ผลงานภาพยนตร์ของ "ฟิล์มบางกอก" (2543-2548) เรื่องใดคือเรื่องโปรดที่สุดของคุณ?

ภายหลังผ่านพ้นจากความซบเซาของวงการภาพยนตร์ไทย ในปี 2543 ทั่วทั้งวงการได้ลืมตาอ้าปากเป็นระลอกใหญ่ด้วยสภาวะ "ฟื้นตัว" แม้ว่าในปีนั้นจะมีหนังไทยเข้าฉายในโรงภาพยนตร์เพียงประมาณสิบเรื่อง จากผู้สร้างไม่ถึงสิบราย

แต่ข่าวที่เป็นที่จับตามองมากที่สุดนั้นเห็นจะเป็นการเกิดของบริษัทผู้สร้างหน้าใหม่แต่ทุนหนาแห่งหนึ่ง โดยมุ่งที่จะผลิตผลงานภาพยนตร์ระดับคุณภาพด้วยความลงตัวทางศิลปะกับทางการค้า

นั่นคือจุดกำเนิดของบริษัท "ฟิล์มบางกอก" ภายใต้การบริหารงานของ "ไบรอัน มาร์คาร์" และ "อดิเรก วัฏลีลา" หรือที่คอหนังรู้จักกันดีในนาม "อังเคิล" 

ในปีแรกเปิดตัวด้วยผลงานที่เข้าฉายถึง 3 เรื่อง เริ่มจาก "ฟ้าทะลายโจร" ถัดมาคือ "บางกอกแดนเจอรัส เพชฌฆาตเงียบอันตราย" และส่งท้ายปลายปีด้วยผลงานสุดยิ่งใหญ่ "บางระจัน"

ปี 2544 ขณะที่หนังเรื่องบางระจันกอบโกยรายได้อันมหาศาลข้ามปี ก็ส่ง "โกลคลับ เกมล้มโต๊ะ" ออกมาเขย่ากลุ่มคนดูที่มีใจรักในเรื่องเกมกีฬา

ปี 2545 มี "1+1 เป็นสูญ" และ "พรางชมพู กะเทยประจัญบาน" ที่เรียกความฮือฮาไม่แพ้กัน ในปี 2546 จึงตามด้วย "ส้ม+แบงค์ มือใหม่หัดขาย" กับหนังพีเรียดแอ็คชั่น "องคุลีมาล"

ปี 2547 นำนิยายอมตะรักข้ามภพ "ทวิภพ" มาตีความใหม่อย่างสุดหรู ต่อด้วย "ขุนกระบี่ ผีระบาด" และผลงานปิดฉากของค่ายนี้ได้แก่ "คนระลึกชาติ" หนังเรื่องเดียวที่เข้าฉายในปี 2548

รวมแล้วได้ผลงานทั้งสิ้น 11 เรื่อง ภายในระยะเวลาเพียง 6 ปี มีทั้งผลงานที่สร้างขึ้นเองและสร้างกับพันธมิตรร่วมวงการที่เข้าอกเข้าใจเป็นอย่างดี

แม้ว่าวันนี้ "ฟิล์มบางกอก" เหลือเพียงตำนานเล่าขานของวงการหนังไทยไปแล้ว แต่ทุกเรื่องที่ปรากฏนั้นยังคงอยู่ในความประทับใจของคอหนัง...

และก็มีความหวังที่จะให้ "หนังไทย" กลับมาได้รับความสนใจอย่างสดใสเฉกเช่นเดียวกับที่ "ฟิล์มบางกอก" เคยให้ความสุขกันมาตั้งแต่เริ่มต้น

เราจึงจัดทำโพลต่อไปนี้ขึ้นมา เพื่อเป็นการรื้อฟื้นความหลังสำหรับแฟน ๆ ที่เคยสัมผัสภาพจริง เสียงจริง บรรยากาศจริง จากผลงานเหล่านี้ทั้งหมด

แล้วมาพิจารณาความนิยมชมชอบหรือความโปรดแบบที่สุดด้วยตัวของคุณเอง เราไม่ได้วัดกันแค่โปสเตอร์หนังนะจ๊ะ...สวัสดี.  

ภาพ : www.doctorhead.com
*** ปิดโหวต วันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ.2564 เวลา 18:18:35 น.
1. ผลงานภาพยนตร์ของ "ฟิล์มบางกอก" เรื่องใดคือเรื่องโปรดที่สุดของคุณ?
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่