คิดว่าสังคมไทย ทุกวันนี้ยังต้องการคนจบปริญญา มากมายกันอยู่ไหมครับ

สังคมไทย ถ้าเป็นสักเมื่อ 30-40 ปีก่อน
คนภาคใต้ กับกรุงเทพฯ คนไทยเชื้อสายจีน ส่วนใหญ่จะได้เรียนจบปริญญาตรีกันมากกว่าคนภาคอื่นๆ
ซึ่งสมัยนั้น คนเหนือ อีสาน กลาง ส่วนใหญ่มักจะทำงานเกษตรกร ใช้แรงงาน น้อยคนที่จะได้เรียนจบปริญญาตรี

ตั้งแต่มีระบบการกู้ยืม กยศ. ตั้งแต่ปี 2540 เป็นต้นมา เด็กไทยหลายๆคนก็สามารถเรียนปริญญาตรีกันได้
จนทำให้ทุกวันนี้นี้ เด็กไทยรุ่นใหม่ทั้งคนเหนือ อีสาน กลาง ใต้ ทุกชนชั้นในสังคม
สามารถเรียนจบปริญญาตรีกันได้ หลายๆคนก็ทำงานพาร์ทไทม์ช่วยแบ่งเบาภาระพ่อแม่อะไรก็ว่ากันไป

แต่ที่ผมเห็นมาคือ
ปัจจุบันนี้ บริษัทเล็กๆตามต่างจังหวัด ตำแหน่งงานระดับกลาง พวก บัญชี IT ธุรการ หลายแห่งเงินเดือนยังน้อยอยู่เยอะ ไม่แปลกเลยที่เด็กจบใหม่ส่วนใหญ่จะไปหางานทำกันที่กรุงเทพ กับตัวเมืองใหญ่ๆ

และที่ผมเห็นมาคือ
อาชีพ รปภ. หนุ่มสาวโรงงานในนิคมอุตสาหกรรม (วุฒิ ม.3/ม.6/ปวช.) รายได้ต่อเดือนได้เยอะกว่า ครูอัตราจ้าง พนักงานออฟฟิศหลายตำแหน่งซะอีก

ทุกวันนี้ คนจบปริญญาตรีกันเยอะมาก
จนทำให้ประเทศไทยมีอัตราเด็กจบใหม่แล้วตกงานกันสูง

สาขาที่ทุกวันนี้ จบไปแทบไม่มีทางตกงานเลย
ที่เห็นก็ สายแพทย์ พยาบาล วิทย์เคมี วิทย์สุขภาพ วิศวะ ช่าง(ปวช./ปวส.)
ซึ่งสายสาขานี้ เด็กไทยเลือกเรียนกันน้อยมากๆ
เห็นหลายคนเรียนต่อสายสาขานี้ แต่กลับซิ่วออกกันก็เยอะมากพอสมควรเลย

ผมเคยทำงานพาร์ทไทม์ร้านอาหารแห่งหนึ่ง พนักงานครัว มี 2 คนเลยที่จบวุฒิ ป.ตรี
เขาเล่าให้ฟังว่า จบ ป.ตรี สายบริหาร จบมาทำงานธุรการแห่งหนึ่งในกรุงเทพ แต่เงินเดือนได้น้อยมากๆ จนตัดสินใจมาเป็นพนักงานครัว ทำงานร่วมกับคนจบ ม.6/ม.3 เขาบอกว่าเงินเดือนรวม service charge เกือบ 2 หมื่นเลย
พี่เขาก็เลยตัดสินใจมาทำงานเป็นพนักงานครัวในร้านอาหารตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

ประเด็นก็คือ.....คิดว่าสังคมไทย ทุกวันนี้ยังต้องการคนจบปริญญา มากมายกันอยู่ไหมครับ
แก้ไขข้อความเมื่อ

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่