เนื่องจากการเปิดเสรี Cryptocurrencies ซึ่งเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ โดยไม่มีกฎระเบียบของธนาคารกลางมาควบคุม อาจส่งผลต่อเสถียรภาพและความผันผวนของระบบการเงินในสิงคโปร์ เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2563 สิงคโปร์จึงได้เริ่มใช้พระราชบัญญัติบริการชำระเงิน (The Payment Services Act – PSA) เพื่อควบคุมดูแลหน่วยงานที่จัดการหรืออำนวยความสะดวกในการแลกเปลี่ยน Cryptocurrencies หรือ Digital Payment Tokens (DPT) โดยผู้ซื้อขาย แลกเปลี่ยน และผู้ให้บริการด้าน ในด้านนี้จะต้องได้รับใบอนุญาตจาก MAS
.
PSA มีวัตถุประสงค์เพื่อลดความเสี่ยงที่สกุลเงินดิจิทัลจะถูกนำไปใช้ในทางที่ผิด เช่น การฟอกเงินหรือการสนับสนุนเงินทุนเพื่อการก่อการร้าย อย่างไรก็ตามพระราชบัญญัติฯ ระบุว่าหน่วยงานที่เริ่มดำเนินการ DPT ก่อน พระราชบัญญัติฯ มีผลบังคับใช้ สามารถดำเนินการต่อโดยที่ยังไม่ได้รับอนุมัติใบอนุญาต แต่จะต้องยื่นใบสมัครขอใบอนุญาตภายในเดือนกรกฎาคม 2563 ซึ่งมีผู้ให้บริการ DPT ในสิงคโปร์ประมาณ 96 รายที่ได้รับประโยชน์ให้ดำเนินการต่อไปได้ระหว่างยื่นขอใบอนุญาต
.
ตั้งแต่การประกาศใช้พระราชบัญญัติ PSA จนถึงปัจจุบัน MAS ได้รับคำร้องขอมีใบอนุญาตซื้อ-ขาย และแลกเปลี่ยนมากกว่า 480 ราย โดยเป็นผู้สมัครเพื่อเป็นผู้ให้บริการ (DPT Services Provider) 170 ราย คิดเป็นร้อยละ 35 อย่างไรก็ตาม ผู้ยื่นคำร้องประมาณ 30 ราย คิดเป็นร้อยละ 18 ถอนใบสมัครหลังจากที่ได้หารือกับ MAS เนื่องจากไม่สามารถปฏิบัติตามมาตรฐานที่กำหนดภายใต้พระราชบัญญัติดังกล่าวได้ และผู้ยื่นคำร้อง 2 รายถูกปฏิเสธ จนถึงปัจจุบัน MAS ยังไม่ได้ออกใบอนุญาตให้กับผู้ให้บริการ DPT แต่อยู่ในขั้นตอนสุดท้ายของการตรวจสอบใบสมัคร
.
ความคืบหน้าล่าสุดเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2564 MAS ได้แจ้งผู้สมัครหลายรายว่า MAS อยู่ระหว่างการพิจารณาให้ใบอนุญาตบริการชำระเงิน DPT ภายใต้ PSA ทั้งนี้ บริษัท Independent Reserve ผู้ให้บริการสินทรัพย์เสมือนของออสเตรเลียได้รับการอนุมัติให้ดำเนินการได้ในหลักการ อย่างไรก็ตาม MAS ยังไม่ได้ระบุจำนวนและรายชื่อผู้สมัครที่ MAS ได้ติดต่อไปในครั้งนี้ ซึ่งยังไม่ถือว่าเป็นผู้ได้รับใบอนุญาต DPT
.
ผลวิจัยล่าสุดโดยบริษัท Crypto Head ที่ศึกษาสกุลเงินดิจิทัล ได้จัดอันดับให้สิงคโปร์เป็นประเทศที่มีความพร้อมด้าน Cryptocurrencies (Crypto-Ready) เป็นอันดับ 3 ของโลก โดยอันดับ (1) สหรัฐฯ (2) ไซปรัส โดยพิจารณาจากจำนวนและการเข้าถึงได้ของตู้เอทีเอ็มคริปโตในประเทศ ความถูกต้องตามกฎหมายของคริปโตสำหรับการที่ธนาคารจะได้รับอนุญาตให้ใช้สกุลเงินดิจิทัลหรือไม่ และจำนวนการค้นหาออนไลน์เกี่ยวกับคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับสกุลเงินคริปโต
.
สิงคโปร์ซึ่งเป็นศูนย์กลางทางการเงินที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในเอเชีย อาจพัฒนาบทบาทการเป็นศูนย์กลางการค้าหลักทรัพย์ดิจิทัลในภูมิภาค เนื่องจากสิงคโปร์มีนวัตกรรมและ eco-system ทั้งภาครัฐและเอกชนที่ช่วยส่งเสริมความริเริ่มทางด้านหลักทรัพย์ดิจิทัล ซึ่งอาจขยายผลไปสู่ประเทศอื่นๆ ในเอเชีย เช่น ไทยและญี่ปุ่น โดยสิงคโปร์ได้จัดทำกฎหมายและนโยบายเพื่อควบคุมการอนุญาตเรื่องการซื้อ-ขายและแลกเปลี่ยน Cryptocurrencies แม้จะมีแนวโน้มสูงว่า MAS จะดำเนินการแบบค่อยเป็นค่อยไป และจะไม่ออกใบอนุญาตแก่ผู้ให้บริการ DPT แบบระยะยาวและถาวรในเร็ว ๆ นี้
.
สำหรับประเทศไทย สินทรัพย์ดิจิทัลยังไม่ถือเป็นเงินตราตามกฎหมายไทย โดยเมื่อเร็ว ๆ นี้ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกมาแจ้งเตือนถึงการนำสินทรัพย์ดิจิทัลมาใช้ในลักษณะแลกเปลี่ยน (Barter Trade) ระหว่างสินทรัพย์ดิจิทัลกับสินค้าและบริการ ซึ่งผู้ให้และผู้รับตกลงยอมรับความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องระหว่างกัน โดยผู้ใช้หรือผู้รับสินทรัพย์ดิจิทัล อาจมีความเสี่ยงจากความผันผวนของมูลค่าสินทรัพย์ดิจิทัล รวมทั้งยังมีความเสี่ยงจากการสูญเสียมูลค่าหากถูกโจรกรรมทางไซเบอร์ และการถูกใช้เป็นเครื่องมือของการฟอกเงิน ดังนั้น ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงยังไม่สามารถสนับสนุนการนำสินทรัพย์ดิจิทัลมาใช้เป็นสื่อกลางการชำระค่าสินค้าและบริการได้ อย่างไรก็ตาม เมื่อเดือนมกราคม 2564 ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้ประกาศว่าจะจัดตั้งแพลตฟอร์มการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล เพื่อขยายโอกาสทางธุรกิจและช่องทางรายได้แก่ผู้ประกอบการตลาดทุน และเสนอทางเลือกใหม่ ๆ แก่นักลงทุน ดังนั้น นักลงทุนและผู้ประกอบการไทยจึงควรติดตามมาตรการและนโยบายในส่วนของสินทรัพย์ดิจิทัลอย่างใกล้ชิด เพื่อปรับเปลี่ยนรูปแบบและแนวทางในการประกอบธุรกิจในอนาคตต่อไป
ขอบคุณข้อมูลจาก GlobThailand ค่ะ
https://globthailand.com/sg-290921
บทบาทของธนาคารกลางสิงคโปร์ (MAS) ต่อ Cryptocurrencies
.
PSA มีวัตถุประสงค์เพื่อลดความเสี่ยงที่สกุลเงินดิจิทัลจะถูกนำไปใช้ในทางที่ผิด เช่น การฟอกเงินหรือการสนับสนุนเงินทุนเพื่อการก่อการร้าย อย่างไรก็ตามพระราชบัญญัติฯ ระบุว่าหน่วยงานที่เริ่มดำเนินการ DPT ก่อน พระราชบัญญัติฯ มีผลบังคับใช้ สามารถดำเนินการต่อโดยที่ยังไม่ได้รับอนุมัติใบอนุญาต แต่จะต้องยื่นใบสมัครขอใบอนุญาตภายในเดือนกรกฎาคม 2563 ซึ่งมีผู้ให้บริการ DPT ในสิงคโปร์ประมาณ 96 รายที่ได้รับประโยชน์ให้ดำเนินการต่อไปได้ระหว่างยื่นขอใบอนุญาต
.
ตั้งแต่การประกาศใช้พระราชบัญญัติ PSA จนถึงปัจจุบัน MAS ได้รับคำร้องขอมีใบอนุญาตซื้อ-ขาย และแลกเปลี่ยนมากกว่า 480 ราย โดยเป็นผู้สมัครเพื่อเป็นผู้ให้บริการ (DPT Services Provider) 170 ราย คิดเป็นร้อยละ 35 อย่างไรก็ตาม ผู้ยื่นคำร้องประมาณ 30 ราย คิดเป็นร้อยละ 18 ถอนใบสมัครหลังจากที่ได้หารือกับ MAS เนื่องจากไม่สามารถปฏิบัติตามมาตรฐานที่กำหนดภายใต้พระราชบัญญัติดังกล่าวได้ และผู้ยื่นคำร้อง 2 รายถูกปฏิเสธ จนถึงปัจจุบัน MAS ยังไม่ได้ออกใบอนุญาตให้กับผู้ให้บริการ DPT แต่อยู่ในขั้นตอนสุดท้ายของการตรวจสอบใบสมัคร
.
ความคืบหน้าล่าสุดเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2564 MAS ได้แจ้งผู้สมัครหลายรายว่า MAS อยู่ระหว่างการพิจารณาให้ใบอนุญาตบริการชำระเงิน DPT ภายใต้ PSA ทั้งนี้ บริษัท Independent Reserve ผู้ให้บริการสินทรัพย์เสมือนของออสเตรเลียได้รับการอนุมัติให้ดำเนินการได้ในหลักการ อย่างไรก็ตาม MAS ยังไม่ได้ระบุจำนวนและรายชื่อผู้สมัครที่ MAS ได้ติดต่อไปในครั้งนี้ ซึ่งยังไม่ถือว่าเป็นผู้ได้รับใบอนุญาต DPT
.
ผลวิจัยล่าสุดโดยบริษัท Crypto Head ที่ศึกษาสกุลเงินดิจิทัล ได้จัดอันดับให้สิงคโปร์เป็นประเทศที่มีความพร้อมด้าน Cryptocurrencies (Crypto-Ready) เป็นอันดับ 3 ของโลก โดยอันดับ (1) สหรัฐฯ (2) ไซปรัส โดยพิจารณาจากจำนวนและการเข้าถึงได้ของตู้เอทีเอ็มคริปโตในประเทศ ความถูกต้องตามกฎหมายของคริปโตสำหรับการที่ธนาคารจะได้รับอนุญาตให้ใช้สกุลเงินดิจิทัลหรือไม่ และจำนวนการค้นหาออนไลน์เกี่ยวกับคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับสกุลเงินคริปโต
.
สิงคโปร์ซึ่งเป็นศูนย์กลางทางการเงินที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในเอเชีย อาจพัฒนาบทบาทการเป็นศูนย์กลางการค้าหลักทรัพย์ดิจิทัลในภูมิภาค เนื่องจากสิงคโปร์มีนวัตกรรมและ eco-system ทั้งภาครัฐและเอกชนที่ช่วยส่งเสริมความริเริ่มทางด้านหลักทรัพย์ดิจิทัล ซึ่งอาจขยายผลไปสู่ประเทศอื่นๆ ในเอเชีย เช่น ไทยและญี่ปุ่น โดยสิงคโปร์ได้จัดทำกฎหมายและนโยบายเพื่อควบคุมการอนุญาตเรื่องการซื้อ-ขายและแลกเปลี่ยน Cryptocurrencies แม้จะมีแนวโน้มสูงว่า MAS จะดำเนินการแบบค่อยเป็นค่อยไป และจะไม่ออกใบอนุญาตแก่ผู้ให้บริการ DPT แบบระยะยาวและถาวรในเร็ว ๆ นี้
.
สำหรับประเทศไทย สินทรัพย์ดิจิทัลยังไม่ถือเป็นเงินตราตามกฎหมายไทย โดยเมื่อเร็ว ๆ นี้ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกมาแจ้งเตือนถึงการนำสินทรัพย์ดิจิทัลมาใช้ในลักษณะแลกเปลี่ยน (Barter Trade) ระหว่างสินทรัพย์ดิจิทัลกับสินค้าและบริการ ซึ่งผู้ให้และผู้รับตกลงยอมรับความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องระหว่างกัน โดยผู้ใช้หรือผู้รับสินทรัพย์ดิจิทัล อาจมีความเสี่ยงจากความผันผวนของมูลค่าสินทรัพย์ดิจิทัล รวมทั้งยังมีความเสี่ยงจากการสูญเสียมูลค่าหากถูกโจรกรรมทางไซเบอร์ และการถูกใช้เป็นเครื่องมือของการฟอกเงิน ดังนั้น ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงยังไม่สามารถสนับสนุนการนำสินทรัพย์ดิจิทัลมาใช้เป็นสื่อกลางการชำระค่าสินค้าและบริการได้ อย่างไรก็ตาม เมื่อเดือนมกราคม 2564 ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้ประกาศว่าจะจัดตั้งแพลตฟอร์มการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล เพื่อขยายโอกาสทางธุรกิจและช่องทางรายได้แก่ผู้ประกอบการตลาดทุน และเสนอทางเลือกใหม่ ๆ แก่นักลงทุน ดังนั้น นักลงทุนและผู้ประกอบการไทยจึงควรติดตามมาตรการและนโยบายในส่วนของสินทรัพย์ดิจิทัลอย่างใกล้ชิด เพื่อปรับเปลี่ยนรูปแบบและแนวทางในการประกอบธุรกิจในอนาคตต่อไป
ขอบคุณข้อมูลจาก GlobThailand ค่ะ
https://globthailand.com/sg-290921