เผยผลสำรวจ EIU ไทยไม่ติดกลุ่ม ประเทศน่าลงทุนปีหน้า
https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_2987828
กรุงเทพฯ 12 ตุลาคม 2564 – ธนาคารซิตี้แบงก์ เผยผลรายงานการวิจัยเรื่อง
อนาคตของห่วงโซ่อุปทานในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (Disruption, Digitization, Resilience: The Future of Asia-Pacific supply chains)” จัดทำโดย
“The Economist Intelligence Unit” (EIU) สำรวจข้อมูลช่วงไตรมาสแรกของปี 2564 จากบริษัทด้านซัพพลายเชน 175 คนทั่วโลก ครอบคลุมอุตสาหกรรมหลัก 6 ประเภท ประกอบด้วย
1. ยานยนต์
2. รองเท้าและเครื่องแต่งกาย
3. อาหารและเครื่องดื่ม
4. การผลิต
5. ไอที/เทคโนโลยี/อิเล็กทรอนิกส์
และ 6. การดูแลสุขภาพ/ยาเทคโนโลยีชีวภาพ
ผลสำรวจพบว่า 5 ปัจจัยของการหยุดชะงักในซัพพลายเชนจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้แก่ หยุดการผลิต 36.4% ตามมาด้วยปัญหาการขนส่งทางอากาศ ทะเล รถไฟ และถนน 20.9% ปัญหาการเข้าถึงวัตถุดิบการผลิตหลัก เช่น ฝ้าย แร่เหล็ก แร่หายาก 17.3% ข้อจำกัดทางการค้า เช่น การควบคุมการส่งออก ภาษีนำเข้า 11.8% และการเข้าถึงปัจจัยการผลิตของสินค้าขั้นกลาง เช่น เหล็ก ส่วนประกอบ เซมิคอนดักเตอร์ 6.4%
ภาคอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบเรียงจากมากไปน้อยคือ ยานยนต์ ตามด้วยรองเท้าและเครื่องแต่งกาย การผลิต อาหารและเครื่องดื่ม การดูแลสุขภาพ/ยา/เทคโนโลยีชีวภาพ และไอที/เทคโนโลยี/อิเล็กทรอนิกส์ ตามลำดับ
สาเหตุหลักของการหยุดชะงักในซัพพลายเชนของอุตสาหกรรมยานยนต์คือหยุดการผลิต และข้อจำกัดทางการค้า เช่น การควบคุมการส่งออก รวมถึงการเข้าถึงวัตถุดิบหรือปัจจัยการผลิตหลัก การจัดหาเทคโนโลยี รวมถึงการขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์ในอุตสาหกรรมยานยนต์ที่กำลังเป็นปัญหาอย่างมาก ในขณะที่ด้านการขนส่งเป็นสาเหตุสำคัญของการหยุดชะงักของซัพพลายเชนในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม ส่วนปัจจัยการเข้าถึงวัตถุดิบหรือข้อมูลเบื้องต้นเป็นสาเหตุสำคัญของการหยุดชะงักของซัพพลายเชนในอุตสาหกรรมการดูแลสุขภาพและเภสัชกรรม เป็นต้น
ผลสำรวจครั้งนี้ยังเผยให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์ซัพพลายเชนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกในช่วง 18 เดือนที่ผ่านมา พบว่า 44.6% ดำเนินการเปลี่ยนแปลงบางอย่างแต่กลยุทธ์หลักยังคงเหมือนเดิม 32.6% กำลังดำเนินการยกเครื่องกลยุทธ์ใหม่ทั้งหมด และ 22.9% ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ
โดย 5 กลยุทธ์หลักสำหรับการเปลี่ยนแปลงในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ได้แก่
1. การกระจายความหลากหลาย เช่น ปรับซัพพลายเชนของบริษัทให้มาจากซัพพลายเออร์ที่หลากหลาย หรือขายในตลาดที่กว้างขึ้น
2. ย้ายซัพพลายเชนของบริษัทไปยังประเทศรอบ ๆ ตลาดหลัก หรือตลาดของผู้ใช้ปลายทาง
3. การโลคัลไลเซชันด้วยการย้ายซัพพลายเชนให้อยู่ในตลาดหลักหรือตลาดผู้ใช้ปลายทาง
4. ย้ายการผลิตกลับไปยังประเทศบ้านเกิดของบริษัท
และ 5. China Plus One แนวคิดการลงทุนในประเทศอื่นที่ไม่ใช่จีนอย่างเดียว
อย่างไรก็ดียังพบว่าอุตสาหกรรมไอที เทคโนโลยี และอิเล็กทรอนิกส์ มีการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์ซัพพลายเชนน้อยกว่าภาคอุตสาหกรรมอื่น ๆ เนื่องจากการผลิตในอุตสาหกรรมนี้ต้องมีความเชี่ยวชาญสูง และมีความต้องการสิ่งอำนวยความสะดวกในการผลิตเฉพาะทาง ซึ่งไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ง่ายเนื่องจากความซับซ้อนเมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมอื่น ๆ
พร้อมกันนี้ผลสำรวจยังเผยให้เห็นประเทศที่บริษัทต่างๆ ลงทุนตลอดทั้งปีที่ผ่านมาหรือกำลังวางแผนที่จะทำในปีหน้า โดยบริษัทในเอเชียมีการลงทุนในประเทศ อินโดนีเซีย บังคลาเทศ ออสเตรเลีย ฮ่องกง เกาหลีใต้ เมียนมาร์ มาเลเซีย และศรีลังกา
ส่วนบริษัทที่อยู่ในอเมริกาเหนือและยุโรปมีความสนใจลงทุนในฟิลิปปินส์ อินเดีย จีน สิงคโปร์ เวียดนาม และญี่ปุ่น โดยปัจจัยที่ทำให้ประเทศเหล่านี้เป็นที่น่าลงทุนจากมากไปน้อย ประกอบด้วย
1. ค่าแรง
2. ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์
3. เข้าถึงตลาดหลัก โครงสร้างพื้นฐาน และสภาพแวดล้อมด้านกฎระเบียบ
4. ผลผลิต
5. ฝีมือแรงงาน
6. เงินอุดหนุน/สิ่งจูงใจจากรัฐบาล และทักษะต่าง ๆ
7. การแปลงสกุลเงิน
8. เสถียรภาพทางการเมือง และอัตราภาษี
9. การเข้าถึงการเงิน ตามลำดับ
สุดท้ายนี้ผลสำรวจแสดงให้เห็นถึงความกังวลในอนาคตที่อาจส่งผลกระทบ พบว่า บริษัททั่วโลกส่วนใหญ่มีความกังวลในเรื่อง
1. โรคระบาดครั้งต่อไป
2. การล่มสลายของระบบการค้าโลก
และ 3. วิกฤตเศรษฐกิจหรือการเงิน ตามลำดับ
อย่างไรก็ตามการระบาดของโรคโควิด-19 ได้นำไปสู่การเพิ่มการลงทุนในเครื่องมือและกระบวนการดิจิทัลเพื่อจัดการซัพพลายเชน โดยบริษัทส่วนใหญ่มีการลงทุนเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวในเครื่องมือและกระบวนการดิจิทัล ทั้งกระบวนการผลิต การบริการลูกค้า การคาดการณ์ความต้องการซื้อและความต้องการขาย การจัดการสินค้าคงคลัง ฯลฯ ซึ่งเหตุผลหลักในการลงทุนในเครื่องมือและกระบวนการดิจิทัลมีความแตกต่างกันไปในแต่ละภูมิภาค เช่น บริษัทในเอเชียส่วนใหญ่ลงทุนในเครื่องมือดิจิทัลเพื่อปรับปรุงการบริการลูกค้าและการจัดการสินค้าคงคลัง รวมถึงการลงทุนในกระบวนการดิจิทัลสำหรับคู่ค้า คือการคาดการณ์การผลิต และการคาดการณ์ความต้องการซื้อและความต้องการขายรายงานดังกล่าวได้แสดงให้เห็นว่าทุกภาคอุตสาหกรรมต่างมีการตอบสนองต่อความท้าทายต่าง ๆ ที่กำลังเผชิญ ซึ่งทั้งหมดล้วนมีเป้าหมายร่วมกันเพื่อรักษาความยั่งยืนของการดำเนินธุรกิจในระยะยาว รวมถึงทำให้ภาคธุรกิจในภูมิภาคมีความยืดหยุ่นมากขึ้นเพื่อรองรับผลกระทบจากสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ซิตี้แบงก์ในฐานะธนาคารชั้นนำที่มีการดำเนินงานอยู่ในกว่า 100 ตลาดทั่วโลก มีความมุ่งมั่นในการใช้ประโยชน์จากเครือข่ายด้วยความสามารถในการให้คำปรึกษาผสานความเชี่ยวชาญในระดับท้องถิ่น พร้อมการเดินหน้าสำรวจภาคธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างไม่หยุดนิ่ง เพื่อการปรับให้เข้ากับท้องถิ่นหรือเปลี่ยนตำแหน่งใหม่เพื่อเข้าใกล้ตลาดปลายทาง หรือขยายไปสู่ตลาดใหม่เพื่อลดต้นทุนและกระจายซัพพลายเชน โดยให้มีความสมดุลระหว่างความยืดหยุ่นและการเติบโต ซึ่งทั้งหมดจะเป็นประโยชน์ต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ควบคู่ไปกับการเป็นพันธมิตรกับลูกค้านักลงทุนอย่างใกล้ชิด
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับรายงานดังกล่าวสามารถดูได้ที่ Citi Report The Future of Asia-Pacific supply chains หรือ www.citibank.co.th
ATK ผลลบลวง กลบความเชื่อมั่น เช็คยี่ห้อไหน “ผลตรวจ” แม่นยำ
https://www.prachachat.net/general/news-780167
ชุดตรวจโควิดประเภท ATK อุปกรณ์ที่นำมาใช้ตรวจหาเชื้อโควิด-19 โดยตนเอง แต่ก็ยังมีความแม่นยำเป็นรอง RT-PCR ทำให้หลายครั้ง เกิดข้อสงสัยจนลดทอนความเชื่อมั่นของผู้ใช้งาน
แม้ว่าชุดทดสอบหาเชื้อโควิด-19 ด้วยตนเอง Antigen Test Kit (ATK) จะได้รับอนุญาตให้นำมาใช้ตรวจหาเชื้อโควิด-19 สำหรับประชาชนทั่วไป แทนการตรวจแบบแยงจมูก (RT-PCR) เพื่อความรวดเร็วในการรู้ผล และนำเข้าระบบการรักษา แต่การตรวจจับหาเชื้อโควิดของ ATK ยังคงมีความคลาดเคลื่อน ทำให้เกิดผลบวก-ลบ “ลวง”
“ประชาชาติธุรกิจ” ตรวจสอบพบว่าชุดตรวจ ATK ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) มีทั้งสิ้น 72 ยี่ห้อ (ข้อมูล 11 ต.ค.) โดยมี 3 ยี่ห้อพบว่ามีการรายงานผลการตรวจวัดระดับความแม่นยำของการตรวจหาเชื้อ (ข้อมูล : National Center for Biotechnology Information หรือ เป็นส่วนหนึ่งของห้องสมุดแพทย์แห่งชาติของอเมริกา หรือ United States National Library of Medicine (NLM)) ดังนี้
ATK จาก Roche
ใช้ชื่อ SARS-CoV-2 Rapid Antigen Test (Roche) จัดจำหน่ายโดย Roche Diagnostics ผลิตโดย SD Biosensor มีต้นกำเนิดจากประเทศเกาหลีใต้ และมีรายงานความแม่นยำการตรวจจับเชื้อโควิด-19 ดังนี้
• ความแม่นยำจากผลบวก (Positive) : 49.4%
• ความแม่นยำจากผลลบ (Negative) : 100%
ATK จาก Abbot
ใช้ชื่อ COVID-19 Rapid Test Device (Abbott) จัดจำหน่ายโดย Abbott Rapid Diagnostics ผลิตโดย Panbio Ltd. มีต้นกำเนิดจากประเทศออสเตรเลีย และมีรายงานความแม่นยำการตรวจจับเชื้อโควิด-19 ดังนี้
• ความแม่นยำจากผลบวก (Positive) : 44.6%
• ความแม่นยำจากผลลบ (Negative) : 100%
ATK จาก Siemens
ใช้ชื่อ CLINITEST Rapid COVID.19 Antigen Test นำเข้าและจัดจำหน่ายโดย บริษัท ซีเมนส์เฮลท์แคร์จำกัด ผลิตโดย Zhenjiang Orient Gene Biotech Co. Ltd, มีต้นกำเนิดจากประเทศจีน และมีรายงานความแม่นยำการตรวจจับเชื้อโควิด-19 ดังนี้
• ความแม่นยำจากผลบวก (Positive) : 54.9%
• ความแม่นยำจากผลลบ (Negative) : 100%
เป็นตัวอย่าง ATK 3 ใน 72 ยี่ห้อที่ขึ้นทะเบียนกับ อย. ไทย และมีผลการศึกษาถึงประสิทธิภาพการตรวจจับเชื้อโควิด-19
อย่างไรก็ตาม ข้อมูลจาก ศูนย์ข้อมูลโควิด-19 (เมื่อ 2 สิงหาคม 2564) ให้ข้อมูลว่า ปัจจัยที่อาจส่งผลให้ ATK เกิดผลตรวจ “ลวง” ทั้งบวก-ลบ เกิดได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้
ผลบวกปลอม (False Positive)
Antigen Test Kit ให้ผลเป็น “บวก” ปลอม คือ ไม่ได้ติดเชื้อ แต่ให้ผลการทดสอบเป็นบวก เกิดจากสาเหตุ ดังนี้
• การปนเปื้อนจากพื้นที่ที่ทำการทดสอบอุปกรณ์ที่ใช้
• การติดเชื้อไวรัส หรือจุลชีพอื่น ๆ
• ดำเนินการตามขั้นตอนวิธีทดสอบไม่ถูกต้อง เช่น อ่านผลเกินเวลาที่กำหนด
• สภาพสิ่งส่งตรวจไม่เหมาะสม
ผลลบปลอม (False Negative)
Antigen Test Kit ให้ผลเป็น “ลบ” ปลอม คือ ติดเชื้อ แต่ให้ผลการทดสอบเป็นลบ เกิดจากสาเหตุ ดังนี้
• เพิ่งติดเชื้อในระยะแรกมีปริมาณไวรัสต่ำ
• การเก็บสิ่งส่งตรวจไม่ถูกต้อง
• ดำเนินการตามขั้นตอนวิธีทดสอบไม่ถูกต้อง เช่น ไม่ผ่านผลในช่วงเวลาที่กำหนด หรือ ปริมาณตัวอย่างที่หยดไม่เป็นไปตามที่กำหนด
ผลลบ “ลวง” เกิดได้ทุกยี่ห้อ ATK
นายแพทย์
จรัสพงษ์ สุขกรี นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครศรีธรรมราช ออกมาเปิดเผย (5 ตุลาคม) ถึงการใช้ ATK ยี่ห้อ เลอปู๋ ที่นำเข้าโดยองค์การเภสัชกรรม กว่า 8.5 ล้านชุด ว่า พบผลตรวจที่มีความเบี่ยงเบนสูงจำนวนมาก
โดยมีเจ้าหน้าที่รายงานว่า พบการติดเชื้อจากการตรวจ RT-PCR จากกลุ่มเสี่ยงสูงที่ตรวจด้วย ATK ก่อนหน้านี้ แต่กลับไม่พบเชื้อ ซึ่งทำให้ต้องตรวจหาเชื้อซ้ำซ้อน พร้อมแนะนำว่า ให้นำไปใช้กับกลุ่มเสี่ยงต่ำ ไม่ควรนำมาใช้กับกลุ่มเสี่ยงสูง
ด้าน นพ.
ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ (11 ตุลาคม) ระบุถึงการเจอผลตรวจจาก ATK เป็นผลลบลวง ว่า ไม่ได้เกิดจากคุณภาพของตัวชุดตรวจ แต่เป็นข้อจำกัดของเครื่องมือ ไม่ว่ายี่ห้อใดก็ได้ผลแบบนั้น โดยชี้แจงสาเหตุ ดังนี้
1. ตรวจในเวลาที่เร็วเกินไป รับเชื้อเมื่อวาน (11 ต.ค.) แล้ว 1-2 วันมาตรวจหาเชื้อยังไม่ทันเพิ่มจำนวนก็ตรวจไม่ได้ บางที RT-PCR ยังตรวจไม่เจอ ดังนั้น ATK ที่มีความไวน้อยกว่าก็จะตรวจไม่เจอได้
2. เชื้อมีปริมาณน้อย ไม่ว่าก่อนหรือหลังติดเชื้อ เช่น ติดเชื้อไปแล้วร่างกายกำจัดเชื้อไปมากแล้ว ตรวจ RT-PCR ยังเจอแต่เป็นซากเชื้อ แต่มาตรวจ ATK ก็ไม่เจอ
ขณะที่ ข้อมูลจากกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานการติดเชื้อเข้าข่าย/ผลตรวจ ATK (10 ต.ค.) พบผลเป็นบวกถึง 10,055 ราย ซึ่งเป็นครั้งแรกที่พบผลตรวจจาก ATK เกินหลักหมื่นราย
JJNY : ไทยไม่ติดกลุ่มน่าลงทุนปีหน้า│ATK ยี่ห้อไหน“ผลตรวจ”แม่นยำ│ปภ.เตือน22จว.│น้ำท่วมนับเดือนส่งกลิ่น พิมายเดือดร้อนหนัก
https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_2987828
กรุงเทพฯ 12 ตุลาคม 2564 – ธนาคารซิตี้แบงก์ เผยผลรายงานการวิจัยเรื่อง อนาคตของห่วงโซ่อุปทานในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (Disruption, Digitization, Resilience: The Future of Asia-Pacific supply chains)” จัดทำโดย “The Economist Intelligence Unit” (EIU) สำรวจข้อมูลช่วงไตรมาสแรกของปี 2564 จากบริษัทด้านซัพพลายเชน 175 คนทั่วโลก ครอบคลุมอุตสาหกรรมหลัก 6 ประเภท ประกอบด้วย
1. ยานยนต์
2. รองเท้าและเครื่องแต่งกาย
3. อาหารและเครื่องดื่ม
4. การผลิต
5. ไอที/เทคโนโลยี/อิเล็กทรอนิกส์
และ 6. การดูแลสุขภาพ/ยาเทคโนโลยีชีวภาพ
ผลสำรวจพบว่า 5 ปัจจัยของการหยุดชะงักในซัพพลายเชนจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้แก่ หยุดการผลิต 36.4% ตามมาด้วยปัญหาการขนส่งทางอากาศ ทะเล รถไฟ และถนน 20.9% ปัญหาการเข้าถึงวัตถุดิบการผลิตหลัก เช่น ฝ้าย แร่เหล็ก แร่หายาก 17.3% ข้อจำกัดทางการค้า เช่น การควบคุมการส่งออก ภาษีนำเข้า 11.8% และการเข้าถึงปัจจัยการผลิตของสินค้าขั้นกลาง เช่น เหล็ก ส่วนประกอบ เซมิคอนดักเตอร์ 6.4%
ภาคอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบเรียงจากมากไปน้อยคือ ยานยนต์ ตามด้วยรองเท้าและเครื่องแต่งกาย การผลิต อาหารและเครื่องดื่ม การดูแลสุขภาพ/ยา/เทคโนโลยีชีวภาพ และไอที/เทคโนโลยี/อิเล็กทรอนิกส์ ตามลำดับ
สาเหตุหลักของการหยุดชะงักในซัพพลายเชนของอุตสาหกรรมยานยนต์คือหยุดการผลิต และข้อจำกัดทางการค้า เช่น การควบคุมการส่งออก รวมถึงการเข้าถึงวัตถุดิบหรือปัจจัยการผลิตหลัก การจัดหาเทคโนโลยี รวมถึงการขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์ในอุตสาหกรรมยานยนต์ที่กำลังเป็นปัญหาอย่างมาก ในขณะที่ด้านการขนส่งเป็นสาเหตุสำคัญของการหยุดชะงักของซัพพลายเชนในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม ส่วนปัจจัยการเข้าถึงวัตถุดิบหรือข้อมูลเบื้องต้นเป็นสาเหตุสำคัญของการหยุดชะงักของซัพพลายเชนในอุตสาหกรรมการดูแลสุขภาพและเภสัชกรรม เป็นต้น
ผลสำรวจครั้งนี้ยังเผยให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์ซัพพลายเชนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกในช่วง 18 เดือนที่ผ่านมา พบว่า 44.6% ดำเนินการเปลี่ยนแปลงบางอย่างแต่กลยุทธ์หลักยังคงเหมือนเดิม 32.6% กำลังดำเนินการยกเครื่องกลยุทธ์ใหม่ทั้งหมด และ 22.9% ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ
โดย 5 กลยุทธ์หลักสำหรับการเปลี่ยนแปลงในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ได้แก่
1. การกระจายความหลากหลาย เช่น ปรับซัพพลายเชนของบริษัทให้มาจากซัพพลายเออร์ที่หลากหลาย หรือขายในตลาดที่กว้างขึ้น
2. ย้ายซัพพลายเชนของบริษัทไปยังประเทศรอบ ๆ ตลาดหลัก หรือตลาดของผู้ใช้ปลายทาง
3. การโลคัลไลเซชันด้วยการย้ายซัพพลายเชนให้อยู่ในตลาดหลักหรือตลาดผู้ใช้ปลายทาง
4. ย้ายการผลิตกลับไปยังประเทศบ้านเกิดของบริษัท
และ 5. China Plus One แนวคิดการลงทุนในประเทศอื่นที่ไม่ใช่จีนอย่างเดียว
อย่างไรก็ดียังพบว่าอุตสาหกรรมไอที เทคโนโลยี และอิเล็กทรอนิกส์ มีการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์ซัพพลายเชนน้อยกว่าภาคอุตสาหกรรมอื่น ๆ เนื่องจากการผลิตในอุตสาหกรรมนี้ต้องมีความเชี่ยวชาญสูง และมีความต้องการสิ่งอำนวยความสะดวกในการผลิตเฉพาะทาง ซึ่งไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ง่ายเนื่องจากความซับซ้อนเมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมอื่น ๆ
พร้อมกันนี้ผลสำรวจยังเผยให้เห็นประเทศที่บริษัทต่างๆ ลงทุนตลอดทั้งปีที่ผ่านมาหรือกำลังวางแผนที่จะทำในปีหน้า โดยบริษัทในเอเชียมีการลงทุนในประเทศ อินโดนีเซีย บังคลาเทศ ออสเตรเลีย ฮ่องกง เกาหลีใต้ เมียนมาร์ มาเลเซีย และศรีลังกา
ส่วนบริษัทที่อยู่ในอเมริกาเหนือและยุโรปมีความสนใจลงทุนในฟิลิปปินส์ อินเดีย จีน สิงคโปร์ เวียดนาม และญี่ปุ่น โดยปัจจัยที่ทำให้ประเทศเหล่านี้เป็นที่น่าลงทุนจากมากไปน้อย ประกอบด้วย
1. ค่าแรง
2. ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์
3. เข้าถึงตลาดหลัก โครงสร้างพื้นฐาน และสภาพแวดล้อมด้านกฎระเบียบ
4. ผลผลิต
5. ฝีมือแรงงาน
6. เงินอุดหนุน/สิ่งจูงใจจากรัฐบาล และทักษะต่าง ๆ
7. การแปลงสกุลเงิน
8. เสถียรภาพทางการเมือง และอัตราภาษี
9. การเข้าถึงการเงิน ตามลำดับ
สุดท้ายนี้ผลสำรวจแสดงให้เห็นถึงความกังวลในอนาคตที่อาจส่งผลกระทบ พบว่า บริษัททั่วโลกส่วนใหญ่มีความกังวลในเรื่อง
1. โรคระบาดครั้งต่อไป
2. การล่มสลายของระบบการค้าโลก
และ 3. วิกฤตเศรษฐกิจหรือการเงิน ตามลำดับ
อย่างไรก็ตามการระบาดของโรคโควิด-19 ได้นำไปสู่การเพิ่มการลงทุนในเครื่องมือและกระบวนการดิจิทัลเพื่อจัดการซัพพลายเชน โดยบริษัทส่วนใหญ่มีการลงทุนเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวในเครื่องมือและกระบวนการดิจิทัล ทั้งกระบวนการผลิต การบริการลูกค้า การคาดการณ์ความต้องการซื้อและความต้องการขาย การจัดการสินค้าคงคลัง ฯลฯ ซึ่งเหตุผลหลักในการลงทุนในเครื่องมือและกระบวนการดิจิทัลมีความแตกต่างกันไปในแต่ละภูมิภาค เช่น บริษัทในเอเชียส่วนใหญ่ลงทุนในเครื่องมือดิจิทัลเพื่อปรับปรุงการบริการลูกค้าและการจัดการสินค้าคงคลัง รวมถึงการลงทุนในกระบวนการดิจิทัลสำหรับคู่ค้า คือการคาดการณ์การผลิต และการคาดการณ์ความต้องการซื้อและความต้องการขายรายงานดังกล่าวได้แสดงให้เห็นว่าทุกภาคอุตสาหกรรมต่างมีการตอบสนองต่อความท้าทายต่าง ๆ ที่กำลังเผชิญ ซึ่งทั้งหมดล้วนมีเป้าหมายร่วมกันเพื่อรักษาความยั่งยืนของการดำเนินธุรกิจในระยะยาว รวมถึงทำให้ภาคธุรกิจในภูมิภาคมีความยืดหยุ่นมากขึ้นเพื่อรองรับผลกระทบจากสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ซิตี้แบงก์ในฐานะธนาคารชั้นนำที่มีการดำเนินงานอยู่ในกว่า 100 ตลาดทั่วโลก มีความมุ่งมั่นในการใช้ประโยชน์จากเครือข่ายด้วยความสามารถในการให้คำปรึกษาผสานความเชี่ยวชาญในระดับท้องถิ่น พร้อมการเดินหน้าสำรวจภาคธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างไม่หยุดนิ่ง เพื่อการปรับให้เข้ากับท้องถิ่นหรือเปลี่ยนตำแหน่งใหม่เพื่อเข้าใกล้ตลาดปลายทาง หรือขยายไปสู่ตลาดใหม่เพื่อลดต้นทุนและกระจายซัพพลายเชน โดยให้มีความสมดุลระหว่างความยืดหยุ่นและการเติบโต ซึ่งทั้งหมดจะเป็นประโยชน์ต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ควบคู่ไปกับการเป็นพันธมิตรกับลูกค้านักลงทุนอย่างใกล้ชิด
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับรายงานดังกล่าวสามารถดูได้ที่ Citi Report The Future of Asia-Pacific supply chains หรือ www.citibank.co.th
ATK ผลลบลวง กลบความเชื่อมั่น เช็คยี่ห้อไหน “ผลตรวจ” แม่นยำ
https://www.prachachat.net/general/news-780167
ชุดตรวจโควิดประเภท ATK อุปกรณ์ที่นำมาใช้ตรวจหาเชื้อโควิด-19 โดยตนเอง แต่ก็ยังมีความแม่นยำเป็นรอง RT-PCR ทำให้หลายครั้ง เกิดข้อสงสัยจนลดทอนความเชื่อมั่นของผู้ใช้งาน
แม้ว่าชุดทดสอบหาเชื้อโควิด-19 ด้วยตนเอง Antigen Test Kit (ATK) จะได้รับอนุญาตให้นำมาใช้ตรวจหาเชื้อโควิด-19 สำหรับประชาชนทั่วไป แทนการตรวจแบบแยงจมูก (RT-PCR) เพื่อความรวดเร็วในการรู้ผล และนำเข้าระบบการรักษา แต่การตรวจจับหาเชื้อโควิดของ ATK ยังคงมีความคลาดเคลื่อน ทำให้เกิดผลบวก-ลบ “ลวง”
“ประชาชาติธุรกิจ” ตรวจสอบพบว่าชุดตรวจ ATK ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) มีทั้งสิ้น 72 ยี่ห้อ (ข้อมูล 11 ต.ค.) โดยมี 3 ยี่ห้อพบว่ามีการรายงานผลการตรวจวัดระดับความแม่นยำของการตรวจหาเชื้อ (ข้อมูล : National Center for Biotechnology Information หรือ เป็นส่วนหนึ่งของห้องสมุดแพทย์แห่งชาติของอเมริกา หรือ United States National Library of Medicine (NLM)) ดังนี้
ATK จาก Roche
ใช้ชื่อ SARS-CoV-2 Rapid Antigen Test (Roche) จัดจำหน่ายโดย Roche Diagnostics ผลิตโดย SD Biosensor มีต้นกำเนิดจากประเทศเกาหลีใต้ และมีรายงานความแม่นยำการตรวจจับเชื้อโควิด-19 ดังนี้
• ความแม่นยำจากผลบวก (Positive) : 49.4%
• ความแม่นยำจากผลลบ (Negative) : 100%
ATK จาก Abbot
ใช้ชื่อ COVID-19 Rapid Test Device (Abbott) จัดจำหน่ายโดย Abbott Rapid Diagnostics ผลิตโดย Panbio Ltd. มีต้นกำเนิดจากประเทศออสเตรเลีย และมีรายงานความแม่นยำการตรวจจับเชื้อโควิด-19 ดังนี้
• ความแม่นยำจากผลบวก (Positive) : 44.6%
• ความแม่นยำจากผลลบ (Negative) : 100%
ATK จาก Siemens
ใช้ชื่อ CLINITEST Rapid COVID.19 Antigen Test นำเข้าและจัดจำหน่ายโดย บริษัท ซีเมนส์เฮลท์แคร์จำกัด ผลิตโดย Zhenjiang Orient Gene Biotech Co. Ltd, มีต้นกำเนิดจากประเทศจีน และมีรายงานความแม่นยำการตรวจจับเชื้อโควิด-19 ดังนี้
• ความแม่นยำจากผลบวก (Positive) : 54.9%
• ความแม่นยำจากผลลบ (Negative) : 100%
เป็นตัวอย่าง ATK 3 ใน 72 ยี่ห้อที่ขึ้นทะเบียนกับ อย. ไทย และมีผลการศึกษาถึงประสิทธิภาพการตรวจจับเชื้อโควิด-19
อย่างไรก็ตาม ข้อมูลจาก ศูนย์ข้อมูลโควิด-19 (เมื่อ 2 สิงหาคม 2564) ให้ข้อมูลว่า ปัจจัยที่อาจส่งผลให้ ATK เกิดผลตรวจ “ลวง” ทั้งบวก-ลบ เกิดได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้
ผลบวกปลอม (False Positive)
Antigen Test Kit ให้ผลเป็น “บวก” ปลอม คือ ไม่ได้ติดเชื้อ แต่ให้ผลการทดสอบเป็นบวก เกิดจากสาเหตุ ดังนี้
• การปนเปื้อนจากพื้นที่ที่ทำการทดสอบอุปกรณ์ที่ใช้
• การติดเชื้อไวรัส หรือจุลชีพอื่น ๆ
• ดำเนินการตามขั้นตอนวิธีทดสอบไม่ถูกต้อง เช่น อ่านผลเกินเวลาที่กำหนด
• สภาพสิ่งส่งตรวจไม่เหมาะสม
ผลลบปลอม (False Negative)
Antigen Test Kit ให้ผลเป็น “ลบ” ปลอม คือ ติดเชื้อ แต่ให้ผลการทดสอบเป็นลบ เกิดจากสาเหตุ ดังนี้
• เพิ่งติดเชื้อในระยะแรกมีปริมาณไวรัสต่ำ
• การเก็บสิ่งส่งตรวจไม่ถูกต้อง
• ดำเนินการตามขั้นตอนวิธีทดสอบไม่ถูกต้อง เช่น ไม่ผ่านผลในช่วงเวลาที่กำหนด หรือ ปริมาณตัวอย่างที่หยดไม่เป็นไปตามที่กำหนด
ผลลบ “ลวง” เกิดได้ทุกยี่ห้อ ATK
นายแพทย์จรัสพงษ์ สุขกรี นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครศรีธรรมราช ออกมาเปิดเผย (5 ตุลาคม) ถึงการใช้ ATK ยี่ห้อ เลอปู๋ ที่นำเข้าโดยองค์การเภสัชกรรม กว่า 8.5 ล้านชุด ว่า พบผลตรวจที่มีความเบี่ยงเบนสูงจำนวนมาก
โดยมีเจ้าหน้าที่รายงานว่า พบการติดเชื้อจากการตรวจ RT-PCR จากกลุ่มเสี่ยงสูงที่ตรวจด้วย ATK ก่อนหน้านี้ แต่กลับไม่พบเชื้อ ซึ่งทำให้ต้องตรวจหาเชื้อซ้ำซ้อน พร้อมแนะนำว่า ให้นำไปใช้กับกลุ่มเสี่ยงต่ำ ไม่ควรนำมาใช้กับกลุ่มเสี่ยงสูง
ด้าน นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ (11 ตุลาคม) ระบุถึงการเจอผลตรวจจาก ATK เป็นผลลบลวง ว่า ไม่ได้เกิดจากคุณภาพของตัวชุดตรวจ แต่เป็นข้อจำกัดของเครื่องมือ ไม่ว่ายี่ห้อใดก็ได้ผลแบบนั้น โดยชี้แจงสาเหตุ ดังนี้
1. ตรวจในเวลาที่เร็วเกินไป รับเชื้อเมื่อวาน (11 ต.ค.) แล้ว 1-2 วันมาตรวจหาเชื้อยังไม่ทันเพิ่มจำนวนก็ตรวจไม่ได้ บางที RT-PCR ยังตรวจไม่เจอ ดังนั้น ATK ที่มีความไวน้อยกว่าก็จะตรวจไม่เจอได้
2. เชื้อมีปริมาณน้อย ไม่ว่าก่อนหรือหลังติดเชื้อ เช่น ติดเชื้อไปแล้วร่างกายกำจัดเชื้อไปมากแล้ว ตรวจ RT-PCR ยังเจอแต่เป็นซากเชื้อ แต่มาตรวจ ATK ก็ไม่เจอ
ขณะที่ ข้อมูลจากกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานการติดเชื้อเข้าข่าย/ผลตรวจ ATK (10 ต.ค.) พบผลเป็นบวกถึง 10,055 ราย ซึ่งเป็นครั้งแรกที่พบผลตรวจจาก ATK เกินหลักหมื่นราย