มโนทัศน์เกี่ยวกับผู้นำของพุทธศาสนา

เป็นที่รู้กันว่า ศาสดาของศาสนาพุทธ คือ เจ้าชายสิทธัตถะ ผู้ทรงมีวรรณกษัตริย์ แต่ด้วยทรงเห็นว่า ชีวิตมีความทุกข์จึงแสวงหายังทางหรือมรรคที่จะนำไปสู่การพ้นทุกข์ พระองค์ได้ศึกษา บำเพ็ญทุกขกริยา แต่สุดท้าย พระองค์ก็สามารถที่จะตรัสรู้และได้รู้ว่า อริยสัจสี่ คือ ทางพ้นทุกข์ อันประกอบด้วย ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค

เจ้าชายสิทธัตถะทรงออกผนวช และเมื่อทรงตรัสรู้ พระองค์ได้เผยแพร่หลักธรรมที่พระองค์ได้ทรงตรัสรู้หรือเรียนรู้แก่บุคคลอื่น มีการจดจำคำสอนปากต่อปาก(มุขปาฐะ) จนได้มีการบันทึกที่เรียกกันว่า พระไตรปิฏก

การเรียนรู้ของเจ้าชายในวรรณกษัคริย์ ที่อยู่เหนือคนทั้งปวง มีเจตนาให้ทุกคนได้พ้นทุกข์ ไม่เพียงแค่ ผู้ร่วมวรรณเะเดียวกันเท่านั้น 

ด้วยความที่เจ้าชายสิทธัตถะ เป็นผู้อยู่ในวรรณกษัตริย์ ทำให้พระองค์ทรงเข้าใจเกี่ยวกับการปกครองและสังคมของช่วงเวลานั้นเป็นอย่างดี อินดียที่ประกอบไปด้วย ชนชั้น วรรณะ ชาติ แบ่งแยกผู้คน แม้ว่าสิ่งเหล่านี้จะยังไม่หมดไปในอินดียจนกระทั่งปัจจุบัน แต่เรากลับเห็นถึงความพยายามในการลดความสำคัญของการมีวรรณะของผู้คน และเมื่อเวลาผ่านไป หลักฐานยังคงชัดเจนมาจนถึงปัจจุบัน เกี่ยวกับผู้นำที่ควรจะเป็นตามแนวทางของพุทธศาสนา  ภาพแกะสลัก พญาวานร (มหากปิ) ที่ยอมใช้ตัวเองเป็นสะพานเพื่อให้ลิงผู้อยู่ใต้ปกครองได้ข้ามเมื่อยามมีภัย ปรากฏอยู่หลายแห่ง ตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 3 - 4  เราว่าเป็นการมองความเป็นราชาหรือผู้นำที่ดีในแนวทางของพุทธศาสนา

แก้ไขข้อความเมื่อ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 7
ทำไมคำว่า วรรณะ จึงใช้ว่า วรรณ ล่ะครับ   เอาจริงมันก็ไม่ผิดแต่ก็ต่างไปจากที่คนนิยมเขียนกัน
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่