มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เผยข้อมูลการรับสมัครนักศึกษา Dek64 พบ 5 หลักสูตรที่นักศึกษาไทยให้ความสนใจเพิ่มมากขึ้น ได้แก่ นวัตกรรมเทคโนโลยี ครีเอทีฟดีไซน์ บริหารธุรกิจ คอนเทนต์ออนไลน์ และสุขภาพความงาม พบปัจจัยหลักมาจากสถานการณ์โควิด-19 เป็นตัวกระตุ้นให้เด็กไทยปรับตัว มองอาชีพสำหรับอนาคต (Future workforce) ด้านสถาบันการศึกษาต้องเตรียมรับมือ ปรับหลักสูตร เพิ่มทักษะสำคัญ พร้อมดึงเทคโนโลยีมาใช้เพื่อตอบรับโลกการศึกษาในยุคทรานฟอร์มเต็มรูปแบบ
ดร.ดาริกา ลัทธพิพัฒน์ นักบริหารการศึกษา และอธิการบดี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ กล่าวว่า “การเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมในยุคดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น (Digital transformation) ที่มีสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 มาเป็นปัจจัยกระตุ้น ส่งผลให้สถาบันการศึกษาทั้งในระดับปฐมวัยไปจนถึงอุดมศึกษาเกิดการเปลี่ยนแปลงการเรียนการสอนอย่างเห็นได้ชัด เริ่มมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการเรียนการสอน เกิดการปรับรูปแบบการสอนของอาจารย์ผู้สอน และที่เห็นได้เด่นชัดคือ แนวคิดของนักศึกษากับการเลือกเรียนในหลักสูตรต่าง ๆ ก็เปลี่ยนไป หันมาให้ความสำคัญกับการเรียนที่ตอบโจทย์รูปแบบการทำงานในอนาคต (Future Workforce) มากขึ้น
ดร.ดาริกา ลัทธพิพัฒน์ นักบริหารการศึกษา และอธิการบดี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
จากผลการสำรวจข้อมูล การเปิดรับสมัครนักศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 (Dek64) ของมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ พบว่า 5 หลักสูตรที่เด็กไทยหันมาให้ความสนใจเพิ่มมากขึ้น ประกอบด้วย หลักสูตรเทคโนโลยีและวิศวกรรมศาสตร์ (College of Innovative Technology and Engineering: CITE) ถือเป็นหลักสูตรที่เด็กไทยหันมาให้ความสำคัญเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะสาขาวิชาที่เกี่ยวกับการจัดการเทคโนโลยีด้านการขนส่งหรือเทคโนโลยีด้านโลจิสติกส์ ที่จะเข้ามามีบทบาทสำคัญในอนาคต และต้องยอมรับว่าการทำงานร่วมกับปัญญาประดิษฐ์ (AI) จำเป็นต้องมีทักษะในด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่สูงขึ้น รวมถึง หลักสูตรครีเอทีฟ ดีไซน์ & เอ็นเตอร์เทนเมนต์ เทคโนโลยี (College of Creative Design and Entertainment Technology: ANT) ทั้งการออกแบบเกม แอปพลิเคชัน แอนิเมชัน ที่ถือเป็นเทรนด์และมีการเติบโตอยู่ตลอดเวลา ก็ได้รับความสนใจเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน ส่วนหลักสูตรดั้งเดิมอย่าง หลักสูตรบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี (College of Innovative Business and Accountancy: CIBA) ยังเป็นหลักสูตรที่นักศึกษาให้ความสำคัญ นอกจากการมุ่งเน้นการเรียนเรื่องการบริหารและการบัญชีแล้ว ปัจจุบันยังมีการดึงนวัตกรรมเข้ามาใช้ผสมผสานในการเรียนการสอน เช่น การประมวลผลทางบัญชี การจัดเก็บข้อมูล BIG DATA เป็นต้น ล้วนแล้วแต่เป็นหัวใจสำคัญของทุกสายอาชีพ รวมไปถึง หลักสูตรนิเทศศาสตร์ (Communication Arts: Commarts) ที่ได้มีการปรับเปลี่ยนให้สอดรับตลาดแรงงานในปัจจุบัน มุ่งเน้นการสร้างสรรค์สื่อการตลาดดิจิทัลทุกประเภทในทุกแพลตฟอร์ม ทั้งการผลิตคอนเทนต์ดิจิทัล การสื่อสารการตลาดดิจิทัล เป็นต้น ก็เป็นหลักสูตรที่มีนักศึกษาหันมาให้ความสำคัญเพิ่มมากขึ้น สุดท้ายคือ หลักสูตรการแพทย์บูรณาการ (College of Integrative Medicine: CIM) ที่ให้ความรู้ด้านสุขภาพและความงาม ศาสตร์ชะลอวัย และโภชนาการ ถือเป็นหลักสูตรที่เด็กไทยหันมาให้ความสนใจเพิ่มมากขึ้น เพราะปัจจุบันคนไทยตื่นตัวและให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพ เนื่องจากปัญหาเรื่องมลพิษฝุ่นควัน การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 และการเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย นอกจากนี้หลักสูตรที่เกี่ยวกับแพทย์ทางเลือกและการแพทย์แผนไทย ก็ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเช่นกัน
ดร.ดาริกา กล่าวต่อว่า “จากผลการสำรวจหลักสูตรที่นักศึกษาหันมาเลือกเรียนและให้ความสนใจ ทำให้เห็นว่า เด็กไทยมีการตื่นตัวและเลือกเรียนในสาขาที่สอดรับกับรูปแบบงานในอนาคตที่จะเกิดขึ้น มีการพัฒนาตัวเองให้ทันกับโลกที่ก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัล ที่มีนวัตกรรมปัญญาประดิษฐ์ (AI) เข้ามาเป็นผู้แข่งขันคนสำคัญกับมนุษย์ อีกทั้งยังพบว่าจากวิกฤตการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้นักศึกษาเริ่มหันมาให้ความสนใจเรื่องของสิ่งแวดล้อม ปัญหาขยะ ภาวะโลกร้อน รวมถึงโรคระบาดต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้อีกในอนาคต
การเรียนการสอนในยุคดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น (Digital transformation) ที่เน้นเทคโนโลยีเพื่อพัฒนานักศึกษาให้ทันกับโลกที่ก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัล ที่มีนวัตกรรมปัญญาประดิษฐ์ (AI) เข้ามาเป็นผู้ร่วมแข่งขัน
ดังนั้น สถาบันอุดมศึกษาจำเป็นต้องนำจุดเด่นของตัวเองมาพัฒนาหลักสูตรให้สอดรับกับความต้องการของนักศึกษา ผลิตบุคลากรให้มีคุณภาพมีศักยภาพเป็นที่ต้องการของตลาด เช่นเดียวกับมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ที่ได้มีการปรับการเรียนการสอนมาอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากหลักสูตรหลัก ยังได้มีการปลูกฝังทักษะ Soft Skills รวมถึงได้ออกแบบหลักสูตรในลักษณะการเรียนแบบโมดูล (Module) เข้าไปด้วย นอกจากนี้ ล่าสุดยังได้นำนวัตกรรม 5G มาใช้ในพื้นที่พร้อมปรับเป็น 5G Campus แห่งแรกของประเทศ ด้วยการจัดทำห้องเรียน “Intelligent Hybrid Classroom” รองรับการเรียนการสอนแบบผสมผสานทั้งออนกราวน์และออนไลน์ พร้อมนำระบบ “AI Video Analytics” มาใช้ในการตรวจวิเคราะห์การมีส่วนร่วมในห้องเรียนของนักศึกษาแบบเรียลไทม์ เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่สอดรับกับยุคดิจิทัลที่มาถึง”
DPU ชี้ 5 หลักสูตรการเรียนยอดฮิต ปี 2564 เด็กไทยมองอนาคตหลังโควิด
ดร.ดาริกา ลัทธพิพัฒน์ นักบริหารการศึกษา และอธิการบดี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ กล่าวว่า “การเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมในยุคดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น (Digital transformation) ที่มีสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 มาเป็นปัจจัยกระตุ้น ส่งผลให้สถาบันการศึกษาทั้งในระดับปฐมวัยไปจนถึงอุดมศึกษาเกิดการเปลี่ยนแปลงการเรียนการสอนอย่างเห็นได้ชัด เริ่มมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการเรียนการสอน เกิดการปรับรูปแบบการสอนของอาจารย์ผู้สอน และที่เห็นได้เด่นชัดคือ แนวคิดของนักศึกษากับการเลือกเรียนในหลักสูตรต่าง ๆ ก็เปลี่ยนไป หันมาให้ความสำคัญกับการเรียนที่ตอบโจทย์รูปแบบการทำงานในอนาคต (Future Workforce) มากขึ้น
ดร.ดาริกา กล่าวต่อว่า “จากผลการสำรวจหลักสูตรที่นักศึกษาหันมาเลือกเรียนและให้ความสนใจ ทำให้เห็นว่า เด็กไทยมีการตื่นตัวและเลือกเรียนในสาขาที่สอดรับกับรูปแบบงานในอนาคตที่จะเกิดขึ้น มีการพัฒนาตัวเองให้ทันกับโลกที่ก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัล ที่มีนวัตกรรมปัญญาประดิษฐ์ (AI) เข้ามาเป็นผู้แข่งขันคนสำคัญกับมนุษย์ อีกทั้งยังพบว่าจากวิกฤตการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้นักศึกษาเริ่มหันมาให้ความสนใจเรื่องของสิ่งแวดล้อม ปัญหาขยะ ภาวะโลกร้อน รวมถึงโรคระบาดต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้อีกในอนาคต