เตือนไทยดึงดันเปิดประเทศ เสี่ยงสูง อย่าหวังพึ่ง ลิซ่า โปรโมตท่องเที่ยว
https://www.thairath.co.th/scoop/theissue/2218585
การจะเปิดประเทศไม่ให้เกิดความเสี่ยง ควรต้องฉีดวัคซีนครบ 2 เข็ม ให้กับประชาชนจำนวน 50 ล้านคน หรือ 70% ของประชากร โดยตั้งแต่ 28 ก.พ.-12 ต.ค. 2564 มีผู้ได้รับวัคซีนครบ 2 เข็ม 24,282,686 ราย เหลือเวลาอีก 19 วัน จะเปิดประเทศ หรือภายในสิ้นปี 2564 ตามเป้าที่รัฐบาลตั้งไว้
ก่อนหน้านี้ประเทศเพื่อนบ้านของไทย อย่างสิงคโปร์ เป็นประเทศแรกในอาเซียน เดินหน้าฟื้นฟูประเทศให้กลับมาเป็นศูนย์กลางการบินอีกครั้ง และเข้าสู่วิถีปกติใหม่ในการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับโควิด ในการเปิดประเทศตั้งแต่วันที่ 19 ต.ค.นี้เป็นต้นไป เฉพาะนักท่องเที่ยวที่ฉีดวัคซีนครบโดสแล้ว จาก 8 ประเทศเสี่ยงต่ำ โดยไม่ต้องกักตัว
ส่วนมาเลเซีย ได้ผ่อนปรนมาตรการเปิดให้ประชาชนเดินทางระหว่างรัฐ และออกนอกประเทศได้ตั้งแต่วันที่ 11 ต.ค. หลังจากประชาชนวัยผู้ใหญ่ได้รับการฉีดวัคซีนครบโดสแล้ว 90% และยังคงให้ผู้เดินทางจากต่างประเทศกักตัวเป็นเวลา 14 วัน
ขณะที่เวียดนาม มีแผนเปิดรับนักท่องเที่ยวที่ฉีดวัคซีนแล้ว จากประเทศเสี่ยงต่ำ ตั้งแต่เดือน ธ.ค.นี้ และตั้งเป้าจะเปิดประเทศอย่างเต็มตัวในเดือน มิ.ย.ปีหน้า เช่นเดียวกับอินโดนีเซียเปิดรับนักท่องเที่ยว เช่น จีน นิวซีแลนด์ และญี่ปุ่น ให้มาเที่ยวเกาะบาหลี ตั้งแต่วันที่ 14 ต.ค. แต่ต้องกักตัว 8 วัน
ดูเหมือนว่าหลายประเทศจะต้องอยู่ร่วมกับโควิดให้ได้ พร้อมการเดินหน้าเปิดประเทศ เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ แต่ได้มีแพทย์และนักวิชาการออกมาคัดค้านการเปิดประเทศอย่างต่อเนื่อง เพราะเกรงว่าจะได้ไม่คุ้มเสีย หากมีคนติดเชื้อเพิ่มขึ้น
ยกบทเรียนชิลี-เดนมาร์ก คนติดเชื้อโควิดพุ่ง
“รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์” คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หยิบยกกรณีประเทศชิลีและเดนมาร์คมาเป็นบทเรียน ซึ่งมีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นสูงอย่างต่อเนื่อง ภายหลังชิลีมีการปลดล็อกและเปิดการเดินทางระหว่างประเทศตั้งแต่ 1 ต.ค.ที่ผ่านมา ส่วนเดนมาร์กเปิดเสรีการใช้ชีวิตตั้งแต่ต้นเดือน ก.ย.เป็นต้นมา พบว่าในระยะเวลาประมาณ 3 สัปดาห์ จำนวนผู้ติดเชื้อต่อวันของทั้งสองประเทศสูงขึ้น โดยชิลีเคยมีอัตราต่ำสุด 0.8% เพิ่มขึ้นเป็น 1.3% ขณะที่เดนมาร์กเคยต่ำสุดที่ 0.9% เพิ่มขึ้นเป็น 1.4%
เมื่อเทียบกับไทย กำลังจะเปิดประเทศ มีผู้ติดเชื้อระดับหมื่นคนต่อวัน และยังไม่รวมการตรวจ ATK หากเป็นแบบเดียวกับชิลีและเดนมาร์ก คาดการณ์ได้ว่าจำนวนผู้ติดเชื้อต่อวันจะสูงจากหมื่นคน เป็น 2 หมื่นคน และ 4 หมื่นคน อย่างต่อเนื่องทุก 3 สัปดาห์ หากควบคุมไม่อยู่
“รายงานของ Our world in data เมื่อ ก.ย.ที่ผ่านมา ไทยพบผู้ติดเชื้อราว 20-25% สูงกว่าชิลีและเดนมาร์กอย่างมาก อาจถีบตัวสูงไปถึง 32-40% ในเวลา 3 สัปดาห์ หรืออาจเร็วและแรงกว่านั้นก็เป็นได้ หากการระบาดหนักหน่วงปะทุขึ้นมา และระบบตรวจคัดกรองทำได้น้อย ไม่มากพอ ก็จะยากที่จะหยุดยั้ง คุมไม่ได้”
นอกจากนี้ ชิลี และเดนมาร์ก มีการฉีดวัคซีนครบโดสครอบคลุมประชากรกว่า 70% ของประเทศ ตั้งแต่เดือน ส.ค. ก่อนปลดล็อก หรือให้เดินทางท่องเที่ยว ขณะที่ไทย มีอัตราการฉีดครบโดสประมาณครึ่งหนึ่งของทั้ง 2 ประเทศ ทั้งๆ ที่การฉีดวัคซีนจะลดโอกาสการเจ็บป่วย และเสียชีวิต แต่ไทยฉีดวัคซีนน้อยกว่าชิลีและเดนมาร์ก ซึ่งการเปิดประเทศจะนำความเสี่ยงสูงในการระบาดซ้ำรุนแรงมากกว่าอย่างแน่นอน
ฉีดวัคซีนครบโดส กระจายให้ทั่ว ก่อนเปิดประเทศ
ขณะที่ ดร.
นณริฏ พิศลยบุตร นักวิชาการอาวุโส สถาบันการวิจัยเพื่อพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ย้ำว่า สิ่งที่ควรทำในทางวิชาการก่อนการเปิดประเทศ จะต้องฉีดวัคซีนให้ครบโดสอย่างน้อย 60-70% ของประชากรสอดคล้องกับต่างประเทศที่ได้ทำ ทั้งสหราชอาณาจักร ประเทศแถบยุโรป หรือญี่ปุ่น เพื่อให้ประชากรจำนวนมากได้รับวัคซีน เพื่อจะได้เจ็บป่วย และเสียชีวิตน้อยลง
“แปลว่า หากไทยฉีดวัคซีนให้ประชาชนวันละ 6.5 หมื่นคนต่อวัน เหมือนอาทิตย์ที่แล้ว ก็ประมาณต้นเดือน ธ.ค. จะมีประชาชนได้รับวัคซีนครบโดส 70% ของประชากร แต่ยังมีคนอีกจำนวนมากในภูมิภาคอยากฉีด แต่ไม่ได้ฉีด ทำให้มีความเสี่ยง จึงไม่อยากเห็นภาพนี้ ซึ่งแตกต่างกับต่างประเทศที่มีวัคซีนเหลือเฟือ และประชากรเลือกที่จะไม่ฉีดก็มี แต่ของไทยมีวัคซีนไม่พอ ทำให้คนอยากฉีดต้องรอไปก่อน เพราะชีวิตเลือกไม่ได้”
เมื่อไทยต้องเปิดประเทศในวันที่ 1 พ.ย. ถามว่า มีความเสี่ยงมาก หรือคุ้มหรือไม่ อยู่ที่รัฐบาลจะสามารถควบคุมความเสี่ยงได้มากน้อยเพียงใด เพราะประเทศไทยมี 77 จังหวัด แต่อัตราการฉีดมีความแตกต่างกันระหว่างจังหวัดใหญ่ หรือปริมณฑล มีการฉีดวัคซีนเป็นจำนวนมาก หากเทียบกับจังหวัดอื่นๆ ในภูมิภาค มีการฉีดน้อยมาก
ขณะเดียวกันหากบ่อนการพนัน และผับ บาร์ อาจกลับมาเปิด จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงในการแพร่ระบาดของโควิดมากยิ่งขึ้น คิดว่าการเปิดประเทศสามารถทำได้ แต่อย่าหวังผลเหมือนภูเก็ต แซนด์บ็อกซ์ คาดหวังรายได้ 2 หมื่นกว่าล้านบาท ก็ยังห่างไกล
หรือแม้แต่ สมุยพลัส มีรายได้น้อยมาก ไม่ถึง 100 ล้านบาท และต่อให้เปิดประเทศในวันที่ 1 พ.ย. ก็คงมีนักท่องเที่ยวเข้ามาไม่มาก เพราะไทยจำกัดประเทศที่จะเข้ามา และบางประเทศ เช่น จีน ไม่ให้ประชากรเข้ามาท่องเที่ยว นอกจากนี้ต้องดูว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจจะเปิดได้มากน้อยเพียงใดในวันที่ 1 ธ.ค.
หากเทียบการเปิดประเทศกับประเทศอื่นๆ พบว่า ประเทศพัฒนาแล้วมีการฉีดวัคซีนครอบคลุมประชากรเกือบทั้งหมด และแต่ละประเทศต่างมีเหตุผลในการเปิดประเทศ ไม่ได้หวังรายได้จากการท่องเที่ยว อย่างสิงคโปร์ หวังให้นักธุรกิจเข้ามาลงทุน ส่วนไทยจะเปิดประเทศ แต่ไม่ได้สร้างความเชื่อมั่นใดๆ
“แม้แต่สำนักข่าวซีเอ็นเอ็น ยังออกมาแซวไทยดึงดันจะเปิดประเทศ แต่วัคซีนยังฉีดได้ไม่เยอะ หากเทียบกับประเทศอื่น และไทยเปิดประเทศเร็วไป ก็ไม่ได้อะไรมาก จะมาพร้อมกับความเสี่ยง รัฐบาลควรวางแผน วางกลไกต่างๆ รับมือให้เป็นระบบ ในการจัดการควบคุม หากมีการแพร่ระบาดหนักขึ้นมาอีก”
ไอเดียดึง "ลิซ่า" มาโปรโมต แค่กระตุ้นในระยะสั้น
ส่วนแนวคิดจะนำ
ลิซ่า แบล็กพิงก์ มาร่วมงานเคาต์ดาวน์ปีใหม่ใน จ.ภูเก็ต เพื่อโปรโมตการท่องเที่ยว มองว่าได้ผลพอสมควร แต่ถามว่าควรทำให้ดีกว่านี้จะดีกว่าหรือไม่ ในการคิดแบบยั่งยืน ไม่ใช่ทำให้เกิดความฮอตฮิตเพียงระยะเวลาไม่นาน และในที่สุดคนก็ลืม แต่ควรทำให้เกิดสตอรี่ ให้เกิดรายได้ระยะยาว
“คิดว่าการจ้างลิซ่ามาโปรโมต คงไม่คุ้มในระยะยาว หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องคิดได้เท่านี้ เหมือนการสร้างเสาไฟกินรี เรียกให้คนมาถ่ายรูปแล้วก็ไป แต่ควรสร้างสตอรี่ที่ยั่งยืนให้มากกว่านี้ ไม่ใช่ทำงานเช้าชามเย็นชาม แบบระบบราชการ”.
สงขลา-ยะลา-ปัตตานีโวย “ล็อกดาวน์” ทุบเศรษฐกิจทรุด
https://www.prachachat.net/local-economy/news-780296
สงขลา-ยะลา-ปัตตานีโวย “ล็อกดาวน์” ทำระบบเศรษฐกิจทรุด วอน ศบค.อย่าประกาศเหวี่ยงแห ให้เกาตรงที่คัน เผยที่ผ่านมาประกาศล็อกดาวน์ แต่การปฏิบัติจริงไม่มี
ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่ใน 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้สูงขึ้นมาเป็นอันดับ 1 ใน 10 ทั้งสงขลา ยะลา ปัตตานี นราธิวาส และมีข่าวว่า การประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) ในวันที่ 14 ตุลาคม 2564 อาจมีการปรับเพิ่มมาตรการเข้มงวดประกาศล็อกดาวน์ 4 จังหวัดชายแดนใต้อีกครั้ง เพื่อควบคุมโรค
นาย
กวิศพงศ์ สิริธนนนท์สกุล กรรมการหอการค้าไทย และประธานหอการค้ากลุ่มจังหวัดฝั่งอ่าวไทย (ชุมพร นครศรีธรรมราช พัทลุง สุราษฎร์ธานี และสงขลา) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า
หากรัฐบาลประกาศล็อกดาวน์อีกครั้ง ถือเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุเพราะที่ผ่านมาการล็อกดาวน์ได้ทำลายระบบเศรษฐกิจและผู้ประกอบการมามากแล้ว ควรไปแก้ที่ต้นเหตุ โดยเฉพาะการรณรงค์หรือกึ่งบังคับให้ประชาชนในจังหวัดฉีดวัคซีน 100% โดยเฉพาะชาวไทยมุสลิมบางส่วนที่ยังไม่ยอมฉีดวัคซีน ด้วยความเชื่อ และยังคงดำเนินวิถีชีวิตประจำวันปกติ มีการรวมกลุ่มกันทำกิจกรรมต่าง ๆ
ขณะเดียวกันยังมีกลุ่มวัยรุ่นแอบลักลอบจัดกิจกรรม จัดงานวันเกิด ดังนั้นควรมีมาตรการคุมเข้ม ใครจัดงานที่ไม่ใช่งานประเพณีให้จับปรับ การล็อกดาวน์ ที่ผ่านมาส่งผลกระทบ
1. ธุรกิจร้านอาหารท้องถิ่น ซึ่งตอนนี้กลืนไม่เข้า คลายไม่ออกกัน การนั่งรับประทานในร้านไม่ได้ ก็ขายไม่ได้ พอไปทำดีลิเวอรี่ก็ถูกผู้ให้บริการแอปฟู้ดดีลิเวอรี่คิดค่าคอมมิสชั่น (GP) สูงถึง 30-35% ทำให้ต้องปิดกิจการ
2. ร้านค้าทั่วไปแทบจะขายของไม่ได้ เพราะประชาชนไม่ออกจากบ้าน
3. ธุรกิจท่องเที่ยวทั้งโรงแรม รถรับจ้าง มัคคุเทศก์ตายสนิทและลุกลามไปภาคธุรกิจต่าง ๆ
4. ระบบการรายงานตัวไปพื้นที่สีแดงไม่ชัดเจน เช่น มีคนหาดใหญ่มากรุงเทพฯ กลับไปจะให้ไปรายงานตัวที่ไหน เพราะชุมชนไม่มี อสม. จึงแนะนำให้ไปรายงานตัวที่เทศบาลหาดใหญ่ ควรจะปรับเพิ่มบุคลากร อสม.ให้เพียงพอ
“ที่ผ่านมาภาครัฐประกาศล็อกดาวน์ 4 จังหวัด หวังให้จำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ลดลง แต่การล็อกดาวน์ที่ผ่านมาเป็นเพียงคำพูด แต่การปฏิบัติจริงไม่มี เช่น การข้ามจังหวัดเข้มงวด ปรากฏว่า ผมนั่งรถไป-กลับจาก จ.สงขลาไปถึง จ.ปัตตานี ไม่มีการตรวจอะไรเลย เดือนก่อนผมนั่งรถจาก สงขลาไปกระบี่ รอยต่อแต่ละจังหวัดไม่มีการตั้งด่านเลย”
นาย
อิทธิพัทธ์ ศิริเสรีวัฒนา ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดยะลา เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อ
ผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมในยะลาอย่างมาก ส่งผลให้ขาดแคลนแรงงาน กระทบกำลังการผลิต เนื่องจากชุมชนถูกล็อกดาวน์ พนักงานมาทำงานไม่ได้, แรงงานที่ติดโควิดต้องถูกกักตัว 14 วัน และแรงงานอีกส่วนที่ไม่ติดโควิด กลัวทำการเกษตรอยู่บ้าน ไม่อยากมาทำงานในโรงงาน นอกจากนี้ทางจังหวัดเข้มงวดให้ตรวจ ATK 10% ของพนักงานทั้งหมดในทุกเดือน”
รวมถึงการทำมาตรการ bubble and seal เป็นปัญหาที่ยังต้องทำความเข้าใจกับแรงงานจังหวัด และสาธารณสุขจังหวัด เพราะโรงงานในยะลาคนที่มาทำงานส่วนใหญ่เป็นคนในท้องถิ่นไม่มีที่พักภายในโรงงาน จึงเสนอขอให้พิจารณาทำเพียงศูนย์พักคอยในโรงงาน เนื่องจากมีข้อจำกัดหลายประการ และทางจังหวัดยังมีเตียงโรงพยาบาลสนามที่เพียงพอ
นาย
ศิริชัย ปิติเจริญ ประธานหอการค้าจังหวัดปัตตานี กล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ตอนนี้คนปัตตานีกลัวจะถูกล็อกดาวน์อีกรอบ ธุรกิจที่กำลังทะยานขึ้นมาจะไหลลง ปัญหาอยู่ตรงไหนควรไปแก้ตรงนั้นมากกว่าประกาศล็อกดาวน์เหวี่ยงแหทั้งระบบ คนที่พยายามทำตามกติกากำลังหมดกำลังใจ เพราะมีคนกลุ่มหนึ่งที่ไม่ให้ความร่วมมือแล้วเกิดปัญหา
“ตอนนี้ภาคธุรกิจเองก็ย่ำแย่จากโควิดระบาดในช่วง 2 ปี จริง ๆ อยู่ที่ความเข้าใจของประชาชน หรือพฤติกรรมความร่วมมือของคนในจังหวัด ถ้าประกาศแล้วไม่ได้รับความร่วมมือ ขณะเดียวกันเจ้าหน้าที่ไม่ได้มีความเข้มงวดให้ปฏิบัติตามที่ ศบค.บังคับมันก็ไม่ได้เกิดประโยชน์สูงสุด แต่ผลเสียไปตกอยู่กับภาคธุรกิจและประชาชนที่ต้องทำมาหากินมากกว่า”
JJNY : 4in1 เตือนไทยอย่าหวังพึ่งลิซ่า│สงขลา-ยะลา-ปัตตานีโวย“ล็อกดาวน์”│เมืองจันท์แจ้งด่วน!ย้ายของ│ชี้คมปาซุทำฝนตกทุกภาค
https://www.thairath.co.th/scoop/theissue/2218585
ก่อนหน้านี้ประเทศเพื่อนบ้านของไทย อย่างสิงคโปร์ เป็นประเทศแรกในอาเซียน เดินหน้าฟื้นฟูประเทศให้กลับมาเป็นศูนย์กลางการบินอีกครั้ง และเข้าสู่วิถีปกติใหม่ในการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับโควิด ในการเปิดประเทศตั้งแต่วันที่ 19 ต.ค.นี้เป็นต้นไป เฉพาะนักท่องเที่ยวที่ฉีดวัคซีนครบโดสแล้ว จาก 8 ประเทศเสี่ยงต่ำ โดยไม่ต้องกักตัว
ส่วนมาเลเซีย ได้ผ่อนปรนมาตรการเปิดให้ประชาชนเดินทางระหว่างรัฐ และออกนอกประเทศได้ตั้งแต่วันที่ 11 ต.ค. หลังจากประชาชนวัยผู้ใหญ่ได้รับการฉีดวัคซีนครบโดสแล้ว 90% และยังคงให้ผู้เดินทางจากต่างประเทศกักตัวเป็นเวลา 14 วัน
ขณะที่เวียดนาม มีแผนเปิดรับนักท่องเที่ยวที่ฉีดวัคซีนแล้ว จากประเทศเสี่ยงต่ำ ตั้งแต่เดือน ธ.ค.นี้ และตั้งเป้าจะเปิดประเทศอย่างเต็มตัวในเดือน มิ.ย.ปีหน้า เช่นเดียวกับอินโดนีเซียเปิดรับนักท่องเที่ยว เช่น จีน นิวซีแลนด์ และญี่ปุ่น ให้มาเที่ยวเกาะบาหลี ตั้งแต่วันที่ 14 ต.ค. แต่ต้องกักตัว 8 วัน
ดูเหมือนว่าหลายประเทศจะต้องอยู่ร่วมกับโควิดให้ได้ พร้อมการเดินหน้าเปิดประเทศ เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ แต่ได้มีแพทย์และนักวิชาการออกมาคัดค้านการเปิดประเทศอย่างต่อเนื่อง เพราะเกรงว่าจะได้ไม่คุ้มเสีย หากมีคนติดเชื้อเพิ่มขึ้น
ยกบทเรียนชิลี-เดนมาร์ก คนติดเชื้อโควิดพุ่ง
“รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์” คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หยิบยกกรณีประเทศชิลีและเดนมาร์คมาเป็นบทเรียน ซึ่งมีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นสูงอย่างต่อเนื่อง ภายหลังชิลีมีการปลดล็อกและเปิดการเดินทางระหว่างประเทศตั้งแต่ 1 ต.ค.ที่ผ่านมา ส่วนเดนมาร์กเปิดเสรีการใช้ชีวิตตั้งแต่ต้นเดือน ก.ย.เป็นต้นมา พบว่าในระยะเวลาประมาณ 3 สัปดาห์ จำนวนผู้ติดเชื้อต่อวันของทั้งสองประเทศสูงขึ้น โดยชิลีเคยมีอัตราต่ำสุด 0.8% เพิ่มขึ้นเป็น 1.3% ขณะที่เดนมาร์กเคยต่ำสุดที่ 0.9% เพิ่มขึ้นเป็น 1.4%
เมื่อเทียบกับไทย กำลังจะเปิดประเทศ มีผู้ติดเชื้อระดับหมื่นคนต่อวัน และยังไม่รวมการตรวจ ATK หากเป็นแบบเดียวกับชิลีและเดนมาร์ก คาดการณ์ได้ว่าจำนวนผู้ติดเชื้อต่อวันจะสูงจากหมื่นคน เป็น 2 หมื่นคน และ 4 หมื่นคน อย่างต่อเนื่องทุก 3 สัปดาห์ หากควบคุมไม่อยู่
“รายงานของ Our world in data เมื่อ ก.ย.ที่ผ่านมา ไทยพบผู้ติดเชื้อราว 20-25% สูงกว่าชิลีและเดนมาร์กอย่างมาก อาจถีบตัวสูงไปถึง 32-40% ในเวลา 3 สัปดาห์ หรืออาจเร็วและแรงกว่านั้นก็เป็นได้ หากการระบาดหนักหน่วงปะทุขึ้นมา และระบบตรวจคัดกรองทำได้น้อย ไม่มากพอ ก็จะยากที่จะหยุดยั้ง คุมไม่ได้”
นอกจากนี้ ชิลี และเดนมาร์ก มีการฉีดวัคซีนครบโดสครอบคลุมประชากรกว่า 70% ของประเทศ ตั้งแต่เดือน ส.ค. ก่อนปลดล็อก หรือให้เดินทางท่องเที่ยว ขณะที่ไทย มีอัตราการฉีดครบโดสประมาณครึ่งหนึ่งของทั้ง 2 ประเทศ ทั้งๆ ที่การฉีดวัคซีนจะลดโอกาสการเจ็บป่วย และเสียชีวิต แต่ไทยฉีดวัคซีนน้อยกว่าชิลีและเดนมาร์ก ซึ่งการเปิดประเทศจะนำความเสี่ยงสูงในการระบาดซ้ำรุนแรงมากกว่าอย่างแน่นอน
ฉีดวัคซีนครบโดส กระจายให้ทั่ว ก่อนเปิดประเทศ
ขณะที่ ดร.นณริฏ พิศลยบุตร นักวิชาการอาวุโส สถาบันการวิจัยเพื่อพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ย้ำว่า สิ่งที่ควรทำในทางวิชาการก่อนการเปิดประเทศ จะต้องฉีดวัคซีนให้ครบโดสอย่างน้อย 60-70% ของประชากรสอดคล้องกับต่างประเทศที่ได้ทำ ทั้งสหราชอาณาจักร ประเทศแถบยุโรป หรือญี่ปุ่น เพื่อให้ประชากรจำนวนมากได้รับวัคซีน เพื่อจะได้เจ็บป่วย และเสียชีวิตน้อยลง
“แปลว่า หากไทยฉีดวัคซีนให้ประชาชนวันละ 6.5 หมื่นคนต่อวัน เหมือนอาทิตย์ที่แล้ว ก็ประมาณต้นเดือน ธ.ค. จะมีประชาชนได้รับวัคซีนครบโดส 70% ของประชากร แต่ยังมีคนอีกจำนวนมากในภูมิภาคอยากฉีด แต่ไม่ได้ฉีด ทำให้มีความเสี่ยง จึงไม่อยากเห็นภาพนี้ ซึ่งแตกต่างกับต่างประเทศที่มีวัคซีนเหลือเฟือ และประชากรเลือกที่จะไม่ฉีดก็มี แต่ของไทยมีวัคซีนไม่พอ ทำให้คนอยากฉีดต้องรอไปก่อน เพราะชีวิตเลือกไม่ได้”
เมื่อไทยต้องเปิดประเทศในวันที่ 1 พ.ย. ถามว่า มีความเสี่ยงมาก หรือคุ้มหรือไม่ อยู่ที่รัฐบาลจะสามารถควบคุมความเสี่ยงได้มากน้อยเพียงใด เพราะประเทศไทยมี 77 จังหวัด แต่อัตราการฉีดมีความแตกต่างกันระหว่างจังหวัดใหญ่ หรือปริมณฑล มีการฉีดวัคซีนเป็นจำนวนมาก หากเทียบกับจังหวัดอื่นๆ ในภูมิภาค มีการฉีดน้อยมาก
ขณะเดียวกันหากบ่อนการพนัน และผับ บาร์ อาจกลับมาเปิด จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงในการแพร่ระบาดของโควิดมากยิ่งขึ้น คิดว่าการเปิดประเทศสามารถทำได้ แต่อย่าหวังผลเหมือนภูเก็ต แซนด์บ็อกซ์ คาดหวังรายได้ 2 หมื่นกว่าล้านบาท ก็ยังห่างไกล
หรือแม้แต่ สมุยพลัส มีรายได้น้อยมาก ไม่ถึง 100 ล้านบาท และต่อให้เปิดประเทศในวันที่ 1 พ.ย. ก็คงมีนักท่องเที่ยวเข้ามาไม่มาก เพราะไทยจำกัดประเทศที่จะเข้ามา และบางประเทศ เช่น จีน ไม่ให้ประชากรเข้ามาท่องเที่ยว นอกจากนี้ต้องดูว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจจะเปิดได้มากน้อยเพียงใดในวันที่ 1 ธ.ค.
หากเทียบการเปิดประเทศกับประเทศอื่นๆ พบว่า ประเทศพัฒนาแล้วมีการฉีดวัคซีนครอบคลุมประชากรเกือบทั้งหมด และแต่ละประเทศต่างมีเหตุผลในการเปิดประเทศ ไม่ได้หวังรายได้จากการท่องเที่ยว อย่างสิงคโปร์ หวังให้นักธุรกิจเข้ามาลงทุน ส่วนไทยจะเปิดประเทศ แต่ไม่ได้สร้างความเชื่อมั่นใดๆ
“แม้แต่สำนักข่าวซีเอ็นเอ็น ยังออกมาแซวไทยดึงดันจะเปิดประเทศ แต่วัคซีนยังฉีดได้ไม่เยอะ หากเทียบกับประเทศอื่น และไทยเปิดประเทศเร็วไป ก็ไม่ได้อะไรมาก จะมาพร้อมกับความเสี่ยง รัฐบาลควรวางแผน วางกลไกต่างๆ รับมือให้เป็นระบบ ในการจัดการควบคุม หากมีการแพร่ระบาดหนักขึ้นมาอีก”
ไอเดียดึง "ลิซ่า" มาโปรโมต แค่กระตุ้นในระยะสั้น
ส่วนแนวคิดจะนำ ลิซ่า แบล็กพิงก์ มาร่วมงานเคาต์ดาวน์ปีใหม่ใน จ.ภูเก็ต เพื่อโปรโมตการท่องเที่ยว มองว่าได้ผลพอสมควร แต่ถามว่าควรทำให้ดีกว่านี้จะดีกว่าหรือไม่ ในการคิดแบบยั่งยืน ไม่ใช่ทำให้เกิดความฮอตฮิตเพียงระยะเวลาไม่นาน และในที่สุดคนก็ลืม แต่ควรทำให้เกิดสตอรี่ ให้เกิดรายได้ระยะยาว
“คิดว่าการจ้างลิซ่ามาโปรโมต คงไม่คุ้มในระยะยาว หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องคิดได้เท่านี้ เหมือนการสร้างเสาไฟกินรี เรียกให้คนมาถ่ายรูปแล้วก็ไป แต่ควรสร้างสตอรี่ที่ยั่งยืนให้มากกว่านี้ ไม่ใช่ทำงานเช้าชามเย็นชาม แบบระบบราชการ”.
สงขลา-ยะลา-ปัตตานีโวย “ล็อกดาวน์” ทุบเศรษฐกิจทรุด
https://www.prachachat.net/local-economy/news-780296
สงขลา-ยะลา-ปัตตานีโวย “ล็อกดาวน์” ทำระบบเศรษฐกิจทรุด วอน ศบค.อย่าประกาศเหวี่ยงแห ให้เกาตรงที่คัน เผยที่ผ่านมาประกาศล็อกดาวน์ แต่การปฏิบัติจริงไม่มี
ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่ใน 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้สูงขึ้นมาเป็นอันดับ 1 ใน 10 ทั้งสงขลา ยะลา ปัตตานี นราธิวาส และมีข่าวว่า การประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) ในวันที่ 14 ตุลาคม 2564 อาจมีการปรับเพิ่มมาตรการเข้มงวดประกาศล็อกดาวน์ 4 จังหวัดชายแดนใต้อีกครั้ง เพื่อควบคุมโรค
นายกวิศพงศ์ สิริธนนนท์สกุล กรรมการหอการค้าไทย และประธานหอการค้ากลุ่มจังหวัดฝั่งอ่าวไทย (ชุมพร นครศรีธรรมราช พัทลุง สุราษฎร์ธานี และสงขลา) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า
หากรัฐบาลประกาศล็อกดาวน์อีกครั้ง ถือเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุเพราะที่ผ่านมาการล็อกดาวน์ได้ทำลายระบบเศรษฐกิจและผู้ประกอบการมามากแล้ว ควรไปแก้ที่ต้นเหตุ โดยเฉพาะการรณรงค์หรือกึ่งบังคับให้ประชาชนในจังหวัดฉีดวัคซีน 100% โดยเฉพาะชาวไทยมุสลิมบางส่วนที่ยังไม่ยอมฉีดวัคซีน ด้วยความเชื่อ และยังคงดำเนินวิถีชีวิตประจำวันปกติ มีการรวมกลุ่มกันทำกิจกรรมต่าง ๆ
ขณะเดียวกันยังมีกลุ่มวัยรุ่นแอบลักลอบจัดกิจกรรม จัดงานวันเกิด ดังนั้นควรมีมาตรการคุมเข้ม ใครจัดงานที่ไม่ใช่งานประเพณีให้จับปรับ การล็อกดาวน์ ที่ผ่านมาส่งผลกระทบ
1. ธุรกิจร้านอาหารท้องถิ่น ซึ่งตอนนี้กลืนไม่เข้า คลายไม่ออกกัน การนั่งรับประทานในร้านไม่ได้ ก็ขายไม่ได้ พอไปทำดีลิเวอรี่ก็ถูกผู้ให้บริการแอปฟู้ดดีลิเวอรี่คิดค่าคอมมิสชั่น (GP) สูงถึง 30-35% ทำให้ต้องปิดกิจการ
2. ร้านค้าทั่วไปแทบจะขายของไม่ได้ เพราะประชาชนไม่ออกจากบ้าน
3. ธุรกิจท่องเที่ยวทั้งโรงแรม รถรับจ้าง มัคคุเทศก์ตายสนิทและลุกลามไปภาคธุรกิจต่าง ๆ
4. ระบบการรายงานตัวไปพื้นที่สีแดงไม่ชัดเจน เช่น มีคนหาดใหญ่มากรุงเทพฯ กลับไปจะให้ไปรายงานตัวที่ไหน เพราะชุมชนไม่มี อสม. จึงแนะนำให้ไปรายงานตัวที่เทศบาลหาดใหญ่ ควรจะปรับเพิ่มบุคลากร อสม.ให้เพียงพอ
“ที่ผ่านมาภาครัฐประกาศล็อกดาวน์ 4 จังหวัด หวังให้จำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ลดลง แต่การล็อกดาวน์ที่ผ่านมาเป็นเพียงคำพูด แต่การปฏิบัติจริงไม่มี เช่น การข้ามจังหวัดเข้มงวด ปรากฏว่า ผมนั่งรถไป-กลับจาก จ.สงขลาไปถึง จ.ปัตตานี ไม่มีการตรวจอะไรเลย เดือนก่อนผมนั่งรถจาก สงขลาไปกระบี่ รอยต่อแต่ละจังหวัดไม่มีการตั้งด่านเลย”
นายอิทธิพัทธ์ ศิริเสรีวัฒนา ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดยะลา เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อ
ผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมในยะลาอย่างมาก ส่งผลให้ขาดแคลนแรงงาน กระทบกำลังการผลิต เนื่องจากชุมชนถูกล็อกดาวน์ พนักงานมาทำงานไม่ได้, แรงงานที่ติดโควิดต้องถูกกักตัว 14 วัน และแรงงานอีกส่วนที่ไม่ติดโควิด กลัวทำการเกษตรอยู่บ้าน ไม่อยากมาทำงานในโรงงาน นอกจากนี้ทางจังหวัดเข้มงวดให้ตรวจ ATK 10% ของพนักงานทั้งหมดในทุกเดือน”
รวมถึงการทำมาตรการ bubble and seal เป็นปัญหาที่ยังต้องทำความเข้าใจกับแรงงานจังหวัด และสาธารณสุขจังหวัด เพราะโรงงานในยะลาคนที่มาทำงานส่วนใหญ่เป็นคนในท้องถิ่นไม่มีที่พักภายในโรงงาน จึงเสนอขอให้พิจารณาทำเพียงศูนย์พักคอยในโรงงาน เนื่องจากมีข้อจำกัดหลายประการ และทางจังหวัดยังมีเตียงโรงพยาบาลสนามที่เพียงพอ
นายศิริชัย ปิติเจริญ ประธานหอการค้าจังหวัดปัตตานี กล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ตอนนี้คนปัตตานีกลัวจะถูกล็อกดาวน์อีกรอบ ธุรกิจที่กำลังทะยานขึ้นมาจะไหลลง ปัญหาอยู่ตรงไหนควรไปแก้ตรงนั้นมากกว่าประกาศล็อกดาวน์เหวี่ยงแหทั้งระบบ คนที่พยายามทำตามกติกากำลังหมดกำลังใจ เพราะมีคนกลุ่มหนึ่งที่ไม่ให้ความร่วมมือแล้วเกิดปัญหา
“ตอนนี้ภาคธุรกิจเองก็ย่ำแย่จากโควิดระบาดในช่วง 2 ปี จริง ๆ อยู่ที่ความเข้าใจของประชาชน หรือพฤติกรรมความร่วมมือของคนในจังหวัด ถ้าประกาศแล้วไม่ได้รับความร่วมมือ ขณะเดียวกันเจ้าหน้าที่ไม่ได้มีความเข้มงวดให้ปฏิบัติตามที่ ศบค.บังคับมันก็ไม่ได้เกิดประโยชน์สูงสุด แต่ผลเสียไปตกอยู่กับภาคธุรกิจและประชาชนที่ต้องทำมาหากินมากกว่า”