ทำไมถึงไม่มีการปรับลดภาษีการซื้อรถ??

พอดีมีแผนจะซื้อ Hondo CRV สำหรับครอบครัว, เห็นแล้วราคาและค่าผ่อนแล้วก็ตึงมือเหมือนกัน 
เลยฉุกคิดมาเรื่องนึงว่า รถที่ไทยขายแพงเพราะกำแพงภาษี เลยไปเช็คกับประเทศอื่น (ด้วยตัวราคาเริ่มต้น + ราคาแลกเปลี่ยน ณ เวลาเดียวกัน)

ไทย: 1.3 ล้าน
มาเลย์: 1.1 ล้าน
UK: 1.3 ล้าน
US: 0.8 ล้าน
ญี่ปุ่น: 0.8 ล้าน
จีน: 0.8 ล้าน

มองรู้สึกว่าแพง ยิ่งเทียบกับค่าครองชีพแล้ว การจะสร้างเนื้อสร้างตัวในประเทศไทย แข็งแกร่งมากๆ

เลยไปลองหาข้อมูลเพิ่มเรื่องภาษีรถ
https://www.magcarzine.com/thai-cartax-timeline/
https://wwสนw.magcarzine.com/car-tax-import-007/

เลยสังเกตุว่านโยบายภาษีรถนำเข้านั้น เอาไว้กระตุ้นและช่วยเหลือ อุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์เมื่อ 2510 - 2520
จากนักลงทุนตปท., บริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนภายในประเทศ, กลยุทธ์ทางภาครัฐ(ดุลการค้า) ณ ตอนนั้น

แต่ตอนนี้เงื่อนไขเหล่านั้นได้เปลี่ยนไปหมดแล้ว  เราควรจะพิจารณาการปรับเปลี่ยนรึเปล่า??

ในความเห็นส่วนตัว รถยนต์ถือเป็นสินค้าที่สำคัญต่อการมีชีวิต, ในชีวิตชาวบ้านการมีรถยนต์ ถือเป็นการยกระดับชีวิตและเพิ่มโอกาสหลายๆในชีวิตมากๆ แต่ในประเทศไทย ผมรู้สึกว่าต้นทุนมันสูงมากเกิน จนทำให้ชาวบ้านเสียโอกาสหลายอย่างในชีวิต
ถึงแม้ว่าจะเพียงแสนเดียว, มันคือทั้งปีของชีวิตคนนึง ถ้าปรับเป็นอย่างอื่นได้ มันขับเคลื่อนเศรษฐกิจและคุณภาพชิวิตกีดีขึ้น
และกฎระเบียบภาษีตัวนี้ ไม่ได้ถูกออกแบบให้ประชาชนได้รับผลประโยชน์อย่างเต็มที่ในสถานการณ์ปัจจุบัน

ตัวอย่างเช่น ในบทความพูดถึงเรื่องรถไฟฟ้าจากจีน ที่"จะ"ได้รับFTA (ภาษีนำเข้าเป็น 0%)
จะเห็นได้ว่ากลายเป็นปัญหาซ้อนปัญหา 
กลัวสินค้าจีนทะลัก (ส่วนต่างราคาจากภาษี 80%)
กลัวอุตสาหกรรมชิ้นส่วนมีปัญหา  
กลัวนักลงทุนรถยนต์ไฟฟ้าเจ้าอื่นไม่มา (เพราะต้องชนกับภาษี 80%)

การที่ประชาชนเสียโอกาส ได้สินค้าดี ราคาจับต้องได้ ไม่กลายเป็นปัญหา ??!!! 
นโยบายควรจะโฟกัส ที่สร้างความมั่นคงและเติบโต ให้กับประชาชน ไม่ใช่ผลักภาระและความเสี่ยงมาที่ประชาชน...

-----
(อ้างอิงจากบทความ)

ราคา C.I.F: 400,000 บาท.   
1. อัตราอากรนำเข้า: 80%  คือ [ราคารถ + ค่าขนส่ง + ค่าประกันสินค้า]
2. อัตราภาษีสรรพสามิตร: 30% คือ  [(C.I.F + อากรนำเข้า) x อัตราภาษีสรรพสามิตร/ 1-(1.1. x อัตราภาษีสรรพสามิตร)]
3. อัตราภาษีเพื่อมหาดไทย: 10% คือ [ภาษีสรรพสามิตร x 10%]
4. อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม: 7% คือ  [ฐานภาษี (ราคารถ รวมกับภาษีข้อ 1-3) x อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT 7% นั่นเอง)]
 
ซึ่งเมื่อคิดคำนวนแล้วรถคันนี้มีอัตราอากรรวมทั้งหมดอยู่ที่ 187.47% ด้วยกัน
นั่นหมายความว่า หากรถคันนี้มีการนำเข้ามาขายในบ้านเรา จะโดนค่าภาษีถึง 749,880 บาท
และเมื่อรวมกับราคารถก็จะกลายเป็น 1,149,8800 บาท!! นี่แหละคือเหตุผลที่ทำให้รถหลักแสนกลายเป็นหลักล้าน
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 8
ประเทศเราเก็บภาษีแพงตอนซื้อรถ แต่เก็บภาษีรายปีถูกมากๆแทบจะถูกที่สุดประเทศนึงบนโลก
ในขณะที่อีกหลายๆประเทศภาษีที่เก็บรวมตอนซื้อรถไม่แพง แต่ภาษีรายปีโหดมากๆ
แถมต้องจ่ายค่าใช้จ่ายแฝงสารพัด จนบางประเทศใช้รถเกิน10ปีจะไม่คุ้มจ่ายภาษีเท่ากับซื้อรถใหม่
หลักการเก็บภาษีจากรถยนต์ก็เหมือนที่อดีตนายกทักษิณเคยพูดไว้ตอนปรับโครงสร้างราคาน้ำมัน คือ
คนที่มีความสามารถพอจะซื้อรถยนต์ก็ควรต้องจ่ายภาษี เอามาบำรุงโครงสร้างพื้นฐาน แทนที่จะไปเก็บ
จากคนรายได้น้อยแต่ไม่ได้ซื้อรถ


และอย่าลืมว่าเมืองไทยเราเป็นประเทศที่เก็บภาษีเงินได้น้อยมากๆ แถมคนที่รายได้ไม่ถึงปีละ150,000
ไม่ต้องมีภาระภาษีตรงนี้ ทำงานได้เท่าไหร่เก็บไปเต็มๆ หลายประเทศบนโลกอิจฉาระบบภาษีแบบเรา
เพราะแต้มต่อในการสร้างเนื้อสร้างตัวตอนเริ่มทำงานสูง แถมเลี่ยงภาษีกันไม่ยาก

ถ้าเราจะลดการเก็บภาษีรถยนต์ ลดภาษีสรรพสามิตน้ำมัน เราก็ต้องหาภาษีตัวอื่นมาอุดช่องว่างตรงนี้
ง่ายที่สุดคือขึ้น ภงด.หรือ เก็บ ภงด.ทุกๆคนที่มีรายได้ ทำงานเดือนละ2,000ก็ต้องจ่าย
ร้านค้าแผงลอย ตลาดนัด ก็ต้องเก็บหมดทั่วหน้า เพื่อเอาภาษีมาบำรุงโครงสร้างของประเทศ
ทดแทนในส่วนที่ลดการเก็บภาษีจากจุดอื่น

คนไทยหลายๆคนจ่ายแต่vat7% ก็ร้องแล้วภาษีกูๆ ถ้าโดนแบบในต่างประเทศที่ทำรัฐสวัสดิการดีๆ
ทำงานหาเงินไม่ว่าจะได้น้อยแค่ไหน รายได้100โดนภาษีอย่างน้อย30ทุกคนทุกอาชีพ เรารับได้รึเปล่า
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่