ต้นทุนชีวิตเราไม่เท่ากัน 2 ๆ หยาดน้ำตาของแม่

#ต้นทุนชีวิตเราไม่เท่ากัน..2/3....#หยาดน้ำตาของแม่.....
#ผมจะเป็นคนดี....
หลังจากจบชีวิตนักเรียน....ที่เร็วกว่าใครกว่าใครในวัยเดียวกัน.....เพราะความขี้เลื่อยไม่ได้เรื่องของตัวเอง...ต้องทำมาหากินด้วยแรงงานที่มี..........เวลาเป็นปีที่เสียไปกับชีวิตในช่วงนั้น....เปลี่ยนงานหลากหลาย...เพราะงานที่หนัก...และไม่มั่นคง....ประการสำคัญของการเปลี่ยนงาน....ทำงานแล้วหลายครั้งไม่ได้ค่าแรง......ก็เด็กหนุ่มอายุ 15 ปี...ถูกเถ้าแก่เบี้ยวค่าแรงเป็นเรื่องปกติ.....ไก่อ่อนอย่างเราจะไปฟ้องใคร....ความคิดที่จะบอกพ่อแม่....ไม่มีในหัว......ชีวิตช่วงนั้น....เคว้งคว้างเหมือนเรือไร้หางเสือ....ในทะเลใหญ่......ไม่เป็นไร...พึ่งตัวเองซิ......อย่ามาอ่อนแอ....คนจนไม่มีสิทธิ์อ่อนแอ......
.........................................................................
คนใช้แรงงานกับการเปลี่ยนงานบ่อยเป็นของคู่กัน....ไม่ใช่กรรมกรไม่สู้งาน....แต่นายจ้างส่วนใหญ่...เอาเปรียบผู้ใช้แรงงาน....และยิ่งเป็นแรงงานเด็ก.....การเอาเปรียบจึงเป็นเรื่องง่ายของคนเลวๆที่ทำกันโดยทั่วไปของสังคมนี้......รสชาติของชีวิตในช่วงนั้น....มันดุดันและขมขื่น.......ช่างก่อสร้าง....ช่างสี...ช่างซ่อมรถยนต์....ผ่านมาหลากหลาย..... ชื่องานที่ทำบ่งบอกว่าเป็นช่าง...แต่ในวันนั้น...คำว่า...”ช่าง”...ดูสูงส่งเกินกว่าฐานะที่ดำรงอยู่.....เพราะทุกงานที่ไปทำ...เป็นแค่ลูกมือ...ได้รับค่าแรงรายวัน......วันไหนที่ไม่ทำก็ไม่ได้ค่าแรง...แม้บางวันที่ทำ...ก็ยังไม่ได้ค่าแรงด้วยซ้ำ.........ตำแหน่งสำหรับเด็กใหม่......”เด็กฝึกงาน”....ทำหน้าที่หยิบของโน่น...ยกของนี่....เป็นลูกมือของช่างทั้งร้าน...ทำความสะอาดทุกอย่าง....เครื่องมือ...ที่ทำงาน.....แม้แต่เช็ครถให้กับนายจ้าง.....เวลาทำงาน....ต้องมาก่อนคนอื่น...และกลับทีหลังใครๆ...."จับฉ่าย...จับกัง"....น่าจะเป็นชื่อตำแหน่งที่เหมาะสมกว่า.....เป็นตำแหน่งที่ต่ำต้อยที่สุด....เท่าที่จะมีได้...ในร้านนั้น
.........................................................................
“โชติช่วงชัชวาล”....คำขวัญปลอบใจของรัฐบาลในยุคนั้น....ยุคที่ดูเหมือนประเทศกำลังจะเจริญเหมือนฝรั่งมังค่าหลังจากผ่านมรสุมเศรษฐกิจ....และประชาชนไร้ความหวัง.....อาคารพาณิชย์หรือตึกแถว...ผุดขึ้นเหมือนดอกเห็ด....มีสร้างไปทั่วตามตรอกซอกซอยในกรุงเทพเฉกเช่นการสร้าง condo ในปัจจุบัน.......ตึกแถวสร้างใหม่...ลามไปทุกพื้นที่ที่มีถนนหนทางไป...เหมือนโรคหวัดที่ระบาดในหน้าฝน.....งานในไซค์ก่อสร้างจึงมีมากมายและหลากหลายประเภทให้เลือกทำ....”ช่างทาสี”...ตำแหน่งงานอันสำคัญ...ที่ไปสมัครในวันนั้น......สมัครแล้วเริ่มงานได้เลย....ไม่มีฝ่ายบุคคลมาสัมภาษณ์....เพราะคนขายแรงงาน....ไม่มีใครอยากรู้ประวัติ......หรืออยากรู้จัก.....
.........................................................................
"25 บาท"...คือค่าแรงรายวันของงานช่างทาสีในยุคโชติช่วงชัชวาล......เศษเงินที่ได้รับ...ต่างกับคำขวัญของหลวงโดยสิ้นเชิง........งานทาสีอาคาร...ก็คือกรรมกรที่ต้องทำให้อาคารมีสีสวยพร้อมขาย......บทบาทสำคัญของกรรมกรทาสี...มีตั้งแต่ยกของหนักอย่างกระป๋องสี.......ก่อนั่งร้านไม่ไผ่ให้ยึดเกาะไปตามผนังตึกแถว.......”5 ชั้น”..คือระดับความสูงที่ต้องสร้างทีละชั้น....สร้างขึ้นมาด้วยสองมือและแรงขา.....ไม่มีเครื่องมือหรือเครื่องทุ่นแรงอะไรทั้งสิ้น....ด้วยความสูงระดับนั้น...อย่าหวังเรื่องความปลอดภัย.....เพราะลมหายใจของคนกินค่าแรงรายวัน...มันไร้ค่าเกินกว่าค่าใช้จ่ายของความปลอดภัย.........การทำงานบนที่สูง.....ต้องต่อสู้กับความกลัว...ยังต้องต่อสู้กับแสงแดด....ที่แผดเผาระอุไปทั่วร่างกาย...เฉกเช่นเนื้อแดดเดียว....เพียงแต่เนื้อชิ้นนี้......ยังมีลมหายใจ.....
.........................................................................
ก่อนั่งร้านเพื่อให้ช่างปีนขึ้นไปทาสีแล้ว....ก็ต้องเตรียมสีเพื่อใช้ทาผนัง........สีที่ใช้ทาอาคารในปีพ.ศ.นั้น....ใช้สีปูนราคาถูกๆ......ที่ต้องนำมาเตรียมเนื้อสีสำหรับทาในไซค์งาน.....การเตรียมสีเริ่มจาก.......ยกกระสอบผงปูนขนาดใหญ่กว่าถุงข้าวสาร....นำมาร่อนบนตะแกรงในถังน้ำขนาดใหญ่.....ร่อนไปเรื่อยๆ....จนผงปูนละลายกับน้ำหมด......จึงสามารถตักน้ำปูนไปผสมสี.....ให้ช่างสีตักใส่กระแป๋ง...นำไปฉาบผนัง.........ต้องร่อนทุกวัน....วันละหลายสิบกระสอบ........
.........................................................................
"คนร่อนปูนขาว"......หน้าที่อันสำคัญนี้...ไม่ใช่ช่างทาสีทุกคนจะได้รับ....เป็นงานง่ายๆ เสี่ยงอันตรายน้อยที่สุด......หน้าที่อันทรงเกียรติจึงตกเป็นของน้องใหม่ในของไซค์งานนั้น......ทุกเช้าเริ่มจากช่วงเช้าร่อนผงปูนให้คนงานที่อาวุโสกว่าทุกคนมีน้ำปูน....ช่วงบ่ายไปปีนตึกทาสี.....วนเวียนอย่างนั้น....ทุกวัน....ไม่มีวันหยุด....จมปลักอยู่อย่างนั้น.....เรื่อยมา......
.........................................................................
วันดีคืนร้ายของเย็นวันหนึ่ง....แม่สังเกตุเห็น...ว่ามือของลูกชายหัวขี้เลื่อยของแม่.......หลังมือยังเต็มไปด้วยรอยแผล......นอกเหนือจากความซีดเซียวจากการแช่น้ำปูนมานาน......รอยแผลบางแห่ง...ลึกถึงกระดูก.....สาเหตุเพราะ.....น้ำปูนกัดผิว....กรดของน้ำปูนไม่ได้เลือกกัดเฉพาะผิวของผู้ดีเท่านั้น.....มือกรรมกรอย่างผมก็ไม่อาจหลีกพ้น.......แม่จับมือ...ลูบแผลไปมา.......ถามสาเหตุว่าไปโดนอะไรมา...........รอยแผลในวันนั้น....ติดตัวเป็นรอยแผลเป็นจนถึงวันนี้....นอกจากเป็นร่องรอยแห่งความแสนลำบาก.....มันยังเป็นรอยความห่วงใยจากแม่....รอยตำหนิที่จารึกไว้.....มีค่ามากมาย...โดยเฉพาะกับคนทีขาดแคลนไปเสียทุกสิ่ง...แม้แต่ความรักจากครอบครัว......
.........................................................................
ทั้งบ้าน...แม่เป็นคนเดียวที่รู้ว่า....ผมมีอาชีพอะไร.....ทั้งๆที่ผมไม่เคยส่งเงินให้แม้ใช้ซักบาท....ลำพังค่ารถเมล์ค่าอาหารอดมื้อกินมื้อ...เพื่อให้ชีวิตรอดในแต่ละวัน...ยังไม่พอ........รอยแผลที่มือก็เห็นอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน....และก็ใหญ่ขึ้นลึกขึ้นเข้าไปในเนื้อและกระดูก....แต่คนไม่มีทางเลือกไม่มีสิทธิ์สำสำออย.......ไม่มีค่าให้ใครสงสาร....
.........................................................................
”เลิกทำเถอะลูก....”.....แม่บอกพร้อมหยาดน้ำตาบางๆด้วยความสงสารเริ่มไหลริน.......มือยังสัมผัสที่รอยแผลหลังมือ......แม่คงเจ็บปวดและเสียใจ....กับสภาพของลูกแม่......”แม่”...เพียงคนเดียวบนโลกใบนี้....ที่ยังส่งความห่วงใยมาหล่อเลี้ยงหัวใจ......ให้กับคนไม่ได้เรื่องอย่างผม.........คนทีไม่เคยทำให้แม่ภูมิใจ....นับแต่เกิดมา....
.........................................................................
”เราไปช่วยกันขายของนะลูก”.......ผมได้แต่พยักหน้า....ไม่รู้สึกอะไร....เพราะหัวใจมันด้านชาเพราะการกัดกินของสังคมรอบตัวมานาน.....ได้แต่สงสัยว่า....จะไปขายอะไร....ครอบครัวเราไม่เคยขายของ.....เราเคยชินแต่ขายแรงงานเท่านั้น.....หาเลี้ยงด้วยค่าแรงรายวันรายชิ้น........”เราจะขายอะไรหล่ะ...แม่?”.....คำถามสั้นๆ....แต่มันคือการเปลี่ยนอนาคตของผู้ขายแรงงาน....อย่างผม.......
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่