
รัตน์ เปสตันยี (ขวาสุด) ในงานประชุมสมาคมผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ไทย วันที่ 17 สิงหาคม 2513
ในแง่มุมของกระบวนการสร้าง วิศิษฏ์ เปิดเผยว่า ฟ้าทะลายโจร ถ่ายทำด้วยฟิล์มเหมือนกับภาพยนตร์ทั่ว ๆ ไป เพียงแต่การทำสีภาพที่มีความจำเป็นต้องทำมากกว่าเทคนิคทาง Lab ตามปกติ แต่เนื่องด้วยตนเคยทำงานโฆษณามาก่อนจึงไม่ใช่ปัญหา จึงใช้วิธีเดียวกันกับการทำโฆษณาเพื่อฉายในโรงภาพยนตร์ คือการนำฟิล์มมาแปลงเป็นดิจิทัลเพื่อทำการ Color grading แล้วแปลงกลับมาเป็นฟิล์มอีกครั้ง ซึ่งในครั้งนั้นทำที่ออสเตรเลียเนื่องจากที่ไทยยังไม่ได้คุณภาพที่ดีพอ โดยผู้ที่ทำการ Color grading คือ ออกไซด์ แปง ซึ่งต้นแบบของสีที่ปรากฏในภาพยนตร์ก็ได้รับแรงบันดาลใจมาจากภาพยนตร์ไทยในอดีตจาก ทึ่ง! หนังไทย
ไม่เพียงแต่สีเท่านั้น หลังจากที่ วิศิษฏ์ ได้รับชมภาพยนตร์ใน ทึ่ง! หนังไทย ก็เกิดความมุ่งมั่นในการศึกษารายละเอียดต่าง ๆ ของงานสร้างภาพยนตร์ไทยในอดีตเพื่อนำมาใช้ในงานของตน เช่น การจัดแสง “เรียกได้ว่านางเอกตาแทบบอด เพราะเราจัดไฟเหมือนสมัยก่อนมาก สุมไฟเข้าไป แล้วหนังสมัยก่อนเขาจะให้นางเอกตาสวยหยาดเยิ้มมาก ก็จะมีไฟอีกดวงหนึ่งคอยจี้ที่ดวงตา ซึ่งจะสวยมากแต่นักแสดงทรมานมาก พอสั่งคัตปุ๊บ! แกน้ำตาเล็ดออกมาเลย” วิศิษฏ์ กล่าว หรือแม้กระทั่งตัวนางเอก วิศิษฏ์ ก็ต้องการนักแสดงที่มีรูปลักษณ์คล้ายกับนางเอกเรื่อง แพรดำ (2504) ของรัตน์ ซึ่งก็ได้ สเตลล่า มาลูกี้ มาแสดง
(ซ้าย) รัตนาวดี รัตนาพันธ์ จากภาพยนตร์เรื่อง แพรดำ
(ขวา) สเตลล่า มาลูกี้ จากภาพยนตร์เรื่อง ฟ้าทะลายโจร
ตลอดจนการประชาสัมพันธ์ วิศิษฏ์ ยังได้นำแนวทางของภาพยนตร์ไทยในอดีตมาใช้ อาทิ การแต่งนิยายเรื่อง ฟ้าทะลายโจร โดย ศ. จินดาวงศ์ (ศิริพรรณ เตชจินดาวงศ์) ภรรยาของตน ซึ่งก็ตั้งใจแต่งนามปากกาให้เหมือนกับนักเขียนในอดีต และ การทำละครวิทยุทาง Fat Radio เนื่องจากภาพยนตร์ไทยในอดีตมักจะมีสิ่งเหล่านี้ออกพร้อม ๆ กันไปด้วย นอกจากนี้ยังมีการประชาสัมพันธ์โดยรถแห่ การทำโชว์การ์ด และการทำโปสเตอร์โดย เปี๊ยก โปสเตอร์ ตำนานแห่งผู้รังสรรค์ใบปิดภาพยนตร์ไทย และที่พิเศษขึ้นมาอีกคือ ฟ้าทะลายโจร มีการออกแบบฟอนต์เป็นของตนเองชื่อว่า SR FahtalaiJone NP โดย โรจ สยามรวย
สำหรับก้าวสำคัญของ ฟ้าทะลายโจร คือการที่ได้รับการคัดเลือกให้ไปฉายในเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ ซึ่งถือเป็นภาพยนตร์ไทยเรื่องแรกที่ได้รับเกียรตินี้ ก้อง ฤทธิ์ดี เล่าถึงกระแสตอบรับในครั้งนั้นว่าพอไปในบริบทต่างประเทศ ฟ้าทะลายโจร ได้รับการนิยามว่าเป็นภาพยนตร์ “โพสต์โมเดิร์น” ซึ่งเป็นคำใหม่ในยุคนั้น และได้รับการเขียนถึงเยอะมากผ่านช่องทางต่าง ๆ เช่น นิตยสารภาพยนตร์สำนักต่าง ๆ และเป็นที่แน่นอนว่าคนเหล่านั้นย่อมไม่รู้จัก รัตน์ เปสตันยี ตลอดจนภาพยนตร์ไทยในอดีต Gone with the Wind (2482) จึงมักถูกนำมาเปรียบเทียบ และหยิบยกขึ้นมาว่าเป็นแรงบันดาลใจของ วิศิษฏ์ ตลอดจนหนังตระกูล Spaghetti Western หรือภาพยนตร์คาวบอยยุโรป นอกจากนี้ ยังมีความพยายามประดิษฐ์คำขึ้นมาเพื่ออธิบายคุณลักษณะของภาพยนตร์เรื่องนี้ อย่าง Spaghetti Mekhong หรือ Pad Thai Western ซึ่งก็แสดงให้เห็นว่าการรับรู้ภาพยนตร์เรื่องนี้ในหมู่คนดูชาวต่างชาติมีความแตกต่างกับชาวไทยและน่าสนใจมาก ที่ทั้งหมดล้วนนำมาเชื่อมโยงเข้ากับประวัติศาสตร์ภาพยนตร์
“ถ้าเขาเปรียบเทียบกับ Gone with the Wind เปรียบเทียบกับหนังคาวบอยยุโรปอย่างนี้ มันแปลว่า เขาเห็นว่าภาพยนตร์มันเดินทางไปเรื่อย ๆ มันมีคนใหม่มา แต่ว่าอิทธิพลหรือมรดกของหนังที่สร้างไว้แต่เก่าแก่มันก็ส่งผลมาถึงคนทำหนังรุ่นใหม่ แล้วก็กระจายไปทั่วโลกด้วย” ก้อง กล่าว
ฟ้าทะลายโจรรำลึก จากทึ่ง! หนังไทย สู่ภาพยนตร์ไทยเรื่องแรกที่ได้ไปคานส์
“จริง ๆ ตอนนี้มันก็กลับมาอินเทรนด์อีกทีนะครับ ฟ้าทะลายโจรเนี่ย ตอนนี้เขาบอกว่ามันกันโควิดได้ (หัวเราะ)” วิศิษฏ์ ศาสนเที่ยง กล่าวติดตลกก่อนเริ่มการสนทนา ถึงแม้ว่าหัวข้อการสนทนาจะว่าด้วยวาระครบรอบ 20 ปีที่ ฟ้าทะลายโจร ได้รับเลือกให้ฉายที่เทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ในปี 2544 แต่อันที่จริงภาพยนตร์เรื่องนี้ได้ลงโรงฉายในไทยเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2543 ดังนั้นในปีนี้ ฟ้าทะลายโจร จึงมีอายุมากกว่า 20 ปี และก่อนที่จะได้ไปคานส์ ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้ไปฉายในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติแวนคูเวอร์เมื่อตุลาคม 2543 พร้อมกับ ดอกฟ้าในมือมาร ผลงานของ อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล
“ตอนนั้นก็เชื่อว่าหนังรสชาติแบบนี้คนไทยชอบ เป็นหนัง Melodrama ครบรส มีตลก มี Action คือพยายามทำตามขนบหนังไทยโบราณ แต่ปรากฏว่าคนดูคงรู้สึกว่ามันโบราณไปก็เลยไม่ดูกัน ก็รู้สึกผิดหวังตามสภาพของคนทำหนัง จะบอกว่าไม่หวังก็คงโกหก แต่พอตอนนี้ย้อนกลับมาดูก็รู้สึกสมควรแล้วที่จะเจ๊ง (หัวเราะ) พอแก่ตัวก็เริ่มเข้าใจว่าตอนนั้นมันก็บ้าพลังไปหน่อย (หัวเราะ)” วิศิษฏ์กล่าว
สำหรับแรงบันดาลใจในการสร้าง ฟ้าทะลายโจร วิศิษฏ์ เล่าว่าตนเติบโตมาในยุคหนัง 16 มม. และในตอนเด็ก ๆ ก็จะได้ดูหนังกลางแปลงซึ่งมักจะเป็นแบบคาวบอยไทย ที่มีพระเอกเป็น “เสือ” ผสมผสานกับความเป็นคาวบอย อันเกิดจากความนิยมภาพยนตร์คาวบอยจากตะวันตกในหมู่ชาวไทย ประกอบกับอิทธิพลจากนวนิยายของ ป. อินทรปาลิต อาทิ เสือใบ เสือดำ ดาวโจร “ผมไม่ได้เป็นต้นทาง แค่ไปเลียนแบบแล้วก็พยายามนำมันมาทำด้วยเทคนิคของปัจจุบันเท่านั้นเอง แต่ว่าวิธีของหนัง วิธีของการถ่ายทำ กระทั่งการแสดงที่บางคนก็รู้สึกว่าทำไมมันเล่นแข็งกันอย่างนี้ คือเราตั้งใจให้คล้ายหนังโบราณ ซึ่งความตั้งใจนี้มันก็เลยทำให้คนดูยุคนั้นรู้สึกว่ามันเป็นอะไรที่ประหลาดเกิน แต่ผมก็เข้าใจเขานะ ตัวผมเองก็อาจจะลุ่มหลงในหนังยุคนั้นมากเกินไป แล้วก็มีความอยากทดลองในเรื่องของศิลปะด้วย” วิศิษฏ์ กล่าว พร้อมกับยกเครดิตให้กับกิจกรรมของมูลนิธิหนังไทย “ทึ่ง! หนังไทย” ซึ่งเคยจัดขึ้นเมื่อราวปี 2538 ทำให้ตนได้มีโอกาสรับชมภาพยนตร์ไทยชั้นครูในอดีตจนนำมาสู่การสร้าง ฟ้าทะลายโจร
ชลิดา เอื้อบำรุงจิต ได้เล่าย้อนถึงกิจกรรม “ทึ่ง! หนังไทย” ซึ่งในขณะนั้นตนยังทำงานเป็นอาสาสมัครของหอภาพยนตร์ว่า เกิดจากการที่ Rank Film Laboratories ติดต่อมาว่ามีฟิล์มเนกาทีฟของภาพยนตร์ไทยค้างอยู่ที่นั่น เนื่องจากในสมัยนั้นมักนิยมส่งฟิล์มไปล้างที่อังกฤษ โดย โดม สุขวงศ์ ซึ่งเป็นผู้อำนวยการหอภาพยนตร์ในขณะนั้นได้นำฟิล์มที่ตกค้างอยู่กลับมายังประเทศไทย โดยมีทั้งภาพยนตร์จากละโว้ภาพยนตร์ ของพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ หนุมานภาพยนตร์ ของรัตน์ เปสตันยี และคันจราภาพยนตร์ ของเทวมิตร กุญชร ณ อยุธยา ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือเรื่อง สวรรค์มืด (2501) ที่กำกับโดย รัตน์ เปสตันยี เมื่อนำกลับมาแล้วก็เกิดความคิดว่าควรนำมาจัดฉาย เนื่องจากภาพยนตร์เหล่านี้มีน้อยคนที่ได้เคยรับชมในโรง
“โรงแรมนรก นี่ Master มากจริง ๆ” วิศิษฏ์ เสริม “มันสนุกมาก คือได้ยินชื่อภาพยนตร์เรื่องนี้จาก อ.กิตติศักดิ์ สุวรรณโภคิน เคยเขียนถึง แล้วเราก็ไม่เคยเห็นหนังจนกระทั่งได้เห็นจากเทศกาล ทึ่ง! หนังไทย แล้วก็เป็นแรงบันดาลใจมาก รู้สึกว่าเรามีคนระดับครู ระดับ Master อย่างคุณรัตน์ เปสตันยี แล้วเราไม่รู้จักได้อย่างไร เราโกรธตัวเองว่า เอ๊ะ เรารู้จักคนทำหนังระดับโลกทั้งหมด แต่เรากลับไม่รู้จักคนของเราเอง ซึ่งซุกซ่อนอยู่ แล้วคนส่วนใหญ่ก็ไม่รู้จักด้วย” วิศิษฏ์ ได้เล่าต่อไปว่าหลังจากนั้นจึงได้ไปค้นคว้าประวัติของ รัตน์ กับหอภาพยนตร์ทำให้ได้พบว่า นอกจากการเป็นคนทำภาพยนตร์ไทยแล้ว รัตน์ ยังเป็นผู้ที่อุทิศชีวิตให้กับวงการภาพยนตร์ไทยด้วย และเมื่อตนได้สร้าง ฟ้าทะลายโจร จึงได้อุทิศภาพยนตร์เรื่องนี้แด่ รัตน์ ดังข้อความที่ปรากฏในช่วงท้ายของภาพยนตร์