ทำไมเสาทางด่วน เสารถไฟฟ้ามันถึงตรงกันทุกอัน เค้าใช้วิธีไหน

เคยสังเกตเวลาขับรถ รู้สึกว่า เสาทางด่วน เสารถไฟฟ้ามันตรงกันทุกอันเลย ไม่มีแบบเหลื่อมซ้าย เหลื่อมขวา เค้าใช้วิธีไหนหรอครับ ขนาดบางทีเราเรียงอะไรซักอย่างต่อกันยาวๆมันยังมีโอกาสเบี้ยวเลย
อันนี้มันตรงกันหมด อีกอย่างถนนก็มีช่วงโค้งด้วย

**ไม่ได้ดูถูกความสามารถของคนทำงานสายนี้นะครับ **
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 4
ใช้กล้องครับ ส่องไปข้างหน้า และส่องกลับมาด้านหลัง
เพื่อสอบทาน (แบบเดิมๆ)
ตัวท๊อป หรือ ดีหน่อย จะมี link กับสัญญาณดาวเทียม
บอกว่า กล้องอยู่ที่ไหน งานก็จะง่ายลงเยอะครับ

ก่อนทำงาน จะมีการออกแบบ การออกแบบจะมีการสำรวจ
ได้ข้อมูลสำรวจแล้ว จะนำข้อมูลมาลง file
แล้วออกแบบในคอม

มีโปรแกรม บอกทุกอย่างว่า แต่ละจุด แต่ละช่วงเสา
ต้องตั้งตรงไหน วางตรงไหน บอกมุม บอกระยะ บอกระดับความสูงจากจุดเริ่มต้น
หรือ จุดอ้างอิง หรือ จุด ระดับน้ำทะเล (ตามแต่กรณี)
ละเอียดยิบครับ(หน่วย ทศนิยม 3 ตำแหน่ง)  
ก่อนทำงาน ก็ไปขอ file จากคนออกแบบ จากนั้น ก็นำมา load ลงคอม

พอออกสนาม ก็ตั้งกล้อง แล้วส่องไปที่ จุดที่ทำเป็น BM ไว้
ส่อง BM 3 จุด แล้ว กดเข้าเครื่อง เครื่องจะคำนวณให้ว่า
เวลานี้ กล้องอยู่ตรงจุดไหนของ ไซด์งาน (แบบเป๊ะๆ)
ได้จุดแล้วส่องกลับมาที่จุดอื่นๆ อีก 2 จุดที่ไม่ใช่ BM เดิม
แล้วกดข้อมูลส่งเข้าเครื่องอีกที  เครื่องจะคำนวณใหม่
แล้วสอบทานอีกครั้งว่า เวลานี้ตัวกล้องอยู่ที่ไหน
ได้ที่แล้ว ก็ส่องไปข้างหน้า ได้โลดดด

ช่างที่รัดกุม จะส่องกล้องกลับมา(ส่องกลับมาที่จุด BM หรือจุดส่องด้านหลัง)
เพื่อสอบทานเสมอ  บางคนมักง่าย ส่องเดินหน้าไปเรื่อยๆ
BM ก็ไม่สอบตำแหน่ง
ผ่านไป หลายกม. อาจมีเพี้ยนครับ
ดังนั้น หัวหน้างาน จะต้องมาสอบอีกครั้งก่อนลงมือทำงานจริง
ปกติ แล้ว ช่างที่ มักง่าย จะไม่ได้รับมอบหมายให้ทำงานหน้าสนามเป็นคนแรกๆ
เพราะ ถ้าผิด มันจะแก้ยาก
เขาจะวางมือหนึ่ง เพื่อเปิดหน้างานเสมอ ครับ

การทำงานใหญ่ จะต้องส่องกล้องทุกวัน ทุกจุดทุกตำแหน่ง
เช่นวางผัง ขุดหลุม วางแบบ วางเหล็กเสริม เช็คแบบก่อนเทคอนกรีตฐานราก
(เรื่องเช็คแบบนี้สำคัญมาก เพราะ ถ้าเพี้ยนแล้วเทปูนไป แก้ไม่ได้ทุบอย่างเดียว เสียหายมาก)
บางครั้งที่หน้างาน ช่างก็มักง่าย ต้องจี้ตลอดเวลา
เดี๋ยวนี้ ไม่ต้องจี้ครับ แต่บอกว่า เมิงส่ง file มาให้กรู  + ส่งรูปมาด้วยแล้วก็โหลดลงคอม
ได้แล้ว ก็เปิดดูตำแหน่ง อนุม้ติให้สั่งปูนได้ ถ้าไม่มีรูป ส่องกล้องและไม่มีข้อมูลล่าสุด
ว่ามีระยะเท่าใด ก็ไม่อนุมัติสั่งปูนครับ (แต่อย่างไรก็ตามต้องมีคนคุมหน้างาน) ป้องกันความผิดพลาด
เช่นแบบแตก น้ำเข้า รถติดหล่ม สารพัดปัญหา
ช่างบางคนเขี้ยว ตั้งกล้องที่เดิมทุกวัน เพราะระยะมันเท่าเดิม
หัวหน้าต้องเชี่ยวกว่า บอกให้ย้ายจุดตั้งกล้อง หรือ อาจให้เพิ่มจุดใหม่ก็ได้
ช้านิดนึง แต่ชัวร์

กรณีเริ่มงานเดี๋ยวนี้ง่าย คือ ถ้าได้ BM 3 จุด ที่เหลือ มีโปรแกรมคำนวณให้หมด
ว่าตำแหน่งเสา ตำแหน่งบันได คาน ร่องระบายน้ำอยู่ตรงไหน
กล้องใน clip
ระยะส่องประมาณ 5 กม. (กรณีสะท้อนโดยปริซึมระยะจะได้ประมาณ 800 เมตร )
ความผิดพลาด 1 มิลทั้งแนวตั้งและแนวนอน ความผิดพลาดทางด้านมุม 0 ฟิลิปดา

ปล.ผิดถูกขออภัย ทิ้งมานานแล้ว
พี่น้องที่ทำอยู่ หากมีอะไรเสริมหรือ แก้ไข ก็เรียนเชิญครับ
น่าจะเป็นประโยชน์ ตามสมควร

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ

ส่องแล้วได้ตามนี้ครับ 5,000 เมตร ครับ ความละเอียด ทศนิยมสามหลัก แปลว่า มิลลิเมตร


แบบนี้เรียกว่า ส่องสะท้อนปริซึมครับ
ส่องแล้ว ได้ระยะทันที ไม่ต้อง ดึงตลับเมตรครับ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 6
แถมให้อีกงาน รูปกล้องยิงในอุโมงค์ งานนี้เซอร์เวย์ต้องค่อนข้างแม่น เพราะเลี้ยวซ้ายเลี้ยวขวา ขึ้นบนลงล่าง ถ้าพลาดตอนทะลุออกมาบันเทิงแน่นอน แก้อะไรไม่ได้แล้วด้วย ไหนจะระดับเทคอนกรีต วางราง ตัวสถานีที่ทำเสร็จแล้วอีก ส่วนหลักการก็เหมือนกับของน้าพรเลยครับ คล้ายๆกัน แต่ตัวนี้ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยคำนวนด้วย แล้วใช้คนเช็คอีกทีครับ





แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่