สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 7
ขอแสดงความเห็นสักหน่อยในฐานะคนที่อยู่ในวงการการศึกษา เพราะหลายท่านเข้าใจคำว่า "การศึกษาภาคบังคับ" ผิดไป แต่ที่จะกล่าวต่อไปนี้ คนละประเด็นกับเรื่องของ "คุณภาพการศึกษาภาคบังคับในประเทศไทย" จึงขอให้แยกแยะ
การศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือจะเรียกการศึกษาภาคบังคับก็ได้ เป็นระบบการศึกษาเพื่อ "เตรียมมนุษย์เข้าสู่สังคม" เป็นการทำคนให้พร้อม เปลี่ยนเด็กให้เป็นผู้ใหญ่ เพื่อออกไปประกอบการงานสร้างคุณค่าให้แก่สังคมประเทศชาติ มุ่งพัฒนามิใช่แต่ความรู้เพียงอย่างเดียวแต่หมายรวมถึงการเข้าสังคมและการอยู่ร่วมกับคนหมู่มากด้วย ซึ่งนั่นคือสิ่งปกติที่เขาจะต้องไปเจอในชีวิตจริง
ให้เปรียบเหมือนการสร้างบ้าน ที่ต้องลงรากฐานให้มั่นคงแข็งแรง เพื่อที่ในอนาคตการต่อเติมบ้านจะได้ไม่ทรุดพังภายหลัง ไม่ต้องรื้อฐานรากใหม่ เพื่อต่อเติมเป็นสองชั้น เปรียบกับการศึกษาภาคบังคับ ที่มีความจำเป็นต้องปูพื้นฐานองค์ "ความรู้ทั่วไป" เพื่อที่จะให้เด็กไปต่อยอดได้ในอนาคต
ไม่มีใครสร้างบ้านโดยไม่ปรับที่ดิน ไม่มีใครขึ้นโครงหากไม่ลงเสาเข็ม
ฉะนั้น การจะให้เด็ก ซึ่งยังขาดวุฒิภาวะและประสบการณ์ ตัดสินใจเลือกทางเดินชีวิตเสียตั้งแต่ยังเล็ก อาจกลายเป็นพ่อแม่รังแกฉันได้ ถ้าในอนาคตความคิดของเขาเปลี่ยน เขาอยากเลือกทางเดินชีวิตใหม่ มันจะเป็นเรื่องยากลำบากสำหรับเขา ที่ต้องไปเริ่มต้นกับเรื่องพื้นฐานในวัยที่ควรจะต่อยอด กลายเป็นว่าการส่งเสริมเขาในตอนเด็กด้วยวุฒิภาวะที่ยังไม่พร้อม กลายเป็นสิ่งที่ขัดขวางความเจริญก้าวหน้าของเขาในอนาคตได้
นอกจากนี้ การเข้าสังคมโรงเรียน เพื่อเรียนรู้ร่วมการอยู่ร่วมกับคนหมู่มากเป็นสิ่งจำเป็นของกระบวนการพัฒนา EQ, MQ
ท่านลองถามตัวท่านเองดูก็ได้ว่าตั้งแต่เด็กยันโตความคิดเปลี่ยนไปตามอายุใช่หรือไม่ แต่ทุกอย่างมีข้อยกเว้น เรากำลังพูดถึงวิถีของคนปกติทั่วไป การ home school หรือเลือกเรียนเฉพาะทางตั้งแต่ยังเด็ก เป็นกรณีพิเศษ อาจไม่ใช่เรื่องที่ชนชั้นรากหญ้า หรือชนชั้นกลางทั่วไปจะกระทำได้ ดังนั้น การศึกษาภาคบังคับจึงยังมีความจำเป็นอยู่
จากเหตุดังกล่าว จึงยังต้องมีระดับการศึกษาที่มากกว่าขั้นพื้นฐาน เพื่อให้คนที่ถูกเตรียมพร้อมมาจากระดับพื้นฐาน สามารถยกระดับความรู้ความสามารถและทักษะของตนเองในสิ่งชอบ "ในเวลาที่ใช่" ด้วยวัยวุฒิและวุฒิภาวะที่พร้อมจะเลือกทางเดินของชีวิตตนเอง ที่เรารู้จักกันในนาม "อุดมศึกษา" ยังไงหละครับ
เพราะฉะนั้น ขอให้ท่านตระหนักว่า ความรู้ วิทยาการ และศาสตร์ต่าง ๆ ที่ได้เล่าเรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานนั้น คือ ความรู้ทั่วไปที่จำเป็นต้องใช้ในการประกอบสัมมาอาชีพในอนาคต มิใช่สิ่งที่เกินไป หรือไกลตัวแต่อย่างใด
ป.ล. ใช่ครับ ความสำเร็จในชีวิตไม่จำเป็นต้องพึ่งการศึกษาก็ได้ หลายคนที่ประสบความสำเร็จร่ำรวยอยู่ตอนนี้ อาจไม่ได้มีการศึกษาดี แต่ท่านทำได้อย่างเขาหรือไม่นั่นอีกเรื่อง
การศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือจะเรียกการศึกษาภาคบังคับก็ได้ เป็นระบบการศึกษาเพื่อ "เตรียมมนุษย์เข้าสู่สังคม" เป็นการทำคนให้พร้อม เปลี่ยนเด็กให้เป็นผู้ใหญ่ เพื่อออกไปประกอบการงานสร้างคุณค่าให้แก่สังคมประเทศชาติ มุ่งพัฒนามิใช่แต่ความรู้เพียงอย่างเดียวแต่หมายรวมถึงการเข้าสังคมและการอยู่ร่วมกับคนหมู่มากด้วย ซึ่งนั่นคือสิ่งปกติที่เขาจะต้องไปเจอในชีวิตจริง
ให้เปรียบเหมือนการสร้างบ้าน ที่ต้องลงรากฐานให้มั่นคงแข็งแรง เพื่อที่ในอนาคตการต่อเติมบ้านจะได้ไม่ทรุดพังภายหลัง ไม่ต้องรื้อฐานรากใหม่ เพื่อต่อเติมเป็นสองชั้น เปรียบกับการศึกษาภาคบังคับ ที่มีความจำเป็นต้องปูพื้นฐานองค์ "ความรู้ทั่วไป" เพื่อที่จะให้เด็กไปต่อยอดได้ในอนาคต
ไม่มีใครสร้างบ้านโดยไม่ปรับที่ดิน ไม่มีใครขึ้นโครงหากไม่ลงเสาเข็ม
ฉะนั้น การจะให้เด็ก ซึ่งยังขาดวุฒิภาวะและประสบการณ์ ตัดสินใจเลือกทางเดินชีวิตเสียตั้งแต่ยังเล็ก อาจกลายเป็นพ่อแม่รังแกฉันได้ ถ้าในอนาคตความคิดของเขาเปลี่ยน เขาอยากเลือกทางเดินชีวิตใหม่ มันจะเป็นเรื่องยากลำบากสำหรับเขา ที่ต้องไปเริ่มต้นกับเรื่องพื้นฐานในวัยที่ควรจะต่อยอด กลายเป็นว่าการส่งเสริมเขาในตอนเด็กด้วยวุฒิภาวะที่ยังไม่พร้อม กลายเป็นสิ่งที่ขัดขวางความเจริญก้าวหน้าของเขาในอนาคตได้
นอกจากนี้ การเข้าสังคมโรงเรียน เพื่อเรียนรู้ร่วมการอยู่ร่วมกับคนหมู่มากเป็นสิ่งจำเป็นของกระบวนการพัฒนา EQ, MQ
ท่านลองถามตัวท่านเองดูก็ได้ว่าตั้งแต่เด็กยันโตความคิดเปลี่ยนไปตามอายุใช่หรือไม่ แต่ทุกอย่างมีข้อยกเว้น เรากำลังพูดถึงวิถีของคนปกติทั่วไป การ home school หรือเลือกเรียนเฉพาะทางตั้งแต่ยังเด็ก เป็นกรณีพิเศษ อาจไม่ใช่เรื่องที่ชนชั้นรากหญ้า หรือชนชั้นกลางทั่วไปจะกระทำได้ ดังนั้น การศึกษาภาคบังคับจึงยังมีความจำเป็นอยู่
จากเหตุดังกล่าว จึงยังต้องมีระดับการศึกษาที่มากกว่าขั้นพื้นฐาน เพื่อให้คนที่ถูกเตรียมพร้อมมาจากระดับพื้นฐาน สามารถยกระดับความรู้ความสามารถและทักษะของตนเองในสิ่งชอบ "ในเวลาที่ใช่" ด้วยวัยวุฒิและวุฒิภาวะที่พร้อมจะเลือกทางเดินของชีวิตตนเอง ที่เรารู้จักกันในนาม "อุดมศึกษา" ยังไงหละครับ
เพราะฉะนั้น ขอให้ท่านตระหนักว่า ความรู้ วิทยาการ และศาสตร์ต่าง ๆ ที่ได้เล่าเรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานนั้น คือ ความรู้ทั่วไปที่จำเป็นต้องใช้ในการประกอบสัมมาอาชีพในอนาคต มิใช่สิ่งที่เกินไป หรือไกลตัวแต่อย่างใด
ป.ล. ใช่ครับ ความสำเร็จในชีวิตไม่จำเป็นต้องพึ่งการศึกษาก็ได้ หลายคนที่ประสบความสำเร็จร่ำรวยอยู่ตอนนี้ อาจไม่ได้มีการศึกษาดี แต่ท่านทำได้อย่างเขาหรือไม่นั่นอีกเรื่อง
แสดงความคิดเห็น
ทำไมการศึกษาไทยถึงต้องนำเรื่องที่ไม่ได้ใช้ในชีวิตจริงเข้ามาสอนเหรอครับ