คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 6
จากหนังสือ "พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าแผ่นดืนสยาม" ของวีชาติ มีชูบท
มูลเหตุสำคัญที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริให้เปลี่ยนธงชาติจากธงช้างมาเป็นธงไตรรงค์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๐ นั้นกล่าวกันว่า น่าจะมีสาเหตุมาจากธงช้างซึ่งเป็นมีภาพพิมพ์รูปช้างบนผืนธงสีแดงนั้นเป็นของที่ต้องสั่งทำจากต่างประเทศ ทั้งมีราคาสูง นอกจากนั้นยังปรากฏอีกว่า “...ธงสำหรับชักในเรือทั้งหลายของพ่อค้า แลสาธารณชน บรรดาที่เปนชาติชาวสยามยังไม่เหมาะ โดยที่ใช้อยู่ทุกวันนี้แม้แลแต่ไกลแล้ว เห็นผิดแผกกับธงราชการน้อยนัก แลทั้งรูปช้างที่ใช้กันอยู่ก็ไม่งดงาม จนเกือบไม่ทราบว่าช้างหรืออะไร เปนเพราะวาดรูปช้างนั้นเปนการลำบากนั่นเอง...”
แต่มูลเหตุสำคัญที่ทำให้ทรงตัดสินพระราชหฤทัยเปลี่ยนธงชาติจากธงช้างมาเป็นธงไตรรงค์นั้น “...เพราะทรงพระราชดำริห์ว่า ธงช้างทำยาก และไม่คร่ได้ทำแพร่หลายในประเทศ ที่มีขายอยู่ดาษดื่นในตลาดมักจะเปนธงที่ทำมาจากต่างประเทศ ประเทศที่ทำไม่รู้จักช้าง ทำรูปร่างไม่น่าดู ทั้งคนใช้ถ้าไม่ระวังก็มักจะชักธงกลับ...” ดังเช่นที่จมื่นอมรดรุณารักษ์ (แจ่ม สุนทรเวช) ได้กล่าวถึงเรื่องที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทอดพระเนตรราษฎรประดับธงช้างกลับหัว “...ในลักษณะช้างนอนหงาย, เอาสี่เท้าชี้ฟ้า...” เมื่อวันที่ ๑๓ กันยายน พ.ศ. ๒๔๕๙ คราวเสด็จพระราชดำเนินไปวัดเขาสะแกกรัง เมืองอุทัยธานีว่า “...เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทอดพระเนตรเห็นธงผืนที่กล่าวนั้น, ..ฉับพลันสายพระเนตรก็แปรไปเมินมองทางอื่น, เสมือนมิได้มีสิ่งใดเป็นที่พึงสังเกตผิดปกติเกิดขึ้น, แต่ทว่าสีพระพักตร์นั่นสิ, ...ดูประหนึ่งจะทรงมีความสะเทือนพระราชหฤทัยไปในทางสลดสังเวชมากกว่าทรงพระพิโรธ, หรือไม่พอพระทัยอย่างใดอย่างหนึ่ง,...” อาจจะเป็นเพราะทรงตระหนักในพระราชหฤทัยถึงความรีบร้อนของราษฎรที่มุ่งหมายจะแสดงความจงรักภักดีให้ปรากฏ แต่การชักธงชาติกลับหัวนี้มีแบบธรรมเนียมสากลทางทหารที่ถือกันว่า การชักธงกลับหัวนั้นเป็นเครื่องหมายของการยอมแพ้ หรือสถานที่นั้นถูกยึดครองโดยอีกฝ่ายหนึ่งแล้ว ฉะนั้นการที่มีพระราชดำริให้เปลี่ยนธงช้างมาเป็นธงริ้วแดงสลับขาวรวมกันเป็นห้าแถบเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๙ นั้น จึงน่าจะมาจากสาเหตุดังกล่าว เพราะธงริ้วแดงสลับขาวห้าแถบที่โปรดเกล้าฯ ให้ประดิษฐ์ขึ้นใหม่นั้นไม่ว่าจะประดับหรือชักขึ้นเสาอย่างไรก็ไม่มีทางที่จะกลับหัวไปได้
อนึ่ง ภายหลังจากที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้ธงริ้วแดงสลับขาวรวมห้าแถบเป็นธงค้าขายสำหรับชักในเรือของพ่อค้าและสาธารณชนแทนธงช้างเดิมมาตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๕๙ แล้ว ก็ได้โปรดเกล้าฯ ให้ชักธงค้าขายนี้ขึ้นที่เสาธงในบริเวณสนามเสือป่าเพื่อให้ผู้ที่ได้พบเห็นได้ร่วมแสดงความคิดเห็น และเมื่อผู้ใช้นามแฝงว่า “อะแควเรียส” ได้เขียนบทความแสดงความคิดเห็นลงในหนังสือพิมพ์กรุงเทพฯ เดลิเมล์ ฉบับวันที่ ๑๕ กันยายน พ.ศ. ๒๔๖๐ โดยได้เสนอความห็นไว้ว่า
“...ริ้วแดงกลางควรจะเปลี่ยนเปนสีน้ำเงิน ดังนี้ริ้วขาวที่กระหนาบสงข้างประกอบกับริ้วน้ำเงินกลางก็จะรวมกันเปนสีส่วนพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสีแดงกับขาวที่ริมประกอบกันก็จะเปนสีสำหรับชาติ และด้วยประการฉะนี้กรุงสยามก็จะได้มีธงสีแดง, ฃาว, กับน้ำเงิน อันเปนสีธงสามสี (ฝรั่งเศส), ยูเนียนแย๊ก (อังกฤษ), และธงดาวและริ้ว (อะเมริกัน)
ดังนี้ ถ้ามีธงใหม่ขึ้นเช่นว่านี้ ก็จะได้เปนเครื่องหมายกิจการสำคัญยิ่งอัน ๑ ในตำนานประเทศนี้ และการที่ใช้สามสีนี้สัมพันธมิตร์สำคัญๆ ของกรุงสยามก็จะรู้สึกว่าเปนการยกย่องเฃาเปนแน่แท้ ทั้งการที่มีสีส่วนพระองค์ของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวอยู่ด้วยนั้น ก็จะเปนเครื่องเคือนให้ระลึกถึงสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินสยามในสมัยเมื่อประเทศนี้ได้ดำเนินไปในขั้นสำคัญอย่างยิ่ง...”
จึงได้โปรดเกล้าฯ ให้ช่างเขียนลองเขียนรูปธง โดยเปลี่ยนแถบสีแดงที่กลางผืนธงมาเป็นสีน้ำเงินแก่อันเป็นสีประจำวันพระบรมราชสมภพ ครั้นได้ทอดพระเนตรแบบธงใหม่นั้นแล้ว ทรง “...ยอมรับว่า ฃองเขาขำขึ้นกว่าธงที่ใช้อยู่บัดนี้...” จึงได้ทรงนำเรื่องการเปลี่ยนธงชาตินี้เข้าปรึกษาในที่ประชุมเสนาบดี แล้วได้โปรดเกล้าฯ ให้ตรา “พระราชบัญญัติแก้ไขพระราชบัญญัติธง พระพุทธศักราช ๒๔๖๐” เมื่อวันที่ ๒๘ กันยายน พ.ศ. ๒๔๖๐ ให้เปลี่ยนธงชาติสยามจากธงช้างเผือกทรงเครื่องยืนแท่น ที่โปรดให้ใช้แทนธงช้างเดิมมาแต่วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๕๙ มาเป็นธงไตรรงค์ตั้งแต่วันที่ ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๖๐ เป็นต้นมา ทั้งนี้ทรงมุ่งหมายให้ธงไตรรงค์นี้ “...เปนเครื่องหมายให้ปรากฏว่า ประเทศสยามได้เข้าร่วมสุขทุกข์ แลเปนน้ำหนึ่งใจเดียวกันกับสัมพันธมิตร์หมู่ใหญ่ ช่วยกันกระทำการปราบ ปรามความอาสัตย์อาธรรมในโลกย์ ให้ประลัยไป...”
ธงไตรรงค์ที่ทรงพระราชดำริขึ้นใหม่นั้น มีรูปลักษณะตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติแก้ไขพระราชบัญญัติธง พระพุทธศักราช ๒๔๖๐ คือ “...รูปสี่เหลี่ยมรี มีขนาดกว้าง ๒ ส่วน ยาว ๓ ส่วน มีแถบสีน้ำเงินแก่ กว้าง ๑ ส่วน ซึ่งแบ่ง ๓ ขนาดกว้างแห่งธงอยู่กลาง มีแถบขาวกว้าง ๑ ส่วน ซึ่งแบ่ง ๖ ของขนาดกว้างแห่งธงข้างละแถบ แล้วมีแถบสีแดงกว้างเท่าแถบขาวประกอบชั้นนอกอีกข้างละแถบ ธงสำหรับชาติสยามอย่างนี้ให้เรียกว่าธงไตรรงค์...”
นอกจากนั้นแล้วพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวยังได้ทรงพระราชนิพนธ์คำอธิบายความหมายของแถบสีทั้งสามที่ประกอบกันเป็นธงไตรรงค์นั้นว่า
“ขอร่ำรำพรรณบรรยาย ความคิดเครื่องหมาย
แห่งสีทั้งสามงามถนัด
ขาว คือบริสุทธิ์ศรีสวัสดิ์ หมายพระไตรรัตน์
ที่พึ่งคุ้มจิตไทย
แดง คือโลหิตเราไซร้ ซึ่งยอมสละได้
เพื่อรักษะชาติศาสนา
น้ำเงิน คือสีโสภา อันจอมประชา
ธ โปรดเป็นของส่วนองค์
จัดริ้วเข้าเป็นไตรรงค์ จึ่งเป็นสีธง
ที่รักแห่งเราชาวไทย
ทหารอวตารนำไป ยงยุทธ์วิชัย
วิชิตก็ชูเกียรติสยาม ฯ”
มูลเหตุสำคัญที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริให้เปลี่ยนธงชาติจากธงช้างมาเป็นธงไตรรงค์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๐ นั้นกล่าวกันว่า น่าจะมีสาเหตุมาจากธงช้างซึ่งเป็นมีภาพพิมพ์รูปช้างบนผืนธงสีแดงนั้นเป็นของที่ต้องสั่งทำจากต่างประเทศ ทั้งมีราคาสูง นอกจากนั้นยังปรากฏอีกว่า “...ธงสำหรับชักในเรือทั้งหลายของพ่อค้า แลสาธารณชน บรรดาที่เปนชาติชาวสยามยังไม่เหมาะ โดยที่ใช้อยู่ทุกวันนี้แม้แลแต่ไกลแล้ว เห็นผิดแผกกับธงราชการน้อยนัก แลทั้งรูปช้างที่ใช้กันอยู่ก็ไม่งดงาม จนเกือบไม่ทราบว่าช้างหรืออะไร เปนเพราะวาดรูปช้างนั้นเปนการลำบากนั่นเอง...”
แต่มูลเหตุสำคัญที่ทำให้ทรงตัดสินพระราชหฤทัยเปลี่ยนธงชาติจากธงช้างมาเป็นธงไตรรงค์นั้น “...เพราะทรงพระราชดำริห์ว่า ธงช้างทำยาก และไม่คร่ได้ทำแพร่หลายในประเทศ ที่มีขายอยู่ดาษดื่นในตลาดมักจะเปนธงที่ทำมาจากต่างประเทศ ประเทศที่ทำไม่รู้จักช้าง ทำรูปร่างไม่น่าดู ทั้งคนใช้ถ้าไม่ระวังก็มักจะชักธงกลับ...” ดังเช่นที่จมื่นอมรดรุณารักษ์ (แจ่ม สุนทรเวช) ได้กล่าวถึงเรื่องที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทอดพระเนตรราษฎรประดับธงช้างกลับหัว “...ในลักษณะช้างนอนหงาย, เอาสี่เท้าชี้ฟ้า...” เมื่อวันที่ ๑๓ กันยายน พ.ศ. ๒๔๕๙ คราวเสด็จพระราชดำเนินไปวัดเขาสะแกกรัง เมืองอุทัยธานีว่า “...เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทอดพระเนตรเห็นธงผืนที่กล่าวนั้น, ..ฉับพลันสายพระเนตรก็แปรไปเมินมองทางอื่น, เสมือนมิได้มีสิ่งใดเป็นที่พึงสังเกตผิดปกติเกิดขึ้น, แต่ทว่าสีพระพักตร์นั่นสิ, ...ดูประหนึ่งจะทรงมีความสะเทือนพระราชหฤทัยไปในทางสลดสังเวชมากกว่าทรงพระพิโรธ, หรือไม่พอพระทัยอย่างใดอย่างหนึ่ง,...” อาจจะเป็นเพราะทรงตระหนักในพระราชหฤทัยถึงความรีบร้อนของราษฎรที่มุ่งหมายจะแสดงความจงรักภักดีให้ปรากฏ แต่การชักธงชาติกลับหัวนี้มีแบบธรรมเนียมสากลทางทหารที่ถือกันว่า การชักธงกลับหัวนั้นเป็นเครื่องหมายของการยอมแพ้ หรือสถานที่นั้นถูกยึดครองโดยอีกฝ่ายหนึ่งแล้ว ฉะนั้นการที่มีพระราชดำริให้เปลี่ยนธงช้างมาเป็นธงริ้วแดงสลับขาวรวมกันเป็นห้าแถบเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๙ นั้น จึงน่าจะมาจากสาเหตุดังกล่าว เพราะธงริ้วแดงสลับขาวห้าแถบที่โปรดเกล้าฯ ให้ประดิษฐ์ขึ้นใหม่นั้นไม่ว่าจะประดับหรือชักขึ้นเสาอย่างไรก็ไม่มีทางที่จะกลับหัวไปได้
อนึ่ง ภายหลังจากที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้ธงริ้วแดงสลับขาวรวมห้าแถบเป็นธงค้าขายสำหรับชักในเรือของพ่อค้าและสาธารณชนแทนธงช้างเดิมมาตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๕๙ แล้ว ก็ได้โปรดเกล้าฯ ให้ชักธงค้าขายนี้ขึ้นที่เสาธงในบริเวณสนามเสือป่าเพื่อให้ผู้ที่ได้พบเห็นได้ร่วมแสดงความคิดเห็น และเมื่อผู้ใช้นามแฝงว่า “อะแควเรียส” ได้เขียนบทความแสดงความคิดเห็นลงในหนังสือพิมพ์กรุงเทพฯ เดลิเมล์ ฉบับวันที่ ๑๕ กันยายน พ.ศ. ๒๔๖๐ โดยได้เสนอความห็นไว้ว่า
“...ริ้วแดงกลางควรจะเปลี่ยนเปนสีน้ำเงิน ดังนี้ริ้วขาวที่กระหนาบสงข้างประกอบกับริ้วน้ำเงินกลางก็จะรวมกันเปนสีส่วนพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสีแดงกับขาวที่ริมประกอบกันก็จะเปนสีสำหรับชาติ และด้วยประการฉะนี้กรุงสยามก็จะได้มีธงสีแดง, ฃาว, กับน้ำเงิน อันเปนสีธงสามสี (ฝรั่งเศส), ยูเนียนแย๊ก (อังกฤษ), และธงดาวและริ้ว (อะเมริกัน)
ดังนี้ ถ้ามีธงใหม่ขึ้นเช่นว่านี้ ก็จะได้เปนเครื่องหมายกิจการสำคัญยิ่งอัน ๑ ในตำนานประเทศนี้ และการที่ใช้สามสีนี้สัมพันธมิตร์สำคัญๆ ของกรุงสยามก็จะรู้สึกว่าเปนการยกย่องเฃาเปนแน่แท้ ทั้งการที่มีสีส่วนพระองค์ของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวอยู่ด้วยนั้น ก็จะเปนเครื่องเคือนให้ระลึกถึงสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินสยามในสมัยเมื่อประเทศนี้ได้ดำเนินไปในขั้นสำคัญอย่างยิ่ง...”
จึงได้โปรดเกล้าฯ ให้ช่างเขียนลองเขียนรูปธง โดยเปลี่ยนแถบสีแดงที่กลางผืนธงมาเป็นสีน้ำเงินแก่อันเป็นสีประจำวันพระบรมราชสมภพ ครั้นได้ทอดพระเนตรแบบธงใหม่นั้นแล้ว ทรง “...ยอมรับว่า ฃองเขาขำขึ้นกว่าธงที่ใช้อยู่บัดนี้...” จึงได้ทรงนำเรื่องการเปลี่ยนธงชาตินี้เข้าปรึกษาในที่ประชุมเสนาบดี แล้วได้โปรดเกล้าฯ ให้ตรา “พระราชบัญญัติแก้ไขพระราชบัญญัติธง พระพุทธศักราช ๒๔๖๐” เมื่อวันที่ ๒๘ กันยายน พ.ศ. ๒๔๖๐ ให้เปลี่ยนธงชาติสยามจากธงช้างเผือกทรงเครื่องยืนแท่น ที่โปรดให้ใช้แทนธงช้างเดิมมาแต่วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๕๙ มาเป็นธงไตรรงค์ตั้งแต่วันที่ ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๖๐ เป็นต้นมา ทั้งนี้ทรงมุ่งหมายให้ธงไตรรงค์นี้ “...เปนเครื่องหมายให้ปรากฏว่า ประเทศสยามได้เข้าร่วมสุขทุกข์ แลเปนน้ำหนึ่งใจเดียวกันกับสัมพันธมิตร์หมู่ใหญ่ ช่วยกันกระทำการปราบ ปรามความอาสัตย์อาธรรมในโลกย์ ให้ประลัยไป...”
ธงไตรรงค์ที่ทรงพระราชดำริขึ้นใหม่นั้น มีรูปลักษณะตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติแก้ไขพระราชบัญญัติธง พระพุทธศักราช ๒๔๖๐ คือ “...รูปสี่เหลี่ยมรี มีขนาดกว้าง ๒ ส่วน ยาว ๓ ส่วน มีแถบสีน้ำเงินแก่ กว้าง ๑ ส่วน ซึ่งแบ่ง ๓ ขนาดกว้างแห่งธงอยู่กลาง มีแถบขาวกว้าง ๑ ส่วน ซึ่งแบ่ง ๖ ของขนาดกว้างแห่งธงข้างละแถบ แล้วมีแถบสีแดงกว้างเท่าแถบขาวประกอบชั้นนอกอีกข้างละแถบ ธงสำหรับชาติสยามอย่างนี้ให้เรียกว่าธงไตรรงค์...”
นอกจากนั้นแล้วพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวยังได้ทรงพระราชนิพนธ์คำอธิบายความหมายของแถบสีทั้งสามที่ประกอบกันเป็นธงไตรรงค์นั้นว่า
“ขอร่ำรำพรรณบรรยาย ความคิดเครื่องหมาย
แห่งสีทั้งสามงามถนัด
ขาว คือบริสุทธิ์ศรีสวัสดิ์ หมายพระไตรรัตน์
ที่พึ่งคุ้มจิตไทย
แดง คือโลหิตเราไซร้ ซึ่งยอมสละได้
เพื่อรักษะชาติศาสนา
น้ำเงิน คือสีโสภา อันจอมประชา
ธ โปรดเป็นของส่วนองค์
จัดริ้วเข้าเป็นไตรรงค์ จึ่งเป็นสีธง
ที่รักแห่งเราชาวไทย
ทหารอวตารนำไป ยงยุทธ์วิชัย
วิชิตก็ชูเกียรติสยาม ฯ”
แสดงความคิดเห็น
@@@ วันพระราชทานธงชาติไทย @@@