สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 4
ขึ้นอยู่กับว่าคนในอวกาศไปไหนมาครับ
ถ้าเอาแค่ตอนนี้ ไปอวกาศนานสุดก็คืออยู่ในสถานีอวกาศนานาชาติ (ISS) ซึ่งโคจรอยู่รอบโลกที่ความสูงระดับประมาณ 420 กม ที่ความสูงระดับนี้เวลาในสถานีอวกาศจะเดินช้ากว่าบนโลกประมาณ 25 ไมโครวินาทีต่อวัน
ในทางกลับกันที่ความสูงมากกว่านั้น เช่น ความสูง 20,180 กม ของดาวเทียม GPS เวลาจะเดินเร็วกว่าเวลาบนโลกประมาณ 38 ไมโครวินาทีต่อวัน
ทั้งนี้เพราะตามทฤษฎีสัมพันธภาพ
- เวลาจะเดินช้าลงเมื่อวัตถุมีความเร็วเพิ่มขึ้น (วงโคจรต่ำ -> ความเร็วสูง, วงโคจรสูง -> ความเร็วต่ำ)
- เวลาจะเดินเร็วขึ้นเมื่อวัตถุอยู่ในสภาพแรงดึงดูดน้อยลง (วงโคจรต่ำ -> แรงดึงดูดสูง, วงโคจรสูง -> แรงดึงดูดต่ำ)
ซึ่งเวลาที่เปลี่ยนไปทั้งคู่จะหักล้างกันพอดีที่วงโคจร 3,174 กม
นั่นคือนักบินอวกาศที่ขึ้นไปอยู่ใน ISS เป็นเวลา 1 ปี ร่างกายจะมีอายุเพิ่มขึ้นน้อยกว่า 1 ปีอยู่ 9 มิลลิวินาที
ถ้าเอาแค่ตอนนี้ ไปอวกาศนานสุดก็คืออยู่ในสถานีอวกาศนานาชาติ (ISS) ซึ่งโคจรอยู่รอบโลกที่ความสูงระดับประมาณ 420 กม ที่ความสูงระดับนี้เวลาในสถานีอวกาศจะเดินช้ากว่าบนโลกประมาณ 25 ไมโครวินาทีต่อวัน
ในทางกลับกันที่ความสูงมากกว่านั้น เช่น ความสูง 20,180 กม ของดาวเทียม GPS เวลาจะเดินเร็วกว่าเวลาบนโลกประมาณ 38 ไมโครวินาทีต่อวัน
ทั้งนี้เพราะตามทฤษฎีสัมพันธภาพ
- เวลาจะเดินช้าลงเมื่อวัตถุมีความเร็วเพิ่มขึ้น (วงโคจรต่ำ -> ความเร็วสูง, วงโคจรสูง -> ความเร็วต่ำ)
- เวลาจะเดินเร็วขึ้นเมื่อวัตถุอยู่ในสภาพแรงดึงดูดน้อยลง (วงโคจรต่ำ -> แรงดึงดูดสูง, วงโคจรสูง -> แรงดึงดูดต่ำ)
ซึ่งเวลาที่เปลี่ยนไปทั้งคู่จะหักล้างกันพอดีที่วงโคจร 3,174 กม
นั่นคือนักบินอวกาศที่ขึ้นไปอยู่ใน ISS เป็นเวลา 1 ปี ร่างกายจะมีอายุเพิ่มขึ้นน้อยกว่า 1 ปีอยู่ 9 มิลลิวินาที
แสดงความคิดเห็น
คนที่อยู่บนโลกกับคนที่อยู่อวกาศ 1ปี ทั้ง2คนอายุไขความแก่จะเท่ากันมั้ยคับ