เพื่อเพื่อนักโหราศาสตร์สายพัฒนา สามารถใช้โหราศาสตร์พัฒนาชีวิตให้มีความสุข
จึงพยายามอธิบายแง่มุมข้อมูลโหราศาสตร์สมัยใหม่ ที่เปรียบเทียบอุปมาได้สอดคล้องกับโลกความเป็นจริง อันจะเป็นประโยชน์ต่อสังคมในระยะยาว
คัดมาบางส่วนจาก บันทึกเอกโหรา
https://bit.ly/2XH72RX
-----
แนวคิดของธาตุ 4 แบ่งออกเป็น 2 ภาค คือ ภาคของรูปธรรม และภาคของนามธรรม ซึ่งนักพยากรณ์สามารถนำความหมายในเชิงรูปธรรมกับการพยากรณ์ในเชิงนามธรรมแบบอุปมาอุปไมยมาใช้ออกคำพยากรณ์ได้ และยืนยันว่ามีความแม่นยำสูง ที่ระดับความเชื่อมั่น 99% อย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติ
นัยยะที่จะกล่าวต่อไปนี้ ธาตุทั้งสี่จะถูกแสดงโดยการพิจารณาจากหน่วยย่อยที่สุด คือระดับอะตอม และจะขยาย Projection ออกมาเพื่อเปรียบเทียบเชิงอุปมาอุปไมยกับจักรวาลใบใหญ่ โดยมีปรัชญาอยู่เบื้องหลัง คือ จักรวาลทั้งมวลมีลักษณะการทำงานคล้ายๆกับอะตอมขนาดเล็กๆ ในเชิงความหมายของธาตุ
โดยปฐวีจะเข้ากันได้ดีกับอาโป และวาโยจะส่งเสริมเตโช ดังนี้
-----
ปฐวีธาตุ
ปฐวีธาตุ ในที่นี้เราจะไม่ใช้คำว่า Earth แต่ใช้คำว่า Extension เป็นสภาวะของการขยายตัวออก การใช้พื้นที่ แสดงถึงความหนักเข้นแข็ง ลักษณะของธาตุดินเมื่อกระทบกับอะไร เนื้อสารจะเกิดการขยายขนาด บิออก แปลรูปร่างออก จึงเป็นมิติมองที่เห็นได้ง่ายโดยจักขวายตนะซึ่งแสดงสีสรรสันฐาน เป็นสภาพหยาบของรูปธรรม ความเข้าใจที่เข้าถึงได้ง่ายจากสังเกตการณ์
-----
อาโปธาตุ
อาโปธาตุ ใช้คำว่า Cohision (ไม่ใช่ Water) เป็นสภาวะของการเกาะกุมของเนื้อสาร ฉะนั้นอาโปธาตุจีงเป็นการรวมรูปทรงของปฐวีธาตุให้คงสภาพ คงตัวไม่แหลกแหลวออกไป เราสามารถเปรียบเทียบสภาวะของอาโปธาตุได้คล้ายกับแรงเชื่อมโยงวัตถุไว้ด้วยกัน
โดยในทางฟิสิกส์ปัจจุบันค้นพบแรงในจักรวาลมี 4 รูปแบบ คือ คือ
1) แรงนิวเคลียร์อย่างแข็งกับ
2) แรงนิวเคลียร์อย่างอ่อน จะกระทำในระยะทางที่สั้นมากคือในระดับอนุภาคภายในอะตอม เช่น นิวคลีออนในนิวเคลียส
3) แรงแม่เหล็กไฟฟ้าจะกระทำในอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้า และ
4) แรงโน้มถ่วงจะกระทำระหว่างมวล
สำหรับในดวงอาทิตย์มีสภาวะของการระเบิดปะทุขยายตัวตลอดเวลา ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ตั้งคำถามว่า เมื่อดวงอาทิตย์มีการระเบิดประทุของอะตอมไฮโดรเจนรุนแรงมหาศาล เหตุใดพระอาทิตย์จึงไม่ระเบิดตัวออกมาเป็นเสี่ยงๆ
ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ได้พบและอธิบายว่า เพราะมีแรงที่เกาะกุมดึงดูดยื้อดวงอาทิตย์ไม่ให้ขยายตัวออกจนระเบิด มีแรงคล้ายการชักคะเย่อกัน ระหว่างแรงดันออกและแรงโน้มถ่วงดูดเข้าผิวดาว ทำให้พระอาทิตย์สามรถทรงรูปอยู่ได้
ฉะนั้นอาโปจึงเป็นสภาวะของการดูดดึงถ่วง ไม่ให้สิ่งใด้สุดโต่งเกินไป แต่ช่วยประคับประคองให้ปฐวีธาตุทรงเสถียรภาพในตนเอง เป็นธรรมชาติที่มองไม่เห็นต้องคิดนึกเอาตรึกตรองเอาจึงจะมองเห็นอาโปธาตุได้
-----
วาโยธาตุ
วาโยธาตุ ไม่ใช่ Wind แต่ใช้ Vibration คือ สภาวะของการสั่นไหว โดยเมื่อเราพิจารณาการสั่นไหวในอะตอมระหว่าง electron, proton, newton จะเข้าใจถึงสภาพนั้นได้ดี
วาโยธาตุจึงเป็นสภาพของความไม่แน่นอน ความไม่สามารถคาดเดาตำแหน่งได้โดยง่าย เนื่องจากสภาพการเปลี่ยนแปลงเคลื่อนไหวของเนื้อสารที่สั่นสะเทือนโยกเคลื่อนไปมาตลอดเวลา ต้องใชการคำนวนแบบช่วงเพื่อเข้าใจปฏิกิริยาอาการของวาโย
ในสมัยโบราณเป็นการสังเกตุด้วยตาและผิวสัมผัสจึงทราบการสั่นไหวแบบหยาบ อาทิ ใบไม้ไหวจากแรงลม แต่ในยุคนี้นักวิทยาศาสตร์สามารถแสดงความสั่นไหวในอนุภาคระดับอะตอม ออกมาให้เห็นประจักษ์ได้ และยังทราบถึงกฏเกณฑ์ความสัมพันธ์ของวัตถุที่สัมพัทธ์ ที่แม้อยู่ไกลต่างสถานที่แต่มีสั่นไหวพ้องสอดคล้องที่เกี่ยวเนื่องโดยไม่ต้องมีสื่อกลางให้เห็น
-----
เตโชธาตุ
เตโชธาตุในที่นี่ ไม่ใช้คำว่า Fire แต่ใช้คำว่า Heat หรืออุณหภูมิ
ซึ่งมี 2 ลักษณะ คือ อุณหเตโช - ไฟร้อน และสีหเตโช - ไฟเย็น หรือสามารถเรียกได้ว่าเมื่อุณหภูมิลดลง คือ เย็นลง อุณหภูมิเพิ่มขึ้น คือ ร้อนขึ้น
ฉะนั้นเนื้อแท้จริงไม่ใช่ "ไฟ" แต่คือการเปลี่ยนแปลงของ "อุณหภูมิ"
เตโชเป็นสภาวะของพลังงานที่ถูกปล่อยออกมาจากปฏิกริยาของอะตอม เช่น พลังการบีบอัดของดวงอาทิตย์ที่หลอมรวม ไฮโดรเจน 4 อะตอม ให้เป็นหนึ่งเดียวกัน แต่ผลจากการรวมอะตอมทั้ง 4 เข้าด้วยกัน นั้นน้ำหนักของอะตอมกลับหายไป น้อยกว่าตอนแรก โดยส่วนน้ำหนักที่หายไปได้แปรเปลี่ยนเป็นพลังงานมหาศาลนั่นเอง
โดยผู้สังเกตการณ์สามารถมองเห็นพลังงานแสดงออก ผ่านช่วงแสงสเปคตรัมระดับต่างๆ ทั้งที่ตามองเห็นได้และไม่สามารถมองเห็นได้
เตโชกับวาโยนั้นเป็นธาตุที่ส่งเสริมกำลังกัน แต่หากวาโยอ่อนกำลังลงเตโชก็จะอ่อนลงไปด้วย อันนี้เป็นกฏ
หากค้องการทราบความหมาย ใช้ทายทางโหราศาสตร์ของธาตุทั้ง 4 ว่ามีแก่นแกนอย่างไร? อะไรให้อ่านบทความฉบับเต็มต่อไป
อ่านเพิ่มเติมครบทั้งบทความ ได้ที่
https://bit.ly/2XH72RX
เอกโหรา - แก่นแกนของธาตุ 4 เพื่อนักโหราศาสตร์สายพัฒนา (ฉบับหัวใจบางส่วน)
เพื่อเพื่อนักโหราศาสตร์สายพัฒนา สามารถใช้โหราศาสตร์พัฒนาชีวิตให้มีความสุข
จึงพยายามอธิบายแง่มุมข้อมูลโหราศาสตร์สมัยใหม่ ที่เปรียบเทียบอุปมาได้สอดคล้องกับโลกความเป็นจริง อันจะเป็นประโยชน์ต่อสังคมในระยะยาว
คัดมาบางส่วนจาก บันทึกเอกโหรา https://bit.ly/2XH72RX
-----
แนวคิดของธาตุ 4 แบ่งออกเป็น 2 ภาค คือ ภาคของรูปธรรม และภาคของนามธรรม ซึ่งนักพยากรณ์สามารถนำความหมายในเชิงรูปธรรมกับการพยากรณ์ในเชิงนามธรรมแบบอุปมาอุปไมยมาใช้ออกคำพยากรณ์ได้ และยืนยันว่ามีความแม่นยำสูง ที่ระดับความเชื่อมั่น 99% อย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติ
นัยยะที่จะกล่าวต่อไปนี้ ธาตุทั้งสี่จะถูกแสดงโดยการพิจารณาจากหน่วยย่อยที่สุด คือระดับอะตอม และจะขยาย Projection ออกมาเพื่อเปรียบเทียบเชิงอุปมาอุปไมยกับจักรวาลใบใหญ่ โดยมีปรัชญาอยู่เบื้องหลัง คือ จักรวาลทั้งมวลมีลักษณะการทำงานคล้ายๆกับอะตอมขนาดเล็กๆ ในเชิงความหมายของธาตุ
โดยปฐวีจะเข้ากันได้ดีกับอาโป และวาโยจะส่งเสริมเตโช ดังนี้
-----
ปฐวีธาตุ
ปฐวีธาตุ ในที่นี้เราจะไม่ใช้คำว่า Earth แต่ใช้คำว่า Extension เป็นสภาวะของการขยายตัวออก การใช้พื้นที่ แสดงถึงความหนักเข้นแข็ง ลักษณะของธาตุดินเมื่อกระทบกับอะไร เนื้อสารจะเกิดการขยายขนาด บิออก แปลรูปร่างออก จึงเป็นมิติมองที่เห็นได้ง่ายโดยจักขวายตนะซึ่งแสดงสีสรรสันฐาน เป็นสภาพหยาบของรูปธรรม ความเข้าใจที่เข้าถึงได้ง่ายจากสังเกตการณ์
-----
อาโปธาตุ
อาโปธาตุ ใช้คำว่า Cohision (ไม่ใช่ Water) เป็นสภาวะของการเกาะกุมของเนื้อสาร ฉะนั้นอาโปธาตุจีงเป็นการรวมรูปทรงของปฐวีธาตุให้คงสภาพ คงตัวไม่แหลกแหลวออกไป เราสามารถเปรียบเทียบสภาวะของอาโปธาตุได้คล้ายกับแรงเชื่อมโยงวัตถุไว้ด้วยกัน
โดยในทางฟิสิกส์ปัจจุบันค้นพบแรงในจักรวาลมี 4 รูปแบบ คือ คือ
1) แรงนิวเคลียร์อย่างแข็งกับ
2) แรงนิวเคลียร์อย่างอ่อน จะกระทำในระยะทางที่สั้นมากคือในระดับอนุภาคภายในอะตอม เช่น นิวคลีออนในนิวเคลียส
3) แรงแม่เหล็กไฟฟ้าจะกระทำในอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้า และ
4) แรงโน้มถ่วงจะกระทำระหว่างมวล
สำหรับในดวงอาทิตย์มีสภาวะของการระเบิดปะทุขยายตัวตลอดเวลา ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ตั้งคำถามว่า เมื่อดวงอาทิตย์มีการระเบิดประทุของอะตอมไฮโดรเจนรุนแรงมหาศาล เหตุใดพระอาทิตย์จึงไม่ระเบิดตัวออกมาเป็นเสี่ยงๆ
ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ได้พบและอธิบายว่า เพราะมีแรงที่เกาะกุมดึงดูดยื้อดวงอาทิตย์ไม่ให้ขยายตัวออกจนระเบิด มีแรงคล้ายการชักคะเย่อกัน ระหว่างแรงดันออกและแรงโน้มถ่วงดูดเข้าผิวดาว ทำให้พระอาทิตย์สามรถทรงรูปอยู่ได้
ฉะนั้นอาโปจึงเป็นสภาวะของการดูดดึงถ่วง ไม่ให้สิ่งใด้สุดโต่งเกินไป แต่ช่วยประคับประคองให้ปฐวีธาตุทรงเสถียรภาพในตนเอง เป็นธรรมชาติที่มองไม่เห็นต้องคิดนึกเอาตรึกตรองเอาจึงจะมองเห็นอาโปธาตุได้
-----
วาโยธาตุ
วาโยธาตุ ไม่ใช่ Wind แต่ใช้ Vibration คือ สภาวะของการสั่นไหว โดยเมื่อเราพิจารณาการสั่นไหวในอะตอมระหว่าง electron, proton, newton จะเข้าใจถึงสภาพนั้นได้ดี
วาโยธาตุจึงเป็นสภาพของความไม่แน่นอน ความไม่สามารถคาดเดาตำแหน่งได้โดยง่าย เนื่องจากสภาพการเปลี่ยนแปลงเคลื่อนไหวของเนื้อสารที่สั่นสะเทือนโยกเคลื่อนไปมาตลอดเวลา ต้องใชการคำนวนแบบช่วงเพื่อเข้าใจปฏิกิริยาอาการของวาโย
ในสมัยโบราณเป็นการสังเกตุด้วยตาและผิวสัมผัสจึงทราบการสั่นไหวแบบหยาบ อาทิ ใบไม้ไหวจากแรงลม แต่ในยุคนี้นักวิทยาศาสตร์สามารถแสดงความสั่นไหวในอนุภาคระดับอะตอม ออกมาให้เห็นประจักษ์ได้ และยังทราบถึงกฏเกณฑ์ความสัมพันธ์ของวัตถุที่สัมพัทธ์ ที่แม้อยู่ไกลต่างสถานที่แต่มีสั่นไหวพ้องสอดคล้องที่เกี่ยวเนื่องโดยไม่ต้องมีสื่อกลางให้เห็น
-----
เตโชธาตุ
เตโชธาตุในที่นี่ ไม่ใช้คำว่า Fire แต่ใช้คำว่า Heat หรืออุณหภูมิ
ซึ่งมี 2 ลักษณะ คือ อุณหเตโช - ไฟร้อน และสีหเตโช - ไฟเย็น หรือสามารถเรียกได้ว่าเมื่อุณหภูมิลดลง คือ เย็นลง อุณหภูมิเพิ่มขึ้น คือ ร้อนขึ้น
ฉะนั้นเนื้อแท้จริงไม่ใช่ "ไฟ" แต่คือการเปลี่ยนแปลงของ "อุณหภูมิ"
เตโชเป็นสภาวะของพลังงานที่ถูกปล่อยออกมาจากปฏิกริยาของอะตอม เช่น พลังการบีบอัดของดวงอาทิตย์ที่หลอมรวม ไฮโดรเจน 4 อะตอม ให้เป็นหนึ่งเดียวกัน แต่ผลจากการรวมอะตอมทั้ง 4 เข้าด้วยกัน นั้นน้ำหนักของอะตอมกลับหายไป น้อยกว่าตอนแรก โดยส่วนน้ำหนักที่หายไปได้แปรเปลี่ยนเป็นพลังงานมหาศาลนั่นเอง
โดยผู้สังเกตการณ์สามารถมองเห็นพลังงานแสดงออก ผ่านช่วงแสงสเปคตรัมระดับต่างๆ ทั้งที่ตามองเห็นได้และไม่สามารถมองเห็นได้
เตโชกับวาโยนั้นเป็นธาตุที่ส่งเสริมกำลังกัน แต่หากวาโยอ่อนกำลังลงเตโชก็จะอ่อนลงไปด้วย อันนี้เป็นกฏ
หากค้องการทราบความหมาย ใช้ทายทางโหราศาสตร์ของธาตุทั้ง 4 ว่ามีแก่นแกนอย่างไร? อะไรให้อ่านบทความฉบับเต็มต่อไป
อ่านเพิ่มเติมครบทั้งบทความ ได้ที่ https://bit.ly/2XH72RX