อยากทราบว่า การเรียนการสอนเรื่องราวเกี่ยวกับประเทศไทยในต่างประเทศเริ่มมีมาตั้งแต่เมื่อใด และสาเหตุใดถึงมีการศึกษาครับ
เท่าที่ทราบคือ จากการอ่านหนังสือชื่อ "ผจญไทยในแดนเทศ" เกี่ยวกับชาวสยามที่ได้ไปใช้ชีวิตในต่างแดนในสมัยก่อน มีบทหนึ่งกล่าวถึงนายทองคำที่ได้เดินทางไปหลายประเทศในช่วงรัชกาลที่ห้าและรัชกาลที่หก ซึ่งช่วงหนึ่งก็เคยไปทำงานกับศาสตราจารย์ท่านหนึ่งชื่อ Cornelius Beach Bradley บุตรชายของ Dr.Dan Beach Bradley ซึ่งเคยเป็นมิชชันนารีในสยาม ตอนที่นายทองคำไปทำงานด้วยศาสตราจารย์ท่านนี้กำลังสอนเกี่ยวกับพระราชพงศาวดาสยามที่ University of California, Berkeley ซึ่งนายทองคำเคยมีโอกาสได้เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่หก ขณะยังทรงเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร เมื่อครั้งเสด็จเยือนสหรัฐอเมริกาอีกด้วย จากจุดนี้อาจทำให้มองได้ว่า การศึกษาเรื่องสยามน่าจะเริ่มมีในช่วงนั้น หรือก่อนหน้านั้นเล็กน้อย ซึ่งสยามนั้นเป็นประเทศแรกๆในเอเชียที่สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเป็นทางการกับสหรัฐอเมริกา (ประมาณช่วงรัชกาลที่สาม) อาจทำให้การศึกษาเกี่ยวกับสยามในสหรัฐอเมริกาเริ่มมีมาก่อนในยุโรป
ในส่วนของยุโรปนั้น เดาว่าอาจจะมีการเริ่มศึกษาเกี่ยวกับประเทศสยามในช่วงเวลาเดียวกัน อย่างอีกท่านหนึ่งคือพันเอกวิชา ฐิตวัฒน์ นักเรียนทหารไทยซึ่งได้ไปศึกษาต่อในเยอรมนีในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ในช่วงแรกที่อยู่ในเยอรมนีต้องไปเรียนภาษาเยอรมันที่มหาวิทยาลัยในเบอร์ลิน ท่านบรรยายในหนังสือ "คนไทยในกองทัพนาซี" ของท่านทำนองว่า "มหาวิทยาลัยในเบอร์ลินนี้มีสอนแทบทุกภาษาในโลกแม้กระทั่งภาษาไทย"
ในส่วนของฟากเอเชีย ญี่ปุ่นซึ่ง (อันนี้ตามความเข้าใจของ จขกท.) น่าจะเป็นประเทศแรกๆในเอเชียที่เริ่มมีระบบมหาวิทยาลัยแบบตะวันตก น่าจะเป็นประเทศแรกๆที่เริ่มมีการเรียนการสอนเกี่ยวกับประเทศไทย อันนี้เดาว่าน่าจะตั้งแต่ช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง กรณีของจีนถ้าจำไม่ผิดน่าจะเริ่มมีการเรียนการสอนภาษาไทยที่มหาวิทยาลัยปักกิ่งในช่วงทศวรรษที่ 1950 อาจารย์ในยุคแรกๆเป็นชาวจีนที่เกิดและเติบโตในประเทศไทย ในส่วนของเกาหลีใต้นั้นเคยดูจากรายการหนังพาไปตอนหนึ่งพาไปชมการเรียนการสอนภาษาไทยที่ Hanguk Unversity for Foreign Studies รายการเขาบรรยายไว้ตอนหนึ่งว่าเริ่มมีการเรียนการสอนภาษาไทยที่นี่ตั้งแต่ช่วงทศวรรษที่ 1960 (ในขณะที่ไทยแม้จะมีการเรียนการสอนภาษาจีนมานานในระดับโรงเรียนตามโรงเรียนจีนแห่งต่างๆ การเรียนการสอนภาษาจีนในมหาวิทยาลัยเริ่มแพร่หลายช่วงทศวรรษที่ 1980 หลังจากไทยสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับสาธารณรัฐประชาชนจีนอย่างเป็นทางการและจีนเริ่มมีนโยบายเปิดประเทศ กรณีของญี่ปุ่นนั้นเริ่มมีการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่นในไทยช่วงประมาณทศวรรษที่ 1930 ช่วงที่ไทยเริ่มมีความใกล้ชิดกับญี่ปุ่น และมองญี่ปุ่นเป็นต้นแบบในการพัฒนา กรณีของเกาหลีนั้นเริ่มมีการเรียนการสอนภาษาเกาหลีในมหาวิทยาลัยไทยประมาณทศวรรษที่ 1990 จำไม่ได้ว่าที่ไหนเป็นที่แรก น่าจะหนึ่งในสามที่นี้ คือมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยบูรพา และมหาวิทยาลัยนเรศวร)
อยากทราบอีกว่า สาเหตุใดถึงมีการศึกษาเกี่ยวกับประเทศไทยในต่างประเทศครับ ถ้าเป็นในยุคสมัยหนึ่ง การเรียนการสอนเกี่ยวกับสยามหรือเอเชียนั้นอาจมองได้ว่ามีวัตถุประสงค์ที่เกี่ยวกับลัทธิจักรวรรดินิยมได้ หรือไม่แน่ก็อาจเป็นการศึกษาเพื่อความรู้จริงๆ แต่ฝ่ายการเมืองนำข้อมูลไปใช้ภายหลัง (ซึ่งส่วนนี้ต้องยอมรับว่าทางตะวันตกเขาทำการศึกษารวบรวมความรู้เกี่ยวกับประเทศต่างๆไว้ดีมาก อย่าง อ.ใกล้รุ่ง อามระดิษ พี่สาวของคุณรัดเกล้า อามระดิษ ที่เป็นอาจารย์อยู่ที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก็สำเร็จการศึกษาเกี่ยวกับวรรณคดีกัมพูชาจากอังกฤษ) สมัยสงครามเย็นก็มีการศึกษาโดยฝ่ายอเมริกันซึ่งส่วนหนึ่งเป็นไปเพื่อนโยบายในยุคสงครามเย็น แล้วในยุคปัจจุบันเหตุใดจึงมีการศึกษาครับ ซึ่ง คหสต. จุดนี้แสดงให้เห็นว่า แม้ว่าไทยจะไม่ได้มีบทบาทสำคัญทางการเมืองและเศรษฐกิจในทวีปเอเชียมากเท่ากับประเทศหลักๆ หรือเป็นอู่อารยธรรมใหญ่ของโลก แต่ก็มีความสำคัญอยู่พอสมควรจนมีการศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับไทยในต่างประเทศ
รบกวนช่วยตอบด้วยครับ ขอบคุณครับ หากมีส่วนใดที่เข้าใจผิดหรือผิดพลาดไปก็ขออภัยด้วยครับ
การเรียนการสอนเรื่องราวเกี่ยวกับประเทศไทยในต่างประเทศเริ่มมีมาตั้งแต่เมื่อใด และสาเหตุใดถึงมีการศึกษา
เท่าที่ทราบคือ จากการอ่านหนังสือชื่อ "ผจญไทยในแดนเทศ" เกี่ยวกับชาวสยามที่ได้ไปใช้ชีวิตในต่างแดนในสมัยก่อน มีบทหนึ่งกล่าวถึงนายทองคำที่ได้เดินทางไปหลายประเทศในช่วงรัชกาลที่ห้าและรัชกาลที่หก ซึ่งช่วงหนึ่งก็เคยไปทำงานกับศาสตราจารย์ท่านหนึ่งชื่อ Cornelius Beach Bradley บุตรชายของ Dr.Dan Beach Bradley ซึ่งเคยเป็นมิชชันนารีในสยาม ตอนที่นายทองคำไปทำงานด้วยศาสตราจารย์ท่านนี้กำลังสอนเกี่ยวกับพระราชพงศาวดาสยามที่ University of California, Berkeley ซึ่งนายทองคำเคยมีโอกาสได้เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่หก ขณะยังทรงเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร เมื่อครั้งเสด็จเยือนสหรัฐอเมริกาอีกด้วย จากจุดนี้อาจทำให้มองได้ว่า การศึกษาเรื่องสยามน่าจะเริ่มมีในช่วงนั้น หรือก่อนหน้านั้นเล็กน้อย ซึ่งสยามนั้นเป็นประเทศแรกๆในเอเชียที่สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเป็นทางการกับสหรัฐอเมริกา (ประมาณช่วงรัชกาลที่สาม) อาจทำให้การศึกษาเกี่ยวกับสยามในสหรัฐอเมริกาเริ่มมีมาก่อนในยุโรป
ในส่วนของยุโรปนั้น เดาว่าอาจจะมีการเริ่มศึกษาเกี่ยวกับประเทศสยามในช่วงเวลาเดียวกัน อย่างอีกท่านหนึ่งคือพันเอกวิชา ฐิตวัฒน์ นักเรียนทหารไทยซึ่งได้ไปศึกษาต่อในเยอรมนีในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ในช่วงแรกที่อยู่ในเยอรมนีต้องไปเรียนภาษาเยอรมันที่มหาวิทยาลัยในเบอร์ลิน ท่านบรรยายในหนังสือ "คนไทยในกองทัพนาซี" ของท่านทำนองว่า "มหาวิทยาลัยในเบอร์ลินนี้มีสอนแทบทุกภาษาในโลกแม้กระทั่งภาษาไทย"
ในส่วนของฟากเอเชีย ญี่ปุ่นซึ่ง (อันนี้ตามความเข้าใจของ จขกท.) น่าจะเป็นประเทศแรกๆในเอเชียที่เริ่มมีระบบมหาวิทยาลัยแบบตะวันตก น่าจะเป็นประเทศแรกๆที่เริ่มมีการเรียนการสอนเกี่ยวกับประเทศไทย อันนี้เดาว่าน่าจะตั้งแต่ช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง กรณีของจีนถ้าจำไม่ผิดน่าจะเริ่มมีการเรียนการสอนภาษาไทยที่มหาวิทยาลัยปักกิ่งในช่วงทศวรรษที่ 1950 อาจารย์ในยุคแรกๆเป็นชาวจีนที่เกิดและเติบโตในประเทศไทย ในส่วนของเกาหลีใต้นั้นเคยดูจากรายการหนังพาไปตอนหนึ่งพาไปชมการเรียนการสอนภาษาไทยที่ Hanguk Unversity for Foreign Studies รายการเขาบรรยายไว้ตอนหนึ่งว่าเริ่มมีการเรียนการสอนภาษาไทยที่นี่ตั้งแต่ช่วงทศวรรษที่ 1960 (ในขณะที่ไทยแม้จะมีการเรียนการสอนภาษาจีนมานานในระดับโรงเรียนตามโรงเรียนจีนแห่งต่างๆ การเรียนการสอนภาษาจีนในมหาวิทยาลัยเริ่มแพร่หลายช่วงทศวรรษที่ 1980 หลังจากไทยสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับสาธารณรัฐประชาชนจีนอย่างเป็นทางการและจีนเริ่มมีนโยบายเปิดประเทศ กรณีของญี่ปุ่นนั้นเริ่มมีการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่นในไทยช่วงประมาณทศวรรษที่ 1930 ช่วงที่ไทยเริ่มมีความใกล้ชิดกับญี่ปุ่น และมองญี่ปุ่นเป็นต้นแบบในการพัฒนา กรณีของเกาหลีนั้นเริ่มมีการเรียนการสอนภาษาเกาหลีในมหาวิทยาลัยไทยประมาณทศวรรษที่ 1990 จำไม่ได้ว่าที่ไหนเป็นที่แรก น่าจะหนึ่งในสามที่นี้ คือมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยบูรพา และมหาวิทยาลัยนเรศวร)
อยากทราบอีกว่า สาเหตุใดถึงมีการศึกษาเกี่ยวกับประเทศไทยในต่างประเทศครับ ถ้าเป็นในยุคสมัยหนึ่ง การเรียนการสอนเกี่ยวกับสยามหรือเอเชียนั้นอาจมองได้ว่ามีวัตถุประสงค์ที่เกี่ยวกับลัทธิจักรวรรดินิยมได้ หรือไม่แน่ก็อาจเป็นการศึกษาเพื่อความรู้จริงๆ แต่ฝ่ายการเมืองนำข้อมูลไปใช้ภายหลัง (ซึ่งส่วนนี้ต้องยอมรับว่าทางตะวันตกเขาทำการศึกษารวบรวมความรู้เกี่ยวกับประเทศต่างๆไว้ดีมาก อย่าง อ.ใกล้รุ่ง อามระดิษ พี่สาวของคุณรัดเกล้า อามระดิษ ที่เป็นอาจารย์อยู่ที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก็สำเร็จการศึกษาเกี่ยวกับวรรณคดีกัมพูชาจากอังกฤษ) สมัยสงครามเย็นก็มีการศึกษาโดยฝ่ายอเมริกันซึ่งส่วนหนึ่งเป็นไปเพื่อนโยบายในยุคสงครามเย็น แล้วในยุคปัจจุบันเหตุใดจึงมีการศึกษาครับ ซึ่ง คหสต. จุดนี้แสดงให้เห็นว่า แม้ว่าไทยจะไม่ได้มีบทบาทสำคัญทางการเมืองและเศรษฐกิจในทวีปเอเชียมากเท่ากับประเทศหลักๆ หรือเป็นอู่อารยธรรมใหญ่ของโลก แต่ก็มีความสำคัญอยู่พอสมควรจนมีการศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับไทยในต่างประเทศ
รบกวนช่วยตอบด้วยครับ ขอบคุณครับ หากมีส่วนใดที่เข้าใจผิดหรือผิดพลาดไปก็ขออภัยด้วยครับ