สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 12
โดยส่วนตัว ผมชอบ Alice มากกว่า Squid ไม่ว่าจะเป็นในด้านความลุ้นระทึกเกม บทดราม่าของตัวละคร (ใน Squid ผมเห็นตัวละครบางตัวโผล่มาก็ทราบเจตนาได้เลย ว่าคนเขียนบทอยากให้คนดูร้องไห้กับตัวละครนี้แน่ๆ ) การใช้สมอง ความฉับไวในการเดินเรื่อง (จนบางทีก็งงๆ เหมือนกันว่าพวกคนที่คอมเมนต์ว่า Alice เดินเรื่องช้า น่าเบื่อ เขาดูละครคนละเรื่องหรือเปล่า หรือตั้งใจจะมา Discredit กัน)
แต่ในขณะเดียวกัน ผมก็ยอมรับนะว่าถ้าไม่นับในส่วนของเกม (ที่ผมว่าค่อนข้างธรรมดา และยืดๆ) มันก็มีความน่าติดตามอยู่เหมือนกัน (โดยเฉพาะในส่วนของการสืบ) แต่ก็คิดว่ายังมีซีรี่ย์เกาหลีเรื่องอื่นที่ทำออกมาเยี่ยมกว่านี้ (ผมว่าเรื่อง Kingdom ทำออกมาได้ดีกว่าเยอะ)
ผมลองวิเคราะห์ปัจจัยต่างๆ ดูแล้ว ผมเห็นว่าสิ่งที่ทำให้ Squid Game ประสบความสำเร็จแบบถล่มทลายทั่วโลกมากกว่า Alice in Borderland มีดังนี้ครับ
1. สัญลักษณ์
ถึงแม้ Alice in Borderland จะมีการเล่น Symbolism กับไพ่และตัวละครในวรรณกรรม Alice in Wonderland ก็ตาม แต่ Squid Game จะมีสัญลักษณ์ต่างๆ ที่พอคนเห็นปุ๊บก็จะนึกถึง Squid Game ได้ทันทีโดยไม่ต้องตีความต่อ ไม่ว่าจะเป็น ชุดฮู้ดสีสดใสพร้อมหน้ากากลายปุ่มจอย Play Station หน้ากากเหลี่ยม Polygon ของ Front man, หน้ากากรูปสัตว์ของ VIP, หุ่น AEIOU (ซึ่งจริงๆ แล้วเกมนี้เหมือนกับเรื่อง As the God Wills แล้วเรื่องหลังทำออกมาโหดและลุ้นกว่าด้วย) และขนมน้ำตาล
2. พฤติกรรมของแฟนคลับ
เพจซีรี่ย์สาย J เวลามีละครออกมาเรื่องหนึ่ง ผู้เขียนก็จะเขียนรีวิวแบบยาวๆ มีเขียนประเด็นถกเถียงกันแบบม้วนเดียวจบ แล้วก็จะมีเขียนชมตัวละครที่ตัวเองปลื้มไว้เสร็จสรรพ ส่วนแฟนสาย K จะไม่ได้เขียนรีวิวยาวๆ เพียงแค่ครั้งเดียว ยกตัวอย่างเช่น โพสท์แรกเขียนรีวิว โพสท์สองเขียนปลื้มกงยู โพสท์ที่สามเขียนถึงปู่ 001 โพสท์สี่เขียนถึงเพลง Fly Me to the Moon ที่ Front man เปิด โพสท์ห้าเขียนถึงองค์ประกอบศิลป์ของฉาก โพสท์หกเขียนถึงหนุ่มแขก and so on จะเห็นได้ว่าพฤติกรรมของแฟนสาย K จะสอดคล้องกับหนทางสร้างความโด่งดังในโลกยุค SNS ที่ว่า การโพสท์เนื้อหาสั้นๆ เป็นจำนวนมาก สม่ำเสมอ จะได้ผลลัพธ์ (ยอด View ยอด Like) ที่ดีกว่าการเขียนแบบละเอียด แล้วจบลงในโพสท์เดียว (แต่ในฐานะที่เป็นแฟนคลับสาย J ผมก็ชอบพฤติกรรมอย่างที่ผมเป็น และไม่คิดจะไปทำตัวแบบแฟนคลับสาย K เพราะมันไม่ใช่แนว)
3. High Ground
หากให้ว่ากันตามตรง Netflix ถือเป็นถิ่นของเกาหลีครับ เราะจะสังเกตเห็นได้ว่าในแต่ละเดือนเกาหลีจะทำละครฟอร์มใหญ่ลงบน Netflix อยู่เสมอ และคุณภาพของละครเกาหลีลง Netflix ในภาพรวมก็อาจกล่าวได้ว่าเทียบเท่าหรือเหนือกว่า หนัง/ ละครฝรั่งแบบ Original by Netflix เสียด้วยซ้ำ (เรื่องฝรั่งที่เจ๋งๆ เช่น Designated Survivor, Shadow and Bone, Umbrella Academy ก็มีอยู่ แต่เรื่องที่ออกมางั้นๆ ก็มีเยอะมาก) ในทางกลับกัน ละครญี่ปุ่นแบบ Original by Netflix นั้น แม้จะมีเรื่องที่เยี่ยมๆ อยู่มากมาย แต่ก็ถือว่ามีจำนวนน้อยมากกว่าเกาหลี ปีหนึ่งออกมาแค่ไม่กี่เรื่อง
ดังนั้น จึงไม่ใช่เรื่องแปลกหากทาง Netflix จะโปรโมทผลงานของเกาหลีหนักกว่าผลงานของญี่ปุ่น เพราะจะเห็นได้ว่าเกาหลีเป็นลูกค้ารายใหญ่กว่าของ Netflix สร้าง Content ซึ่งเป็นที่มาของรายได้ของ Netflix ได้มากกกว่าทางฝั่งญี่ปุ่น
นอกจากนี้ ด้วยสาเหตุที่ Netflix มี content (เฉพาะในส่วนของหนัง/ละครคนแสดง)จากทางฝั่งเกาหลีมากกว่าฝั่งญี่ปุ่น Subscriber ของ Netflix จึงมีโอกาสที่จะให้ความสนใจ Content ของเกาหลีสูงกว่าญี่ปุ่นเป็นธรรมดา
4. ความเป็นที่รู้จักของผู้คนทั่วไป
สืบเนื่องจากข้อ 2-3 ผู้ชมส่วนมากจะมีความรู้เกี่ยวกับวงการบันเทิงเกาหลีมากกว่าวงการบันเทิงญี่ปุ่น
อย่างผมเอง ขนาดไม่ได้ติดตามซีรีย์เกาหลีมาก ก็รู้จักดาราดังของเกาหลีพอสมควรว่าใครเป็นใคร เพราะมีพวกเพื่อนสาย K โพสท์บน FB อยู่บ่อยๆ ในทางกลับกัน ผู้ชมที่ไม่ได้ติดตามซีรีย์ญี่ปุ่นอย่างละเอียด ก็จะไม่ทราบดีนักว่าดาราดังของญี่ปุ่นมีใครบ้าง
มีเพื่อนผมคนนึงบอกผมว่า "Squid Game น่ะเขาเอาดาราชั้นนำมาเล่น แต่ Alice เอาดาราเกรดรองนมใหญ่มาเล่น" ตัวผมที่เป็นแฟนคลับน้องเต่า Tsuchiya Tao ถึงกับต้องกำหมัดแน่นๆ พยายามไม่ให้ตัวเองปรี๊ดแตก
ไม่เพียงแค่นั้น พวกที่ไม่ได้เป็นแฟนสาย J แต่คิดว่าตัวเองรู้ละเอียดก็จะออกมากป่าวประกาศบ่อยๆ ว่าหนังละคร/คนญี่ปุ่นแสดงห่วย เน้นเก๊ก เน้นตะโกน จนคนจำนวนมากเชื่อและก็ไม่สนใจ Content ญี่ปุ่นไปเลยทั้งๆ ที่มีเรื่องดีๆ อยู่มาก
5. ภาพพจน์ที่ไม่ค่อยดีของผลงานที่ดัดแปลงมาจากการ์ตูน
ถึงแม้ Netflix จะมี Content ที่เป็น Anime จากทางญี่ปุ่นอยู่มากมาย แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า แฟนๆ Anime ญี่ปุ่น จะสนใจในหนัง/ละครคนแสดงของญี่ปุ่นด้วย ยิ่งในกรณีที่หนัง/ละครที่ดัดแปลงมาจากการ์ตูนญี่ปุ่น แฟนๆ การ์ตูนจำนวนไม่น้อยก็จะตั้งป้อมไว้ว่า "ออกมาห่วยกว่าฉบับการ์ตูนแน่" แล้วก็ไม่ให้ความสนใจไปเลยตั้งแต่ต้น
6. การสนับสนุนของสื่อฝรั่ง
เกาหลีเป็นประเทศที่"มีความสัมพันธ์อันดี" กับสื่อฝรั่งอยู่เป็นทุนเดิมแล้วครับ ผมเองติดตามข่าวภาษาอังกฤษมาเป็นระยะๆ แล้วจะสังเกตเห็นว่า ถ้าไม่ใช่เรื่องที่ญี่ปุ่นได้เปรียบอย่างเห็นๆ เช่น อาหาร อนิเม สถานท่องเที่ยว สื่อฝรั่งจะ Favor เกาหลีมากกว่าหลายเรื่อง ยกตัวอย่างเช่น
- ตอนญี่ปุ่นเลือกลงทุนกับ Hydrogen Economy สื่อฝรั่งก็เขียนว่า เป็นความพยายามที่เดียวดาย ไม่มีคนอื่นเอาด้วย แต่พอเกาหลีประกาศโครงการลงทุนใน Hydrogen สื่อสำนักเดียวกันก็จะบอกว่าไอเดียล้ำ มีวิสัยทัศน์
- มีตอนที่จัดอันดับเรื่องความเท่าเทียมกันทางเพศ แล้วญี่ปุ่นได้อันดับไม่ดี สื่อฝรั่งก็จะพาดหัวว่าญี่ปุ่นได้อันดับแย่มาก แต่ในเนื้อข่าวจะมีประโยคหนึ่งเขียนไว้สั้นๆ ประโยคเดียวว่าอันดับเกาหลีต่ำกว่าญี่ปุ่น 2 อันดับ
- สื่อฝรั่งจะนำเสนอข่าวอยู่ระยะๆ ว่าญี่ปุ่นมีปัญหากดขี่แรงงานต่างชาติ ดูแลคนต่างชาติไม่ดี ส่วนเกาหลีที่มีปัญหาอย่างเดียวกัน (ดังที่เห็นได้จากในเรื่อง Squid Game) แต่กลับไม่ถูกพูดถึงเท่าไร พอมีการสำรวจข้อมูลจากคนเวียดนาม จะพบว่า คนเวียดนามนิยมไปทำงานที่เกาหลีมากกว่าญี่ปุ่น เพราะกลัวว่าไปทำที่ญี่ปุ่นแล้วจะลำบาก (ทั้งๆ ที่ตอนนี้แรงงานเวียดนามเป็นที่ต้องการในตลาดญี่ปุ่นมากกว่าคนไทยด้วยซ้ำ)
ที่จริงตัวอย่างเรื่องทำนองนี้ยังมีอีก แต่ไม่ขอเขียนต่อเพราะมันจะหลุดไปเรื่องการเมืองระหว่างประเทศแทน
7. ธงของผู้ผลิต
Goal ของเกาหลีจะตั้งเอาไว้ตั้งแต่ต้นแล้วว่า จะทำ Content ออกไปขายตลาดโลก ส่วนฝ่ายญี่ปุ่นจะยังมองว่า ตลาดโลกคือรายได้เสริมที่เพิ่มมาจากการขายตลาดภายในประเทศ ทางญี่ปุ่นเลยไม่ได้โปรโมทตลาดนอกประเทศหนักเท่าเกาหลี
เมื่อพิจารณาจากปัจจัยทั้ง 7 ข้อข้างต้นแล้ว ถึงแม้ผมจะเป็นคนนิยมสาย J มากกว่า K ก็ต้องยอมรับแบบเจ็บใจเล็กๆ ว่าฝั่งญี่ปุ่นยังมีการบ้านต้องทำอีกหลายอย่าง ในตลาดหนัง/ละคร Live Action
อย่างไรก็ตาม ผมก็อยากบอกแฟนๆ ของ Alice in Borderland ว่าอย่าได้น้อยใจหรือรู้สึกคับแค้นใจไปเลยว่า Alice in Borderland เป็นฝ่ายพ่ายแพ้
เพราะถ้ามองย้อนกลับไปตอนที่ออกฉายปีที่แล้ว ตัวซีรี่ย์ก็ประสบความสำเร็จในระดับที่ผู้จัดกล้าประกาศทำซีซั่นสองหลังจากที่ออกฉายไปได้ไม่ถึงสัปดาห์ และพอเวลาผ่านไปได้หนึ่งปี กระแสของ Squid Game ก็ช่วยให้ Alice in Borderland มีคนกลับมาดูสูงถึงอันดับ 5 ของ Netflix ทั้งๆ โดยที่ไม่ต้องออกไปโปรโมทหนักๆ ทั่วโลก นี่ก็เป็นเครื่องสะท้อนให้เห็นว่า Alice in Borderland ก็มาได้ไกลมากแล้วครับ
แต่ในขณะเดียวกัน ผมก็ยอมรับนะว่าถ้าไม่นับในส่วนของเกม (ที่ผมว่าค่อนข้างธรรมดา และยืดๆ) มันก็มีความน่าติดตามอยู่เหมือนกัน (โดยเฉพาะในส่วนของการสืบ) แต่ก็คิดว่ายังมีซีรี่ย์เกาหลีเรื่องอื่นที่ทำออกมาเยี่ยมกว่านี้ (ผมว่าเรื่อง Kingdom ทำออกมาได้ดีกว่าเยอะ)
ผมลองวิเคราะห์ปัจจัยต่างๆ ดูแล้ว ผมเห็นว่าสิ่งที่ทำให้ Squid Game ประสบความสำเร็จแบบถล่มทลายทั่วโลกมากกว่า Alice in Borderland มีดังนี้ครับ
1. สัญลักษณ์
ถึงแม้ Alice in Borderland จะมีการเล่น Symbolism กับไพ่และตัวละครในวรรณกรรม Alice in Wonderland ก็ตาม แต่ Squid Game จะมีสัญลักษณ์ต่างๆ ที่พอคนเห็นปุ๊บก็จะนึกถึง Squid Game ได้ทันทีโดยไม่ต้องตีความต่อ ไม่ว่าจะเป็น ชุดฮู้ดสีสดใสพร้อมหน้ากากลายปุ่มจอย Play Station หน้ากากเหลี่ยม Polygon ของ Front man, หน้ากากรูปสัตว์ของ VIP, หุ่น AEIOU (ซึ่งจริงๆ แล้วเกมนี้เหมือนกับเรื่อง As the God Wills แล้วเรื่องหลังทำออกมาโหดและลุ้นกว่าด้วย) และขนมน้ำตาล
2. พฤติกรรมของแฟนคลับ
เพจซีรี่ย์สาย J เวลามีละครออกมาเรื่องหนึ่ง ผู้เขียนก็จะเขียนรีวิวแบบยาวๆ มีเขียนประเด็นถกเถียงกันแบบม้วนเดียวจบ แล้วก็จะมีเขียนชมตัวละครที่ตัวเองปลื้มไว้เสร็จสรรพ ส่วนแฟนสาย K จะไม่ได้เขียนรีวิวยาวๆ เพียงแค่ครั้งเดียว ยกตัวอย่างเช่น โพสท์แรกเขียนรีวิว โพสท์สองเขียนปลื้มกงยู โพสท์ที่สามเขียนถึงปู่ 001 โพสท์สี่เขียนถึงเพลง Fly Me to the Moon ที่ Front man เปิด โพสท์ห้าเขียนถึงองค์ประกอบศิลป์ของฉาก โพสท์หกเขียนถึงหนุ่มแขก and so on จะเห็นได้ว่าพฤติกรรมของแฟนสาย K จะสอดคล้องกับหนทางสร้างความโด่งดังในโลกยุค SNS ที่ว่า การโพสท์เนื้อหาสั้นๆ เป็นจำนวนมาก สม่ำเสมอ จะได้ผลลัพธ์ (ยอด View ยอด Like) ที่ดีกว่าการเขียนแบบละเอียด แล้วจบลงในโพสท์เดียว (แต่ในฐานะที่เป็นแฟนคลับสาย J ผมก็ชอบพฤติกรรมอย่างที่ผมเป็น และไม่คิดจะไปทำตัวแบบแฟนคลับสาย K เพราะมันไม่ใช่แนว)
3. High Ground
หากให้ว่ากันตามตรง Netflix ถือเป็นถิ่นของเกาหลีครับ เราะจะสังเกตเห็นได้ว่าในแต่ละเดือนเกาหลีจะทำละครฟอร์มใหญ่ลงบน Netflix อยู่เสมอ และคุณภาพของละครเกาหลีลง Netflix ในภาพรวมก็อาจกล่าวได้ว่าเทียบเท่าหรือเหนือกว่า หนัง/ ละครฝรั่งแบบ Original by Netflix เสียด้วยซ้ำ (เรื่องฝรั่งที่เจ๋งๆ เช่น Designated Survivor, Shadow and Bone, Umbrella Academy ก็มีอยู่ แต่เรื่องที่ออกมางั้นๆ ก็มีเยอะมาก) ในทางกลับกัน ละครญี่ปุ่นแบบ Original by Netflix นั้น แม้จะมีเรื่องที่เยี่ยมๆ อยู่มากมาย แต่ก็ถือว่ามีจำนวนน้อยมากกว่าเกาหลี ปีหนึ่งออกมาแค่ไม่กี่เรื่อง
ดังนั้น จึงไม่ใช่เรื่องแปลกหากทาง Netflix จะโปรโมทผลงานของเกาหลีหนักกว่าผลงานของญี่ปุ่น เพราะจะเห็นได้ว่าเกาหลีเป็นลูกค้ารายใหญ่กว่าของ Netflix สร้าง Content ซึ่งเป็นที่มาของรายได้ของ Netflix ได้มากกกว่าทางฝั่งญี่ปุ่น
นอกจากนี้ ด้วยสาเหตุที่ Netflix มี content (เฉพาะในส่วนของหนัง/ละครคนแสดง)จากทางฝั่งเกาหลีมากกว่าฝั่งญี่ปุ่น Subscriber ของ Netflix จึงมีโอกาสที่จะให้ความสนใจ Content ของเกาหลีสูงกว่าญี่ปุ่นเป็นธรรมดา
4. ความเป็นที่รู้จักของผู้คนทั่วไป
สืบเนื่องจากข้อ 2-3 ผู้ชมส่วนมากจะมีความรู้เกี่ยวกับวงการบันเทิงเกาหลีมากกว่าวงการบันเทิงญี่ปุ่น
อย่างผมเอง ขนาดไม่ได้ติดตามซีรีย์เกาหลีมาก ก็รู้จักดาราดังของเกาหลีพอสมควรว่าใครเป็นใคร เพราะมีพวกเพื่อนสาย K โพสท์บน FB อยู่บ่อยๆ ในทางกลับกัน ผู้ชมที่ไม่ได้ติดตามซีรีย์ญี่ปุ่นอย่างละเอียด ก็จะไม่ทราบดีนักว่าดาราดังของญี่ปุ่นมีใครบ้าง
มีเพื่อนผมคนนึงบอกผมว่า "Squid Game น่ะเขาเอาดาราชั้นนำมาเล่น แต่ Alice เอาดาราเกรดรองนมใหญ่มาเล่น" ตัวผมที่เป็นแฟนคลับน้องเต่า Tsuchiya Tao ถึงกับต้องกำหมัดแน่นๆ พยายามไม่ให้ตัวเองปรี๊ดแตก
ไม่เพียงแค่นั้น พวกที่ไม่ได้เป็นแฟนสาย J แต่คิดว่าตัวเองรู้ละเอียดก็จะออกมากป่าวประกาศบ่อยๆ ว่าหนังละคร/คนญี่ปุ่นแสดงห่วย เน้นเก๊ก เน้นตะโกน จนคนจำนวนมากเชื่อและก็ไม่สนใจ Content ญี่ปุ่นไปเลยทั้งๆ ที่มีเรื่องดีๆ อยู่มาก
5. ภาพพจน์ที่ไม่ค่อยดีของผลงานที่ดัดแปลงมาจากการ์ตูน
ถึงแม้ Netflix จะมี Content ที่เป็น Anime จากทางญี่ปุ่นอยู่มากมาย แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า แฟนๆ Anime ญี่ปุ่น จะสนใจในหนัง/ละครคนแสดงของญี่ปุ่นด้วย ยิ่งในกรณีที่หนัง/ละครที่ดัดแปลงมาจากการ์ตูนญี่ปุ่น แฟนๆ การ์ตูนจำนวนไม่น้อยก็จะตั้งป้อมไว้ว่า "ออกมาห่วยกว่าฉบับการ์ตูนแน่" แล้วก็ไม่ให้ความสนใจไปเลยตั้งแต่ต้น
6. การสนับสนุนของสื่อฝรั่ง
เกาหลีเป็นประเทศที่"มีความสัมพันธ์อันดี" กับสื่อฝรั่งอยู่เป็นทุนเดิมแล้วครับ ผมเองติดตามข่าวภาษาอังกฤษมาเป็นระยะๆ แล้วจะสังเกตเห็นว่า ถ้าไม่ใช่เรื่องที่ญี่ปุ่นได้เปรียบอย่างเห็นๆ เช่น อาหาร อนิเม สถานท่องเที่ยว สื่อฝรั่งจะ Favor เกาหลีมากกว่าหลายเรื่อง ยกตัวอย่างเช่น
- ตอนญี่ปุ่นเลือกลงทุนกับ Hydrogen Economy สื่อฝรั่งก็เขียนว่า เป็นความพยายามที่เดียวดาย ไม่มีคนอื่นเอาด้วย แต่พอเกาหลีประกาศโครงการลงทุนใน Hydrogen สื่อสำนักเดียวกันก็จะบอกว่าไอเดียล้ำ มีวิสัยทัศน์
- มีตอนที่จัดอันดับเรื่องความเท่าเทียมกันทางเพศ แล้วญี่ปุ่นได้อันดับไม่ดี สื่อฝรั่งก็จะพาดหัวว่าญี่ปุ่นได้อันดับแย่มาก แต่ในเนื้อข่าวจะมีประโยคหนึ่งเขียนไว้สั้นๆ ประโยคเดียวว่าอันดับเกาหลีต่ำกว่าญี่ปุ่น 2 อันดับ
- สื่อฝรั่งจะนำเสนอข่าวอยู่ระยะๆ ว่าญี่ปุ่นมีปัญหากดขี่แรงงานต่างชาติ ดูแลคนต่างชาติไม่ดี ส่วนเกาหลีที่มีปัญหาอย่างเดียวกัน (ดังที่เห็นได้จากในเรื่อง Squid Game) แต่กลับไม่ถูกพูดถึงเท่าไร พอมีการสำรวจข้อมูลจากคนเวียดนาม จะพบว่า คนเวียดนามนิยมไปทำงานที่เกาหลีมากกว่าญี่ปุ่น เพราะกลัวว่าไปทำที่ญี่ปุ่นแล้วจะลำบาก (ทั้งๆ ที่ตอนนี้แรงงานเวียดนามเป็นที่ต้องการในตลาดญี่ปุ่นมากกว่าคนไทยด้วยซ้ำ)
ที่จริงตัวอย่างเรื่องทำนองนี้ยังมีอีก แต่ไม่ขอเขียนต่อเพราะมันจะหลุดไปเรื่องการเมืองระหว่างประเทศแทน
7. ธงของผู้ผลิต
Goal ของเกาหลีจะตั้งเอาไว้ตั้งแต่ต้นแล้วว่า จะทำ Content ออกไปขายตลาดโลก ส่วนฝ่ายญี่ปุ่นจะยังมองว่า ตลาดโลกคือรายได้เสริมที่เพิ่มมาจากการขายตลาดภายในประเทศ ทางญี่ปุ่นเลยไม่ได้โปรโมทตลาดนอกประเทศหนักเท่าเกาหลี
เมื่อพิจารณาจากปัจจัยทั้ง 7 ข้อข้างต้นแล้ว ถึงแม้ผมจะเป็นคนนิยมสาย J มากกว่า K ก็ต้องยอมรับแบบเจ็บใจเล็กๆ ว่าฝั่งญี่ปุ่นยังมีการบ้านต้องทำอีกหลายอย่าง ในตลาดหนัง/ละคร Live Action
อย่างไรก็ตาม ผมก็อยากบอกแฟนๆ ของ Alice in Borderland ว่าอย่าได้น้อยใจหรือรู้สึกคับแค้นใจไปเลยว่า Alice in Borderland เป็นฝ่ายพ่ายแพ้
เพราะถ้ามองย้อนกลับไปตอนที่ออกฉายปีที่แล้ว ตัวซีรี่ย์ก็ประสบความสำเร็จในระดับที่ผู้จัดกล้าประกาศทำซีซั่นสองหลังจากที่ออกฉายไปได้ไม่ถึงสัปดาห์ และพอเวลาผ่านไปได้หนึ่งปี กระแสของ Squid Game ก็ช่วยให้ Alice in Borderland มีคนกลับมาดูสูงถึงอันดับ 5 ของ Netflix ทั้งๆ โดยที่ไม่ต้องออกไปโปรโมทหนักๆ ทั่วโลก นี่ก็เป็นเครื่องสะท้อนให้เห็นว่า Alice in Borderland ก็มาได้ไกลมากแล้วครับ
ความคิดเห็นที่ 55
ที่ได้ยินว่าเรื่องใหนดีกว่าเรื่องไหนมันก็มาจากปากไม่กี่คน ปากจากฟค.เรื่องนั้นๆไม่กี่กลุ่ม มันก็วัดไม่ได้ถ้าจะวัดให้เห็นชัดๆเป็นตัวเลขหรือเป็น''FACT''ที่คนดูส่วนใหญ่ให้หนังเรื่องไหนดีกว่ากัน งั้นก็ไปในเว็ปimdbเว็ปไซต์หนังเเละเว็ปลงคะเเนนหนังที่คนใช้เยอะสุดอันดับหนึ่งของโลก
คนดูลงคะเเนนอลิซ สามหมื่นหนึ่งพันกว่าคน ให้คะเเนนอลิซ 7.7/10
ในขณะที่สควิดเกมคนดูลงคะเเนน หนึ่งเเสนเจ็ดหมื่นกว่าคน ให้คะเเนน 8.2/10
ปล.ตอนนี้สควิดเกมเป็นซีรี่ย์ที่มีคนดูมากที่สุดของเน็ตฟลิกเเล้ว ปังมาก ^^
คนดูลงคะเเนนอลิซ สามหมื่นหนึ่งพันกว่าคน ให้คะเเนนอลิซ 7.7/10
ในขณะที่สควิดเกมคนดูลงคะเเนน หนึ่งเเสนเจ็ดหมื่นกว่าคน ให้คะเเนน 8.2/10
ปล.ตอนนี้สควิดเกมเป็นซีรี่ย์ที่มีคนดูมากที่สุดของเน็ตฟลิกเเล้ว ปังมาก ^^
ความคิดเห็นที่ 21
เกมส์ของ alice แอบเข้าถึงยากกว่า หลายเกมส์เป็นเกมส์ประลองปัญญา บางทีเราก็ไขตามตัวละครไม่ทัน ในขณะที่เกมส์ของ squid เป็นเกมส์ง่ายๆ ดูแล้วเข้าใจง่าย คนเลยเข้าถึงง่าย ลุ้นไปกับเกมส์ได้มากกว่า
การแสดงของญี่ปุ่น ติดฟูมฟาย จากทีมฟิลกำลังอินๆ พอมันมากไปกลายเป็นไม่อิน รู้สึกรำคาญแทน เกมส์หมาป่าของ alice เศร้ามากก็จริง แต่พอเทียบกับเกมส์ลูกแก้วของ squid ผมอินเกมส์ลูกแก้วมากกว่า
ซีรี่ย์ญี่ปุ่น มีความเป็นตัวของตัวเองสูงมาก คนดูต้องเข้าใจธรรมชาติซีรี่ย์เขา ต่างจากซีรี่ย์เกาหลีที่แมสมากกว่า เป็นมิตรกับคนดูมากกว่า
การแสดงของญี่ปุ่น ติดฟูมฟาย จากทีมฟิลกำลังอินๆ พอมันมากไปกลายเป็นไม่อิน รู้สึกรำคาญแทน เกมส์หมาป่าของ alice เศร้ามากก็จริง แต่พอเทียบกับเกมส์ลูกแก้วของ squid ผมอินเกมส์ลูกแก้วมากกว่า
ซีรี่ย์ญี่ปุ่น มีความเป็นตัวของตัวเองสูงมาก คนดูต้องเข้าใจธรรมชาติซีรี่ย์เขา ต่างจากซีรี่ย์เกาหลีที่แมสมากกว่า เป็นมิตรกับคนดูมากกว่า
ความคิดเห็นที่ 8
1. อย่างแรกเลยคือชื่อเสียงของซีรี่ย์เกาหลีดีกว่าญี่ปุ่น ถึงจะบอกว่าตะวันตกมันไม่ได้อะไรกับเกาหลีเหมือนบ้านเราแต่ญี่ปุ่นหนักกว่าอีกครับ ญี่ปุ่นดังในเรื่องของมังงะ อนิเม และ เกม แต่หนังซีรี่ย์ ญี่ปุ่นสู้เกาหลีไม่ได้
2. ความเข้าถึงง่ายของคนส่วนใหญ่ สควิดเกมเอาเรื่องที่เข้าใจง่ายๆแบบเรื่องความจนการดิ้นรนเอาตัวรอดของคนจน เป็นอะไรที่คนส่วนใหญ่เข้าใจแน่ๆและอินได้ไม่ยาก แต่อลิซดูจนจบยังไม่รู้เลยว่ามันมาเล่นเกมกันทำไม มาได้ไง ชนะแล้วได้อะไร เนื้อเรื่องแฟนตาซีสุดโต่ง
3. ความไม่ซับซ้อนของเกม. สคิวดเกมคือเกมเด็กๆเล่นเข้าใจโคดง่าย ใครดูก็รู้ว่ามันจะแพ้จะชนะกันยังไง แต่อลิซกติกาซับซ้อน แถมวิธีขนะคือการหาช่องโหว่ของกติกาหรือหาวิธีชนะของเกม คือต้องตั้งใจดู ดูแล้วต้องคิดตามไปด้วย ถ้าเผลอหลุดไปไมกี่ฉากอาจจะดูไม่รู้เรื่อง แต่สควิดเกมดูไปเล่นเกมไปหรือลุกไปอาบน้ำกลับมาอีกทีก็ยังเข้าใจกับเรื่องโดยรวมได้
2. ความเข้าถึงง่ายของคนส่วนใหญ่ สควิดเกมเอาเรื่องที่เข้าใจง่ายๆแบบเรื่องความจนการดิ้นรนเอาตัวรอดของคนจน เป็นอะไรที่คนส่วนใหญ่เข้าใจแน่ๆและอินได้ไม่ยาก แต่อลิซดูจนจบยังไม่รู้เลยว่ามันมาเล่นเกมกันทำไม มาได้ไง ชนะแล้วได้อะไร เนื้อเรื่องแฟนตาซีสุดโต่ง
3. ความไม่ซับซ้อนของเกม. สคิวดเกมคือเกมเด็กๆเล่นเข้าใจโคดง่าย ใครดูก็รู้ว่ามันจะแพ้จะชนะกันยังไง แต่อลิซกติกาซับซ้อน แถมวิธีขนะคือการหาช่องโหว่ของกติกาหรือหาวิธีชนะของเกม คือต้องตั้งใจดู ดูแล้วต้องคิดตามไปด้วย ถ้าเผลอหลุดไปไมกี่ฉากอาจจะดูไม่รู้เรื่อง แต่สควิดเกมดูไปเล่นเกมไปหรือลุกไปอาบน้ำกลับมาอีกทีก็ยังเข้าใจกับเรื่องโดยรวมได้
แสดงความคิดเห็น
เห็นหลายๆท่านบอกว่า Alice in Borderland ของญี่ปุ่นดีกว่า Squid Game ของเกาหลีใต้ แต่ทำไมกระแส Squid Game ถึงแรงกว่ามาก ?